ในขณะนี้คงต้องยอมรับว่าแบรนด์อย่างแอปเปิลกลายเป็นที่นิยมของตลาดไอทีทั่วโลก ไม่ว่าจะในด้านของภาพลักษณ์ของผู้ใช้ ประสิทธิภาพของเครื่อง รวมไปถึงความง่ายต่อการใช้งาน สิ่งต่างๆเหล่านี้จึงกลายเป็นจุดขายของแอปเปิลได้เป็นอย่างดี
สำหรับจุดเด่นของแมคบุ๊กรุ่นนี้คงจะหนีไม่พ้นดีไซน์ ที่ตัวเครื่องทำมาจากอะลูมิเนียมแผ่นใหญ่มาเจาะช่องเป็นตัวเครื่อง ซึ่งทำมาตามนโยบายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ปราศจากสารปรอท, สาร PVC, กระจกไม่มีสารหนู และ บรรจุภัณฑ์ที่มีขนาดเล็กลง 37% ที่ช่วยประหยัดกระดาษในการผลิตนั่นเอง
ส่วนเฉพาะรุ่นแมคบุ๊กโปร จะมีความสามารถพิเศษเพิ่มขึ้นมาคือสามารถเลือกใช้งาน หน่วยประมวลผลภาพ (การ์ดจอ) ได้ถึง 2 ตัวคือ nVidia 9400M สำหรับโหมดประหยัดพลังงาน และ 9600M สำหรับโหมดประสิทธิภาพ อาจจะถือว่าเป็นการใช้งาน Dual GPU เครื่องแรกบนแมคบุ๊กก็ว่าได้ ส่วนฟีเจอร์ที่เพิ่มเติมเข้ามาก็คือ ระบบ 'มัลติทัชแทร็กแพด' ที่ช่วยเพิ่มลูกเล่นการใช้งานได้หลากหลาย และสวยงามมากขึ้น
Design Of MacBook Pro (2008 Edition)
เนื่องมาจากตัวเครื่องทำจากอะลูมิเนียมแผ่นเดียวมาเจาะให้เป็นตัวเครื่องรวมถึงการลบมุมต่างๆให้มีความโค้งมน ตัวเครื่องจึงมีความเรียบเนียนและสวยงาม โดยขนาดตัวจะอยู่ที่ 364 x 249 x 24 มิลลิเมตร น้ำหนักประมาณ 2.49 กิโลกรัม
ส่วนใครอยากรู้ว่าผลิตอย่างไรสามารถรับชมได้
เริ่มจากด้านบนของตัวเครื่องจะมีสัญลักษณ์ 'แอปเปิลแหว่ง' ที่เด็กๆชอบเรียกกัน เด่นสะดุดอยู่ตรงกลาง ซึ่งเมื่อเปิดเครื่องตรงสัญลักษณ์ดังกล่าวจะมีไฟ LED แสดงสถานะว่าเปิดใช้งานอยู่
เมื่อเปิดหน้าจอขึ้นมาจะพบจอไวด์สกรีนแบบ LED backlit ขนาด 15.4 นิ้ว ความละเอียดสูงสุด 1440 x 900 พิกเซล จุดน่าสนใจจะอยู่ที่ความบางของจอภาพ ที่มีลักษณะคล้ายนำกระจกมาแปะกับแผ่นอะลูมิเนียมเท่านั้น ด้วยความที่เป็น 'Glossy' หน้าจอจึงมีความมันเงาจากกระจก ทำให้สามารถสะท้อนแสงได้เป็นอย่างดี
ในบริเวณขอบของหน้าจอทั้ง 2 ฝั่งจะถูกฝังไว้ด้วยตัวรับสัญญาณไวเลส และ บลูทูธ ทำให้สามารถรับสัญญาณได้ดีมากกว่าปกติ ส่วนบริเวณด้านบนของจอ จะมีเว็บแคม และไฟแสดงสถานะสีเขียวอยู่ ซึ่งถ้าไม่เปิดใช้งานก็จะไม่เห็นไฟดังกล่าว ส่วนล่างของหน้าจอจะมีตัวอักษรว่า 'MacBook Pro' แสดงไว้
ต่อมาส่วนของตัวเครื่อง จะพบปุ่มเปิดเครื่องอยู่บริเวณขวาบน ซึ่งถ้ามองผ่านๆอาจจะไม่เห็นเพราะตรงปุ่มเป็นอะลูมิเนียมเช่นเดียวกับตัวเครื่อง ถัดมาด้านซ้ายและขวาของคีย์บอร์ดจะเป็นช่องลำโพง และไมโครโฟน ที่ถูกเจาะด้วยเลเซอร์แบบละเอียด
ปุ่มคีย์บอร์ดเป็นแบบปกติของแมคบุ๊กรุ่นใหม่ๆคือ ปุ่มจะมีสีดำ ระหว่างตัวอักษรจะมีการเว้นช่องไฟ ทำให้ผู้ใช้งานที่ถนัดคีย์บอร์ดแบบปกติต้องปรับตัวเล็กน้อย ส่วนการรับสัมผัสของแต่ละปุ่ม จะเร็วขึ้นกล่าวคือเพียงแค่ใช้นิ้วกดลงไปเบาๆก็ได้แล้ว นอกจากนี้ตรงตัวอักษรจะถูกทำให้โปร่งแสงเพื่อที่จะแสดงไฟ LED ใต้คีย์บอร์ดในเวลากลางคืนหรือในที่ๆมีแสงน้อย
ถัดลงมาจะพบกับ จุดที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดของแมคบุ๊กรุ่นใหม่ คือ 'มัลติทัชแทร็กแพด' ที่สามารถใช้นิ้วมือในการสั่งงานต่างๆ ตั้งแต่ใช้ 1 นิ้ว สำหรับเลื่อนเมาส์ หรือ คลิกเมาส์ ซึ่งเป็นระบบสัมผัส นอกจากนี้ ยังสามารถกดคลิกขวาได้โดยกดบริเวณ ล่างซ้าย, ตรงกลาง และ ล่างขวา 3 จุดด้วยกัน
ต่อมาคือการใช้ 2 นิ้วแทนการ 'Scroll Mouse' ส่วนในโปรแกรมดูรูปภาพสามารถใช้ 2 นิ้วในการซูมเข้า-ออก รวมถึงการหมุนรูปภาพด้วย สำหรับการเปลี่ยนรูปก็สามารถทำได้โดยใช้นิ้ว 3 นิ้วเลื่อนไปทางซ้ายหรือขวา เพื่อเปลี่ยนรูป และสุดท้ายใช้ 4 นิ้วเลื่อนขึ้นหรือลง ในการซ่อนหน้าต่าง และเรียก Dash Board ถ้าเลื่อนไปทางซ้ายขวาจะให้เลือกหน้าต่างที่ต้องการใช้งาน(คล้ายกับAlt+Tab ในวินโดวส์)
สาธิตวิธีการใช้งาน 'มัลติทัชแทร็กแพด'
จะเห็นได้ว่าการทำงานดังกล่าวอาจต้องใช้เวลาในการศึกษาทำความเข้าใจเล็กน้อย ซึ่งเมื่อชำนาญแล้วจะพบว่าใช้งานได้สะดวกดี ส่วนการใช้งานแบบ 3 หรือ 4 นิ้วถือซะว่าเป็นลูกเล่นสวยงาม เพราะคงไม่ได้ใช้งานจริงจัง แต่ทั้งนี้ถ้าใครไม่ถนัดใช้มัลติทัชแทร็กแพดก็สามารถนำเมาส์มาเสียบใช้ได้ตามปกติ
พลิกด้านหลังเครื่องขึ้นมาจะพบว่ามีฝาหลังอยู่บริเวณด้านล่าง เมื่อเปิดออกมาจะพบกับฮาร์ดดิสก์ ที่สามารถถอดเปลี่ยนได้เองจากการไขน็อต 2-3 ตัว และ แบตเตอรี่ ที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ ในส่วนบนของเครื่องก็สามารถไขน็อตเพื่อเปิดขึ้นมาใส่แรมเพิ่มได้เช่นเดียวกัน
Input and Output Ports
เริ่มจากทางฝั่งซ้ายก่อนเพราะเป็นที่อยู่ของพอร์ตต่างๆของเครื่องทั้งหมด จากริมในสุดจะเป็นช่องสำหรับเชื่อมต่อสายชาร์จ (ที่ใช้คำว่าเชื่อมต่อเพราะบริเวณดังกล่าวจะมีแม่เหล็กเพื่อที่จะดูดสายไฟไว้ เมื่อขยับให้แม่เหล็กหลุดสายชาร์จก็หลุดด้วยเช่นเดียวกัน) ซึ่งขณะชาร์จไฟจะมีไฟบอกสถานะอยู่บริเวณหัวของสายชาร์จ สีแดงสำหรับกำลังชาร์จ และ สีเขียว เมื่อเต็มแล้ว
ถัดลงมาจะพบพอร์ต สายแลน, Firewire800, พอร์ต ยูเอสบี 2 พอร์ต, Mini DisplayPort สำหรับเชื่อม VGA และ DVI, ช่องไมโครโฟน, หูฟัง และ พอร์ต Express Card โดยนอกจากพอร์ตต่างๆแล้วจะมีส่วนที่บอกสถานะของแบตเตอรี่ เมื่อกดปุ่มจะมีไฟแสดงตามจำนวนแบตที่เหลืออยู่
ทางฝั่งขวา จะมีเพียงไดร์ฟ DVD Super Multi แบบดูดแผ่น กับ ช่องล็อกโน้ตบุ๊กอยู่เท่านั้น
ทางด้านหน้าตรงกลางจะสังเกตุเห็นส่วนเว้าเข้าไปสำหรับใช้เปิดหน้าจอ ที่ทำขึ้นมาแทนปุ่มล็อกแบบเดิม เยื้องไปทางขวา สังเกตุดีๆจะมีไฟแสดงสถานะ เวลาเข้าโหมด Standby และ ช่องรับสัญญาณอินฟาเรต จากรีโมทควบคุม ส่วนทางด้านหลังเครื่องตรงกลางจะพบพลาสติกสีดำของข้อต่อระหว่างหน้าจอกับตัวเครื่อง
ส่วนระบบการเชื่อมต่อภายในก็จะมีไวเลสแลน รองรับ 802.11b/g/n และ บลูทูธ 2.1 ตามปกติ
สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพจะอยู่ในหน้าถัดไป
Performance And Benchmark
แมคบุ๊กโปรรุ่นนี้ จะมีให้เลือกทั้งหมด 3 แบบคือ 2.4GHZ L2 cache 3MB กับ 2.53GHz หรือ 2.8GHz L2 cache 6MB ส่วนแรมจะมีให้เลือกตั้งแต่ 2GB หรือ 4GB อาร์ดิสก์ก็จะมีให้เลือกทั้งแบบที่เป็น SSD ขนาด 128GB หรือเป็นแบบ sATA ขนาด 250GB/320GB
โดยเครื่องที่ทางทีมงานนำมาลองใช้จะใช้หน่วยประมวลผล Intel Core 2 Duo T9400 2.53GHz FSB 1066MHz L2 cache 6MB หน่วยความจำแบบ DDR3 2GB x 2 Bus 1067MHz
แน่นอนว่าเครื่องแมครุ่นใหม่ๆสามารถใช้งานวินโดวส์ผ่านโปรแกรม Bootcamp ได้ ทางทีมงานจึงนำผลของ CPU-Z เพื่อดูอุปกรณ์ภายในต่างๆ แสดงผลเช่นเดียวกับข้อมูลบน OS X จะมีเพิ่มเข้ามาในส่วนของเมนบอร์ด ที่ผลิตจากโรงงานแอปเปิล โดยใช้ชิปเซ็ตของ NVIDIA ID0A82
ทดลองรัน PCMark05 คะแนนโดยรวมไม่สามารถแสดงผลได้เนื่องจากโปรแกรมไม่รู้จักหน่วยประมวลผลภาพแบบ 2 ตัว ทำให้ได้เป็นคะแนนดิบของแต่ละส่วนมาแทน ซึ่งคะแนนของซีพียูอยู่ที่ 6281 และ หน่วยความจำอยู่ที่ 5160 ถือว่าอยู่ในระดับสูงเลยทีเดียว
สำหรับการ์ดจอของ 'Macbook Pro' จะพิเศษตรงที่มีมาให้เลือกใช้งานถึง 2 ตัวคือ nVidia GeForce 9600M GT หน่วยความจำ DDR3 512MB เมื่อต้องใช้งานเครื่องแบบประสิทธิภาพสูง กับ nVidia GeForce 9400M ที่ใช้แชร์หน่วยความจำจากตัวเครื่องมา 256MB เพื่อใช้งานในโหมดประหยัดพลังงาน
เมื่อเปิดดูผ่านโปรแกรม GPUZ จะพบเพียง nVidia GeForce 9600M GT เท่านั้น ส่วนตัว 9400M ที่ติดอยู่บนเมนบอร์ดโปรแกรมจะมองไม่เห็น
ทดลองรัน 3DMark06 ที่ความละเอียด 1280 x 800 คะแนนจะอยู่ที่ 5916 คะแนน เมื่อปรับความละเอียดขึ้นไปสูงสุดที่ 1440 x 900 คะแนนลงมาอยู่ที่ 5329 คะแนน นอกจากนี้ทางทีมงานได้ทดลองเกมอย่าง Crysis Warhead หรือ Need For Speed Undercover ที่พึ่งออกมา ปรับความละเอียดสูงสุด ก็สามารถเล่นได้ลื่นไหลไม่มีอาการกระตุกแต่อย่างใด ส่วนการทดลองชมภาพยนตร์ความละเอียดสูงแบบ 1080p ก็ไม่มีปัญหาเช่นเดียวกัน สิ่งเหล่านี้คงบอกถึงประสิทธิภาพทางด้านกราฟิกของแมคบุ๊กโปรได้เป็นอย่างดี
มาดูกันในส่วนของฮาร์ดดิสก์ เป็นฮาร์ดดิสก์ของ ฮิตาชิ ความจุ 320GB ความเร็วสูงสุดในการอ่านข้อมูลอยู่ที่ 63.9 MB/s ส่วนอัตราการเข้าถึงข้อมูลอยู่ที่ 19.2 ms ซึ่งค่าเฉลี่ยตรงจุดนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 17 ms แต่ทั้งนี้ขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์ก็มีส่วนในการเข้าถึงข้อมูลเช่นเดียวกัน
ในส่วนของการเชื่อมต่อสัญญาณไวเลส การตรวจจับสัญญาณในระบบปฏิบัติการ OS X จะทำได้ดีกว่าใน วินโดวส์ ดังนั้นทางทีมงานจึงไม่ได้ทดสอบในส่วนนี้ให้ท่านผู้อ่านรับชม ซึ่งจากการลองใช้งานก็ไม่พบการดรอปของสัญญาณหรือสิ่งใดผิดปกติให้พบเห็น
Speaker
ในแมคบุ๊กโปร ก็ยังใช้ระบบเสียงจาก Realtek HD Audio เช่นเดียวกับโน้ตบุ๊กรุ่นอื่นๆ ดังนั้นคุณภาพของเสียงจึงการันตีได้ว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ลำโพงในตัวเครื่องจะอยู่ทางด้านซ้าย-ขวา ของคีย์บอร์ดให้มิติของเสียงชัดเจนดี เมื่อเปิดเสียงดังสุดในห้องขนาดประมาณ 4 x 4 เมตร ดังชัดเจนดี เมื่อต่อออกลำโพงคุณภาพที่ได้ไม่แตกต่างกับโน้ตบุ๊กที่ใช้ซาวน์การ์ดตัวเดียวกัน
Battery and Heat
ส่วนของแบตเตอรี่ทดลองใช้งานในโหมดประหยัดพลังงานที่ใช้การ์ดจอ 9400M เปิดความสว่าง 50% เปิดเสียง 50% ไม่เปิดไฟคีย์บอร์ด ใช้งานเล่นอินเทอร์เน็ต เปิดเพลง จะใช้งานได้เกือบๆ 4 ชั่วโมง เมื่อใช้งานในโหมดประสิทธิภาพที่ใช้การ์ดจอ 9600M GT เปิดความสว่าง 50% เปิดเสียง 50% ทำงานเช่นเดียวกันจะใช้งานได้ประมาณ 3 ชั่วโมงครึ่ง
แต่เมื่อลองใช้งานรับชมภาพยนตร์ดีวีดี เปิดความสว่างสูงสุด เสียงดังสุด เปิดไฟคีย์บอร์ดสว่างสุด จะใช้งานได้ประมาณ 2 ชั่วโมง พอดีภาพยนตร์จบหนึ่งเรื่อง ทั้งนี้เมื่อเปิดใช้ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์อาจพบว่าใช้งานได้สั้นกว่าใน OS X มากพอสมควร ดังนั้นผู้ใช้งานที่จำเป็นต้องใช้งานโปรแกรมบนวินโดวส์จึงควรพกสายชาร์จไปด้วย สำหรับเวลาในการชาร์จจะอยู่ที่ 3 ชั่วโมงครึ่ง - 4 ชั่วโมง
ในเรื่องของความร้อนที่แมคบุ๊กส่วนใหญ่จะมีปัญหาเนื่องมาจากช่องระบายอากาศจะอยู่บริเวณล่างของหน้าจอซึ่งไม่ได้เปิดโล่ง ทำให้การระบายอากาศไม่ดีเท่าที่ควร เมื่อใช้งานเครื่องหนักๆ ความร้อนจะขึ้นไปอยู่ประมาณ 70 องศาเซลเซียส พัดลมก็จะปรับการหมุนสูงขึ้นเป็น 4000 รอบ ทำให้เครื่องมีเสียงดังออกมาเมื่อเครื่องร้อน ซึ่งถ้าความร้อนไม่ถึงจุดพัมลมจะหมุนอยู่ประมาณ 2000 รอบ
อุณภูมิขณะที่ทดสอบโปรแกรม 3DMark จะขึ้นสูงถึง 90 องศาฯในบางช่วง แล้วก็ลดลงมาอยู่ในระดับปกติคือประมาณ 60 - 65 องศาฯ ซึ่งจากจุดนี้ต้องยอมรับว่าระบบระบายอากาศมีประสิทธิภาพ
การใช้งานในเมืองหนาวคงจะไม่มีปัญหาดังกล่าวเนื่องจากอะลูมิเนียมจะได้รับความเย็นจากสภาพอากาศในการช่วยระบายความร้อน สังเกตจากเมื่ออยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศตัวเครื่องจะเย็นอยู่ตลอดเวลา แต่สภาพอากาศประเทศไทยก็คงต้องยอมรับว่าอาจจะมีเครื่องร้อนบ้างเมื่อใช้งานหนักๆ ดังนั้นถ้าไม่ใส่กางเกงยีนส์ หรือกางเกงที่มีผ้าหนาๆ ก็ไม่ควรนำเครื่องมาใช้งานบนหน้าตักในสภาพอากาศปกติของเมืองไทย
สำหรับฟีเจอร์การใช้งาน และ บทสรุปจะอยู่ในหน้าถัดไปนะครับ
Feature On MacBook Pro (2008 Edition)
แน่นอนว่าปัจจุบันนี้ ผู้คนที่ใช้เครื่องแมค ไม่ว่าจะเป็น iMac, MacBook, MacBook Air และ MacBook Pro จะมีส่วนหนึ่งที่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมบางประเภทที่ไม่สามารถใช้งานบน OS X ได้ ดังนั้นเมื่อทางแอปเปิ้ลหันมาใช้ชิปเซ็ตจากอินเทล ก็ได้มีแอปพลิเคชันตัวหนึ่งเสริมเข้ามาให้ด้วยคือ BootCamp ที่ทำให้สามารถใช้งานระบบปฏิบัติการอื่นๆ พร้อมกับ OS X ได้
เจ้าตัว BootCamp ในปัจจุบันนี้ได้ถูกพัฒนามาเรื่อยๆ จนยอมรับได้ว่าในขณะสมบูรณ์แล้วก็ว่าได้ โดยเครื่องแมคบุ๊กโปร ที่ทางทีมงานนำมาทดสอบจะใช้ OS X 10.5.5 ที่สามารถเรียกแอปพลิเคชัน 'Boot Camp Assistant' ขึ้นมาได้เลย
เมื่อเรียกโปรแกรมขึ้นมา จะพบกับหน้าจอแนะนำเบื้องต้นว่าคืออะไร ความหมายสรุปโดยรวมคือ "โปรแกรมนี้จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถลง วินโดวส์ วิสต้า หรือ วินโดวส์ เอ็กซ์พี ที่สามารถทำงานบนชิปเซ็ตอินเทลได้" ซึ่งจากข้อมูลที่ได้รับมาเชื่อว่าสามารถใช้โปรแกรมนี้ในการเรียกใช้งานลินุกซ์ได้ เช่นเดียวกัน
เมื่อกด Continue จะพบกับหน้าจอที่ให้ผู้ใช้งานแบ่งพาร์ทิชัน เพื่อรันระบบปฏิบัติการอีกตัวหนึ่ง ซึ่งสามารถปรับขนาดได้โดยการเลื่อนขนาด หรือกดปุ่มเลือก 32GB และ ครึ่งหนึ่งของฮาร์ดดิกส์ทั้งหมด หลังจากนั้นกดปุ่ม Partition โปรแกรมก็จะทำการแบ่งขนาดของฮาร์ดดิสก์ตามที่ท่านได้เลือกไว้
เมื่อแบ่งพาร์ทิชันเสร็จจะพบกับหน้าจอ Start Windows Installation ให้ผู้ใช้ใส่แผ่นวินโดวส์ ที่ต้องการเข้าไป โดย ถ้าเป็น วินโดวส์ เอ๊กซ์พี ต้องเป็นรุ่น Service Pack 2 ขึ้นไป ส่วนวินโดวส์ วิสต้า จะรองรับทุกเวอร์ชัน หลังจากนั้นกดปุ่ม Start Installation เครื่องก็จะทำการลงวินโดวส์ตามปกติ
หลังจากที่ลงวินโดวส์เสร็จแล้ว ให้ผู้ใช้งานใส่แผ่น OS X Leopard เพื่อลงไดร์ฟเวอ และ ซอฟต์แวร์ สำหรับวินโดวส์ เมื่อรันโปรแกรมต่างๆเสร็จเรียบร้อย เท่านี้ก็สามารถใช้งาน 2 ระบบปฏิบัติการได้แล้ว นอกจากนี้ถ้าผู้ใช้ต้องการเลือกระบบปฏิบัติการไหนเป็นหลักสามารถตั้งค่าได้ ส่วนการเลือกใช้ระบบปฏิบัติการขณะเปิดเครื่องให้กดปุ่ม Option ค้างไว้ จะสามารถเลือกได้
Dock อาจจะถือเป็นอีกจุดเด่นหนึ่งในการใช้งาน OS X ซึ่งเปรียบเหมือนไอคอนลัดในการใช้งานโปรแกรมและแอปพลิเคชันต่างๆนั่นเอง
เบราว์เซอร์อย่างซาฟารี (Safari) ถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญของผู้ใช้งาน แมคอินทอช อีกเช่นเดียวกัน ซึ่งความสามารถของมันนั้น จากการทดลองใช้พบว่าประสิทธิภาพไม่เป็น 2 รองใครแน่นอน (แต่อาจมีปัญหาเรื่องการตัดคำเล็กน้อย)
Photo Booth จากกล้องเว็บแคม ที่ให้มาสามารถใส่เอฟเฟกต์ได้เยอะมาก จากที่เห็นในรูป ใครชอบเล่นกล้องคงต้องลองดูสักหน่อย(แต่พอดีผู้เขียนไม่นิยม เลยไม่ได้ทดลองใช้มากนัก)
Dashboard คืออักลูกเล่นหนึ่ง จะเปรียบให้เข้าใจง่ายก็ไม่ต่างกับ Sidebar ทางด้านขวาของจอในวินโดวส์ วิสต้า ซึ่งแน่นอนว่าผู้ใช้งานสามารถหา Widget สำหรับมาใช้งานใน Dashboard เพิ่มเติมได้
ส่วนอันสุดท้ายคือการดูว่า เปิดหน้าต่างอะไรอยู่บ้าง โดยการใช้นิ้วมือ 4 นิ้วลากลงบนมัลติทัชแทร็กแพด หรือกดปุ่ม F3 ก็สามารถใช้งานได้เช่นเดียวกัน
บทสรุป
ในด้านประสิทธิภาพของเครื่องนั้นการใช้งานใน OS X จะเรียกประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างคุ้มค่า นอกจากนี้ระบบ Dual GPU จะช่วยให้สามารถเลือกโหมดการใช้งาน ที่จะเป็นแบบประหยัดพลังงาน หรือ เน้นประสิทธิภาพ ทำให้สามารถยืดระยะเวลาในการใช้งานนอกสถานที่ได้ยาวนานขึ้น
เรื่องความร้อนของตัวเครื่องยังถือเป็นจุดสำคัญ ในการพิจารณาอยู่เช่นเดิม ซึ่งจากการออกแบบดีไซน์ใหม่ของแอปเปิลในครั้งนี้ ช่องระบายความร้อนยังอยู่ที่บริเวณส่วนต่อระหว่างหน้าจอกับตัวเครื่องเช่นเดิม เมื่อใช้งานในสภาพอากาศปกติของเมืองไทย ตัวเครื่องที่เป็นอะลูมิเนียม จะช่วยนำความร้อนได้เป็นอย่างดี แต่จุดแข็งในเรื่องนี้ของแมคบุ๊กคือ เมื่อความร้อนขึ้นไปอยู่ถึงจุดหนึ่ง พัดลมระบายอากาศจะหมุนเร็วขึ้น อาจจะเกิดเสียงดังตามมาด้วยในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เมื่ออุณหภูมิอยู่ในจุดปกติแล้ว พัดลมก็จะเงียบเหมือนเดิม
ด้านของดีไซน์รูปแบบใหม่นี้ ให้ความรู้สึกที่เรียบง่าย แต่แฝงไปด้วยความหรูหรา ตัวเครื่องบางลงอย่างเห็นได้ชัด หน้าจอให้ความชัดเจนแม้ในสภาพแสงจ้า มัลติทัชแทร็กแพด อาจจะสร้างความลำบากในการใช้งานช่วงแรก แต่เมื่อคุ้นเคยแล้วจะพบว่าให้ความสะดวกได้เป็นอย่างดี
แน่นอนว่าดีไซน์แบบใหม่นี้มีจุดที่สร้างความลำบากเวลาใช้งานด้วย คือการวางมือเพื่อใช้งานคีย์บอร์ด บริเวณข้อมือจะไปตรงกับขอบของตัวเครื่องพอดี แม้ว่าอะลูมิเนียมที่ใช้ในการผลิตอาจมีการลบเหลี่ยมมุมมาแล้ว แต่เมื่อวางมือไว้นานๆ ก็ต้องรับความรู้สึกนี้อยู่ดี
สุดท้ายการใช้งาน OS X แน่นอนว่าปัญหาสำคัญที่ผู้ใช้งานส่วนใหญ่ ไม่กล้าที่จะใช้เครื่องแมคคือ ไม่อยากเรียนรู้ที่จะใช้งานระบบที่แตกต่างออกไป หรือ อาจคิดว่าใช้งานยากกว่าวินโดวส์ แต่ผู้เขียนเชื่อว่าถ้าให้คนที่ไม่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์มาทดลองใช้ทั้ง 2 ระบบปฏิบัติการ จะพบว่าคนผู้นั้นจะสามารถใช้งาน OS X ได้ก่อน วินโดวส์ แน่นอน
ขอชม
- ดีไซน์ของเครื่องที่ดูเรียบง่าย บาง เบา ที่ทำจากอะลูมิเนียมแผ่นเดียว (ช่วยลดภาวะโลกร้อนด้วย)
- มัลติทัชแทร็กแพด เป็นลูกเล่นที่ช่วยให้การใช้งานสะดวกมากขึ้น
- ประสิทธิภาพของตัวเครื่องอยู่ในระดับสูง สามารถทำงานได้ทุกรูปแบบ
ขอติ
- พอร์ต Mini Display แม้จะมีความสามารถสูงแต่ต้องซื้ออุปกรณเสริมในการใช้ทั่วๆไป
- พอร์ต USB เพียง 2 ช่องอาจไม่พอต่อการใช้งานในปัจจุบัน (ต่อเมาส์ + iPod/iPhone ก็หมดแล้ว)
- ความร้อนของตัวเครื่องถ้าใช้งานตามสภาพอากาศในเมืองไทย
สนนราคาสำหรับแมคบุ๊กโปรรุ่นนี้ อยู่ที่ 91,900 บาท ส่วนรุ่นที่สเปกต่ำลงมาหน่อยจะอยู่ที่ 73,900 บาท
Company Relate Link :
Apple
สำหรับจุดเด่นของแมคบุ๊กรุ่นนี้คงจะหนีไม่พ้นดีไซน์ ที่ตัวเครื่องทำมาจากอะลูมิเนียมแผ่นใหญ่มาเจาะช่องเป็นตัวเครื่อง ซึ่งทำมาตามนโยบายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ปราศจากสารปรอท, สาร PVC, กระจกไม่มีสารหนู และ บรรจุภัณฑ์ที่มีขนาดเล็กลง 37% ที่ช่วยประหยัดกระดาษในการผลิตนั่นเอง
ส่วนเฉพาะรุ่นแมคบุ๊กโปร จะมีความสามารถพิเศษเพิ่มขึ้นมาคือสามารถเลือกใช้งาน หน่วยประมวลผลภาพ (การ์ดจอ) ได้ถึง 2 ตัวคือ nVidia 9400M สำหรับโหมดประหยัดพลังงาน และ 9600M สำหรับโหมดประสิทธิภาพ อาจจะถือว่าเป็นการใช้งาน Dual GPU เครื่องแรกบนแมคบุ๊กก็ว่าได้ ส่วนฟีเจอร์ที่เพิ่มเติมเข้ามาก็คือ ระบบ 'มัลติทัชแทร็กแพด' ที่ช่วยเพิ่มลูกเล่นการใช้งานได้หลากหลาย และสวยงามมากขึ้น
Design Of MacBook Pro (2008 Edition)
เนื่องมาจากตัวเครื่องทำจากอะลูมิเนียมแผ่นเดียวมาเจาะให้เป็นตัวเครื่องรวมถึงการลบมุมต่างๆให้มีความโค้งมน ตัวเครื่องจึงมีความเรียบเนียนและสวยงาม โดยขนาดตัวจะอยู่ที่ 364 x 249 x 24 มิลลิเมตร น้ำหนักประมาณ 2.49 กิโลกรัม
ส่วนใครอยากรู้ว่าผลิตอย่างไรสามารถรับชมได้
เริ่มจากด้านบนของตัวเครื่องจะมีสัญลักษณ์ 'แอปเปิลแหว่ง' ที่เด็กๆชอบเรียกกัน เด่นสะดุดอยู่ตรงกลาง ซึ่งเมื่อเปิดเครื่องตรงสัญลักษณ์ดังกล่าวจะมีไฟ LED แสดงสถานะว่าเปิดใช้งานอยู่
เมื่อเปิดหน้าจอขึ้นมาจะพบจอไวด์สกรีนแบบ LED backlit ขนาด 15.4 นิ้ว ความละเอียดสูงสุด 1440 x 900 พิกเซล จุดน่าสนใจจะอยู่ที่ความบางของจอภาพ ที่มีลักษณะคล้ายนำกระจกมาแปะกับแผ่นอะลูมิเนียมเท่านั้น ด้วยความที่เป็น 'Glossy' หน้าจอจึงมีความมันเงาจากกระจก ทำให้สามารถสะท้อนแสงได้เป็นอย่างดี
ในบริเวณขอบของหน้าจอทั้ง 2 ฝั่งจะถูกฝังไว้ด้วยตัวรับสัญญาณไวเลส และ บลูทูธ ทำให้สามารถรับสัญญาณได้ดีมากกว่าปกติ ส่วนบริเวณด้านบนของจอ จะมีเว็บแคม และไฟแสดงสถานะสีเขียวอยู่ ซึ่งถ้าไม่เปิดใช้งานก็จะไม่เห็นไฟดังกล่าว ส่วนล่างของหน้าจอจะมีตัวอักษรว่า 'MacBook Pro' แสดงไว้
ต่อมาส่วนของตัวเครื่อง จะพบปุ่มเปิดเครื่องอยู่บริเวณขวาบน ซึ่งถ้ามองผ่านๆอาจจะไม่เห็นเพราะตรงปุ่มเป็นอะลูมิเนียมเช่นเดียวกับตัวเครื่อง ถัดมาด้านซ้ายและขวาของคีย์บอร์ดจะเป็นช่องลำโพง และไมโครโฟน ที่ถูกเจาะด้วยเลเซอร์แบบละเอียด
ปุ่มคีย์บอร์ดเป็นแบบปกติของแมคบุ๊กรุ่นใหม่ๆคือ ปุ่มจะมีสีดำ ระหว่างตัวอักษรจะมีการเว้นช่องไฟ ทำให้ผู้ใช้งานที่ถนัดคีย์บอร์ดแบบปกติต้องปรับตัวเล็กน้อย ส่วนการรับสัมผัสของแต่ละปุ่ม จะเร็วขึ้นกล่าวคือเพียงแค่ใช้นิ้วกดลงไปเบาๆก็ได้แล้ว นอกจากนี้ตรงตัวอักษรจะถูกทำให้โปร่งแสงเพื่อที่จะแสดงไฟ LED ใต้คีย์บอร์ดในเวลากลางคืนหรือในที่ๆมีแสงน้อย
ถัดลงมาจะพบกับ จุดที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดของแมคบุ๊กรุ่นใหม่ คือ 'มัลติทัชแทร็กแพด' ที่สามารถใช้นิ้วมือในการสั่งงานต่างๆ ตั้งแต่ใช้ 1 นิ้ว สำหรับเลื่อนเมาส์ หรือ คลิกเมาส์ ซึ่งเป็นระบบสัมผัส นอกจากนี้ ยังสามารถกดคลิกขวาได้โดยกดบริเวณ ล่างซ้าย, ตรงกลาง และ ล่างขวา 3 จุดด้วยกัน
ต่อมาคือการใช้ 2 นิ้วแทนการ 'Scroll Mouse' ส่วนในโปรแกรมดูรูปภาพสามารถใช้ 2 นิ้วในการซูมเข้า-ออก รวมถึงการหมุนรูปภาพด้วย สำหรับการเปลี่ยนรูปก็สามารถทำได้โดยใช้นิ้ว 3 นิ้วเลื่อนไปทางซ้ายหรือขวา เพื่อเปลี่ยนรูป และสุดท้ายใช้ 4 นิ้วเลื่อนขึ้นหรือลง ในการซ่อนหน้าต่าง และเรียก Dash Board ถ้าเลื่อนไปทางซ้ายขวาจะให้เลือกหน้าต่างที่ต้องการใช้งาน(คล้ายกับAlt+Tab ในวินโดวส์)
สาธิตวิธีการใช้งาน 'มัลติทัชแทร็กแพด'
จะเห็นได้ว่าการทำงานดังกล่าวอาจต้องใช้เวลาในการศึกษาทำความเข้าใจเล็กน้อย ซึ่งเมื่อชำนาญแล้วจะพบว่าใช้งานได้สะดวกดี ส่วนการใช้งานแบบ 3 หรือ 4 นิ้วถือซะว่าเป็นลูกเล่นสวยงาม เพราะคงไม่ได้ใช้งานจริงจัง แต่ทั้งนี้ถ้าใครไม่ถนัดใช้มัลติทัชแทร็กแพดก็สามารถนำเมาส์มาเสียบใช้ได้ตามปกติ
พลิกด้านหลังเครื่องขึ้นมาจะพบว่ามีฝาหลังอยู่บริเวณด้านล่าง เมื่อเปิดออกมาจะพบกับฮาร์ดดิสก์ ที่สามารถถอดเปลี่ยนได้เองจากการไขน็อต 2-3 ตัว และ แบตเตอรี่ ที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ ในส่วนบนของเครื่องก็สามารถไขน็อตเพื่อเปิดขึ้นมาใส่แรมเพิ่มได้เช่นเดียวกัน
Input and Output Ports
เริ่มจากทางฝั่งซ้ายก่อนเพราะเป็นที่อยู่ของพอร์ตต่างๆของเครื่องทั้งหมด จากริมในสุดจะเป็นช่องสำหรับเชื่อมต่อสายชาร์จ (ที่ใช้คำว่าเชื่อมต่อเพราะบริเวณดังกล่าวจะมีแม่เหล็กเพื่อที่จะดูดสายไฟไว้ เมื่อขยับให้แม่เหล็กหลุดสายชาร์จก็หลุดด้วยเช่นเดียวกัน) ซึ่งขณะชาร์จไฟจะมีไฟบอกสถานะอยู่บริเวณหัวของสายชาร์จ สีแดงสำหรับกำลังชาร์จ และ สีเขียว เมื่อเต็มแล้ว
ถัดลงมาจะพบพอร์ต สายแลน, Firewire800, พอร์ต ยูเอสบี 2 พอร์ต, Mini DisplayPort สำหรับเชื่อม VGA และ DVI, ช่องไมโครโฟน, หูฟัง และ พอร์ต Express Card โดยนอกจากพอร์ตต่างๆแล้วจะมีส่วนที่บอกสถานะของแบตเตอรี่ เมื่อกดปุ่มจะมีไฟแสดงตามจำนวนแบตที่เหลืออยู่
ทางฝั่งขวา จะมีเพียงไดร์ฟ DVD Super Multi แบบดูดแผ่น กับ ช่องล็อกโน้ตบุ๊กอยู่เท่านั้น
ทางด้านหน้าตรงกลางจะสังเกตุเห็นส่วนเว้าเข้าไปสำหรับใช้เปิดหน้าจอ ที่ทำขึ้นมาแทนปุ่มล็อกแบบเดิม เยื้องไปทางขวา สังเกตุดีๆจะมีไฟแสดงสถานะ เวลาเข้าโหมด Standby และ ช่องรับสัญญาณอินฟาเรต จากรีโมทควบคุม ส่วนทางด้านหลังเครื่องตรงกลางจะพบพลาสติกสีดำของข้อต่อระหว่างหน้าจอกับตัวเครื่อง
ส่วนระบบการเชื่อมต่อภายในก็จะมีไวเลสแลน รองรับ 802.11b/g/n และ บลูทูธ 2.1 ตามปกติ
สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพจะอยู่ในหน้าถัดไป
Performance And Benchmark
แมคบุ๊กโปรรุ่นนี้ จะมีให้เลือกทั้งหมด 3 แบบคือ 2.4GHZ L2 cache 3MB กับ 2.53GHz หรือ 2.8GHz L2 cache 6MB ส่วนแรมจะมีให้เลือกตั้งแต่ 2GB หรือ 4GB อาร์ดิสก์ก็จะมีให้เลือกทั้งแบบที่เป็น SSD ขนาด 128GB หรือเป็นแบบ sATA ขนาด 250GB/320GB
โดยเครื่องที่ทางทีมงานนำมาลองใช้จะใช้หน่วยประมวลผล Intel Core 2 Duo T9400 2.53GHz FSB 1066MHz L2 cache 6MB หน่วยความจำแบบ DDR3 2GB x 2 Bus 1067MHz
แน่นอนว่าเครื่องแมครุ่นใหม่ๆสามารถใช้งานวินโดวส์ผ่านโปรแกรม Bootcamp ได้ ทางทีมงานจึงนำผลของ CPU-Z เพื่อดูอุปกรณ์ภายในต่างๆ แสดงผลเช่นเดียวกับข้อมูลบน OS X จะมีเพิ่มเข้ามาในส่วนของเมนบอร์ด ที่ผลิตจากโรงงานแอปเปิล โดยใช้ชิปเซ็ตของ NVIDIA ID0A82
ทดลองรัน PCMark05 คะแนนโดยรวมไม่สามารถแสดงผลได้เนื่องจากโปรแกรมไม่รู้จักหน่วยประมวลผลภาพแบบ 2 ตัว ทำให้ได้เป็นคะแนนดิบของแต่ละส่วนมาแทน ซึ่งคะแนนของซีพียูอยู่ที่ 6281 และ หน่วยความจำอยู่ที่ 5160 ถือว่าอยู่ในระดับสูงเลยทีเดียว
สำหรับการ์ดจอของ 'Macbook Pro' จะพิเศษตรงที่มีมาให้เลือกใช้งานถึง 2 ตัวคือ nVidia GeForce 9600M GT หน่วยความจำ DDR3 512MB เมื่อต้องใช้งานเครื่องแบบประสิทธิภาพสูง กับ nVidia GeForce 9400M ที่ใช้แชร์หน่วยความจำจากตัวเครื่องมา 256MB เพื่อใช้งานในโหมดประหยัดพลังงาน
เมื่อเปิดดูผ่านโปรแกรม GPUZ จะพบเพียง nVidia GeForce 9600M GT เท่านั้น ส่วนตัว 9400M ที่ติดอยู่บนเมนบอร์ดโปรแกรมจะมองไม่เห็น
ทดลองรัน 3DMark06 ที่ความละเอียด 1280 x 800 คะแนนจะอยู่ที่ 5916 คะแนน เมื่อปรับความละเอียดขึ้นไปสูงสุดที่ 1440 x 900 คะแนนลงมาอยู่ที่ 5329 คะแนน นอกจากนี้ทางทีมงานได้ทดลองเกมอย่าง Crysis Warhead หรือ Need For Speed Undercover ที่พึ่งออกมา ปรับความละเอียดสูงสุด ก็สามารถเล่นได้ลื่นไหลไม่มีอาการกระตุกแต่อย่างใด ส่วนการทดลองชมภาพยนตร์ความละเอียดสูงแบบ 1080p ก็ไม่มีปัญหาเช่นเดียวกัน สิ่งเหล่านี้คงบอกถึงประสิทธิภาพทางด้านกราฟิกของแมคบุ๊กโปรได้เป็นอย่างดี
มาดูกันในส่วนของฮาร์ดดิสก์ เป็นฮาร์ดดิสก์ของ ฮิตาชิ ความจุ 320GB ความเร็วสูงสุดในการอ่านข้อมูลอยู่ที่ 63.9 MB/s ส่วนอัตราการเข้าถึงข้อมูลอยู่ที่ 19.2 ms ซึ่งค่าเฉลี่ยตรงจุดนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 17 ms แต่ทั้งนี้ขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์ก็มีส่วนในการเข้าถึงข้อมูลเช่นเดียวกัน
ในส่วนของการเชื่อมต่อสัญญาณไวเลส การตรวจจับสัญญาณในระบบปฏิบัติการ OS X จะทำได้ดีกว่าใน วินโดวส์ ดังนั้นทางทีมงานจึงไม่ได้ทดสอบในส่วนนี้ให้ท่านผู้อ่านรับชม ซึ่งจากการลองใช้งานก็ไม่พบการดรอปของสัญญาณหรือสิ่งใดผิดปกติให้พบเห็น
Speaker
ในแมคบุ๊กโปร ก็ยังใช้ระบบเสียงจาก Realtek HD Audio เช่นเดียวกับโน้ตบุ๊กรุ่นอื่นๆ ดังนั้นคุณภาพของเสียงจึงการันตีได้ว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ลำโพงในตัวเครื่องจะอยู่ทางด้านซ้าย-ขวา ของคีย์บอร์ดให้มิติของเสียงชัดเจนดี เมื่อเปิดเสียงดังสุดในห้องขนาดประมาณ 4 x 4 เมตร ดังชัดเจนดี เมื่อต่อออกลำโพงคุณภาพที่ได้ไม่แตกต่างกับโน้ตบุ๊กที่ใช้ซาวน์การ์ดตัวเดียวกัน
Battery and Heat
ส่วนของแบตเตอรี่ทดลองใช้งานในโหมดประหยัดพลังงานที่ใช้การ์ดจอ 9400M เปิดความสว่าง 50% เปิดเสียง 50% ไม่เปิดไฟคีย์บอร์ด ใช้งานเล่นอินเทอร์เน็ต เปิดเพลง จะใช้งานได้เกือบๆ 4 ชั่วโมง เมื่อใช้งานในโหมดประสิทธิภาพที่ใช้การ์ดจอ 9600M GT เปิดความสว่าง 50% เปิดเสียง 50% ทำงานเช่นเดียวกันจะใช้งานได้ประมาณ 3 ชั่วโมงครึ่ง
แต่เมื่อลองใช้งานรับชมภาพยนตร์ดีวีดี เปิดความสว่างสูงสุด เสียงดังสุด เปิดไฟคีย์บอร์ดสว่างสุด จะใช้งานได้ประมาณ 2 ชั่วโมง พอดีภาพยนตร์จบหนึ่งเรื่อง ทั้งนี้เมื่อเปิดใช้ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์อาจพบว่าใช้งานได้สั้นกว่าใน OS X มากพอสมควร ดังนั้นผู้ใช้งานที่จำเป็นต้องใช้งานโปรแกรมบนวินโดวส์จึงควรพกสายชาร์จไปด้วย สำหรับเวลาในการชาร์จจะอยู่ที่ 3 ชั่วโมงครึ่ง - 4 ชั่วโมง
ในเรื่องของความร้อนที่แมคบุ๊กส่วนใหญ่จะมีปัญหาเนื่องมาจากช่องระบายอากาศจะอยู่บริเวณล่างของหน้าจอซึ่งไม่ได้เปิดโล่ง ทำให้การระบายอากาศไม่ดีเท่าที่ควร เมื่อใช้งานเครื่องหนักๆ ความร้อนจะขึ้นไปอยู่ประมาณ 70 องศาเซลเซียส พัดลมก็จะปรับการหมุนสูงขึ้นเป็น 4000 รอบ ทำให้เครื่องมีเสียงดังออกมาเมื่อเครื่องร้อน ซึ่งถ้าความร้อนไม่ถึงจุดพัมลมจะหมุนอยู่ประมาณ 2000 รอบ
อุณภูมิขณะที่ทดสอบโปรแกรม 3DMark จะขึ้นสูงถึง 90 องศาฯในบางช่วง แล้วก็ลดลงมาอยู่ในระดับปกติคือประมาณ 60 - 65 องศาฯ ซึ่งจากจุดนี้ต้องยอมรับว่าระบบระบายอากาศมีประสิทธิภาพ
การใช้งานในเมืองหนาวคงจะไม่มีปัญหาดังกล่าวเนื่องจากอะลูมิเนียมจะได้รับความเย็นจากสภาพอากาศในการช่วยระบายความร้อน สังเกตจากเมื่ออยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศตัวเครื่องจะเย็นอยู่ตลอดเวลา แต่สภาพอากาศประเทศไทยก็คงต้องยอมรับว่าอาจจะมีเครื่องร้อนบ้างเมื่อใช้งานหนักๆ ดังนั้นถ้าไม่ใส่กางเกงยีนส์ หรือกางเกงที่มีผ้าหนาๆ ก็ไม่ควรนำเครื่องมาใช้งานบนหน้าตักในสภาพอากาศปกติของเมืองไทย
สำหรับฟีเจอร์การใช้งาน และ บทสรุปจะอยู่ในหน้าถัดไปนะครับ
Feature On MacBook Pro (2008 Edition)
แน่นอนว่าปัจจุบันนี้ ผู้คนที่ใช้เครื่องแมค ไม่ว่าจะเป็น iMac, MacBook, MacBook Air และ MacBook Pro จะมีส่วนหนึ่งที่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมบางประเภทที่ไม่สามารถใช้งานบน OS X ได้ ดังนั้นเมื่อทางแอปเปิ้ลหันมาใช้ชิปเซ็ตจากอินเทล ก็ได้มีแอปพลิเคชันตัวหนึ่งเสริมเข้ามาให้ด้วยคือ BootCamp ที่ทำให้สามารถใช้งานระบบปฏิบัติการอื่นๆ พร้อมกับ OS X ได้
เจ้าตัว BootCamp ในปัจจุบันนี้ได้ถูกพัฒนามาเรื่อยๆ จนยอมรับได้ว่าในขณะสมบูรณ์แล้วก็ว่าได้ โดยเครื่องแมคบุ๊กโปร ที่ทางทีมงานนำมาทดสอบจะใช้ OS X 10.5.5 ที่สามารถเรียกแอปพลิเคชัน 'Boot Camp Assistant' ขึ้นมาได้เลย
เมื่อเรียกโปรแกรมขึ้นมา จะพบกับหน้าจอแนะนำเบื้องต้นว่าคืออะไร ความหมายสรุปโดยรวมคือ "โปรแกรมนี้จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถลง วินโดวส์ วิสต้า หรือ วินโดวส์ เอ็กซ์พี ที่สามารถทำงานบนชิปเซ็ตอินเทลได้" ซึ่งจากข้อมูลที่ได้รับมาเชื่อว่าสามารถใช้โปรแกรมนี้ในการเรียกใช้งานลินุกซ์ได้ เช่นเดียวกัน
เมื่อกด Continue จะพบกับหน้าจอที่ให้ผู้ใช้งานแบ่งพาร์ทิชัน เพื่อรันระบบปฏิบัติการอีกตัวหนึ่ง ซึ่งสามารถปรับขนาดได้โดยการเลื่อนขนาด หรือกดปุ่มเลือก 32GB และ ครึ่งหนึ่งของฮาร์ดดิกส์ทั้งหมด หลังจากนั้นกดปุ่ม Partition โปรแกรมก็จะทำการแบ่งขนาดของฮาร์ดดิสก์ตามที่ท่านได้เลือกไว้
เมื่อแบ่งพาร์ทิชันเสร็จจะพบกับหน้าจอ Start Windows Installation ให้ผู้ใช้ใส่แผ่นวินโดวส์ ที่ต้องการเข้าไป โดย ถ้าเป็น วินโดวส์ เอ๊กซ์พี ต้องเป็นรุ่น Service Pack 2 ขึ้นไป ส่วนวินโดวส์ วิสต้า จะรองรับทุกเวอร์ชัน หลังจากนั้นกดปุ่ม Start Installation เครื่องก็จะทำการลงวินโดวส์ตามปกติ
หลังจากที่ลงวินโดวส์เสร็จแล้ว ให้ผู้ใช้งานใส่แผ่น OS X Leopard เพื่อลงไดร์ฟเวอ และ ซอฟต์แวร์ สำหรับวินโดวส์ เมื่อรันโปรแกรมต่างๆเสร็จเรียบร้อย เท่านี้ก็สามารถใช้งาน 2 ระบบปฏิบัติการได้แล้ว นอกจากนี้ถ้าผู้ใช้ต้องการเลือกระบบปฏิบัติการไหนเป็นหลักสามารถตั้งค่าได้ ส่วนการเลือกใช้ระบบปฏิบัติการขณะเปิดเครื่องให้กดปุ่ม Option ค้างไว้ จะสามารถเลือกได้
Dock อาจจะถือเป็นอีกจุดเด่นหนึ่งในการใช้งาน OS X ซึ่งเปรียบเหมือนไอคอนลัดในการใช้งานโปรแกรมและแอปพลิเคชันต่างๆนั่นเอง
เบราว์เซอร์อย่างซาฟารี (Safari) ถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญของผู้ใช้งาน แมคอินทอช อีกเช่นเดียวกัน ซึ่งความสามารถของมันนั้น จากการทดลองใช้พบว่าประสิทธิภาพไม่เป็น 2 รองใครแน่นอน (แต่อาจมีปัญหาเรื่องการตัดคำเล็กน้อย)
Photo Booth จากกล้องเว็บแคม ที่ให้มาสามารถใส่เอฟเฟกต์ได้เยอะมาก จากที่เห็นในรูป ใครชอบเล่นกล้องคงต้องลองดูสักหน่อย(แต่พอดีผู้เขียนไม่นิยม เลยไม่ได้ทดลองใช้มากนัก)
Dashboard คืออักลูกเล่นหนึ่ง จะเปรียบให้เข้าใจง่ายก็ไม่ต่างกับ Sidebar ทางด้านขวาของจอในวินโดวส์ วิสต้า ซึ่งแน่นอนว่าผู้ใช้งานสามารถหา Widget สำหรับมาใช้งานใน Dashboard เพิ่มเติมได้
ส่วนอันสุดท้ายคือการดูว่า เปิดหน้าต่างอะไรอยู่บ้าง โดยการใช้นิ้วมือ 4 นิ้วลากลงบนมัลติทัชแทร็กแพด หรือกดปุ่ม F3 ก็สามารถใช้งานได้เช่นเดียวกัน
บทสรุป
ในด้านประสิทธิภาพของเครื่องนั้นการใช้งานใน OS X จะเรียกประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างคุ้มค่า นอกจากนี้ระบบ Dual GPU จะช่วยให้สามารถเลือกโหมดการใช้งาน ที่จะเป็นแบบประหยัดพลังงาน หรือ เน้นประสิทธิภาพ ทำให้สามารถยืดระยะเวลาในการใช้งานนอกสถานที่ได้ยาวนานขึ้น
เรื่องความร้อนของตัวเครื่องยังถือเป็นจุดสำคัญ ในการพิจารณาอยู่เช่นเดิม ซึ่งจากการออกแบบดีไซน์ใหม่ของแอปเปิลในครั้งนี้ ช่องระบายความร้อนยังอยู่ที่บริเวณส่วนต่อระหว่างหน้าจอกับตัวเครื่องเช่นเดิม เมื่อใช้งานในสภาพอากาศปกติของเมืองไทย ตัวเครื่องที่เป็นอะลูมิเนียม จะช่วยนำความร้อนได้เป็นอย่างดี แต่จุดแข็งในเรื่องนี้ของแมคบุ๊กคือ เมื่อความร้อนขึ้นไปอยู่ถึงจุดหนึ่ง พัดลมระบายอากาศจะหมุนเร็วขึ้น อาจจะเกิดเสียงดังตามมาด้วยในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เมื่ออุณหภูมิอยู่ในจุดปกติแล้ว พัดลมก็จะเงียบเหมือนเดิม
ด้านของดีไซน์รูปแบบใหม่นี้ ให้ความรู้สึกที่เรียบง่าย แต่แฝงไปด้วยความหรูหรา ตัวเครื่องบางลงอย่างเห็นได้ชัด หน้าจอให้ความชัดเจนแม้ในสภาพแสงจ้า มัลติทัชแทร็กแพด อาจจะสร้างความลำบากในการใช้งานช่วงแรก แต่เมื่อคุ้นเคยแล้วจะพบว่าให้ความสะดวกได้เป็นอย่างดี
แน่นอนว่าดีไซน์แบบใหม่นี้มีจุดที่สร้างความลำบากเวลาใช้งานด้วย คือการวางมือเพื่อใช้งานคีย์บอร์ด บริเวณข้อมือจะไปตรงกับขอบของตัวเครื่องพอดี แม้ว่าอะลูมิเนียมที่ใช้ในการผลิตอาจมีการลบเหลี่ยมมุมมาแล้ว แต่เมื่อวางมือไว้นานๆ ก็ต้องรับความรู้สึกนี้อยู่ดี
สุดท้ายการใช้งาน OS X แน่นอนว่าปัญหาสำคัญที่ผู้ใช้งานส่วนใหญ่ ไม่กล้าที่จะใช้เครื่องแมคคือ ไม่อยากเรียนรู้ที่จะใช้งานระบบที่แตกต่างออกไป หรือ อาจคิดว่าใช้งานยากกว่าวินโดวส์ แต่ผู้เขียนเชื่อว่าถ้าให้คนที่ไม่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์มาทดลองใช้ทั้ง 2 ระบบปฏิบัติการ จะพบว่าคนผู้นั้นจะสามารถใช้งาน OS X ได้ก่อน วินโดวส์ แน่นอน
ขอชม
- ดีไซน์ของเครื่องที่ดูเรียบง่าย บาง เบา ที่ทำจากอะลูมิเนียมแผ่นเดียว (ช่วยลดภาวะโลกร้อนด้วย)
- มัลติทัชแทร็กแพด เป็นลูกเล่นที่ช่วยให้การใช้งานสะดวกมากขึ้น
- ประสิทธิภาพของตัวเครื่องอยู่ในระดับสูง สามารถทำงานได้ทุกรูปแบบ
ขอติ
- พอร์ต Mini Display แม้จะมีความสามารถสูงแต่ต้องซื้ออุปกรณเสริมในการใช้ทั่วๆไป
- พอร์ต USB เพียง 2 ช่องอาจไม่พอต่อการใช้งานในปัจจุบัน (ต่อเมาส์ + iPod/iPhone ก็หมดแล้ว)
- ความร้อนของตัวเครื่องถ้าใช้งานตามสภาพอากาศในเมืองไทย
สนนราคาสำหรับแมคบุ๊กโปรรุ่นนี้ อยู่ที่ 91,900 บาท ส่วนรุ่นที่สเปกต่ำลงมาหน่อยจะอยู่ที่ 73,900 บาท
Company Relate Link :
Apple