By Lady Manager
ใครๆก็อยากหน้าใส ไร้สิว กันทั้งนั้น สังเกตดูสิ คลินิกความงาม รักษาสิวโผล่ให้เห็นแทบทุกที่ บางร้านรอคิวหลายชั่วโมงเพียงเพื่อรอพบหมอไม่กี่วินาที
บางคนเสียเงินหลายหมื่นเพื่อรักษาสิว แต่ไม่ว่าจะกี่วิธี เปลี่ยนหมอก็แล้ว เปลี่ยนคลินิกก็แล้ว สิวก็ยังโผล่ปูดให้กวนใจอีกจนได้
"การรักษาสิวอย่างปลอดภัยและได้ผลในระยะยาวหรือการรักษาสิวที่ประสบความสำเร็จนั้น ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1. การรักษาด้วยยา ไม่ว่าจะเป็นยาทาหรือยารับประทาน
2.การรักษาเสริม เช่น การกดสิว ฉีดสิว และ 3.การปฎิบัติตัวอย่างถูกต้อง ซึ่งมีความสำคัญมากไม่แพ้ปัจจัยด้านอื่นๆ ซึ่งหากได้ทำประกอบกันแล้ว การรักษาสิวอย่างปลอดภัยจะได้ผลในระยะยาว ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากสำหรับวัยรุ่น”
ผศ.นพ.รัฐพล ตวงทอง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญและคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย อธิบาย และให้ข้อมูลเรื่องสิวอย่างน่าสนใจ
รักษาสิววัยฮอร์โมนพุ่งอย่างไรให้ปลอดภัย หายชัวร์!
“ยารักษาสิวทั้งชนิดทามีหลายชนิด แต่ละชนิดจะมีจุดประสงค์ที่จะแก้ไขแต่ละสาเหตุ เช่น บางตัวลดการอุดตัน บางตัวช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ลดการอักเสบ ลดรอยแดง ลดแผลเป็น เป็นต้น และยารักษาสิวส่วนใหญ่ทำให้เกิดการระคายเคือง ดังนั้นวิธีใช้ต้องใช้ให้ถูกต้อง ตามลำดับ
ส่วนยารับประทานจะใช้ในผู้ที่มีอาการรุนแรง แพทย์อาจพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน อาทิ ยาในกลุ่ม Tetracycline Doxycycline หรือ Erythromycin เป็นต้น
ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ และเป็นกลไกลสำคัญในการเกิดสิว นอกจากยาจะสามารถลดจำนวนแบคทีเรียแล้ว ยาบางชนิดยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบอีกด้วย โดยปกติ หลังการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะแล้วประมาณ 4 - 8 สัปดาห์ จะพบว่าอาการดีขึ้น แต่ทั้งนี้ไม่ควรใช้ยาต่อเนื่องเกิน 3 เดือน" คุณหมอ รัฐพล กล่าว
ระวัง! กินยายับยั้งสิว ได้ผลดีเว่อร์ แต่ผลข้างเคียงเพียบ!
ยารักษาสิวที่รับประทานแล้วได้ผลอย่างชะงัก สิวผลุบชั่วข้ามคืน ได้ผลดีเว่อร์ เม็ดละ 40-80 บาท แต่ผลข้างเคียงสูงเช่นกัน
“ส่วนยารักษาสิวที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย จนเกินความจำเป็น ได้แก่กรดวิตามินเอชนิดรับประทาน (Isotretinoin) หรือ โรเอคคูเทน Roaccuatane ทั้งยาที่เป็น original และ local made ออกฤทธิ์รักษาสิวโดยยับยั้งทุกกลไกในการเกิดโรค จึงเป็นยาที่ใช้ได้ผลดีมากในการรักษา แต่เนื่องจากมีผลข้างเคียงสูง จึงสงวนไว้ใช้ในรายที่มีข้อบ่งชี้ดังต่อไปนี้ เช่น เป็นสิวรุนแรงมาก, ได้รับการรักษาด้วยยาอื่นๆ แล้วไม่ดีขึ้น, ลดการเกิดแผลเป็นสิวชนิดรุนแรง, เป็นสิวรุนแรงปานกลาง แต่มีการกลับเป็นซ้ำบ่อย ๆ และผู้ป่วยมีความเครียดอย่างมากจากการเป็นสิว
ผลข้างเคียงของยาที่พบ คือ ผิวแห้ง ปากแห้ง และตาแห้ง อาการนี้พบในผู้ป่วยแทบทุกราย โดยเฉพาะถ้าให้ยาในปริมาณสูง สำหรับผิว และริมฝีปาก ผู้ป่วยควรทาครีม หรือสีผึ้งวาสลีนเพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นและบรรเทาอาการ ในผู้ป่วยที่ใส่เลนส์สัมผัส (Contact Lenses) ควรงดสวมชั่วคราวในระหว่างการใช้ยานี้
ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 15 มีอาการปวดเมื่อยหลัง และกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ยาบางชนิดก่อให้เกิดความพิการอย่างรุนแรงต่อทารกในครรภ์ เมื่อให้ยานี้ในผู้ป่วยสตรี แพทย์จะเน้นย้ำให้ผู้ป่วยคุมกำเนิดในช่วงรับการรักษา และภายหลังหยุดยาไปแล้วอย่างน้อย 1 เดือน ผลข้างเคียงในระบบทางเดินอาหาร กล่าวคือ อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร และบางรายตับอักเสบได้ แต่พบไม่บ่อย มีความผิดปกติของระดับไขมันในเลือดผู้ป่วยร้อยละ 25 -45 พบว่ามีปริมาณไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์(Triglyceride)สูงขั้นและผู้ป่วยร้อยละ31อาจจะมีปริมาณไขมันคอเลสเตอรอล (Cholesterol) ในเลือดเพิ่มขึ้น
อารมณ์แปรปรวนและซึมเศร้า แต่พบได้ไม่บ่อย ความผิดปกติของกระดูกในระยะยาว ซึ่งพบได้น้อยมาก แผ่นกระดูกปิดก่อนกำหนด มีผลให้กระดูกจะสั้นกว่าปกติ จึงไม่ควรใช้ในเด็กต่ำกว่า 18 ปี และการรักษาเสริมประกอบกับการใช้ยา” คุณหมอรัฐพล เตือนถึงภัยยารักษาสิว
กดสิว ฉีดสิว ยิงเลเซอร์ จำเป็นแค่ไหน?
"นอกจากการใช้ยาในการรักษาสิวแล้ว การรักษาเสริมที่หลากหลาย อาทิ การกดสิว การฉีดสิว ก็มีส่วนช่วยเสริมการรักษามาตรฐานให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องจำไว้ ได้แก่ วิธีการเหล่านี้ก็ยังเป็นเพียงการรักษา “เสริม” เท่านั้น ไม่ได้ช่วยเปลี่ยนแปลงและป้องกันสาเหตุการเกิดสิว อีกทั้งการรักษาบางชนิดมีค่าใช้จ่ายสูง และต้องทำอย่างต่อเนื่องหลายครั้งจึงจะเห็นผล จึงควรพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนทุกครั้ง
ส่วนการรักษาด้วยแสงและเลเซอร์ การรักษาด้วยแสง และเลเซอร์มีกลไกลคือ ใช้แสงในช่วงคลื่นที่เหมาะสม เพื่อลดจำนวนเชื้อสิว P.acnes และลดการทำงานของต่อมไขมัน
อย่างไรก็ตาม การศึกษาในปัจจุบัน ยังไม่สามารถประเมินถึงประสิทธิภาพ และผลการรักษาในระยะยาวของเครื่องมือชนิดต่างๆ ได้ รวมทั้งการรักษาแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายสูง และมักจะต้องทำการรักษาหลายครั้ง ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานเพียงที่สนันสนุนการรักษาสิวด้วยแสงและเลเซอร์เพียงอย่างเดียว แต่คาดว่าในอนาคต แสงและเลเซอร์น่าจะมีบทบาทในการรักษาสิวมากขึ้น" คุณหมอรัฐพล กล่าวปิดท้าย
>> อัพเดตข่าวในแวดวงสังคม ก็อซซิป แฟชั่น ความงาม และเที่ยว กิน ดื่ม เพิ่มเติมได้ที่ http://www.celeb-online.net
ใครๆก็อยากหน้าใส ไร้สิว กันทั้งนั้น สังเกตดูสิ คลินิกความงาม รักษาสิวโผล่ให้เห็นแทบทุกที่ บางร้านรอคิวหลายชั่วโมงเพียงเพื่อรอพบหมอไม่กี่วินาที
บางคนเสียเงินหลายหมื่นเพื่อรักษาสิว แต่ไม่ว่าจะกี่วิธี เปลี่ยนหมอก็แล้ว เปลี่ยนคลินิกก็แล้ว สิวก็ยังโผล่ปูดให้กวนใจอีกจนได้
"การรักษาสิวอย่างปลอดภัยและได้ผลในระยะยาวหรือการรักษาสิวที่ประสบความสำเร็จนั้น ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1. การรักษาด้วยยา ไม่ว่าจะเป็นยาทาหรือยารับประทาน
2.การรักษาเสริม เช่น การกดสิว ฉีดสิว และ 3.การปฎิบัติตัวอย่างถูกต้อง ซึ่งมีความสำคัญมากไม่แพ้ปัจจัยด้านอื่นๆ ซึ่งหากได้ทำประกอบกันแล้ว การรักษาสิวอย่างปลอดภัยจะได้ผลในระยะยาว ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากสำหรับวัยรุ่น”
ผศ.นพ.รัฐพล ตวงทอง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญและคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย อธิบาย และให้ข้อมูลเรื่องสิวอย่างน่าสนใจ
รักษาสิววัยฮอร์โมนพุ่งอย่างไรให้ปลอดภัย หายชัวร์!
“ยารักษาสิวทั้งชนิดทามีหลายชนิด แต่ละชนิดจะมีจุดประสงค์ที่จะแก้ไขแต่ละสาเหตุ เช่น บางตัวลดการอุดตัน บางตัวช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ลดการอักเสบ ลดรอยแดง ลดแผลเป็น เป็นต้น และยารักษาสิวส่วนใหญ่ทำให้เกิดการระคายเคือง ดังนั้นวิธีใช้ต้องใช้ให้ถูกต้อง ตามลำดับ
ส่วนยารับประทานจะใช้ในผู้ที่มีอาการรุนแรง แพทย์อาจพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน อาทิ ยาในกลุ่ม Tetracycline Doxycycline หรือ Erythromycin เป็นต้น
ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ และเป็นกลไกลสำคัญในการเกิดสิว นอกจากยาจะสามารถลดจำนวนแบคทีเรียแล้ว ยาบางชนิดยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบอีกด้วย โดยปกติ หลังการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะแล้วประมาณ 4 - 8 สัปดาห์ จะพบว่าอาการดีขึ้น แต่ทั้งนี้ไม่ควรใช้ยาต่อเนื่องเกิน 3 เดือน" คุณหมอ รัฐพล กล่าว
ระวัง! กินยายับยั้งสิว ได้ผลดีเว่อร์ แต่ผลข้างเคียงเพียบ!
ยารักษาสิวที่รับประทานแล้วได้ผลอย่างชะงัก สิวผลุบชั่วข้ามคืน ได้ผลดีเว่อร์ เม็ดละ 40-80 บาท แต่ผลข้างเคียงสูงเช่นกัน
“ส่วนยารักษาสิวที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย จนเกินความจำเป็น ได้แก่กรดวิตามินเอชนิดรับประทาน (Isotretinoin) หรือ โรเอคคูเทน Roaccuatane ทั้งยาที่เป็น original และ local made ออกฤทธิ์รักษาสิวโดยยับยั้งทุกกลไกในการเกิดโรค จึงเป็นยาที่ใช้ได้ผลดีมากในการรักษา แต่เนื่องจากมีผลข้างเคียงสูง จึงสงวนไว้ใช้ในรายที่มีข้อบ่งชี้ดังต่อไปนี้ เช่น เป็นสิวรุนแรงมาก, ได้รับการรักษาด้วยยาอื่นๆ แล้วไม่ดีขึ้น, ลดการเกิดแผลเป็นสิวชนิดรุนแรง, เป็นสิวรุนแรงปานกลาง แต่มีการกลับเป็นซ้ำบ่อย ๆ และผู้ป่วยมีความเครียดอย่างมากจากการเป็นสิว
ผลข้างเคียงของยาที่พบ คือ ผิวแห้ง ปากแห้ง และตาแห้ง อาการนี้พบในผู้ป่วยแทบทุกราย โดยเฉพาะถ้าให้ยาในปริมาณสูง สำหรับผิว และริมฝีปาก ผู้ป่วยควรทาครีม หรือสีผึ้งวาสลีนเพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นและบรรเทาอาการ ในผู้ป่วยที่ใส่เลนส์สัมผัส (Contact Lenses) ควรงดสวมชั่วคราวในระหว่างการใช้ยานี้
ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 15 มีอาการปวดเมื่อยหลัง และกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ยาบางชนิดก่อให้เกิดความพิการอย่างรุนแรงต่อทารกในครรภ์ เมื่อให้ยานี้ในผู้ป่วยสตรี แพทย์จะเน้นย้ำให้ผู้ป่วยคุมกำเนิดในช่วงรับการรักษา และภายหลังหยุดยาไปแล้วอย่างน้อย 1 เดือน ผลข้างเคียงในระบบทางเดินอาหาร กล่าวคือ อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร และบางรายตับอักเสบได้ แต่พบไม่บ่อย มีความผิดปกติของระดับไขมันในเลือดผู้ป่วยร้อยละ 25 -45 พบว่ามีปริมาณไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์(Triglyceride)สูงขั้นและผู้ป่วยร้อยละ31อาจจะมีปริมาณไขมันคอเลสเตอรอล (Cholesterol) ในเลือดเพิ่มขึ้น
อารมณ์แปรปรวนและซึมเศร้า แต่พบได้ไม่บ่อย ความผิดปกติของกระดูกในระยะยาว ซึ่งพบได้น้อยมาก แผ่นกระดูกปิดก่อนกำหนด มีผลให้กระดูกจะสั้นกว่าปกติ จึงไม่ควรใช้ในเด็กต่ำกว่า 18 ปี และการรักษาเสริมประกอบกับการใช้ยา” คุณหมอรัฐพล เตือนถึงภัยยารักษาสิว
กดสิว ฉีดสิว ยิงเลเซอร์ จำเป็นแค่ไหน?
"นอกจากการใช้ยาในการรักษาสิวแล้ว การรักษาเสริมที่หลากหลาย อาทิ การกดสิว การฉีดสิว ก็มีส่วนช่วยเสริมการรักษามาตรฐานให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องจำไว้ ได้แก่ วิธีการเหล่านี้ก็ยังเป็นเพียงการรักษา “เสริม” เท่านั้น ไม่ได้ช่วยเปลี่ยนแปลงและป้องกันสาเหตุการเกิดสิว อีกทั้งการรักษาบางชนิดมีค่าใช้จ่ายสูง และต้องทำอย่างต่อเนื่องหลายครั้งจึงจะเห็นผล จึงควรพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนทุกครั้ง
ส่วนการรักษาด้วยแสงและเลเซอร์ การรักษาด้วยแสง และเลเซอร์มีกลไกลคือ ใช้แสงในช่วงคลื่นที่เหมาะสม เพื่อลดจำนวนเชื้อสิว P.acnes และลดการทำงานของต่อมไขมัน
อย่างไรก็ตาม การศึกษาในปัจจุบัน ยังไม่สามารถประเมินถึงประสิทธิภาพ และผลการรักษาในระยะยาวของเครื่องมือชนิดต่างๆ ได้ รวมทั้งการรักษาแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายสูง และมักจะต้องทำการรักษาหลายครั้ง ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานเพียงที่สนันสนุนการรักษาสิวด้วยแสงและเลเซอร์เพียงอย่างเดียว แต่คาดว่าในอนาคต แสงและเลเซอร์น่าจะมีบทบาทในการรักษาสิวมากขึ้น" คุณหมอรัฐพล กล่าวปิดท้าย
>> อัพเดตข่าวในแวดวงสังคม ก็อซซิป แฟชั่น ความงาม และเที่ยว กิน ดื่ม เพิ่มเติมได้ที่ http://www.celeb-online.net