โดย นพ.กฤษดา ศิรามพุช
เกลือ ให้ประโยชน์กับชีวิตมหาศาลครับ
นอกจากข่าวดังเรื่องเกลือที่อยู่ผิดที่ผิดทางแล้ว ก็ยังมีการรณรงค์ให้เห็นภัยของเกลือต่อสุขภาพอีกมากที่ทำให้เกลือกลายเป็นผู้ร้ายโดยไม่มีทนายแก้ต่าง
เพื่อสร้างเกราะกันเสียโอกาสให้กับตัวเรา ขอให้ยึดหลักง่ายๆ ไว้ก่อนว่า “ไม่มีสิ่งใดที่เป็นโทษอย่างไร้ข้อดี” ดังนั้นการรู้ความจริงก็คือ ต้องรู้ทั้งประโยชน์และข้อควรระวังครับ
เกลือเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตครับ
ร่างกายอยู่ไม่ได้ถ้าขาดเกลือ
ถ้าท่านอยู่ในกรุงโรมเมื่อ 2,000 ปีก่อน จะยิ่งได้ความรู้สึกว่าเกลือเป็นดั่ง “ชีวิต” เลยอย่างยิ่ง เพราะสิ่งที่รัฐบาลจ่ายนายทหารโรมันเป็นค่าจ้างนั้นคือ “เกลือ(Salarium)” ซึ่งก็ไม่รู้ว่าแซลาริอุมนี้อาจขาดมือทำให้ช่วงสิ้นเดือน ทหารโรมันต้องพานพบอาการ “เกลือขาดมือ” หรือเปล่า แต่ที่รู้คือเรื่องนี้เป็นที่มาของคำว่า “แซลารี(Salary)” หรือเงินเดือนจวบจนทุกวันนี้
ซึ่งเกลือมีแบ่งเป็นหลายประเภทเช่น เกลือทะเล, เกลือสินเธาว์, และอีกมาก โดยผมจะขอแบ่งง่ายๆ ตามชนิดเกลือที่เราใช้ใกล้ตัวส่วนใหญ่เป็น 2 อย่างดังนี้
- เกลือที่มาจากโรงงาน
- เกลือทะเลธรรมชาติ
ทั้งสองเกลือนี้มีเนื้อแท้เดียวกันคือ “โซเดียมคลอไรด์” สำหรับเกลือประเภทแรกคือ เกลือที่ “ผ่านกระบวนการ” ซึ่งจะต่างจากเกลือทะเลธรรมชาติที่จะได้แร่ธาตุต่างๆ อย่างเช่นไอโอดีน, แมกนีเซียม,โพแทสเซียม, แคลเซียม, เหล็ก,โบรไมด์, และอื่นๆ
เกลือถูกนำมาดัดแปลงใช้กับสุขภาพหลายรูปแบบไม่ว่าจะเกลือสครับขัดผิว หรือนำมาทำหม้อเกลือประคบ ส่วนเรื่องอาหารการกินแทบไม่ต้องพูดถึงเพราะเกลือถูกนำมาปรุงเป็นเมนูอร่อยอยู่มาก อย่างปลาเผาที่ต้องเอาเกลือมาพอกไว้จนดูสวยน่ากิน หรืออาหารบางอย่างที่ใส่น้ำปลาแล้วไม่อร่อย ก็ต้องใส่เกลือแทนอย่างแกงจืด รวมถึงอาหาร “คลีน” ที่กำลังดังก็ใช้เกลือเป็นเครื่องปรุงแทนด้วย
จึงอยากขอพาท่านที่รักมาดูประโยชน์ของเกลือบางชนิดที่อยู่ใกล้ชีวิตเราครับ
>> 6 เกลือที่แตกต่าง
ดีเกลือ
โหมโรงให้หวือหวาเล็กๆ ก่อน เพราะจริงแล้วดีเกลือไม่ใช่ “เกลือแกง” หรือเกลือปรุงอาหารอย่างที่เราคิดครับ แต่มันเป็นของที่ใช้เป็นยาได้ อย่างดีเกลือฝรั่งหรือ “แมกนีเซียมซัลเฟต (Epsom salt)” นั้นมีฤทธิ์ช่วยระบายได้ เพราะมีแร่แมกนีเซียมเป็นตัวช่วย
หลายท่านจึงใช้มันในกระบวนการล้างพิษตับ แต่ไม่ควรกินเองในท่านที่มีปัญหาลำไส้นะครับเพราะมันอาจทำให้ถ่ายมากจนอันตรายได้ นอกจากนั้นบางท่านยังใช้ในการแช่น้ำอาบโดยใส่ดีเกลือที่ว่านี้ลงไปในอ่างอาบน้ำครับ
เกลือสมุทร
เป็นเกลือของ “สาวนาเกลือ” หวานใจหนุ่มนาข้าวแท้ๆ ทีเดียว เพราะเกลือที่ว่าคือเกลือทะเลที่ได้มาจากการระเหยเป็นไอของน้ำทะเล (น้ำเกลือธรรมชาติ) ซึ่งเกลือนี้มักมีราคาแพงกว่าเกลือแกงทั่วไป
โดยเกลือที่ว่ามีที่มานอกจากสมุทรสาครยังมีแถวบ้านแหลมจังหวัดเพชรบุรีอีกด้วย โดยในน้ำทะเลนั้นมีแร่ธาตุธรรมชาติปนอยู่อย่างแมกนีเซียม, แคลเซียม,โพแทสเซียม,โบรไมด์, สตรอนเชียม
และที่สำคัญคือ “ไอโอดีน” ซึ่งจำเป็นต่อต่อมไร้ท่อที่คอของเรามาก ซึ่งความมากน้อยของไอโอดีนที่ว่าขึ้นกับแหล่งที่มาของเกลือทะเลด้วยครับ
เกลือสินเธาว์
ผลิตมาจาก “เกลือหิน (Rock salt)” ซึ่งเป็นเกลือที่อยู่บนผืนพิภพบนดินเรานี่เอง ชั่วแต่ครั้งหนึ่งนับล้านปีมาผืนดินที่ว่าเคยเป็นก้นทะเลมาก่อน จึงยังคงมีฟอสซิลเกลือซึมซาบอยู่ในเนื้อดิน พบได้แถบภาคอีสานที่ครั้งหนึ่งเคยมีผืนมหาสมุทรโบราณหลากอยู่
ซึ่งกระบวนการผลิตเกลือสินเธาว์นั้น มีกรรมวิธีในการแยกมันออกมาจากเพื่อนของมันที่ชื่อเกลือโพแทส ส่วนการใช้ประโยชน์นั้นเกลือหินมักไม่ใช้กับของกิน (ส่วนหนึ่งเพราะมันไม่มีไอโอดีนเหมือนเกลือสมุทรด้วย) แต่ใช้กับกระบวนการอุตสาหกรรมเช่นทำโซดาไฟ (NaOH) รวมถึงการใช้ละลายหิมะบนทางเท้าในต่างประเทศด้วยครับ
ดอกเกลือ
ฟังดูแปลกหูอยู่สักหน่อยแต่มันจัดอยู่ในกลุ่ม “เกลือสมุทร (Sea salt)” นั่นละครับ
ซึ่งเกลือชนิดนี้เป็นเกลือพิเศษที่ใช้เป็นเสน่ห์ปลายจวักของเชฟหลายท่าน จนมันได้ชื่อเล่นว่าเลอค่าประหนึ่ง “คาเวียร์ (Caviar of sea salt)”
โดยมันมาจากการอิ่มตัวยิ่งยวดจนลอยฉาบหน้าอยู่บนนาเกลือ หน้าตาคล้ายดอกไม้บานที่ลอยอยู่ (Fleur de Sel)
ยิ่งถิ่นใดมีธาตุเหล็กปนอยู่แยะจะให้ดอกเกลือสีชมพูสวย ดอกเกลือจะให้รสชาติเค็มนวลๆ ที่กลมกล่อมและสุขุม แค่เอามาโรยบนสลัดชิ้นมะเขือเทศที่ฝานรออยู่ก็แสนจะเข้ากันแล้วครับ
เกลือใช้ดอง
เกลือชนิดนี้ฝรั่งเรียกตรงๆว่า “พิกกลิ้ง ซอลต์ (Pickling Salt)” ซึ่งเป็นเกลือที่เหมาะกับ “คนดี” เพราะมันรักษาความเค็มได้ดียิ่งด้วยเกลือดองให้รสเค็มจัดเข้มข้นมาก
ดังนั้นการใช้จึงต้องระวังปริมาณให้ดี ซึ่งในท่านที่มีโรคต้องจำกัดเค็มอย่างโรคไตจึงควรให้จำกัดปริมาณเกลือชนิดนี้และของหมักดองในน้ำเกลือ (Brine) ไว้ เพราะมันมีผลทำให้ “ไตเสื่อม” ลงเร็วได้
ส่วนในท่านที่ต้องเสริมไอโอดีนให้ร่างกาย เกลือดองก็ไม่เหมาะที่จะเป็นตัวเลือกเพราะมันไม่มีไอโอดีนครับ
เกลือตัวผู้
ที่จริงเกลือชนิดนี้ก็คือ “เกลือเม็ด” นั่นละครับ แต่ครั้งหนึ่งมันทำให้ผมฟังแล้วสะดุดหูเมื่อสัมภาษณ์คุณหมอแผนไทยโดยท่านบอกว่าใช้ “เกลือตัวผู้” ในการทำประคบหม้อเกลือซึ่งเกลือตัวผู้ก็คือ เกลือเม็ดยาวที่มีปลายแหลมนั่นเองครับ
โดยเนื้อแท้ของมันก็คือ โซเดียมคลอไรด์เหมือนกับสหายเกลือชนิดอื่น แต่ด้วยรูปร่างที่หล่อเหลามีเหลี่ยมมุมนี้เองที่ทำให้มันพิเศษ โดยเกลือตัวผู้นี้ทางแพทย์ไทยท่านใช้แทรกยาในตำรับบำบัดโรคต่างๆ อย่างท้องมาน, แก้ดีพิการไปจนถึงใช้กรีดฝีเย็บทำคลอดแทนมีดหมอ (Scalpel) ในสมัยก่อนโดยหมอตำแยจะเลือกเกลือตัวผู้ที่มีแง่งคมที่สุดครับ
ก่อนจากกันขอแถมเทคนิคแก้เกลือจับเป็นก้อน (Anticaking) ฝากไว้โดยให้ใส่เมล็ดข้าวสารลงไปสักเล็กน้อยจะช่วยได้ครับ
จะเห็นว่าเกลือมีหลายชนิดกว่าที่คิดและมันยังมีส่วนช่วยชีวิตของเราให้ดำเนินไปได้อย่างเป็นปกติในทุกลมหายใจ ดังนั้นการเห็นเกลือเป็นผู้ร้ายจึงไม่ใช่ทางออกเช่นเดียวกับการปรุงอาหารด้วยรสชาติที่บอกว่า “เป็นกลาง” ต่อลิ้นของคนทุกชาติทุกภาษา ก็อาจพาให้อาหารนั้นออกมาไม่อร่อย เพราะถึงอย่างไรรสชาติออริจินัลดั้งเดิมก็ย่อมดีที่สุด
ถ้าใช้เกลือให้เหมาะก็จะเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ครับ
* ช่วยคลิก Like ด้วยนะคะ เพื่อเป็นแฟนเพจ Lady Manager รับข่าวสารแซ่บๆ ของผู้หญิงในแวดวงสุขภาพความงาม แฟชั่น และความสัมพันธ์ (**)
>> อัพเดตข่าวในแวดวงสังคม ก็อซซิป แฟชั่น ความงาม และเที่ยว กิน ดื่ม เพิ่มเติมได้ที่ http://www.celeb-online.net
เกลือ ให้ประโยชน์กับชีวิตมหาศาลครับ
นอกจากข่าวดังเรื่องเกลือที่อยู่ผิดที่ผิดทางแล้ว ก็ยังมีการรณรงค์ให้เห็นภัยของเกลือต่อสุขภาพอีกมากที่ทำให้เกลือกลายเป็นผู้ร้ายโดยไม่มีทนายแก้ต่าง
เพื่อสร้างเกราะกันเสียโอกาสให้กับตัวเรา ขอให้ยึดหลักง่ายๆ ไว้ก่อนว่า “ไม่มีสิ่งใดที่เป็นโทษอย่างไร้ข้อดี” ดังนั้นการรู้ความจริงก็คือ ต้องรู้ทั้งประโยชน์และข้อควรระวังครับ
เกลือเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตครับ
ร่างกายอยู่ไม่ได้ถ้าขาดเกลือ
ถ้าท่านอยู่ในกรุงโรมเมื่อ 2,000 ปีก่อน จะยิ่งได้ความรู้สึกว่าเกลือเป็นดั่ง “ชีวิต” เลยอย่างยิ่ง เพราะสิ่งที่รัฐบาลจ่ายนายทหารโรมันเป็นค่าจ้างนั้นคือ “เกลือ(Salarium)” ซึ่งก็ไม่รู้ว่าแซลาริอุมนี้อาจขาดมือทำให้ช่วงสิ้นเดือน ทหารโรมันต้องพานพบอาการ “เกลือขาดมือ” หรือเปล่า แต่ที่รู้คือเรื่องนี้เป็นที่มาของคำว่า “แซลารี(Salary)” หรือเงินเดือนจวบจนทุกวันนี้
ซึ่งเกลือมีแบ่งเป็นหลายประเภทเช่น เกลือทะเล, เกลือสินเธาว์, และอีกมาก โดยผมจะขอแบ่งง่ายๆ ตามชนิดเกลือที่เราใช้ใกล้ตัวส่วนใหญ่เป็น 2 อย่างดังนี้
- เกลือที่มาจากโรงงาน
- เกลือทะเลธรรมชาติ
ทั้งสองเกลือนี้มีเนื้อแท้เดียวกันคือ “โซเดียมคลอไรด์” สำหรับเกลือประเภทแรกคือ เกลือที่ “ผ่านกระบวนการ” ซึ่งจะต่างจากเกลือทะเลธรรมชาติที่จะได้แร่ธาตุต่างๆ อย่างเช่นไอโอดีน, แมกนีเซียม,โพแทสเซียม, แคลเซียม, เหล็ก,โบรไมด์, และอื่นๆ
เกลือถูกนำมาดัดแปลงใช้กับสุขภาพหลายรูปแบบไม่ว่าจะเกลือสครับขัดผิว หรือนำมาทำหม้อเกลือประคบ ส่วนเรื่องอาหารการกินแทบไม่ต้องพูดถึงเพราะเกลือถูกนำมาปรุงเป็นเมนูอร่อยอยู่มาก อย่างปลาเผาที่ต้องเอาเกลือมาพอกไว้จนดูสวยน่ากิน หรืออาหารบางอย่างที่ใส่น้ำปลาแล้วไม่อร่อย ก็ต้องใส่เกลือแทนอย่างแกงจืด รวมถึงอาหาร “คลีน” ที่กำลังดังก็ใช้เกลือเป็นเครื่องปรุงแทนด้วย
จึงอยากขอพาท่านที่รักมาดูประโยชน์ของเกลือบางชนิดที่อยู่ใกล้ชีวิตเราครับ
>> 6 เกลือที่แตกต่าง
ดีเกลือ
โหมโรงให้หวือหวาเล็กๆ ก่อน เพราะจริงแล้วดีเกลือไม่ใช่ “เกลือแกง” หรือเกลือปรุงอาหารอย่างที่เราคิดครับ แต่มันเป็นของที่ใช้เป็นยาได้ อย่างดีเกลือฝรั่งหรือ “แมกนีเซียมซัลเฟต (Epsom salt)” นั้นมีฤทธิ์ช่วยระบายได้ เพราะมีแร่แมกนีเซียมเป็นตัวช่วย
หลายท่านจึงใช้มันในกระบวนการล้างพิษตับ แต่ไม่ควรกินเองในท่านที่มีปัญหาลำไส้นะครับเพราะมันอาจทำให้ถ่ายมากจนอันตรายได้ นอกจากนั้นบางท่านยังใช้ในการแช่น้ำอาบโดยใส่ดีเกลือที่ว่านี้ลงไปในอ่างอาบน้ำครับ
เกลือสมุทร
เป็นเกลือของ “สาวนาเกลือ” หวานใจหนุ่มนาข้าวแท้ๆ ทีเดียว เพราะเกลือที่ว่าคือเกลือทะเลที่ได้มาจากการระเหยเป็นไอของน้ำทะเล (น้ำเกลือธรรมชาติ) ซึ่งเกลือนี้มักมีราคาแพงกว่าเกลือแกงทั่วไป
โดยเกลือที่ว่ามีที่มานอกจากสมุทรสาครยังมีแถวบ้านแหลมจังหวัดเพชรบุรีอีกด้วย โดยในน้ำทะเลนั้นมีแร่ธาตุธรรมชาติปนอยู่อย่างแมกนีเซียม, แคลเซียม,โพแทสเซียม,โบรไมด์, สตรอนเชียม
และที่สำคัญคือ “ไอโอดีน” ซึ่งจำเป็นต่อต่อมไร้ท่อที่คอของเรามาก ซึ่งความมากน้อยของไอโอดีนที่ว่าขึ้นกับแหล่งที่มาของเกลือทะเลด้วยครับ
เกลือสินเธาว์
ผลิตมาจาก “เกลือหิน (Rock salt)” ซึ่งเป็นเกลือที่อยู่บนผืนพิภพบนดินเรานี่เอง ชั่วแต่ครั้งหนึ่งนับล้านปีมาผืนดินที่ว่าเคยเป็นก้นทะเลมาก่อน จึงยังคงมีฟอสซิลเกลือซึมซาบอยู่ในเนื้อดิน พบได้แถบภาคอีสานที่ครั้งหนึ่งเคยมีผืนมหาสมุทรโบราณหลากอยู่
ซึ่งกระบวนการผลิตเกลือสินเธาว์นั้น มีกรรมวิธีในการแยกมันออกมาจากเพื่อนของมันที่ชื่อเกลือโพแทส ส่วนการใช้ประโยชน์นั้นเกลือหินมักไม่ใช้กับของกิน (ส่วนหนึ่งเพราะมันไม่มีไอโอดีนเหมือนเกลือสมุทรด้วย) แต่ใช้กับกระบวนการอุตสาหกรรมเช่นทำโซดาไฟ (NaOH) รวมถึงการใช้ละลายหิมะบนทางเท้าในต่างประเทศด้วยครับ
ดอกเกลือ
ฟังดูแปลกหูอยู่สักหน่อยแต่มันจัดอยู่ในกลุ่ม “เกลือสมุทร (Sea salt)” นั่นละครับ
ซึ่งเกลือชนิดนี้เป็นเกลือพิเศษที่ใช้เป็นเสน่ห์ปลายจวักของเชฟหลายท่าน จนมันได้ชื่อเล่นว่าเลอค่าประหนึ่ง “คาเวียร์ (Caviar of sea salt)”
โดยมันมาจากการอิ่มตัวยิ่งยวดจนลอยฉาบหน้าอยู่บนนาเกลือ หน้าตาคล้ายดอกไม้บานที่ลอยอยู่ (Fleur de Sel)
ยิ่งถิ่นใดมีธาตุเหล็กปนอยู่แยะจะให้ดอกเกลือสีชมพูสวย ดอกเกลือจะให้รสชาติเค็มนวลๆ ที่กลมกล่อมและสุขุม แค่เอามาโรยบนสลัดชิ้นมะเขือเทศที่ฝานรออยู่ก็แสนจะเข้ากันแล้วครับ
เกลือใช้ดอง
เกลือชนิดนี้ฝรั่งเรียกตรงๆว่า “พิกกลิ้ง ซอลต์ (Pickling Salt)” ซึ่งเป็นเกลือที่เหมาะกับ “คนดี” เพราะมันรักษาความเค็มได้ดียิ่งด้วยเกลือดองให้รสเค็มจัดเข้มข้นมาก
ดังนั้นการใช้จึงต้องระวังปริมาณให้ดี ซึ่งในท่านที่มีโรคต้องจำกัดเค็มอย่างโรคไตจึงควรให้จำกัดปริมาณเกลือชนิดนี้และของหมักดองในน้ำเกลือ (Brine) ไว้ เพราะมันมีผลทำให้ “ไตเสื่อม” ลงเร็วได้
ส่วนในท่านที่ต้องเสริมไอโอดีนให้ร่างกาย เกลือดองก็ไม่เหมาะที่จะเป็นตัวเลือกเพราะมันไม่มีไอโอดีนครับ
เกลือตัวผู้
ที่จริงเกลือชนิดนี้ก็คือ “เกลือเม็ด” นั่นละครับ แต่ครั้งหนึ่งมันทำให้ผมฟังแล้วสะดุดหูเมื่อสัมภาษณ์คุณหมอแผนไทยโดยท่านบอกว่าใช้ “เกลือตัวผู้” ในการทำประคบหม้อเกลือซึ่งเกลือตัวผู้ก็คือ เกลือเม็ดยาวที่มีปลายแหลมนั่นเองครับ
โดยเนื้อแท้ของมันก็คือ โซเดียมคลอไรด์เหมือนกับสหายเกลือชนิดอื่น แต่ด้วยรูปร่างที่หล่อเหลามีเหลี่ยมมุมนี้เองที่ทำให้มันพิเศษ โดยเกลือตัวผู้นี้ทางแพทย์ไทยท่านใช้แทรกยาในตำรับบำบัดโรคต่างๆ อย่างท้องมาน, แก้ดีพิการไปจนถึงใช้กรีดฝีเย็บทำคลอดแทนมีดหมอ (Scalpel) ในสมัยก่อนโดยหมอตำแยจะเลือกเกลือตัวผู้ที่มีแง่งคมที่สุดครับ
ก่อนจากกันขอแถมเทคนิคแก้เกลือจับเป็นก้อน (Anticaking) ฝากไว้โดยให้ใส่เมล็ดข้าวสารลงไปสักเล็กน้อยจะช่วยได้ครับ
จะเห็นว่าเกลือมีหลายชนิดกว่าที่คิดและมันยังมีส่วนช่วยชีวิตของเราให้ดำเนินไปได้อย่างเป็นปกติในทุกลมหายใจ ดังนั้นการเห็นเกลือเป็นผู้ร้ายจึงไม่ใช่ทางออกเช่นเดียวกับการปรุงอาหารด้วยรสชาติที่บอกว่า “เป็นกลาง” ต่อลิ้นของคนทุกชาติทุกภาษา ก็อาจพาให้อาหารนั้นออกมาไม่อร่อย เพราะถึงอย่างไรรสชาติออริจินัลดั้งเดิมก็ย่อมดีที่สุด
ถ้าใช้เกลือให้เหมาะก็จะเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ครับ
* ช่วยคลิก Like ด้วยนะคะ เพื่อเป็นแฟนเพจ Lady Manager รับข่าวสารแซ่บๆ ของผู้หญิงในแวดวงสุขภาพความงาม แฟชั่น และความสัมพันธ์ (**)
>> อัพเดตข่าวในแวดวงสังคม ก็อซซิป แฟชั่น ความงาม และเที่ยว กิน ดื่ม เพิ่มเติมได้ที่ http://www.celeb-online.net