เอเชี่ยนวอลล์สตรีตเจอร์นัล – จีนเตรียมยกเครื่องระบบสาธารณสุขครั้งใหญ่ เล็งส่งเสริมให้ประชาชนพึ่งบริการศูนย์อนามัยชุมชน แทนการไปโรงพยาบาลใหญ่ อย่างที่กำลังนิยมกัน ทว่ายังไร้แผนชัดเจนในการปรับปรุงโรงพยาบาลรัฐ
ปัจจุบัน ระบบสาธารณสุขในจีน ซึ่งรัฐเป็นผู้ดูแล กำลังประสบปัญหามากมาย และประชาชนส่วนมากต้องแบกรับภาระค่ารักษาพยาบาลเอง ซึ่งก็มักจะมีเงินไม่พอ และบ่อยครั้งผู้ป่วยได้รับการรักษาดูแลไม่ดีเท่าที่ควร
นอกจากนั้น ยังพบกรณีแพทย์ในโรงพยาบาลหลายพันแห่ง วินิจฉัยโรคสะเพร่าและจัดยาให้เกินความจำเป็น หรือแม้กระทั่งลงมือผ่าตัด เพื่อหวังกำไรจากการรักษา
เมื่อปีที่แล้ว คณะกรรมาธิการเพื่อการพัฒนาและการปฏิรูปแห่งชาติ มีการพิจารณาจัดทำแผนปฏิรูปการสาธารณสุขทั้งระบบ โดยขอคำแนะนำจากองค์กรนอกประเทศ 7 ราย ซึ่งรวมทั้ง องค์การอนามัยโลก, ธนาคารโลก และบริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการแม็คคินซี่ย์ แอนด์ โค.
นายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า ระบุเมื่อต้นเดือน (5 มีนาคม) ว่ามีการร่างแผนปฏิรูปขั้นพื้นฐานเสร็จเรียบร้อยแล้ว และจะนำออกมาให้สาธารณชนตรวจสอบในเร็ว ๆ นี้
แผนปฏิรูปมุ่งขยายและส่งเสริมศูนย์อนามัยชุมชน ที่มีอยู่นับหมื่นนับแสนแห่ง โดยศูนย์อนามัยเหล่านี้ จะให้การรักษาขั้นพื้นฐานแก่ประชาชนทั้งในชนบทและในเมือง
อย่างไรก็ตาม มีผู้มองว่า แผนดังกล่าวเป็นการเลี่ยงปัญหาในระดับหนึ่ง โดยไม่มีการแตะระบบโรงพยาบาลของรัฐเลย ซึ่งหลายแห่งกิจการเจริญเติบโต จนเกือบมีสภาพเป็นธุรกิจเอกชนไปแล้ว
ขณะที่เจ้าหน้าที่ภายในพรรคคอมมิวนิสต์และนักสังเกตการณ์เสนอให้รัฐบาลดำเนินการแปรรูปโรงพยาบาล โดยให้เอกชนเข้ามีส่วนร่วมมากขึ้น หรือขายให้เอกชนไปเลย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโรงพยาบาล นอกจากนั้น ควรสร้างแรงจูงใจ เพื่อให้มีการปรับปรุงคุณภาพในการรักษา
แหล่งข่าวใกล้ชิดระบุว่า ขณะนี้ เริ่มมีความเห็นสอดคล้องกันว่า รัฐบาลกลางและคณะผู้บริหารมณฑลต้องควักกระเป๋าจ่ายมากขึ้นในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล
“ดูเหมือนรัฐบาลจีนลงความเห็นแล้วว่ารัฐบาลไม่สามารถปฏิรูปโรงพยาบาลของรัฐได้โดยตรงมากนัก” ผู้ใกล้ชิดกับการร่างแผนปฏิรูปเปิดเผย
“โรงพยาบาลเหล่านี้มีเครือข่ายอำนาจทางการเมืองอย่างล้นเหลือกับคณะผู้บริหารในพรรคคอมมิวนิสต์”
เจ้าหน้าที่ระดับสูงในคณะกรรมาธิการเพื่อการพัฒนาและการปฏิรูปแห่งชาติเองหลายคน ได้แสดงความเห็นส่วนตัวว่า การปฏิรูปโรงพยาบาลรัฐอย่างเป็นชิ้นเป็นอัน อาจเป็นไปไม่ได้ในขณะนี้
สำหรับแผนการส่งเสริมศูนย์อนามัยชุมชน ในลักษณะหนึ่งเป็นการย้อนกลับไปสู่ยุคเหมา เจ๋อตง ในช่วงทศวรรษ1960-1970 ซึ่งกระจายระบบโรงพยาบาลและคลินิกไปยังตันเว่ย หรือหน่วยทำงาน ซึ่งประชาชนทำงานและอยู่อาศัย
ปัจจุบัน คลินิกลักษณะนั้นยังคงมีอยู่ แต่ระบบการดูแลสุขภาพประชาชน กลับเน้นไปที่โรงพยาบาลใหญ่ ซึ่งประชาชนจะแห่กันไป เพราะเชื่อว่ารักษาดีที่สุด
ตามแผนการปฏิรูปฉบับใหม่ รัฐบาลจะสร้างคลินิกเพิ่มขึ้น และจ่ายเงินเดือนให้แพทย์และเจ้าหน้าที่ เพื่อลดปัญหาแพทย์แสวงหากำไร คลินิกเหล่านี้จะบริหารงานโดยกระทรวงสาธารณสุข และมีเตียงผู้ป่วยไม่กี่เตียง โดยจะรับผู้ป่วยโรคทั่วไป ซึ่งรักษาได้ในไม่กี่วัน เช่น ไข้หวัด หรือกระดูกหัก เพื่อแบ่งเบาภาระโรงพยาบาลใหญ่
นายเฉิน จู รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข แถลงต่อที่ประชุมสภาประชาชนจีนเมื่อเดือนธันวาคมว่า รัฐบาลจะผลักดันการสร้างระบบการแพทย์หลายระดับ โดยอยู่บนรากฐานของบริการสาธารณสุขชุมชน ซึ่งให้การรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐานสำหรับโรคทั่วๆ ไป
อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปยังต้องเผชิญปัญหาท้าทายหลายประการ ปัญหาหนึ่งก็คือมีชาวจีนเพิ่มมากขึ้น ที่ไปโรงพยาบาลจนเคยชินแล้ว ในสหรัฐฯ นั้น เมื่อไม่สบาย ผู้คนจะไปหาแพทย์ประจำครอบครัวก่อน แต่คนจีนจะไปหาแพทย์ที่โรงพยาบาล ซึ่งอยู่ใกล้ที่สุด และอาจต้องนำแฟ้มประวัติการรักษาไปด้วย เพราะคนไข้จำนวนมากแทบไม่ได้พบแพทย์คนเดิมเป็นหนที่สอง
ปัจจุบัน ระบบสาธารณสุขในจีน ซึ่งรัฐเป็นผู้ดูแล กำลังประสบปัญหามากมาย และประชาชนส่วนมากต้องแบกรับภาระค่ารักษาพยาบาลเอง ซึ่งก็มักจะมีเงินไม่พอ และบ่อยครั้งผู้ป่วยได้รับการรักษาดูแลไม่ดีเท่าที่ควร
นอกจากนั้น ยังพบกรณีแพทย์ในโรงพยาบาลหลายพันแห่ง วินิจฉัยโรคสะเพร่าและจัดยาให้เกินความจำเป็น หรือแม้กระทั่งลงมือผ่าตัด เพื่อหวังกำไรจากการรักษา
เมื่อปีที่แล้ว คณะกรรมาธิการเพื่อการพัฒนาและการปฏิรูปแห่งชาติ มีการพิจารณาจัดทำแผนปฏิรูปการสาธารณสุขทั้งระบบ โดยขอคำแนะนำจากองค์กรนอกประเทศ 7 ราย ซึ่งรวมทั้ง องค์การอนามัยโลก, ธนาคารโลก และบริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการแม็คคินซี่ย์ แอนด์ โค.
นายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า ระบุเมื่อต้นเดือน (5 มีนาคม) ว่ามีการร่างแผนปฏิรูปขั้นพื้นฐานเสร็จเรียบร้อยแล้ว และจะนำออกมาให้สาธารณชนตรวจสอบในเร็ว ๆ นี้
แผนปฏิรูปมุ่งขยายและส่งเสริมศูนย์อนามัยชุมชน ที่มีอยู่นับหมื่นนับแสนแห่ง โดยศูนย์อนามัยเหล่านี้ จะให้การรักษาขั้นพื้นฐานแก่ประชาชนทั้งในชนบทและในเมือง
อย่างไรก็ตาม มีผู้มองว่า แผนดังกล่าวเป็นการเลี่ยงปัญหาในระดับหนึ่ง โดยไม่มีการแตะระบบโรงพยาบาลของรัฐเลย ซึ่งหลายแห่งกิจการเจริญเติบโต จนเกือบมีสภาพเป็นธุรกิจเอกชนไปแล้ว
ขณะที่เจ้าหน้าที่ภายในพรรคคอมมิวนิสต์และนักสังเกตการณ์เสนอให้รัฐบาลดำเนินการแปรรูปโรงพยาบาล โดยให้เอกชนเข้ามีส่วนร่วมมากขึ้น หรือขายให้เอกชนไปเลย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโรงพยาบาล นอกจากนั้น ควรสร้างแรงจูงใจ เพื่อให้มีการปรับปรุงคุณภาพในการรักษา
แหล่งข่าวใกล้ชิดระบุว่า ขณะนี้ เริ่มมีความเห็นสอดคล้องกันว่า รัฐบาลกลางและคณะผู้บริหารมณฑลต้องควักกระเป๋าจ่ายมากขึ้นในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล
“ดูเหมือนรัฐบาลจีนลงความเห็นแล้วว่ารัฐบาลไม่สามารถปฏิรูปโรงพยาบาลของรัฐได้โดยตรงมากนัก” ผู้ใกล้ชิดกับการร่างแผนปฏิรูปเปิดเผย
“โรงพยาบาลเหล่านี้มีเครือข่ายอำนาจทางการเมืองอย่างล้นเหลือกับคณะผู้บริหารในพรรคคอมมิวนิสต์”
เจ้าหน้าที่ระดับสูงในคณะกรรมาธิการเพื่อการพัฒนาและการปฏิรูปแห่งชาติเองหลายคน ได้แสดงความเห็นส่วนตัวว่า การปฏิรูปโรงพยาบาลรัฐอย่างเป็นชิ้นเป็นอัน อาจเป็นไปไม่ได้ในขณะนี้
สำหรับแผนการส่งเสริมศูนย์อนามัยชุมชน ในลักษณะหนึ่งเป็นการย้อนกลับไปสู่ยุคเหมา เจ๋อตง ในช่วงทศวรรษ1960-1970 ซึ่งกระจายระบบโรงพยาบาลและคลินิกไปยังตันเว่ย หรือหน่วยทำงาน ซึ่งประชาชนทำงานและอยู่อาศัย
ปัจจุบัน คลินิกลักษณะนั้นยังคงมีอยู่ แต่ระบบการดูแลสุขภาพประชาชน กลับเน้นไปที่โรงพยาบาลใหญ่ ซึ่งประชาชนจะแห่กันไป เพราะเชื่อว่ารักษาดีที่สุด
ตามแผนการปฏิรูปฉบับใหม่ รัฐบาลจะสร้างคลินิกเพิ่มขึ้น และจ่ายเงินเดือนให้แพทย์และเจ้าหน้าที่ เพื่อลดปัญหาแพทย์แสวงหากำไร คลินิกเหล่านี้จะบริหารงานโดยกระทรวงสาธารณสุข และมีเตียงผู้ป่วยไม่กี่เตียง โดยจะรับผู้ป่วยโรคทั่วไป ซึ่งรักษาได้ในไม่กี่วัน เช่น ไข้หวัด หรือกระดูกหัก เพื่อแบ่งเบาภาระโรงพยาบาลใหญ่
นายเฉิน จู รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข แถลงต่อที่ประชุมสภาประชาชนจีนเมื่อเดือนธันวาคมว่า รัฐบาลจะผลักดันการสร้างระบบการแพทย์หลายระดับ โดยอยู่บนรากฐานของบริการสาธารณสุขชุมชน ซึ่งให้การรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐานสำหรับโรคทั่วๆ ไป
อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปยังต้องเผชิญปัญหาท้าทายหลายประการ ปัญหาหนึ่งก็คือมีชาวจีนเพิ่มมากขึ้น ที่ไปโรงพยาบาลจนเคยชินแล้ว ในสหรัฐฯ นั้น เมื่อไม่สบาย ผู้คนจะไปหาแพทย์ประจำครอบครัวก่อน แต่คนจีนจะไปหาแพทย์ที่โรงพยาบาล ซึ่งอยู่ใกล้ที่สุด และอาจต้องนำแฟ้มประวัติการรักษาไปด้วย เพราะคนไข้จำนวนมากแทบไม่ได้พบแพทย์คนเดิมเป็นหนที่สอง