เอเอฟพี – เพิ่งคว้าชัยชนะจากศึกเลือกตั้งผู้นำไต้หวันไปหมาดๆ แถมประกาศสานสัมพันธ์กับจีนใหญ่ พร้อมกลับสู่โต๊ะเจรจาภายใต้หลักการ “จีนเดียว” แต่ล่าสุดผู้นำหม่า อิงจิ่วก็ยื่นเรื่องไปยังรัฐบาลวอชิงตันเพื่อขออนุญาตเดินทางเยือนสหรัฐฯ ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่า หากสหรัฐฯ อนุญาตอาจสร้างความไม่พอใจแก่จีนใหญ่ก็เป็นได้
แบรด กลอสเซอร์แมน จากสภาแปซิฟิก ซึ่งเป็นคลังสมองในฮาวาย ของสหรัฐฯ เปิดเผยว่า การไฟเขียวให้หม่า อิงจิ่วมาเยือนวอชิงตันนั้น จะทำให้รัฐบาลปักกิ่งไม่พอใจ แม้ว่าเขาจะอ้างว่าวางแผนเดินทางมายังสหรัฐฯ ก่อนพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งผู้นำไต้หวันในวันที่ 20 พฤษภาคมนี้ก็ตาม
“โอกาสที่หม่าจะได้ไปเยือนสหรัฐฯ นั้นมีน้อยหรือไม่มีเลยด้วยซ้ำ” กลอสเซอร์แมนกล่าว “เห็นได้ชัดว่าว่าที่ผู้นำไต้หวันกำลังพยายามที่จะยกระดับชื่อเสียงทางการเมืองของตัวเองขึ้นมา” ซึ่งกลอสเซอร์แมนเชื่อว่า สหรัฐฯ จะไม่เสี่ยงทำให้จีนโกรธ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ปักกิ่งกำลังปลุกปล้ำกลุ่มจลาจลในทิเบต
ทั้งนี้ รัฐบาลวอชิงตันประกาศยึดนโยบายจีนเดียวของจีน นับตั้งแต่สลัดสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวันและหันมาคบค้ากับจีนใหญ่แทนเมื่อปี ค.ศ.1979 โดยปักกิ่งมองไต้หวันเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของประเทศ และต่อต้านการเยือนประเทศต่างๆ โดยผู้นำระดับสูงของไต้หวัน ดังเช่นในปี 1995 ปักกิ่งได้ยกเลิกกำหนดการเจรจาฟื้นความสัมพันธ์กับไต้หวัน เพื่อประท้วงที่ลี เต็งฮุย ผู้นำไต้หวันในขณะนั้นเดินทางเยือนสหรัฐฯ อ้างเป็นความเคลื่อนไหวเพื่อแยกตัวเป็นอิสระจากจีน
อย่างไรก็ตาม จอห์น ทกาซิก ซึ่งเคยเป็นนักวิเคราะห์ระดับหัวกะทิของหน่วยวิจัยและข่าวกรองแห่งชาติจีนกลับเชื่อว่า การเดินทางเยือนสหรัฐฯครั้งนี้ของหม่าจะไม่ขัดใจจีน “ผมคิดว่าจีนค่อนข้างพอใจที่หม่า อิงจิ่งได้รับเลือกเป็นผู้นำ ขณะที่ เซียว วั่นชัง เป็นรองประธานาธิบดี และยิ่งเขาเดินทางก่อนพิธีสาบานตนด้วยแล้ว ก็เท่ากับว่าเป็นการเยือนอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งผมคิดว่าจีนคงไม่คิดมากกับเรื่องนี้”
แบรด กลอสเซอร์แมน จากสภาแปซิฟิก ซึ่งเป็นคลังสมองในฮาวาย ของสหรัฐฯ เปิดเผยว่า การไฟเขียวให้หม่า อิงจิ่วมาเยือนวอชิงตันนั้น จะทำให้รัฐบาลปักกิ่งไม่พอใจ แม้ว่าเขาจะอ้างว่าวางแผนเดินทางมายังสหรัฐฯ ก่อนพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งผู้นำไต้หวันในวันที่ 20 พฤษภาคมนี้ก็ตาม
“โอกาสที่หม่าจะได้ไปเยือนสหรัฐฯ นั้นมีน้อยหรือไม่มีเลยด้วยซ้ำ” กลอสเซอร์แมนกล่าว “เห็นได้ชัดว่าว่าที่ผู้นำไต้หวันกำลังพยายามที่จะยกระดับชื่อเสียงทางการเมืองของตัวเองขึ้นมา” ซึ่งกลอสเซอร์แมนเชื่อว่า สหรัฐฯ จะไม่เสี่ยงทำให้จีนโกรธ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ปักกิ่งกำลังปลุกปล้ำกลุ่มจลาจลในทิเบต
ทั้งนี้ รัฐบาลวอชิงตันประกาศยึดนโยบายจีนเดียวของจีน นับตั้งแต่สลัดสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวันและหันมาคบค้ากับจีนใหญ่แทนเมื่อปี ค.ศ.1979 โดยปักกิ่งมองไต้หวันเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของประเทศ และต่อต้านการเยือนประเทศต่างๆ โดยผู้นำระดับสูงของไต้หวัน ดังเช่นในปี 1995 ปักกิ่งได้ยกเลิกกำหนดการเจรจาฟื้นความสัมพันธ์กับไต้หวัน เพื่อประท้วงที่ลี เต็งฮุย ผู้นำไต้หวันในขณะนั้นเดินทางเยือนสหรัฐฯ อ้างเป็นความเคลื่อนไหวเพื่อแยกตัวเป็นอิสระจากจีน
อย่างไรก็ตาม จอห์น ทกาซิก ซึ่งเคยเป็นนักวิเคราะห์ระดับหัวกะทิของหน่วยวิจัยและข่าวกรองแห่งชาติจีนกลับเชื่อว่า การเดินทางเยือนสหรัฐฯครั้งนี้ของหม่าจะไม่ขัดใจจีน “ผมคิดว่าจีนค่อนข้างพอใจที่หม่า อิงจิ่งได้รับเลือกเป็นผู้นำ ขณะที่ เซียว วั่นชัง เป็นรองประธานาธิบดี และยิ่งเขาเดินทางก่อนพิธีสาบานตนด้วยแล้ว ก็เท่ากับว่าเป็นการเยือนอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งผมคิดว่าจีนคงไม่คิดมากกับเรื่องนี้”