xs
xsm
sm
md
lg

Review : Acer Aspire One กับ Eee-PC 901 ต่างกันตรงไหน (จบ)

เผยแพร่:   โดย: MGR Online




Edit - ตอนที่แล้ว เราเปิดฉากเทียบคุณสมบัติเรื่องรูปลักษณ์และการเชื่อมต่อของ Acer Aspire One และ Eee-PC 901 แล้ว เรามาต่อกันในส่วนของคุณสมบัติต่างๆของเครื่องเท่าที่สามารถทดสอบได้ไม่ว่าจะเป็น ซีพียู แรม หน่วยความจำ ระยะเวลาการใช้งาน ฯลฯ ส่วนใครที่อยากรู้จักกับ ลินปุส ลินุกซ์ในด้านเมนูการใช้งานต่างๆ อ่านบทความนี้รับรองไม่ผิดหวัง

ด้านประสิทธิภาพของเครื่องเรามาดูกันทีละส่วนว่ามีอะไรบ้าง ทางทีมงานได้ใช้โปรแกรม CPU-Z ในการตรวจเช็ค โดยทั้ง 2 เครื่องใช้ซีพียู Intel(R) Atom(TM) CPU N270 @ 1.60 GHz ถือว่าเป็นชิพเช็ตที่ประหยัดพลังงานตัวหนึ่งในปัจจุบัน ในส่วนคอร์สปีดทาง อัสซุสทำได้เต็มประสิทธิภาพมากกว่าที่ 1680 MHz ส่วนเอเซอร์วิ่งอยู่ที่ 1596 MHz ขณะที่ซีพียูวิ่งเต็มที่ 100% ในส่วนของ Cache เท่ากันที่ L1 D-Cache 24kb L1 I-Cache 32kb และ L2 Cache ที่ 512kb

ส่วนของเมนบอร์ดทั้งสองฝ่ายก็เลือกที่จะใช้ชิพเซ็ตของทาง อินเทล รุ่น i945GME แทบจะเรียกได้ว่าเป็นรุ่นเดียวกันเลยแต่ผลิตกันคนละโรงงานเท่านั้นเอง ในแง่นี้ชื่อเสียงการทำเมนบอร์ดของอัสซุสคงไม่เป็นสองรองใครจากการเป็นผู้นำอันดับหนึ่งด้านเมนบอร์ด ด้านการ์ดจอทั้ง 2 ฝ่ายจะเป็นการ์ดจอออนบอร์ดแบบ Mobile Intel(R) 945 Express แบบเดียวกัน

ในด้านของหน่วยความจำ เครื่องของเอเซอร์ จะใช้แรมแบบ DDR2 533MHz หน่วยความจำ 512 MB ที่ติดอยู่กับเมนบอร์ด ซึ่งสามารถใส่แรมเพิ่มได้อีกหนึ่งช่องในขนาด 512 MB หรือ 1 GB ทำให้แรมสูงสุดอยู่ที่ 1.5 GB ส่วนทางด้านอัสซุส ใช้แรม DDR2 533MHz หน่วยความจำ 1 GB โดยในส่วนของอัสซุสจะไม่สามารถเพิ่มแรมได้หากจะเพิ่มก็ต้องถอดตัวเก่าแล้วเปลี่ยนตัวใหม่แทน

ด้านของความจุ จะใช้เป็น SSD (Solid State Drive) ทั้งคู่ โดยในเอเซอร์ใส่มาให้ที่ 8 GB ซึ่งน่าจะเพียงพอสำหรับการใช้งานทั่วๆไป ทั้งนี้เครื่องของเอเซอร์จะเห็นได้ว่ามีช่องใส่การ์ดถึง 2 ช่อง ทำให้เราสามารถหาการ์ดมาใส่เพื่อเพิ่มหน่วยความจำเข้าไปได้อีก ทางอัสซุส จะได้เปรียบกว่าตรงที่ให้เนื้อที่ในรุ่นนี้มาถึง 12 gb แบ่งออกเป็น Mini PCI-E SSD 4 GB และ Mini PCI-E SSD 8 GB โดยในส่วนของตัว 8 GB สามารถถอดเปลี่ยนเป็น 16 GB ได้ถ้าต้องการ นอกจากนี้ทางทีมงานได้ทดลองใช้โปรแกรม HD Tune พบว่าความเร็วสูงสุดในการโอนถ่ายข้อมูลของทางเอเซอร์จะมากกว่าที่ 34.9 MB/sec ส่วนอัสซุสจะอยู่ที่ 30.7 MB/sec ส่วนอัตราการเข้าถึงข้อมูลไม่แตกต่างกันมากที่ 0.7 และ 0.8 ms

มาดูความร้อนของซีพียูในการใช้งานจะเห็นได้ว่า ความร้อนสูงสุดหลังจากใช้งานเต็มประสิทธิภาพ ทางเอเซอร์จะสูงถึง 85 องศาเซลเซียส ความร้อนปกติจะอยู่ที่ 76 องศาเซลเซียส ส่วนอัสซุสความร้อนสูงสุดอยู่ที่ 78 องศาเซลเซียส โดยความร้อนปกติจะอยู่ที่ 64 องศาเซลเซียส

ทางด้านแบตเตอรี่ ทางเอเซอร์จะเสียเปรียบกว่าเนื่องจากใช้แบตฯแบบ 3 เซลล์ ที่ 11.1 โวลต์ 2200 มิลลิแอมป์ การใช้งานทั่วไปเล่นอินเทอร์เน็ต เปิดเพลงฟัง เปิดความสว่างหน้าจอสูงสุดจะใช้ได้ประมาณ 2 ชั่วโมง ส่วนเวลาในการชาร์จก็ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงเช่นเดียวกัน ทางอัสซุส ใช้แบตฯแบบ 6 เซลล์ ที่ 7.4 โวลต์ 6600 มิลลิแอมป์ ทดลองใช้งานทั่วไปเล่นอินเทอร์เน็ต เปิดเพลง หน้าจอสว่างสุดเช่นเดียวกัน ใช้ได้ประมาณ 5 ชั่วโมง และเนื่องจากขนาดแบตฯใหญ่ขึ้นเวลาชาร์จจะนานถึง 4 ชั่วโมงเลยทีเดียว

นอกจากนี้ผลการทดสอบจาก PC wizard 2008 นั้นเครื่องของอัสซุสทำคะแนนดีกว่าที่ 531.34 คะแนน ส่วนเอเซอร์ทำได้ที่ 427.41 อาจจะเนื่องมาจากแรมไม่เท่ากันผลคะแนนเลยต่างกันพอสมควร

จากเครื่องที่ทีมงานได้รับมาทดสอบนั้น ทางเอเซอร์อาจจะเสียเปรียบตรงที่ แอสปาย วัน เครื่องนี้เป็นตัวที่ออกมาเบิกทางให้กับทางเอเซอร์ ประสิทธิภาพต่างๆอาจจะสู่กับทาง อัสซุส ที่พัฒนาในส่วนนี้มาหลายรุ่นแล้วได้ไม่เต็มที่นัก แต่ถ้ามองในเรื่องการออกแบบนั้นทางเอเซอร์ดูจะมีภาษีดีกว่า เนื่องจากมีคีย์บอร์ดใหญ่เหมาะกับการใช้งานมากกว่า ในด้านของเวลาการใช้งานแบตฯแบบ 3 เซลล์ คงนำไปเทียบกับ 6 เซลล์ไม่ได้ โดยในอนาคตทางเอเซอร์ก็ออกมาประกาศแล้วว่าจะเปลี่ยนเป็นขนาด 6 เซลล์ในรุ่นหน้า ถึงตอนนั้นก็ต้องดูกันต่อไปว่าใครจะมีดีอะไรมาประชันกันอีก

บทสรุป


 Aspire OneEEE PC
หน่วยประมวลผลIntel Atom 1.6GHz
หน้าจอแสดงผล8.9 นิ้ว
ความจุSSD 8 GbSSD 12 GB สำหรับวินโดว์ SSD 20GB สำหรับ ลินุกซ์
หน่วยความจำ512 MB สามารถใส่เพิ่มได้อีก 1 ช่อง สูงสุด 1.5 GB1 GB ไม่สามารถเพิ่มได้
ขนาด249 x 170 x 29 มิลลิเมตร226 x 175 x 39 มิลลิเมตร
รูปลักษณ์กว้างกว่าแต่ก็บางกว่าขนาดเล็กแต่หนาและหนักกว่า
พอร์ตการเชื่อมต่อมีช่องสำหรับใส่การ์ดมากกว่า 1 ช่องมีบลูทูธ
เวลาการใช้งานใช้งานได้ประมาณ 2 ชั่วโมงใช้งานได้สูงถึง 5 ชั่วโมง


Linpus Linux

ทีนี้เรามาดูกันถึงระบบปฏิบัติการ ลินปุส ลินุกซ์ ที่เอเซอร์พัฒนามาใช้งานกับ แอสปาย วัน



หน้าจอการใช้งานหลักจะประกอบไปด้วย 4 ส่วนหลักๆคือ ส่วนบน ด้านซ้ายจะเป็น โลโก้ของเครื่อง ด้านขวาจะแสดงแถบการค้นหา สำหรับใช้หาไฟล์ต่างๆในเครื่อง และ อินเทอร์เน็ต ถัดลงมาจะเป็นการทำงานในด้านต่างๆ คือ การเชื่อมต่อ ทำงาน ความสนุก และ การจัดการไฟล์ ลงมาบริเวณขวาล่าง จะพบปุ่ม ตั้งค่าและความช่วยเหลือ ส่วนล่างสุดจะเป็น ทาสก์บาร์คล้ายๆกับของวินโดว์นั้นเอง

การเขื่อมต่อ (Connect)
จะประกอบไปด้วยการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านเว็บบราวเซอร์ ระบบแมสเซนเจอร์ ระบบรับส่งอีเมล โปรแกรมอ่าน RSS การเข้าถึงวิกิพีเดีย กูเกิลแม็ป และ ฮ็อทเมล ซึ่งทั้งหมดจะใช้งานผ่านบราวเซอร์อย่าง ไฟร์ฟอกซ์

การทำงาน (Work)
ในส่วนนี้จะใช้โปรแกรมของ OpenOffice ในการทำงานไม่ว่าจะเป็น Writer Spreadsheets Presentations หรือเทียบกับ Word Excel Powerpoint ของ Microsoft Office นอกจากนี้ก็ยังมีบริการ ตารางนัดหมาย บันทึกชื่อผู้ติดต่อ เครื่องคิดเลข และ โน้ตย่อ อีกด้วย

ความสนุก (Fun)
จะประกอบไปด้วย เครื่องเล่นเพลง โปรแกรมตกแต่งภาพ เกมส์ เว็บแคม และ เพนท์ การใช้งานในส่วนนี้ก็ไม่ยุ่งยากเท่าไร ตัวมีเดีย มาสเตอร์ก็เปรียบได้กับ วินโดว์ มีเดีย เพลยเยอร์

การจัดการไฟล์ (Files)
ประกอบด้วยการเข้าถึงไฟล์เอกสาร ไฟล์เพลง รูปภาพ วิดีโอ ไฟล์ที่ดาวน์โหลดมา โดยทั้งหมดที่กล่าวมาจะเป็นทางลัดในการเข้าถึง โฟลเดอร์ต่างๆนั้นเอง ส่วน My Files อันสุดท้ายก็คงเปรียบได้กับ My Computer ในวินโดว์

การตั้งค่า (Settings)
จะเป็นการเข้าถึงการตั้งค่าต่างๆไม่ว่าจะเป็น การตั้งค่าหน้าจอ ระบบพลังงาน การจัดการเชื่อมต่อ ระบบเสียง ดูส่วนประกอบเครื่อง ตั้งวันและเวลา การใช้งานทัชแพด การอัปเดทโปรแกรมต่างๆในเครื่อง ตั้งค่าภาษา ปริ้นเตอร์ และ ผู้ใช้งาน การตั้งค่าต่างๆในส่วนนี้ก็ไม่ยุ่งยากซับซ้อนเท่าไรนัก

สำหรับผู้ที่มีพื้นฐานการใช้งาน วินโดว์ ก็สามารถใช้งานโปรแกรมพื้นฐานเหล่านี้ได้อย่างไม่ยากลำบากนัก และเนื่องจากเครื่องเน็ตบุ๊กส่วนใหญ่ออกแบบมาให้ใช้งานเพียงเท่านี้ ถ้าใช้งานในทางที่หนักกว่านี้เครื่องอาจจะรับไม่ได้หรือจะมีอาการหน่วงก็เป็นได้ ดังนั้นถ้าผู้ที่ต้องการนำมาใช้งานด้านการพิมพ์งาน เล่นอินเทอร์เน็ต ฟังเพลง ดูหนัง เล็กๆน้อยๆ การใช้ลินุกซ์ตัวนี้ก็สามารถตอบสนองการใช้งานได้ครบถ้วนแล้ว ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบการใช้งานพื้นฐานแล้วการใช้งานวินโดว์ดูจะหน่วงเครื่องไปซักนิด ในขณะที่การใช้งานในระบบลินุกซ์จะลื่นไหลกว่า

สนนราคาเปิดตัว Acer Aspire One จะอยู่ที่ 14,900 บาท ส่วน Asus EEE PC อยู่ที่ 15,900 บาท

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Review : Acer Aspire One กับ Eee-PC 901 ต่างกันตรงไหน (1)

Company Relate Link :
Acer
ASUSTEK




ทดสอบความเร็วการเข้าถึงข้อมูลผ่าน HD Tune
รายละเอียดแบตฯจาก BattMon
แบตฯ ขนาด 3 เซลล์ของ เอสปาย วัน
แบตฯขนาด 6 เซลล์จาก อีอีอี-พีซี
หน้าจอการเขื่อมต่อ (Connect)
หน้าจอ การทำงาน (Work)
หน้าจอ ความสนุก (Fun)
หน้าเมนูหลัก
หน้าจอ การจัดการไฟล์ (Files)
หน้าจอ การตั้งค่า (Settings)
โปรแกรม RSS Reader
โปรแกรม มีเดีย มาสเตอร์
โปรแกรม Calendar
Aspire One Mail
กำลังโหลดความคิดเห็น