ช่วงนี้ไม่ว่าจะเปืดเว็บไซต์ไหนก็ต้องพบกับบทความรีวิวอัลตร้าบุ๊ก Ivy Bridge หลากหลายแบรนด์มาให้ชมพร้อมกับหน้าตารูปร่างที่ผอมเพรียวบางตามสเปกที่อินเทลเป็นผู้กำหนดไว้ และส่วนมากจะมาพร้อมกราฟิกการ์ด Intel HD Graphics 4000 เท่านั้น
แต่มาวันนี้เดลล์ได้ตัดสินใจอัปเกรดไลน์ Inspiron เพื่อมาจับกลุ่มผู้ที่ต้องการอัลตร้าบุ๊กประสิทธิภาพสูง มีกราฟิกแยก รวมถึงเน้นพกพาและใช้งานได้หลากหลายขึ้นกว่าอัลตร้่าบุ๊กปกติ
ซึ่งวันนี้ทีมงานไซเบอร์บิซก็ได้รับอัลตร้าบุ๊กในรุ่น Inspiron 14z (Core i7 + RAM 8GB) มาทดสอบประสิทธิภาพ
การออกแบบ
วัสดุที่ใช้ผลิต Inspiron 14z จะเป็นอะลูมิเนียม ตัวเครื่องมีความหนาประมาณ 20.7-21 มิลลิเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 1.8 กิโลกรัม ส่วนหน้าจอของรุ่นนี้จะเป็น HD LED Display ขนาด 14 นิ้วบนความละเอียด 1,366x768 พิกเซล
ด้านคีย์บอร์ดจะเป็น Standard full size chiclet keyboard และ Trackpad แบบ Multitouch นอกจากนั้นด้านบนเหนือส่วนคีย์บอร์ดขึ้นไปจะเป็นปุ่ม Dell Button เรียกเมนูตั้งค่าเครื่อง ระบบเสียง และ Profile Menu
มาที่ด้านล่างจะเป็นช่องระบายความร้อนพร้อมลำโพงสเตอริโอ 2 ตัวจาก Skullcandy speakers พร้อม 44 WHr Prismatic Battery ที่บรรจุอยู่ภายใน
กลับมาที่ช่องเชื่อมต่อรอบตัวเครื่องจากซ้ายมือประกอบด้วย ช่องคล้องสายล็อค - รูเสียบ Adapter แปลงไฟ - ช่องพัดลมระบายความร้อน - พอร์ตแลน HDMI และ USB 3.0 (มีฝาปิดกันฝุ่นไว้)
ส่วนด้านขวาของเครื่องจากซ้ายมือจะประกอบด้วย ช่องอ่านการ์ดความจำ Digital (SD) Memory Card Multi Media Card (MMC) และ Memory Stick (MS) ถัดมาเป็นช่องเสียบ Headset หูฟัง - USB 3.0 และ DVD-Drive
สเปก
มาที่สเปกของ Inspiron 14z รุ่นที่ทีมงานได้รับมาทดสอบจะมาพร้อมหน่วยประมวลผล Intel Core i7-3517U (Ivy Bridge) ความเร็ว 1.90GHz (4M Cache, up to 3.0 GHz) จำนวนแกนประมวลผลอยู่ที่ 2 คอร์ 4 Threads และหน่วยความจำ (แรม) ที่ให้มาคือ 8GB Dual Channel DDR3
ในส่วนกราฟิกการ์ดจะเป็น Hybrid ระหว่าง Intel HD Graphics 400 กับ AMD Radeon HD 7570M โดยระบบจะทำการเลือกใช้กราฟิกการ์ดตามการใช้งานของผู้ใช้อัตโนมัติ
สำหรับสเปกอื่นๆ Dell Inspiron 14z จะมาพร้อมไมโครโฟนรับเสียงแบบดิจิตอลในตัว พร้อมกล้องเว็บแคมความละเอียด 1.0 ล้านพิกเซล และ Windows 7 Home Premium SP1, 64-Bit แบบลิขสิทธิ์ติดตั้งมาให้
ในส่วนของ WiFi จะเป็น Intel Centrino Wireless-N 2230 พร้อม Bluetooth 4.0
ขอบเขตหน้าจอเมื่อแสดงผลผ่านเว็บบราวเซอร์ IE (1,366x768 พิกเซล)
ฟีเจอร์-จุดขาย
ตามธรรมเนียมของโน้ตบุ๊กจากเดลล์จะต้องมาพร้อมซอฟต์แวร์ Launcher ที่ชื่อว่า Dell Stage ที่เป็น Widgets รวมซอฟต์แวร์ความบันเทิงจากเดลล์ไว้ ไม่ว่าจะเป็น MusicStage, PhotoStage หรือ VideoStage
Dell DataSafe & Dell Support สำหรับซอฟต์แวร์นี้จะมีหน้าที่ในการ Backup และ Restore ระบบเวลาเกิดปัญหาขึ้น ส่วน Dell Support จะทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาระหว่างใช้งานโน้ตบุ๊ก โดยผู้ใช้สามารถขอความช่วยเหลือจาก Dell Support ได้รวมถึงสามารถสร้าง Recovery Media เพื่อสำรองข้อมูล Windows ลิขสิทธิ์ได้จากส่วนนี้เช่นกัน
Dell Audio ส่วนนี้จะเป็นเรื่องของการปรับแต่งระบบเสียงไม่ว่าจะเป็น ความดังของลำโพง ไมโครโฟน รวมถึงการปรับ DSP (MAXXAudio) เพื่อให้ตรงกับการใช้งานของผู้ใช้
Dell Webcam Central แอปฯ สำหรับใช้เสริมความสามารถของเว็บแคม ซึ่งผู้ใช้สามารถถ่ายภาพเคลื่อนไหวและฝาก-แชร์ภาพจากแอปฯ นี้ได้ด้วย
สุดท้ายก็เป็นตามธรรมเนียมของอัลตร้าบุ๊กที่จำเป็นต้องมี SSD สำหรับใช้เก็บ Cache ไฟล์ต่างๆ หรือใช้ติดตั้ง OS เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าฮาร์ดดิสก์จานหมุน โดยใน Inspiron 14z ก็มีการติดตั้ง SSD มาเช่นกัน แต่แปลกตรงที่ SSD ที่นำมาติดตั้งภายใน จะมี 2 ส่วนแบ่งเป็นส่วนแรก 8GB และส่วนที่สอง 22GB มาทำ RAID 0 กันเพื่อเพิ่มความเร็ว
ส่วนฮาร์ดดิสก์หลักจะมีขนาด 500GB (ใช้ได้จริง 466GB) และเป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีรอบหมุนอยู่ที่ 5,400 รอบต่อนาที
ทดสอบประสิทธิภาพ
3DMark 05 คะแนนทดสอบที่ได้คือ 9,944 คะแนนบนความละเอียดหน้าจอ 1,280x768 + Shader Model 3
3DMark 06 คะแนนทดสอบที่ได้คือ 6,120 คะแนนโดยแบ่งเป็นคะแนน Shader Model 2 = 2,052 คะแนน, HDR/Shader Model 3 = 2,608 คะแนน ส่วนคะแนนประมวลผลซีพียูจะอยู่ที่ 3,431 คะแนน ที่ความละเอียด 1,280x768 พิกเซล
PCMark 7 คะแนนรวมที่ได้คือ 2,998 คะแนน แบ่งเป็นคะแนน Lightweight score = 3,472 คะแนน Productivity score = 3,434 คะแนน Creativity score = 3,173 คะแนน Entertainment score = 2,422 คะแนน Computation score = 2,977 คะแนน และ System storage score = 3,811 คะแนน
Cinebench R11.5 x64 ในส่วนของการทดสอบด้วยการให้ซีพียูวาดภาพ 3 มิติผลคะแนนที่ได้คือ ในการใช้ซีพียูวาดคะแนนจะอยู่ที่ 2.76pts ส่วนกราฟิกแบบ OpenGL จะอยู่ที่ 24.83fps
HD Tach 3.0 มาที่การทดสอบฮาร์ดไดร์ฟหลักจะมีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลเฉลี่ยอยู่ที่ 79.1 MB/s ที่ Random access 24.7ms
HD Tach 3.0 มาที่การทดสอบฮาร์ดไดร์ฟหลักจะมีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลเฉลี่ยอยู่ที่ 86.3 MB/s ที่ Random access 23.7ms
encoded 1442 frames, 58.65 fps, 3900.68 kb/s
encoded 1442 frames, 58.21 fps, 3900.68 kb/s
encoded 1442 frames, 59.03 fps, 3900.68 kb/s
encoded 1442 frames, 57.59 fps, 3900.68 kb/s
encoded 1442 frames, 15.78 fps, 3971.57 kb/s
encoded 1442 frames, 15.70 fps, 3971.20 kb/s
encoded 1442 frames, 15.73 fps, 3971.24 kb/s
encoded 1442 frames, 15.71 fps, 3970.60 kb/s
SiSoftware Sandra
Processor Arithmetic
Multi-Core Efficiency
Memory Bandwidth
Processor Multi Media
มาที่การทดสอบแบตเตอรี โดยทีมงานตั้งความสว่างหน้าจอประมาณ 50-70% และตั้งโหมดพลังงาน Power Save พบว่า สามารถใช้งานเล่นอินเตอร์เน็ต พิมพ์งาน ฟังเพลง ได้ประมาณ 5-5.30 ชั่วโมง
3D Games Benchmark
Final Fantasy XIV Benchamrk ทำคะแนนได้ที่ 1,314 คะแนน
Resident Evil 4 DX10 ทำคะแนนเฟรมเรทได้ที่ 41.1fps ที่กราฟิกสูงสุดและความละเอียด 720p
Heaven Benchmark DX11 ทำคะแนนเฟรมเรทได้ที่ 13.6fps บนค่ากราฟิก Tessellation:Normal และความละเอียดหน้าจอ 720p
Lost Planet 2 DX11 ทำคะแนนเฟรมเรทได้ที่ 20.2fps บนค่ากราฟิก Middle และความละเอียดหน้าจอ 720p
สรุปในส่วนของการเล่นเกม Dell Inspiron 14z สามารถตอบสนองได้ระดับปานกลาง กล่าวคือ ถ้าเป็นเกมออฟไลน์สามมิติกราฟิกไม่หนักมากนักเช่น Resident Evil 5, Street Fighter 4, หรือเกมใหม่ๆ บางเกมแต่ปรับค่ากราฟิกอยู่ระดับกลาง-ต่ำสุด ที่ความละเอียดหน้าจอไม่เกิน 720p ก็จะสามารถเล่นเกมได้ลื่นไหล ส่วนถ้าเป็นเกมรุ่นใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยชุดคำสั่ง DrectX 11 เช่น Need for Speed The Run หรือ Battlefield 3 อาจจะเข้าเล่นเกมได้ แต่อาจไม่ลื่นไหลนัก
ส่วนเรื่องระบบสลับใช้งานกราฟิก ส่วนนี้นับว่ายังทำได้ไม่ดี โดยเฉพาะการบังคับให้เครื่องใช้งานกราฟิกแยกแบบตั้งค่าเอง ระบบยังทำงานสับสนจนบางครั้งติดปัญหาจอฟ้า และเกมบางเกมตั้งให้เรียกใช้งานกราฟิกแยก แต่พอเข้าเล่นเกมจริงกลับเรียกใช้งาน Intel HD Graphics 4000 หน้าตาเฉย จนต้องปล่อยให้ระบบจัดการตัวเองแบบอัตโนมัติ ถึงจะใช้งานได้ปกติ
ความคุ้มค่า
สำหรับราคาขายของ Dell Inspiron 14z รุ่นที่นำมาทดสอบนี้ (Core i7 + RAM 8GB) จะอยู่ที่ประมาณสามหมื่นบาทปลายๆ ซึ่งถ้ามองสเปกที่ได้และผู้อ่านไม่ยึดติดกับเรื่องความบาง เบา Inspiron 14z ถือว่าทำได้ดีและคุ้มค่า คุ้มราคากว่าอัลตร้าบุ๊กบางเบารุ่นอื่นๆ ที่ราคาใกล้เคียงกัน เพราะต้องไม่ลืมว่าในรุ่นนี้มีกราฟิกแยกมาให้พร้อมไดร์ฟดีวีดี และในส่วนงานประกอบก็ทำได้ดีตามมาตรฐานเดลล์ด้วย
ข้อสังเกต
- น้ำหนักและความหนาอาจแหวกแนวอัลตร้าบุ๊กที่ส่วนใหญ่จะเน้นบางและเบา
- ระบบสวิตซ์กราฟิก AMD Radeon/Intel ยังมีบั๊กเหมือนที่ผ่านๆ มา
สรุป
ด้วยราคาและสเปกสำหรับ Dell Inspiron 14z กลุ่มเป้าหมายที่เดลล์ต้องการคงเปลี่ยนไปวัยคนทำงานหรือวัยรุ่นกระเป๋าหนัก ที่อยากได้อัลตร้าบุ๊กมาตอบสนอง Lifestyle ด้านมัลติมีเดียเป็นสำคัญมากกว่านักธุรกิจที่ส่วนใหญ่จะเลือกอัลตร้าบุ๊กที่เน้นความบาง เบา พิมพ์งานได้ ส่งอีเมล์สะดวก หรือไม่ก็โน้ตบุ๊กประเภท ถึก บึกบึน แบตฯอึดเป็นจุดสำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อมากกว่า
Company Related Link :
Dell