>>>คอลัมน์ : 108-1000 - ศิลป์ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษณา หงษ์อุเทน
สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้ดิฉันใคร่ขอนำเสนอ ภาพจิตรกรรมโอฟิลเลีย (Ophelia / ภาพที่ 1) ของ เซอร์ จอห์น เอเวอเรต มิลเลส (Sir John Everett Millais / 1829-1896) ยอดจิตรกรเอกของอังกฤษ แห่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่สร้างสรรค์งานในแนว “พรี-ราฟาเอลไลท์” (Pre-Raphaelite) มาให้ท่านได้ชม
บทละครของ เชกสเปียร์ (Shakespeare) เป็นแรงบันดาลใจสำคัญต่อการสร้างสรรค์งานของจิตรกรอังกฤษสมัยวิกตอเรียนแทบทุกคน ไม่เว้นแม้กระทั่งมิลเลส
จิตรกรหนุ่มวัย 22 ปี รู้สึกเศร้าสะเทือนใจกับความตายของ โอฟิลเลีย สาวน้อยผู้ใสซื่อบริสุทธิ์และงดงาม ซึ่งบรรยายไว้ในองก์ที่ 4 ของบทละครเรื่อง แฮมเล็ต (Hamlet) ของเชกสเปียร์ แฮมเล็ต เป็นเรื่องราวโศกนาฏกรรมของเจ้าชายแห่งเดนมาร์ก ผู้ถูกความอาฆาตแค้นพยาบาทเข้าสิงสู่จิตใจจนกลายสภาพจากเจ้าชายหนุ่มผู้ร่าเริง อ่อนโยน และมีจิตเมตตา ไปเป็นเจ้าชายผู้โศกเศร้า เคียดแค้นชิงชัง เหี้ยมโหด และอาฆาตมาดร้าย
การสวรรคตของพระราชบิดาเนื่องจากถูกคลอดิอุส พระอนุชาลอบวางยาพิษและการอภิเษกสมรสใหม่ของเกอทรูดพระมารดากับคลอดิอุส ผู้มีศักดิ์เป็นพระปิตุลา (อา) ของเจ้าชาย หลังจากการสวรรคตของพระราชบิดาเพียง 2 เดือน นำไปสู่การทรยศหักหลัง การเสแสร้ง การลอบกัด ความขัดแย้งในใจ และความตายของโปโลเนียส ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินของคลอดิอุส และผู้เป็นบิดาของโอฟิลเลียและแลตส์ โอฟิลเลีย หญิงคนรักของแฮมเล็ต แลตส์ พี่ชายของโอฟิลเลีย เกอทรูด คลอดิอุส และเจ้าชายแฮมเล็ตเอง
โศกนาฏกรรมของโอฟิลเลีย สาวน้อยผู้งดงาม น่ารัก และใสซื่อบริสุทธิ์ เริ่มจากการที่เจ้าชายแฮมเล็ตทรงแสร้งทำเป็นบ้าเพื่อปิดบังแผนการแก้แค้นพระปิตุลาของพระองค์ ด้วยเหตุนี้ เจ้าชายแฮมเล็ตจึงต้องฝืนใจทำร้ายจิตใจของหญิงคนรักด้วยการแสดงท่าทีหมางเมิน ไม่สนใจใยดี หยาบคาย และไร้เมตตาต่อเธอ แต่โอฟิลเลีย ผู้มีจิตใจงดงามก็ยังคงซื่อสัตย์และพร้อมที่จะอภัยให้กับเจ้าชายในทุกกรณี
ท่าทีของโอฟิลเลียที่แสดงออกซึ่งความเข้าใจและความเห็นอกเห็นใจในชะตากรรมและความเศร้าโศกของพระองค์ อีกทั้งการแสดงความพร้อมที่จะยืนหยัดเคียงข้างพระองค์ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด ทำให้เจ้าชายแฮมเล็ตรู้สึกสงสารสาวน้อยที่พระองค์รักที่สุด ความรู้สึกผิดต่อเธอทำให้พระองค์ทรงเขียนจดหมายถึงโอฟิลเลียด้วยถ้อยคำที่หยาบคาย แต่ประณีตไพเราะ อีกทั้งยังแฝงไปด้วยความนุ่มนวลจากความรักอันลึกซึ้งที่ฝังอยู่ใต้ก้นบึ้งแห่งพระหทัยของพระองค์ จดหมายฉบับนี้เปรียบเสมือนคำสัตย์ที่เจ้าชายแฮมเล็ตยืนยันถึงความรักอันมั่นคงของพระองค์ที่ทรงมีต่อโอฟิลเลีย และบอกเป็นนัยให้เธอมั่นใจในความรักของพระองค์ที่มีต่อเธอด้วย
จุดพลิกผันของเรื่องซึ่งนำไปสู่จุดจบของโอฟิลเลียและของเรื่อง คือการที่เจ้าชายแฮมเล็ตปลิดชีวิตโปโลเนียส บิดาของโอฟิลเลียโดยไม่ได้ตั้งใจ ขณะที่เขาซ่อนตัวอยู่หลังม่านเพื่อแอบฟังการสนทนาระหว่างพระราชินีเกอทรูดและเจ้าชายแฮมเล็ตตามคำบัญชาของกษัตริย์คลอดิอุส
หลังจากนั้นขณะที่เจ้าชายแฮมเล็ตต้องเดินทางไปอังกฤษตามอุบายของคลอดิอุส ความเศร้าโศกและความสับสนใจอย่างมหันต์ เมื่อได้รู้ว่าบิดาถูกฆ่าตายอย่างเหี้ยมโหดด้วยน้ำมือของเจ้าชายอันเป็นที่รัก ทำให้จิตใจอันเปราะบางของสาวน้อยโอฟิลเลียแหลกสลาย
สติสัมปชัญญะที่ขาดสะบั้นนำพาเธอให้เดินออกจากบ้านอย่างไร้จุดหมาย ระหว่างทางเธอเก็บรวบรวมดอกไม้มาร้อยเป็นมาลัยด้วยเถาวัลย์ แล้วนำมาสวมบนศีรษะ เมื่อโอฟิลเลียเดินมาถึงลำธารแห่งหนึ่งที่มีต้นวิลโล่ว์ยืนต้นแผ่กิ่งก้านสาขาเข้าไปในลำน้ำ เธอจึงปีนขึ้นไปบนต้นวิลโล่ว์เพื่อนำพวงมาลัยขึ้นไปคล้องบนกิ่งที่โน้มออกไปสู่ลำธาร แต่เคราะห์กรรมทำให้เธอเหยียบลงไปบนกิ่งที่ผุกรอบ ขณะที่กิ่งไม้หัก ร่างกายอันบอบบางของเธอก็ร่วงลงสู่ลำธารพร้อมทั้งพวงมาลัยและดอกไม้ที่เธอเก็บรวบรวมมาด้วย
ขณะที่โอฟิลเลียลอยอยู่ในลำธารอันใสสะอาด เธอหาได้มีสัมปชัญญะล่วงรู้ถึงอันตรายอันถึงแก่ชีวิตไม่ ริมฝีปากอันงดงามของเธอยังคงขับขานลำนำเพลงด้วยเสียงอันกระท่อนกระแท่นจนกระทั่งเสื้อผ้าอาภรณ์ที่ถูกน้ำค่อยๆ ซึมเข้าไปทีละน้อยจนอุ้มน้ำ ดึงร่างของเธอลงสู่ก้นลำธาร และทำให้เธอสิ้นชีพลงอย่างน่าเวทนา วันที่เจ้าชายแฮมเล็ตเสด็จกลับมาถึงเดนมาร์กตรงกับวันประกอบพิธีฝังศพของสาวน้อยโอฟิลเลียพอดี เจ้าชายทรงตกตะลึงและพระทัยแตกสลายเมื่อทรงทราบความจริงอันโหดร้ายนี้
มิลเลสเลือกนำเสนอวินาทีที่โอฟิลเลียผู้งดงามลอยอยู่ในลำธารซึ่งแวดล้อมไปด้วยพืชพันธุ์ไม้และดอกไม้ที่บานสะพรั่งนานาชนิด (ภาพที่ 2) ดวงตาที่ยังคงลืมอยู่และริมฝีปากที่เผยอเล็กน้อยบ่งบอกว่าเธอยังคงมีชีวิตอยู่ (ภาพที่ 3) ขณะเดียวกันแขนทั้งสองข้างที่ยกขึ้นและผายออกกว้างก็เสมือนหนึ่งรอคอยที่จะโอบกอดชายอันเป็นที่รักไว้ในอ้อมแขน
มิลเลสถ่ายทอดเนื้อหาตอนนี้จากบทละครแฮมเล็ตของเชกสเปียร์ออกมาเป็นภาพแบบคำต่อคำ นอกจากดอกไม้ที่โอฟิลเลียนำมาร้อยเป็นมาลัยและที่กล่าวถึงในบทกลอน เช่น ดอกบัตเตอร์คัพ (Buttercup) ดอกเดซี่ (Daisy) และดอกเนททัล (Nettle) แล้ว มาลัยของโอฟิลเลียยังแซมด้วยดอกป๊อปปี้ที่เป็นสัญลักษณ์ของความตายด้วย
นอกจากนั้นจิตรกรยังเขียนดอกกุหลาบเพิ่มเข้าไปในภาพด้วย อาจเป็นเพราะแลตส์เคยเรียกโอฟิลเลียว่า “แม่ดอกกุหลาบ” แม้กระทั่งดอกไวโอเล็ต ที่แลตส์ปรารถนาจะให้งอกขึ้นมาคลุมหลุมฝังศพของน้องสาว ก็มีปรากฏภายในภาพ ดอกไม้ในภาพนี้ล้วนมีความหมายเชิงสัญลักษณ์แทบทั้งสิ้น
เช่น ดอกฟอร์เก็ทมีนอท (Forget-me-not) หมายถึง ความทรงจำหรือความระลึกถึง ,ดอกกุหลาบ (Rose) หมายถึง ความงามในวัยสาว, ดอกป๊อปปี้ (Poppy) หมายถึงความตาย ดอกเดซี่ หมายถึงความบริสุทธิ์, ดอกแพนซี่ (Pansy) หมายถึง ความรักที่ไม่สมหวัง, ดอกไวโอเล็ต (Violet) หมายถึง ความซื่อสัตย์และความตายในวัยเยาว์ มิลเลสวาดรูปนกโรบินตัวน้อยหน้าอกสีแดงแฝงตัวจับบนกิ่งของต้นวิลโล่ว์ (ภาพที่ 4) ซึ่งอยู่ในเนื้อเพลงที่สาวน้อยโอฟิลเลียขับร้องว่า “...เพราะเจ้านกโรบินที่รื่นเริงคือความปีติทั้งมวลของข้า”
มิลเลสเริ่มเขียนภาพ “โอฟิลเลีย” เมื่ออายุ 22 ปี (ภาพที่ 5) เขาทุ่มเทให้กับผลงานชิ้นนี้มาก ตลอดช่วงฤดูร้อนของปี ค.ศ. 1851 ตั้งแต่เดือนมิถุนายนจนถึงเดือนตุลาคม มิลเลสออกไปเขียนภาพธรรมชาติจากสถานที่จริงในชนบท และทำงานติดต่อกันทุกวัน วันละ 11 ชั่วโมง (ภาพที่ 6)
ตลอดการทำงานในหน้าร้อนนั้นมิลเลสต้องผจญกับลมที่พัดแรงจัด ฝูงหงส์ป่าที่โกรธแค้น ฝูงแมลงที่คอยรบกวนเป็นระยะ ในจดหมายถึงเพื่อนมิลเลสเขียนเล่าถึงฝูงวัวที่เดินไปมากลางทุ่งและฝูงหงส์ที่ว่ายวนไปมา จนทำให้ไม้น้ำในลำธารกระจายตัวตลอดเวลาในขณะที่เขาเขียนภาพ
หน้าหนาวของปีเดียวกัน มิลเลสขอร้อง อลิซาเบ็ธ ไซดดัล สาวน้อยผมสีน้ำตาลแดง ผิวขาวซีด ซึ่งต่อมาได้แต่งงานกับโรเซตตี มาเป็นแบบให้กับเขา มิลเลสจัดท่าให้อลิซาเบ็ธนอนแช่ในอ่างอาบน้ำที่ใส่น้ำไว้เกือบเต็ม และจุดตะเกียงไว้ข้างใต้อ่างเพื่อให้น้ำอุ่นอยู่ตลอดเวลา (ภาพที่ 7) แต่การนอนแช่น้ำเป็นแบบอยู่ในอ่างหลายวันติดต่อกันในฤดูหนาว ก็ส่งผลให้อลิซาเบ็ธล้มป่วยลง ซึ่งสร้างความโกรธแค้นให้กับบิดาของนางแบบสาวมากจนขู่จะฟ้องร้องศิลปิน ส่วนมิลเลสได้ขอไกล่เกลี่ยปรองดองด้วยการยอมออกเงินค่ารักษาพยาบาลทั้งหมดให้อลิซาเบ็ธจนหายป่วย
ภาพจิตรกรรม “โอฟิลเลีย” ของมิลเลส เผยให้เห็นรูปแบบการเขียนภาพที่เน้นความเหมือนจริงตามธรรมชาติในทุกรายละเอียด (ภาพที่ 8) อีกทั้งฝีมือทางเชิงช่างซึ่งเน้นความสมบูรณ์แบบเป็นที่ตั้งของจิตรกรหนุ่ม กล่าวกันว่า มิลเลสใช้แต่พู่กันเบอร์เล็กเขียนภาพเพื่อกันไม่ให้สีไหลรวมเข้าหากัน และใช้จานสีที่ทำจากกระเบื้องเคลือบ เพราะสามารถทำความสะอาดสีได้เกลี้ยงเกลาหมดจดกว่าจานสีที่ทำจากไม้ มิลเลสเคยกล่าวกับภรรยาของนักสะสมภาพรายหนึ่งว่า
“คุณควรซื้อภาพของผมเสียตั้งแต่ตอนนี้ ขณะที่ผมกำลังสร้างงานด้วยความทะเยอทะยาน ดีกว่าจะรอไปอีก 2-3 ปีข้างหน้าเมื่อผมต้องเขียนภาพเพื่อเมียและลูก”
หมายเหตุ: ชื่อเฉพาะภาษาต่างประเทศในบทความนี้สะกดตามคำอ่านในภาษานั้นๆ
เรียนรู้ศัพท์ศิลปะกับ 108-1000-ศิลป์
Pre-Raphaelite ประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ศิลปะในทวีปยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอังกฤษ ดูราวกับจะเดินมาถึงทางตัน ด้วยเหตุนี้ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1848 นักศึกษาศิลปะหนุ่มหัวก้าวหน้าจากราชวิทยาลัยศิลปะ (The Royal Academy) 3 คน คือ วิลเลียม โฮลแมน ฮันต์ (William Holman Hunt / 1827-1910) อายุ 21 ปี ดันเต กาเบรียล โรเซตตี (Dante Gabriel Rossetti / 1828-1882) อายุ 20 ปี และ จอห์น เอเวอเรต มิลเลส อายุ 19 ปี ซึ่งมีแนวคิดต่อต้านศิลปะแนวคลาสสิกและการเรียนการสอนแบบอะคาเดมิค (academic formalism) ที่พวกเขาคิดว่าสิ้นหวังและถอยห่างจากความเป็นจริง ได้ร่วมกันก่อตั้งสมาคมลับ ซึ่งจงใจใช้ชื่อว่า “ภารดรภาพก่อนราฟาเอล” (Pre-Raphaelite Brotherhood) โดยใช้อักษรย่อ PRB เพื่อเป็นการยั่วยุและต่อต้านความเชื่อในสมัยนั้นที่ว่า ราฟาเอล (Raphael) จิตรกรอิตาเลียนสมัยเรอแนสซองซ์ คือจิตรกรผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในทุกยุคทุกสมัย
ศิลปินกลุ่มนี้หันหลังให้กับการสร้างงานแนวอุดมคติ ที่มีรากฐานมาจากการใช้ประติมากรรมคลาสสิกเป็นแม่แบบนับตั้งแต่สมัยของพวกเขาย้อนหลังไป 3 ศตวรรษจนถึงสมัยเรอแนสซองซ์ยุครุ่งเรือง และกลับไปยึดถือรูปแบบการสร้างงานศิลปะก่อนราฟาเอลเป็นสรณะ จุดมุ่งหมายหลักของพวกเขาคือการฟื้นคืนการสร้างงานศิลปะด้วยจิตวิญญาณอันแน่วแน่ หันเข้าหาการจัดวางองค์ประกอบภาพที่เรียบง่าย และกลับไปศึกษาทุกอย่างจากธรรมชาติโดยตรง ศิลปินกลุ่มนี้มุ่งสร้างงานศิลปะที่เน้นคุณค่าด้านจิตใจและความสามารถทางเชิงช่างแบบยุคกลางหรือแบบสมัยก่อนราฟาเอล นอกจากนั้นยังตั้งใจโดยสอดใส่แนวคิดด้านศีลธรรมจรรยาลงไปในเนื้อหาที่นำมาจากวรรณคดี ศาสนา และประวัติศาสตร์อีกด้วย
ต่อมาในปี ค.ศ. 1850 เมื่อความจริงเกี่ยวกับอักษรย่อ PRB และปรัชญาในการสร้างงานศิลปะของสมาคมลับ “ภารดรภาพก่อนราฟาเอล” ถูกเปิดโปง ศิลปินกลุ่มนี้จึงถูกต่อต้านและถูกกล่าวหาจากนักหนังสือพิมพ์และนักวิจารณ์ศิลปะว่า พวกเขาดูหมิ่น ราฟาเอล ศิลปินใหญ่ของทุกยุคทุกสมัย สำหรับพวกหัวเก่าศิลปินหนุ่มทั้ง 3 คนนี้คือพวกนอกรีต ผลงานของพวกเขา ซึ่งเคยได้รับการยอมรับและชื่นชมก่อนหน้านี้ กลับถูกดูหมิ่น เยาะเย้ยถากถาง และถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างไร้ความปราณี
หลังจากนั้นอีกเพียง 2 ปี คือปี ค.ศ. 1852 สมาชิกของกลุ่มทั้ง 7 คน ซึ่งมีทั้งจิตรกร กวี และนักเขียน ต่างก็แยกย้ายกันออกจากกลุ่มทีละคนสองคน จนทำให้ “ภารดรภาพก่อนราฟาเอล” ต้องสลายตัวไปในที่สุด
อย่างไรก็ตาม นี่ก็ไม่ใช่จุดสิ้นสุดของการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมแบบ “พรี-ราฟาเอลไลท์” เพราะ มิลเลส โรเซตตี และฮันต์ ก็ยังคงสร้างสรรค์งานจิตรกรรมที่ใช้สีสันสดใสและเน้นความเหมือนจริงในทุกรายละเอียด ซึ่งเป็นรูปแบบศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์ของ“พรี-ราฟาเอลไลท์” ต่อไป อีกทั้งยังให้อิทธิพลต่อการออกแบบตกแต่งในงานศิลปประยุกต์ของ วิลเลียม มอรีส (William Morris) และการสร้างงานจิตรกรรมแนวยุคกลางของ เอ็ดเวิร์ด เบิร์น-โจนส์ (Edward Burne-Jones) อีกด้วย
รู้จัก … รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษณา หงษ์อุเทน
จบมัธยมศึกษาตอนปลายจาก โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ และปริญญาตรี อักษรศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Art) (ภาษาอังกฤษ) จากมหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม
จากนั้นจึงได้ไปศึกษาต่อยังสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในสาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก ที่มหาวิทยาลัย Technische Universität Carolo-Wilhelmina แห่งเมือง Braunschweig จนจบหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต (Magistra Artium)
ต่อมาได้รับทุนจากรัฐบาลเยอรมัน (Deutscher Akademischer Austauschdienst/DAAD) ให้ไปศึกษาต่อจนจบปริญญาดุษฎีบัณฑิต (Doktors der Philosophie/Dr. Phil.) (ประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก) ด้วยระดับ “magna cum laude” จากมหาวิทยาลัย Osnabrück แห่งเมือง Osnabrück
ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2546 ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการหอศิลป์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2544 ได้รับทุนจากสถาบันเกอเธ่ ให้ไปเข้าร่วมการสัมมนาด้านวัฒนธรรม ณ เมือง Weimar และ Berlin สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นเวลา 1 เดือน พร้อมทั้งได้นำเอาผลงานศิลปะของศิลปินไทย 3 คน คือ ดำรง วงศ์อุปราช อภิชัย ภิรมย์รักษ์ และเด่น หวานจริง ไปเผยแพร่ในรูปการจัดแสดงนิทรรศการเป็นครั้งแรกในประเทศเยอรมนี ณ Kunstverein Talstrasse แห่งเมือง Halle ด้วย
พ.ศ. 2545 ได้รับทุนจากรัฐบาลเยอรมัน (Deutscher Akademischer Austauschdienst/DAAD) ให้ไปศึกษาและค้นคว้าเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 ของทวีปยุโรป ณ กรุง Berlin สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นเวลา 3 เดือน
พ.ศ. 2548 ดำรงตำแหน่งประธานสภาคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร ระหว่างปี พ.ศ. 2548-2552 ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าภาควิชาทฤษฎีศิลป์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปัจจุบันรับราชการในตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ ระดับ 9 ประจำภาควิชาทฤษฎีศิลป์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
นอกจากงานประจำด้านการสอนวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตกในคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากรแล้ว ยังมีผลงานที่เป็นบทความทางวิชาการ ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาเยอรมัน ที่พิมพ์เผยแพร่อย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี และผลงานสร้างสรรค์ศิลปะที่แสดงร่วมกับคณาจารย์ในคณะอีกด้วย
ผลงานอื่นๆ ได้แก่ การแต่งตำราประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก การออกแบบหนังสือและสูจิบัตร การกำกับและจัดวางรูปแบบนิทรรศการศิลปะ และการจัดทำ (การกำกับ) VCD
เมื่อ พ.ศ. 2549 เคยมีผลงานหนังสือ "ศิลปะคลาสสิก" ซึ่งแต่งขึ้นจากการศึกษาและค้นคว้าตำราต่างประเทศหลายสิบเล่มเป็นเวลานานกว่าสิบปี
และ พ.ศ. 2552 รศ.ดร.กฤษณา มีผลงานหนังสือ "เผยความลับที่ไม่ลับ ของ รหัสลับดาวินชี" ออกมาเปิดโปง ความจริงที่ถูกปิดบัง ซ่อนเร้น และบิดเบือนอย่างมโหราฬใน รหัสลับดาวินชี (The Da Vinci Code) นวนิยายอาชญากรรมเชิงสืบสวนสอบสวนของ แดน บราวน์ ที่โด่งดังและขายดีที่สุดเมื่อหลายปีที่ผ่านมา
ART EYE VIEW เชิญ รองศาสตราจารย์ ดร. กฤษณา มาร่วมให้ความรู้แก่ผู้ชมงานศิลปะ ด้วยเห็นว่าความรู้ที่มีไม่ควรถูกจำกัดอยู่แค่ในรั้วสถาบันการศึกษา
ติดตามอ่าน ...108-1000 - ศิลป์ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษณา หงษ์อุเทน ได้ทุกอาทิตย์
ส่งข่าวสารงานศิลปะร่วมสมัย มาได้ที่ ข่าว ART EYE VIEW เซกชัน Celeb Online www.astvmanager.com และ M-Art eye view เซกชัน Lite ในหนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ Email: thinksea@hotmail.com
และคลิกเป็น แฟนเพจ ได้ที่ www.facebook.com/arteyeviewnews
สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้ดิฉันใคร่ขอนำเสนอ ภาพจิตรกรรมโอฟิลเลีย (Ophelia / ภาพที่ 1) ของ เซอร์ จอห์น เอเวอเรต มิลเลส (Sir John Everett Millais / 1829-1896) ยอดจิตรกรเอกของอังกฤษ แห่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่สร้างสรรค์งานในแนว “พรี-ราฟาเอลไลท์” (Pre-Raphaelite) มาให้ท่านได้ชม
บทละครของ เชกสเปียร์ (Shakespeare) เป็นแรงบันดาลใจสำคัญต่อการสร้างสรรค์งานของจิตรกรอังกฤษสมัยวิกตอเรียนแทบทุกคน ไม่เว้นแม้กระทั่งมิลเลส
จิตรกรหนุ่มวัย 22 ปี รู้สึกเศร้าสะเทือนใจกับความตายของ โอฟิลเลีย สาวน้อยผู้ใสซื่อบริสุทธิ์และงดงาม ซึ่งบรรยายไว้ในองก์ที่ 4 ของบทละครเรื่อง แฮมเล็ต (Hamlet) ของเชกสเปียร์ แฮมเล็ต เป็นเรื่องราวโศกนาฏกรรมของเจ้าชายแห่งเดนมาร์ก ผู้ถูกความอาฆาตแค้นพยาบาทเข้าสิงสู่จิตใจจนกลายสภาพจากเจ้าชายหนุ่มผู้ร่าเริง อ่อนโยน และมีจิตเมตตา ไปเป็นเจ้าชายผู้โศกเศร้า เคียดแค้นชิงชัง เหี้ยมโหด และอาฆาตมาดร้าย
การสวรรคตของพระราชบิดาเนื่องจากถูกคลอดิอุส พระอนุชาลอบวางยาพิษและการอภิเษกสมรสใหม่ของเกอทรูดพระมารดากับคลอดิอุส ผู้มีศักดิ์เป็นพระปิตุลา (อา) ของเจ้าชาย หลังจากการสวรรคตของพระราชบิดาเพียง 2 เดือน นำไปสู่การทรยศหักหลัง การเสแสร้ง การลอบกัด ความขัดแย้งในใจ และความตายของโปโลเนียส ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินของคลอดิอุส และผู้เป็นบิดาของโอฟิลเลียและแลตส์ โอฟิลเลีย หญิงคนรักของแฮมเล็ต แลตส์ พี่ชายของโอฟิลเลีย เกอทรูด คลอดิอุส และเจ้าชายแฮมเล็ตเอง
โศกนาฏกรรมของโอฟิลเลีย สาวน้อยผู้งดงาม น่ารัก และใสซื่อบริสุทธิ์ เริ่มจากการที่เจ้าชายแฮมเล็ตทรงแสร้งทำเป็นบ้าเพื่อปิดบังแผนการแก้แค้นพระปิตุลาของพระองค์ ด้วยเหตุนี้ เจ้าชายแฮมเล็ตจึงต้องฝืนใจทำร้ายจิตใจของหญิงคนรักด้วยการแสดงท่าทีหมางเมิน ไม่สนใจใยดี หยาบคาย และไร้เมตตาต่อเธอ แต่โอฟิลเลีย ผู้มีจิตใจงดงามก็ยังคงซื่อสัตย์และพร้อมที่จะอภัยให้กับเจ้าชายในทุกกรณี
ท่าทีของโอฟิลเลียที่แสดงออกซึ่งความเข้าใจและความเห็นอกเห็นใจในชะตากรรมและความเศร้าโศกของพระองค์ อีกทั้งการแสดงความพร้อมที่จะยืนหยัดเคียงข้างพระองค์ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด ทำให้เจ้าชายแฮมเล็ตรู้สึกสงสารสาวน้อยที่พระองค์รักที่สุด ความรู้สึกผิดต่อเธอทำให้พระองค์ทรงเขียนจดหมายถึงโอฟิลเลียด้วยถ้อยคำที่หยาบคาย แต่ประณีตไพเราะ อีกทั้งยังแฝงไปด้วยความนุ่มนวลจากความรักอันลึกซึ้งที่ฝังอยู่ใต้ก้นบึ้งแห่งพระหทัยของพระองค์ จดหมายฉบับนี้เปรียบเสมือนคำสัตย์ที่เจ้าชายแฮมเล็ตยืนยันถึงความรักอันมั่นคงของพระองค์ที่ทรงมีต่อโอฟิลเลีย และบอกเป็นนัยให้เธอมั่นใจในความรักของพระองค์ที่มีต่อเธอด้วย
จุดพลิกผันของเรื่องซึ่งนำไปสู่จุดจบของโอฟิลเลียและของเรื่อง คือการที่เจ้าชายแฮมเล็ตปลิดชีวิตโปโลเนียส บิดาของโอฟิลเลียโดยไม่ได้ตั้งใจ ขณะที่เขาซ่อนตัวอยู่หลังม่านเพื่อแอบฟังการสนทนาระหว่างพระราชินีเกอทรูดและเจ้าชายแฮมเล็ตตามคำบัญชาของกษัตริย์คลอดิอุส
หลังจากนั้นขณะที่เจ้าชายแฮมเล็ตต้องเดินทางไปอังกฤษตามอุบายของคลอดิอุส ความเศร้าโศกและความสับสนใจอย่างมหันต์ เมื่อได้รู้ว่าบิดาถูกฆ่าตายอย่างเหี้ยมโหดด้วยน้ำมือของเจ้าชายอันเป็นที่รัก ทำให้จิตใจอันเปราะบางของสาวน้อยโอฟิลเลียแหลกสลาย
สติสัมปชัญญะที่ขาดสะบั้นนำพาเธอให้เดินออกจากบ้านอย่างไร้จุดหมาย ระหว่างทางเธอเก็บรวบรวมดอกไม้มาร้อยเป็นมาลัยด้วยเถาวัลย์ แล้วนำมาสวมบนศีรษะ เมื่อโอฟิลเลียเดินมาถึงลำธารแห่งหนึ่งที่มีต้นวิลโล่ว์ยืนต้นแผ่กิ่งก้านสาขาเข้าไปในลำน้ำ เธอจึงปีนขึ้นไปบนต้นวิลโล่ว์เพื่อนำพวงมาลัยขึ้นไปคล้องบนกิ่งที่โน้มออกไปสู่ลำธาร แต่เคราะห์กรรมทำให้เธอเหยียบลงไปบนกิ่งที่ผุกรอบ ขณะที่กิ่งไม้หัก ร่างกายอันบอบบางของเธอก็ร่วงลงสู่ลำธารพร้อมทั้งพวงมาลัยและดอกไม้ที่เธอเก็บรวบรวมมาด้วย
ขณะที่โอฟิลเลียลอยอยู่ในลำธารอันใสสะอาด เธอหาได้มีสัมปชัญญะล่วงรู้ถึงอันตรายอันถึงแก่ชีวิตไม่ ริมฝีปากอันงดงามของเธอยังคงขับขานลำนำเพลงด้วยเสียงอันกระท่อนกระแท่นจนกระทั่งเสื้อผ้าอาภรณ์ที่ถูกน้ำค่อยๆ ซึมเข้าไปทีละน้อยจนอุ้มน้ำ ดึงร่างของเธอลงสู่ก้นลำธาร และทำให้เธอสิ้นชีพลงอย่างน่าเวทนา วันที่เจ้าชายแฮมเล็ตเสด็จกลับมาถึงเดนมาร์กตรงกับวันประกอบพิธีฝังศพของสาวน้อยโอฟิลเลียพอดี เจ้าชายทรงตกตะลึงและพระทัยแตกสลายเมื่อทรงทราบความจริงอันโหดร้ายนี้
มิลเลสเลือกนำเสนอวินาทีที่โอฟิลเลียผู้งดงามลอยอยู่ในลำธารซึ่งแวดล้อมไปด้วยพืชพันธุ์ไม้และดอกไม้ที่บานสะพรั่งนานาชนิด (ภาพที่ 2) ดวงตาที่ยังคงลืมอยู่และริมฝีปากที่เผยอเล็กน้อยบ่งบอกว่าเธอยังคงมีชีวิตอยู่ (ภาพที่ 3) ขณะเดียวกันแขนทั้งสองข้างที่ยกขึ้นและผายออกกว้างก็เสมือนหนึ่งรอคอยที่จะโอบกอดชายอันเป็นที่รักไว้ในอ้อมแขน
มิลเลสถ่ายทอดเนื้อหาตอนนี้จากบทละครแฮมเล็ตของเชกสเปียร์ออกมาเป็นภาพแบบคำต่อคำ นอกจากดอกไม้ที่โอฟิลเลียนำมาร้อยเป็นมาลัยและที่กล่าวถึงในบทกลอน เช่น ดอกบัตเตอร์คัพ (Buttercup) ดอกเดซี่ (Daisy) และดอกเนททัล (Nettle) แล้ว มาลัยของโอฟิลเลียยังแซมด้วยดอกป๊อปปี้ที่เป็นสัญลักษณ์ของความตายด้วย
นอกจากนั้นจิตรกรยังเขียนดอกกุหลาบเพิ่มเข้าไปในภาพด้วย อาจเป็นเพราะแลตส์เคยเรียกโอฟิลเลียว่า “แม่ดอกกุหลาบ” แม้กระทั่งดอกไวโอเล็ต ที่แลตส์ปรารถนาจะให้งอกขึ้นมาคลุมหลุมฝังศพของน้องสาว ก็มีปรากฏภายในภาพ ดอกไม้ในภาพนี้ล้วนมีความหมายเชิงสัญลักษณ์แทบทั้งสิ้น
เช่น ดอกฟอร์เก็ทมีนอท (Forget-me-not) หมายถึง ความทรงจำหรือความระลึกถึง ,ดอกกุหลาบ (Rose) หมายถึง ความงามในวัยสาว, ดอกป๊อปปี้ (Poppy) หมายถึงความตาย ดอกเดซี่ หมายถึงความบริสุทธิ์, ดอกแพนซี่ (Pansy) หมายถึง ความรักที่ไม่สมหวัง, ดอกไวโอเล็ต (Violet) หมายถึง ความซื่อสัตย์และความตายในวัยเยาว์ มิลเลสวาดรูปนกโรบินตัวน้อยหน้าอกสีแดงแฝงตัวจับบนกิ่งของต้นวิลโล่ว์ (ภาพที่ 4) ซึ่งอยู่ในเนื้อเพลงที่สาวน้อยโอฟิลเลียขับร้องว่า “...เพราะเจ้านกโรบินที่รื่นเริงคือความปีติทั้งมวลของข้า”
มิลเลสเริ่มเขียนภาพ “โอฟิลเลีย” เมื่ออายุ 22 ปี (ภาพที่ 5) เขาทุ่มเทให้กับผลงานชิ้นนี้มาก ตลอดช่วงฤดูร้อนของปี ค.ศ. 1851 ตั้งแต่เดือนมิถุนายนจนถึงเดือนตุลาคม มิลเลสออกไปเขียนภาพธรรมชาติจากสถานที่จริงในชนบท และทำงานติดต่อกันทุกวัน วันละ 11 ชั่วโมง (ภาพที่ 6)
ตลอดการทำงานในหน้าร้อนนั้นมิลเลสต้องผจญกับลมที่พัดแรงจัด ฝูงหงส์ป่าที่โกรธแค้น ฝูงแมลงที่คอยรบกวนเป็นระยะ ในจดหมายถึงเพื่อนมิลเลสเขียนเล่าถึงฝูงวัวที่เดินไปมากลางทุ่งและฝูงหงส์ที่ว่ายวนไปมา จนทำให้ไม้น้ำในลำธารกระจายตัวตลอดเวลาในขณะที่เขาเขียนภาพ
หน้าหนาวของปีเดียวกัน มิลเลสขอร้อง อลิซาเบ็ธ ไซดดัล สาวน้อยผมสีน้ำตาลแดง ผิวขาวซีด ซึ่งต่อมาได้แต่งงานกับโรเซตตี มาเป็นแบบให้กับเขา มิลเลสจัดท่าให้อลิซาเบ็ธนอนแช่ในอ่างอาบน้ำที่ใส่น้ำไว้เกือบเต็ม และจุดตะเกียงไว้ข้างใต้อ่างเพื่อให้น้ำอุ่นอยู่ตลอดเวลา (ภาพที่ 7) แต่การนอนแช่น้ำเป็นแบบอยู่ในอ่างหลายวันติดต่อกันในฤดูหนาว ก็ส่งผลให้อลิซาเบ็ธล้มป่วยลง ซึ่งสร้างความโกรธแค้นให้กับบิดาของนางแบบสาวมากจนขู่จะฟ้องร้องศิลปิน ส่วนมิลเลสได้ขอไกล่เกลี่ยปรองดองด้วยการยอมออกเงินค่ารักษาพยาบาลทั้งหมดให้อลิซาเบ็ธจนหายป่วย
ภาพจิตรกรรม “โอฟิลเลีย” ของมิลเลส เผยให้เห็นรูปแบบการเขียนภาพที่เน้นความเหมือนจริงตามธรรมชาติในทุกรายละเอียด (ภาพที่ 8) อีกทั้งฝีมือทางเชิงช่างซึ่งเน้นความสมบูรณ์แบบเป็นที่ตั้งของจิตรกรหนุ่ม กล่าวกันว่า มิลเลสใช้แต่พู่กันเบอร์เล็กเขียนภาพเพื่อกันไม่ให้สีไหลรวมเข้าหากัน และใช้จานสีที่ทำจากกระเบื้องเคลือบ เพราะสามารถทำความสะอาดสีได้เกลี้ยงเกลาหมดจดกว่าจานสีที่ทำจากไม้ มิลเลสเคยกล่าวกับภรรยาของนักสะสมภาพรายหนึ่งว่า
“คุณควรซื้อภาพของผมเสียตั้งแต่ตอนนี้ ขณะที่ผมกำลังสร้างงานด้วยความทะเยอทะยาน ดีกว่าจะรอไปอีก 2-3 ปีข้างหน้าเมื่อผมต้องเขียนภาพเพื่อเมียและลูก”
หมายเหตุ: ชื่อเฉพาะภาษาต่างประเทศในบทความนี้สะกดตามคำอ่านในภาษานั้นๆ
เรียนรู้ศัพท์ศิลปะกับ 108-1000-ศิลป์
Pre-Raphaelite ประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ศิลปะในทวีปยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอังกฤษ ดูราวกับจะเดินมาถึงทางตัน ด้วยเหตุนี้ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1848 นักศึกษาศิลปะหนุ่มหัวก้าวหน้าจากราชวิทยาลัยศิลปะ (The Royal Academy) 3 คน คือ วิลเลียม โฮลแมน ฮันต์ (William Holman Hunt / 1827-1910) อายุ 21 ปี ดันเต กาเบรียล โรเซตตี (Dante Gabriel Rossetti / 1828-1882) อายุ 20 ปี และ จอห์น เอเวอเรต มิลเลส อายุ 19 ปี ซึ่งมีแนวคิดต่อต้านศิลปะแนวคลาสสิกและการเรียนการสอนแบบอะคาเดมิค (academic formalism) ที่พวกเขาคิดว่าสิ้นหวังและถอยห่างจากความเป็นจริง ได้ร่วมกันก่อตั้งสมาคมลับ ซึ่งจงใจใช้ชื่อว่า “ภารดรภาพก่อนราฟาเอล” (Pre-Raphaelite Brotherhood) โดยใช้อักษรย่อ PRB เพื่อเป็นการยั่วยุและต่อต้านความเชื่อในสมัยนั้นที่ว่า ราฟาเอล (Raphael) จิตรกรอิตาเลียนสมัยเรอแนสซองซ์ คือจิตรกรผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในทุกยุคทุกสมัย
ศิลปินกลุ่มนี้หันหลังให้กับการสร้างงานแนวอุดมคติ ที่มีรากฐานมาจากการใช้ประติมากรรมคลาสสิกเป็นแม่แบบนับตั้งแต่สมัยของพวกเขาย้อนหลังไป 3 ศตวรรษจนถึงสมัยเรอแนสซองซ์ยุครุ่งเรือง และกลับไปยึดถือรูปแบบการสร้างงานศิลปะก่อนราฟาเอลเป็นสรณะ จุดมุ่งหมายหลักของพวกเขาคือการฟื้นคืนการสร้างงานศิลปะด้วยจิตวิญญาณอันแน่วแน่ หันเข้าหาการจัดวางองค์ประกอบภาพที่เรียบง่าย และกลับไปศึกษาทุกอย่างจากธรรมชาติโดยตรง ศิลปินกลุ่มนี้มุ่งสร้างงานศิลปะที่เน้นคุณค่าด้านจิตใจและความสามารถทางเชิงช่างแบบยุคกลางหรือแบบสมัยก่อนราฟาเอล นอกจากนั้นยังตั้งใจโดยสอดใส่แนวคิดด้านศีลธรรมจรรยาลงไปในเนื้อหาที่นำมาจากวรรณคดี ศาสนา และประวัติศาสตร์อีกด้วย
ต่อมาในปี ค.ศ. 1850 เมื่อความจริงเกี่ยวกับอักษรย่อ PRB และปรัชญาในการสร้างงานศิลปะของสมาคมลับ “ภารดรภาพก่อนราฟาเอล” ถูกเปิดโปง ศิลปินกลุ่มนี้จึงถูกต่อต้านและถูกกล่าวหาจากนักหนังสือพิมพ์และนักวิจารณ์ศิลปะว่า พวกเขาดูหมิ่น ราฟาเอล ศิลปินใหญ่ของทุกยุคทุกสมัย สำหรับพวกหัวเก่าศิลปินหนุ่มทั้ง 3 คนนี้คือพวกนอกรีต ผลงานของพวกเขา ซึ่งเคยได้รับการยอมรับและชื่นชมก่อนหน้านี้ กลับถูกดูหมิ่น เยาะเย้ยถากถาง และถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างไร้ความปราณี
หลังจากนั้นอีกเพียง 2 ปี คือปี ค.ศ. 1852 สมาชิกของกลุ่มทั้ง 7 คน ซึ่งมีทั้งจิตรกร กวี และนักเขียน ต่างก็แยกย้ายกันออกจากกลุ่มทีละคนสองคน จนทำให้ “ภารดรภาพก่อนราฟาเอล” ต้องสลายตัวไปในที่สุด
อย่างไรก็ตาม นี่ก็ไม่ใช่จุดสิ้นสุดของการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมแบบ “พรี-ราฟาเอลไลท์” เพราะ มิลเลส โรเซตตี และฮันต์ ก็ยังคงสร้างสรรค์งานจิตรกรรมที่ใช้สีสันสดใสและเน้นความเหมือนจริงในทุกรายละเอียด ซึ่งเป็นรูปแบบศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์ของ“พรี-ราฟาเอลไลท์” ต่อไป อีกทั้งยังให้อิทธิพลต่อการออกแบบตกแต่งในงานศิลปประยุกต์ของ วิลเลียม มอรีส (William Morris) และการสร้างงานจิตรกรรมแนวยุคกลางของ เอ็ดเวิร์ด เบิร์น-โจนส์ (Edward Burne-Jones) อีกด้วย
รู้จัก … รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษณา หงษ์อุเทน
จบมัธยมศึกษาตอนปลายจาก โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ และปริญญาตรี อักษรศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Art) (ภาษาอังกฤษ) จากมหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม
จากนั้นจึงได้ไปศึกษาต่อยังสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในสาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก ที่มหาวิทยาลัย Technische Universität Carolo-Wilhelmina แห่งเมือง Braunschweig จนจบหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต (Magistra Artium)
ต่อมาได้รับทุนจากรัฐบาลเยอรมัน (Deutscher Akademischer Austauschdienst/DAAD) ให้ไปศึกษาต่อจนจบปริญญาดุษฎีบัณฑิต (Doktors der Philosophie/Dr. Phil.) (ประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก) ด้วยระดับ “magna cum laude” จากมหาวิทยาลัย Osnabrück แห่งเมือง Osnabrück
ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2546 ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการหอศิลป์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2544 ได้รับทุนจากสถาบันเกอเธ่ ให้ไปเข้าร่วมการสัมมนาด้านวัฒนธรรม ณ เมือง Weimar และ Berlin สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นเวลา 1 เดือน พร้อมทั้งได้นำเอาผลงานศิลปะของศิลปินไทย 3 คน คือ ดำรง วงศ์อุปราช อภิชัย ภิรมย์รักษ์ และเด่น หวานจริง ไปเผยแพร่ในรูปการจัดแสดงนิทรรศการเป็นครั้งแรกในประเทศเยอรมนี ณ Kunstverein Talstrasse แห่งเมือง Halle ด้วย
พ.ศ. 2545 ได้รับทุนจากรัฐบาลเยอรมัน (Deutscher Akademischer Austauschdienst/DAAD) ให้ไปศึกษาและค้นคว้าเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 ของทวีปยุโรป ณ กรุง Berlin สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นเวลา 3 เดือน
พ.ศ. 2548 ดำรงตำแหน่งประธานสภาคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร ระหว่างปี พ.ศ. 2548-2552 ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าภาควิชาทฤษฎีศิลป์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปัจจุบันรับราชการในตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ ระดับ 9 ประจำภาควิชาทฤษฎีศิลป์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
นอกจากงานประจำด้านการสอนวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตกในคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากรแล้ว ยังมีผลงานที่เป็นบทความทางวิชาการ ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาเยอรมัน ที่พิมพ์เผยแพร่อย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี และผลงานสร้างสรรค์ศิลปะที่แสดงร่วมกับคณาจารย์ในคณะอีกด้วย
ผลงานอื่นๆ ได้แก่ การแต่งตำราประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก การออกแบบหนังสือและสูจิบัตร การกำกับและจัดวางรูปแบบนิทรรศการศิลปะ และการจัดทำ (การกำกับ) VCD
เมื่อ พ.ศ. 2549 เคยมีผลงานหนังสือ "ศิลปะคลาสสิก" ซึ่งแต่งขึ้นจากการศึกษาและค้นคว้าตำราต่างประเทศหลายสิบเล่มเป็นเวลานานกว่าสิบปี
และ พ.ศ. 2552 รศ.ดร.กฤษณา มีผลงานหนังสือ "เผยความลับที่ไม่ลับ ของ รหัสลับดาวินชี" ออกมาเปิดโปง ความจริงที่ถูกปิดบัง ซ่อนเร้น และบิดเบือนอย่างมโหราฬใน รหัสลับดาวินชี (The Da Vinci Code) นวนิยายอาชญากรรมเชิงสืบสวนสอบสวนของ แดน บราวน์ ที่โด่งดังและขายดีที่สุดเมื่อหลายปีที่ผ่านมา
ART EYE VIEW เชิญ รองศาสตราจารย์ ดร. กฤษณา มาร่วมให้ความรู้แก่ผู้ชมงานศิลปะ ด้วยเห็นว่าความรู้ที่มีไม่ควรถูกจำกัดอยู่แค่ในรั้วสถาบันการศึกษา
ติดตามอ่าน ...108-1000 - ศิลป์ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษณา หงษ์อุเทน ได้ทุกอาทิตย์
ส่งข่าวสารงานศิลปะร่วมสมัย มาได้ที่ ข่าว ART EYE VIEW เซกชัน Celeb Online www.astvmanager.com และ M-Art eye view เซกชัน Lite ในหนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ Email: thinksea@hotmail.com
และคลิกเป็น แฟนเพจ ได้ที่ www.facebook.com/arteyeviewnews