มรดกที่ตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น เป็นสิ่งที่จะอยู่ในความทรงจำที่ดีงาม โดยเฉพาะ ได้รับมาจากบุพการีหรือบรรพบุรุษที่ฝากฝังไว้ เพราะนอกจากจะเป็นสิ่งล้ำค่าที่ประเมินค่าไม่ได้แล้ว ยังเป็นการฝากความรักความผูกพันไว้เหนือกาลเวลา ให้จารึกอยู่ในห้วงหัวใจไปตลอดกาล
ความรักความผูกพันถึงแม้วันเวลาจะผันผ่านมายาวนาน แต่ไม่เคยทำให้ “เหมียง-วิมลภัทร์ เปี่ยมพงศ์สานต์” บุตรสาวคนโตของ คุณหญิงนาว-ม.ร.ว. ดัจฉราพิมล รัชนี ซึ่งเหมียงมีศักดิ์เป็นหลานทวด ม.จ. พรพิมลพรรณ รัชนี ชายาในพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ องค์ต้นราสกุลรัชนี เลือนหายไปตามกาลเวลา ถึงแม้ว่าท่านทวดจะถึงชีพพิตักษัยเมื่อตอนเธออายุได้เพียง 6 ขวบ หากแต่ความรักและความเมตตาที่ท่านทวดมีให้เธอ ผ่านเครื่องประดับประจำกาย สร้อยข้อมือเพชรแถวเรียง 44 เม็ด ที่ท่านทวดถอดออกจากข้อมือ แล้วสวมให้เธอเป็นของรับขวัญวันเกิดอายุครบหนึ่งเดือน ยังคงประทับอยู่ในความทรงจำเสมอมา
“ช่วงเหมียงอายุครบหนึ่งเดือน แม่พาเหมียงออกจากบ้านไปเฝ้าท่านทวดที่วังวิทยุ ท่านรับสั่งว่า “อุ๊ย...นึกแล้วเชียวว่า วันนี้จะมีใครมาหา ฉันเตรียมของไว้ให้” แล้วท่านทวดก็ทรงถอดสร้อยข้อมือเพชรแถวเรียง 44 เม็ดให้เป็นของขวัญ ซึ่งสร้อยข้อมือนี้เข้าใจว่าท่านทวดทรงสั่งทำจากร้านเพชรแถวบ้านหม้อ ซึ่งจะมีร้านประจำที่ท่านเสด็จไปทอดพระเนตรเครื่องเพชรอยู่หลายร้าน”
ปัจจุบันนี้สร้อยข้อมือเพชรแถวเรียง 44 เม็ด ที่เหมียงได้รับเป็นของขวัญจากท่านทวด เธอได้เก็บไว้เป็นอย่างดี และจะนำขึ้นมาประดับข้อมือเรียวสวยทุกครั้ง เมื่อต้องออกงานสังคมสำคัญ
นอกจากสร้อยข้อมือของรับขวัญเดือนแล้ว คุณหญิงนาว ผู้เป็นมารดาของเธอยังได้เก็บ “เสมาพระปรมาภิไธยย่อ รร.6 ชั้นที่ 1 ฝังเพชร อันเป็นเครื่องประดับชิ้นสำคัญที่ ม.จ.พรพิมลพรรณ ประทานให้กับเธอไว้ให้เหมียง ซึ่งเป็นบุตรสาวคนโตไว้ใส่เป็นเครื่องประดับประจำกายอีกเช่นกัน
“เสมาพระปรมาภิไธยย่อ รร.6 ชิ้นนี้ท่านทวดได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และประทานให้แม่เมื่อวันที่ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงพระศพ พระนางเธอลักษมีลาวัณ พระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงเป็นพระกนิษฐาต่างพระมารดากับท่านทวด” เหมียงย้อนอดีตให้ฟังด้วยน้ำเสียงสดใส
ถึงแม้วันเวลาจะผ่านมาเนิ่นนานหลายสิบปี แต่ความรักของหม่อมย่า หม่อมเกสรบุปผา เกษมศรี สกุลเดิม อาคมานนท์ หม่อมในหม่อมเจ้าอธิพรพงศ์ เกษมศรี ที่ฝากไว้ให้หลานสาวสุดที่รัก “เขม-ม.ล. กัลยกร เกษมศรี” ยังคงตราตรึงอยู่ในห้วงหัวใจ ผ่านเครื่องประดับเลอค่า ที่มีอายุนับร้อยปีที่ตกทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น อย่าง “กระดุมเพชรซีกโบราณ”
เขมเล่าว่า กระดุมเพชรซีกโบราณนี้เป็นสมบัติตกทอดมาตั้งแต่รุ่นคุณย่า แล้วคุณย่าได้มอบให้กับมารดาของเธอ (ทิพาพร เกษมศรี ณ อยุธยา) และเมื่อถึงเวลาอันสมควร เธอผู้เป็นบุตรสาวคนโตของบ้าน จึงได้รับมรดกอันล้ำค่านี้มาครอบครอง
“ความจริงกระดุมเพชรซีกนี้ คุณย่าได้ให้กับคุณแม่ แล้วคุณแม่ก็ได้ส่งต่อมาให้กับเราอีกที ซึ่งกระดุมอันนี้ก็ไม่ทราบประวัติว่า คุณย่าสั่งทำมาจากที่ใด ทราบแต่เพียงว่ามีอายุไม่ต่ำกว่าร้อยปี เพราะท่านเป็นหลานเจ้าพระยาในสมัยรัชกาลที่ 5 และเพชรที่นำมาทำกระดุมนั้น เป็นเพชรซีกที่หายากมาก ในปัจจุบันแทบไม่มีให้เห็นแล้ว”
เขมเล่าต่อว่า เธอภูมิใจมากที่ได้รับกระดุมเพชรซีกโบราณชิ้นนี้จากคุณแม่ เพราะมันเป็นสิ่งแทนกายแห่งความรักความผูกพันที่มีต่อคุณย่า ที่ถึงแม้จะจากเธอไปแล้วก็ตาม แต่ความรักที่เธอมีต่อท่าน ไม่ได้เลือนหายไปตามกาลเวลา และทุกครั้งที่มีพระราชพิธีสำคัญ เธอก็จะนำกระดุมเพชรซีกขึ้นมาประดับกับชุดไทยทุกครั้ง
“ภูมิใจมากที่เราได้รับกระดุมเพชรซีกอันนี้ และเมื่อมีพระราชพิธีสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เขมก็จะนำกระดุมอันนี้มาติดที่รังดุมของชุดไทยแทนกระดุมธรรมดา เพราะนอกจากจะเป็นการแต่งกายใส่เครื่องประดับอันสมพระเกียรติของงานพระราชพิธีแล้ว ยังเป็นการรำลึกถึงท่านย่าว่าท่านไม่ได้จากเราไปไหน ท่านอยู่กับเราตลอดเวลาอีกด้วย” เขมเล่าด้วยน้ำเสียงภาคภูมิใจ
ขณะที่ คุณหญิงแอร์-ม.ร.ว. จันทรลัดดา ยุคล อุบลเดชประชารักษ์ ที่สัมผัสได้ถึงความรักและความห่วงใยที่ท่านป้า ท่านหญิงมาลินีมงคล อมาตยกุล พระนามเดิม “หม่อมเจ้ามาลินีมงคล ยุคล” พระธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ผ่านพระเครื่องหลวงปู่ทวด อันเป็นพระเครื่องที่ท่านหญิงป้าประทานให้เธอเมื่อหลายปีก่อน และทุกคร้ังที่ต้องเดินทางไปที่ไหนไกลๆ เธอจะนำพระหลวงปู่ทวดมาใส่ไว้เสมอ เพื่อความอุ่นใจในการเดินทาง
“ท่านป้าทราบว่าหญิงเป็นคนที่กลัวเครื่องบิน และกลัวการที่ต้องเดินทางไกลมากๆ มีอยู่วันหนึ่งหญิงไปหาท่านที่บ้าน ท่านจึงนำพระเครื่องหลวงปู่ทวด ซึ่งเป็นพระที่ท่านพกติดตัวตลอดให้หญิง เพื่อให้พกติดตัวเวลาไปไหนมาไหน เพราะท่านป้าบอกว่า หลวงปู่ทวดองค์นี้จะช่วยคุ้มครองเวลาเราเดินทางไปไหนมาไหน ให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากภัยอันตรายทั้งปวง ซึ่งนับตั้งแต่วันนั้น หญิงก็พกหลวงปู่ทวดติดตัวตลอด เหมือนเป็นเครื่องประดับอีกชิ้นประจำกายที่ขาดไม่ได้เลย”
หญิงแอร์เล่าต่อว่า ถึงแม้จะไม่ทราบประวัติว่า หลวงปู่ทวดองค์นี้ท่านป้าได้มาอย่างไร แต่ตั้งแต่เล็กจนโต ก็เห็นท่านพกหลวงปู่ทวดองค์นี้ติดตัวมาโดยตลอด และทุกครั้งที่ใส่หลวงปู่ทวด นอกจากเราจะอุ่นใจในการเดินทางแล้ว ยังทำให้เรารู้สึกถึงความรักและความห่วงใย ที่ท่านป้ามีให้เธอตลอดเวลา
ปิดท้ายที่ มุก-ม.ล. รดีเทพ เทวกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ ที่ได้รับมรกดกรักจากคุณทวด หม่อมจันทน์ ชายาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ องค์ต้นราชสกุลเทวกุล เป็นชุดเครื่องประดับสร้อยมุก และเข็มขัดทองรัดเอว อันเป็นมรดกตกทอดมาจนถึงเธอ และในชีวิตนี้เธอได้เก็บรักษาเข็มขัดทองของคุณทวดไว้เป็นอย่างดี จะนำมาใส่ก็เนื่องในโอกาสคัญในชีวิตเท่าน้ัน
“เข็มขัดทองเส้นนี้มุกได้รับมาจากคุณแม่อีกที เพราะเป็นเครื่องประดับของคุณทวดตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งคุณแม่ก็เก็บรักษาไว้อย่างดี คุณแม่มอบเข็มขัดทองเส้นนี้ให้กับมุก เป็นของขวัญวันเข้าพิธีแต่งงาน และเราจะใช้เข็มขัดนี้กับชุดไทยในโอกาสต่างๆ เพราะนอกจากจะเป็นการแต่งกายที่เข้ากับชุดแล้ว ยังเป็นเสมือนหนึ่งตัวแทนของความรักที่คุณทวดฝากไว้ให้กับเรา” มุกเล่าด้วยน้ำเสียงแห่งความปลื้มปีติ
ความรักความผูกพันถึงแม้วันเวลาจะผันผ่านมายาวนาน แต่ไม่เคยทำให้ “เหมียง-วิมลภัทร์ เปี่ยมพงศ์สานต์” บุตรสาวคนโตของ คุณหญิงนาว-ม.ร.ว. ดัจฉราพิมล รัชนี ซึ่งเหมียงมีศักดิ์เป็นหลานทวด ม.จ. พรพิมลพรรณ รัชนี ชายาในพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ องค์ต้นราสกุลรัชนี เลือนหายไปตามกาลเวลา ถึงแม้ว่าท่านทวดจะถึงชีพพิตักษัยเมื่อตอนเธออายุได้เพียง 6 ขวบ หากแต่ความรักและความเมตตาที่ท่านทวดมีให้เธอ ผ่านเครื่องประดับประจำกาย สร้อยข้อมือเพชรแถวเรียง 44 เม็ด ที่ท่านทวดถอดออกจากข้อมือ แล้วสวมให้เธอเป็นของรับขวัญวันเกิดอายุครบหนึ่งเดือน ยังคงประทับอยู่ในความทรงจำเสมอมา
“ช่วงเหมียงอายุครบหนึ่งเดือน แม่พาเหมียงออกจากบ้านไปเฝ้าท่านทวดที่วังวิทยุ ท่านรับสั่งว่า “อุ๊ย...นึกแล้วเชียวว่า วันนี้จะมีใครมาหา ฉันเตรียมของไว้ให้” แล้วท่านทวดก็ทรงถอดสร้อยข้อมือเพชรแถวเรียง 44 เม็ดให้เป็นของขวัญ ซึ่งสร้อยข้อมือนี้เข้าใจว่าท่านทวดทรงสั่งทำจากร้านเพชรแถวบ้านหม้อ ซึ่งจะมีร้านประจำที่ท่านเสด็จไปทอดพระเนตรเครื่องเพชรอยู่หลายร้าน”
ปัจจุบันนี้สร้อยข้อมือเพชรแถวเรียง 44 เม็ด ที่เหมียงได้รับเป็นของขวัญจากท่านทวด เธอได้เก็บไว้เป็นอย่างดี และจะนำขึ้นมาประดับข้อมือเรียวสวยทุกครั้ง เมื่อต้องออกงานสังคมสำคัญ
นอกจากสร้อยข้อมือของรับขวัญเดือนแล้ว คุณหญิงนาว ผู้เป็นมารดาของเธอยังได้เก็บ “เสมาพระปรมาภิไธยย่อ รร.6 ชั้นที่ 1 ฝังเพชร อันเป็นเครื่องประดับชิ้นสำคัญที่ ม.จ.พรพิมลพรรณ ประทานให้กับเธอไว้ให้เหมียง ซึ่งเป็นบุตรสาวคนโตไว้ใส่เป็นเครื่องประดับประจำกายอีกเช่นกัน
“เสมาพระปรมาภิไธยย่อ รร.6 ชิ้นนี้ท่านทวดได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และประทานให้แม่เมื่อวันที่ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงพระศพ พระนางเธอลักษมีลาวัณ พระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงเป็นพระกนิษฐาต่างพระมารดากับท่านทวด” เหมียงย้อนอดีตให้ฟังด้วยน้ำเสียงสดใส
ถึงแม้วันเวลาจะผ่านมาเนิ่นนานหลายสิบปี แต่ความรักของหม่อมย่า หม่อมเกสรบุปผา เกษมศรี สกุลเดิม อาคมานนท์ หม่อมในหม่อมเจ้าอธิพรพงศ์ เกษมศรี ที่ฝากไว้ให้หลานสาวสุดที่รัก “เขม-ม.ล. กัลยกร เกษมศรี” ยังคงตราตรึงอยู่ในห้วงหัวใจ ผ่านเครื่องประดับเลอค่า ที่มีอายุนับร้อยปีที่ตกทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น อย่าง “กระดุมเพชรซีกโบราณ”
เขมเล่าว่า กระดุมเพชรซีกโบราณนี้เป็นสมบัติตกทอดมาตั้งแต่รุ่นคุณย่า แล้วคุณย่าได้มอบให้กับมารดาของเธอ (ทิพาพร เกษมศรี ณ อยุธยา) และเมื่อถึงเวลาอันสมควร เธอผู้เป็นบุตรสาวคนโตของบ้าน จึงได้รับมรดกอันล้ำค่านี้มาครอบครอง
“ความจริงกระดุมเพชรซีกนี้ คุณย่าได้ให้กับคุณแม่ แล้วคุณแม่ก็ได้ส่งต่อมาให้กับเราอีกที ซึ่งกระดุมอันนี้ก็ไม่ทราบประวัติว่า คุณย่าสั่งทำมาจากที่ใด ทราบแต่เพียงว่ามีอายุไม่ต่ำกว่าร้อยปี เพราะท่านเป็นหลานเจ้าพระยาในสมัยรัชกาลที่ 5 และเพชรที่นำมาทำกระดุมนั้น เป็นเพชรซีกที่หายากมาก ในปัจจุบันแทบไม่มีให้เห็นแล้ว”
เขมเล่าต่อว่า เธอภูมิใจมากที่ได้รับกระดุมเพชรซีกโบราณชิ้นนี้จากคุณแม่ เพราะมันเป็นสิ่งแทนกายแห่งความรักความผูกพันที่มีต่อคุณย่า ที่ถึงแม้จะจากเธอไปแล้วก็ตาม แต่ความรักที่เธอมีต่อท่าน ไม่ได้เลือนหายไปตามกาลเวลา และทุกครั้งที่มีพระราชพิธีสำคัญ เธอก็จะนำกระดุมเพชรซีกขึ้นมาประดับกับชุดไทยทุกครั้ง
“ภูมิใจมากที่เราได้รับกระดุมเพชรซีกอันนี้ และเมื่อมีพระราชพิธีสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เขมก็จะนำกระดุมอันนี้มาติดที่รังดุมของชุดไทยแทนกระดุมธรรมดา เพราะนอกจากจะเป็นการแต่งกายใส่เครื่องประดับอันสมพระเกียรติของงานพระราชพิธีแล้ว ยังเป็นการรำลึกถึงท่านย่าว่าท่านไม่ได้จากเราไปไหน ท่านอยู่กับเราตลอดเวลาอีกด้วย” เขมเล่าด้วยน้ำเสียงภาคภูมิใจ
ขณะที่ คุณหญิงแอร์-ม.ร.ว. จันทรลัดดา ยุคล อุบลเดชประชารักษ์ ที่สัมผัสได้ถึงความรักและความห่วงใยที่ท่านป้า ท่านหญิงมาลินีมงคล อมาตยกุล พระนามเดิม “หม่อมเจ้ามาลินีมงคล ยุคล” พระธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ผ่านพระเครื่องหลวงปู่ทวด อันเป็นพระเครื่องที่ท่านหญิงป้าประทานให้เธอเมื่อหลายปีก่อน และทุกคร้ังที่ต้องเดินทางไปที่ไหนไกลๆ เธอจะนำพระหลวงปู่ทวดมาใส่ไว้เสมอ เพื่อความอุ่นใจในการเดินทาง
“ท่านป้าทราบว่าหญิงเป็นคนที่กลัวเครื่องบิน และกลัวการที่ต้องเดินทางไกลมากๆ มีอยู่วันหนึ่งหญิงไปหาท่านที่บ้าน ท่านจึงนำพระเครื่องหลวงปู่ทวด ซึ่งเป็นพระที่ท่านพกติดตัวตลอดให้หญิง เพื่อให้พกติดตัวเวลาไปไหนมาไหน เพราะท่านป้าบอกว่า หลวงปู่ทวดองค์นี้จะช่วยคุ้มครองเวลาเราเดินทางไปไหนมาไหน ให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากภัยอันตรายทั้งปวง ซึ่งนับตั้งแต่วันนั้น หญิงก็พกหลวงปู่ทวดติดตัวตลอด เหมือนเป็นเครื่องประดับอีกชิ้นประจำกายที่ขาดไม่ได้เลย”
หญิงแอร์เล่าต่อว่า ถึงแม้จะไม่ทราบประวัติว่า หลวงปู่ทวดองค์นี้ท่านป้าได้มาอย่างไร แต่ตั้งแต่เล็กจนโต ก็เห็นท่านพกหลวงปู่ทวดองค์นี้ติดตัวมาโดยตลอด และทุกครั้งที่ใส่หลวงปู่ทวด นอกจากเราจะอุ่นใจในการเดินทางแล้ว ยังทำให้เรารู้สึกถึงความรักและความห่วงใย ที่ท่านป้ามีให้เธอตลอดเวลา
ปิดท้ายที่ มุก-ม.ล. รดีเทพ เทวกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ ที่ได้รับมรกดกรักจากคุณทวด หม่อมจันทน์ ชายาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ องค์ต้นราชสกุลเทวกุล เป็นชุดเครื่องประดับสร้อยมุก และเข็มขัดทองรัดเอว อันเป็นมรดกตกทอดมาจนถึงเธอ และในชีวิตนี้เธอได้เก็บรักษาเข็มขัดทองของคุณทวดไว้เป็นอย่างดี จะนำมาใส่ก็เนื่องในโอกาสคัญในชีวิตเท่าน้ัน
“เข็มขัดทองเส้นนี้มุกได้รับมาจากคุณแม่อีกที เพราะเป็นเครื่องประดับของคุณทวดตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งคุณแม่ก็เก็บรักษาไว้อย่างดี คุณแม่มอบเข็มขัดทองเส้นนี้ให้กับมุก เป็นของขวัญวันเข้าพิธีแต่งงาน และเราจะใช้เข็มขัดนี้กับชุดไทยในโอกาสต่างๆ เพราะนอกจากจะเป็นการแต่งกายที่เข้ากับชุดแล้ว ยังเป็นเสมือนหนึ่งตัวแทนของความรักที่คุณทวดฝากไว้ให้กับเรา” มุกเล่าด้วยน้ำเสียงแห่งความปลื้มปีติ