ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ ศ.ศ.ป. (SACICT) เดินหน้าส่งเสริม “คุณค่าความเป็นไทย” อนุรักษ์สืบสานพระราชปณิธานงานด้านศิลปาชีพจัด “กิจกรรมเสวนาและประชุมวิชาการด้านศิลปหัตถกรรม” (Art and Craft Forum/Symposium 2020) ภายใต้ 3 หัวข้อ “รากแห่งวัฒนธรรม ศิลปหัตถกรรมแห่ง ASEAN” “ความเชื่อและศรัทธา-จักรวาลวิทยาตามคติพุทธศาสนาในงานศิลปหัตถกรรมอาเซียน” และ “Beyond Limitations I Crafting Passion I Crafting Vision” โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิระดับประเทศร่วมงานคับคั่ง
พรพล เอกอรรถพร ผู้อำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) กล่าวภายในงานว่า SACICT มีภารกิจหลักในการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างการรับรู้ในพระราชกรณียกิจและพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการส่งเสริมอาชีพและช่วยให้ราษฎรมีอาชีพเสริม เพิ่มพูนรายได้ ภายใต้การส่งเสริมศิลปาชีพในมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ “SACICT ยังมุ่งส่งเสริม “คุณค่าความเป็นไทย” คุณค่าในงานศิลปาชีพ คุณค่าของการอนุรักษ์สืบสานพระราชปณิธานงานด้านศิลปาชีพ เพื่อให้ชาวบ้านในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ได้มีอาชีพและรายได้จากการทำงานหัตถกรรมพื้นบ้าน สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัว สร้างคุณค่าในความเป็นไทยที่ภาคภูมิ ผ่านการส่งเสริมและยกระดับงานศิลปาชีพและงานศิลปหัตถกรรมไทยในทุกมิติ
พรพล เผยด้วยว่า เมื่อช่วงระหว่างเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา SACICT ได้จัดงาน ศิลปาชีพทอใจ วิถีใหม่ใต้ร่มพระบารมี ตลอด 5 วัน ประสบความสำเร็จ ช่วยกระตุ้นเศรศฐกิจสามารถสร้างยอดขายรวมได้สูงสุดเป็นประวัติการ 71,395,685 บาท และภายในงาน “Crafts Bangkok 2020” ในปีนี้ SACICT ยังเล็งเห็นการต่อยอดให้ SACICT เป็นศูนย์รวมองค์ความรู้และอนุรักษ์สืบสานศิลปหัตถกรรมไทยจึงจัดเวทีในการจัดประชุม เสวนา แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในกลุ่มนักวิชาการ ผู้ประกอบการ และผู้ที่สนใจในงานศิลปหัตถกรรม โดยดำเนินงานให้สอดคล้องกับพันธกิจของ ศ.ศ.ป. โดยภายในงานจะประกอบไปด้วยนิทรรศการ ผลงาน ผู้ชื่นชอบงานศิลปหัตถกรรมมากมาย มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิระดับประเทศร่วมเสวนา”
สำหรับกิจกรรมเสวนาและประชุมวิชาการด้านศิลปหัตถกรรม (Art and Craft Forum/Symposium 2020) จัดให้มีนิทรรศการ ผลงาน รวมถึงการเสวนา ภายใต้หัวข้อดังนี้
รากแห่งวัฒนธรรม ศิลปหัตถกรรมแห่ง ASEAN (Spirit of Cultures: the Mutual Root of ASEAN Handicrafts) โดย อ.เผ่าทอง ทองเจือ นักโบราณคดี ผู้เชี่ยวชาญงานศิลปหัตถกรรมไทยและอาเซียน วีรธรรม ตระกูลเงินไทย ครูศิลป์ของแผ่นดินปี 2554 ด้านผ้ายกทอง ปิยวรา ทีขะระ เนตรน้อย ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ แพทริเซีย ชีสแมน นักวิชาการด้านผ้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเจ้าของสตูดิโอแน่นหนา
หัวข้อ “ความเชื่อและศรัทธา-จักรวาลวิทยาตามคติพุทธศาสนาในงานศิลปหัตถกรรมอาเซียน” (Belief and Faith : Buddhist Cosmology of Arts and Crafts in ASEAN) โดย ผศ.ดร.อนุชา ทีรคานนท์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รศ.ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี อาจารย์ประจาคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ทวีป ฤทธินภากร นักวิชาการอิสระผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งทอเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพิชิต นะงอลา ทายาทช่างศิลปหัตถกรรมปี 2563 ด้านสลักดุนโลหะ
“คุณค่าความเป็นไทย” เป็นการถ่ายทอดความคิดและพลังสร้างสรรค์จากบุคคลต้นแบบที่นำพางานศิลปหัตถกรรมไทย ภายใต้หัวข้อ “Beyond Limitations I Crafting Passion I Crafting Vision” หัวข้อ “Beyond Limitation” โดย รชต ชาญเชี่ยว ครูช่างศิลปหัตถกรรมปี 2563 ผู้รื้อฟื้นตำรากระจกเกรียบสู่การเติมเต็มความงดงามแก่งานศิลปหัตถกรรมและงานสถาปัตยกรรมไทย หัสยา ปรีชารัตน์ ทายาทช่างศิลปหัตถกรรมปี 2560 ผู้เปลี่ยนมิติและมุมมองงานเบญจรงค์ให้เป็นอาภรณ์ที่ทรงเสน่ห์และร่วมสมัย และหัวข้อ “Crafting Passion” โดย อ.นุสรา เตียงเกตุ นักเขียน นักวิชาการ นักพัฒนาผ้าทอล้านนาให้คงลมหายใจอย่างมีคุณค่า พิจิตรา บุณยรัตพันธุ์ ดีไซเนอร์ระดับแนวหน้าของเมืองไทย ผู้ทำความงดงามของผ้าไทยผสมผสานการดีไซน์อย่างร่วมสมัย และผู้ก่อตั้งแบรนด์ PICHITA และ เขมนิจ จามิกรณ์ นักแสดงและนางแบบผู้นำความงดงามของผ้าไทยโดดเด่นบนเวทีแฟชั่นระดับโลก