xs
xsm
sm
md
lg

เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ ประเทศไทย จัดงาน Delta ESG Forum 2025 เพื่อร่วมกำหนดทิศทางสู่ประเทศไทยที่ยั่งยืนและเท่าเทียมยิ่งขึ้น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กรุงเทพฯ 17 กรกฎาคม 2568 — บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผู้นำระดับโลกด้านการจัดการพลังงานและผู้ให้บริการโซลูชันสีเขียวอัจฉริยะ จัดงาน Delta ESG Forum 2025 ภายใต้แนวคิด “ร่วมพลังทุกภาคส่วน เพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน” โดยมีผู้กำหนดนโยบายระดับสูง ผู้นำภาคอุตสาหกรรม และผู้เชี่ยวชาญด้าน ESG เข้าร่วมอย่างคับคั่ง เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในการสนับสนุนเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและการเติบโตอย่างทั่วถึงของประเทศไทย จุดเด่นสำคัญของงานในปีนี้คือ การเน้นย้ำบทบาทของความร่วมมือข้ามอุตสาหกรรมและความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยมีการจัดเวิร์กช็อปย่อย 3 หัวข้อ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้ร่วมกันแบ่งปันมุมมองและกลยุทธ์ในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย ภายในงานเดลต้ายังได้แนะนำโครงการกำหนดราคาคาร์บอนภายใน (Internal Carbon Pricing: ICP) ในระดับโลก ที่อัตรา 300 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO₂e) หนึ่งตัน พร้อมทั้งนำเสนอแผนงานด้านความยั่งยืนและโครงการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโรดแมปในการบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 

 

นายสุเมธ ตั้งประเสริฐ ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
นายสุเมธ ตั้งประเสริฐ ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวในการบรรยายเปิดงานในหัวข้อ “บทบาทความร่วมมือภาคส่วนเพื่อเป้าหมายด้าน ESG” ว่า “ความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ เป็นกุญแจสำคัญในการสร้างประเทศไทยให้มีความยืดหยุ่น มีความสามารถในการแข่งขัน และพร้อมรับมือกับความท้าทายกับความเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทุกคนและทุกภาคส่วนต้องเริ่มดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อนำพาประเทศไทยสู่การบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2608 โดยเดลต้ายังคงเป็นต้นแบบสำคัญของพันธมิตรภาคเอกชนของเราที่ร่วมขับเคลื่อนความเป็นเลิศด้าน ESG ในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง”


นายวิคเตอร์ เจิ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) กล่าวในคำกล่าวต้อนรับหัวข้อ “กำหนดอนาคตของประเทศไทยผ่านแนวทางด้าน ESG” กล่าวเน้นย้ำ “เดลต้ามุ่งมั่นสนับสนุนเป้าหมายของประเทศไทยในการก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ผ่านการแบ่งปันความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของเราในการขับเคลื่อนกลยุทธ์และแนวทาง ESG ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือข้ามอุตสาหกรรม และนำเสนอโซลูชันสมาร์ทกรีนที่สร้างผลลัพธ์ด้าน ESG อย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การกำหนดราคาคาร์บอนภายใน ไปจนถึงนวัตกรรมสีเขียว และการจัดงาน Delta ESG Forum เรามุ่งมั่นสร้างผลกระทบเชิงบวกอย่างแท้จริง โดยการเสริมศักยภาพให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถปรับตัว ปฏิบัติตาม และเติบโตอย่างมีความรับผิดชอบในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

นายวิคเตอร์ เจิ้ง ยังกล่าวถึงความสำเร็จของเดลต้าในการพัฒนาโซลูชันและผลิตภัณฑ์ประสิทธิภาพสูง ซึ่งช่วยลูกค้าทั่วโลกประหยัดพลังงานไฟฟ้าไปแล้วกว่า 52,000 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ระหว่างปี 2553 ถึง 2567 หรือเทียบเท่ากับปริมาณการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยเกือบ 3 เดือน โดยความสำเร็จนี้เกิดขึ้นได้จากความมุ่งมั่นของบริษัทในการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ นายวิคเตอร์ เจิ้ง ยังเน้นย้ำว่า ในฐานะผู้ผลิตอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และได้รับรางวัลระดับนานาชาติด้าน ESG เดลต้า ประเทศไทยพร้อมสนับสนุนธุรกิจไทยให้สามารถบรรลุเป้าหมายและมาตรฐาน ESG ระดับโลก ผ่านการวางกลยุทธ์ การส่งเสริมนวัตกรรม และเทคโนโลยีล้ำสมัยแห่งอนาคต

 

นายวิคเตอร์ เจิ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย)

คุณโมน่า หยาง ผู้จัดการแผนกความยั่งยืนองค์กร บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ อิงค์
คุณโมน่า หยาง ผู้จัดการแผนกความยั่งยืนองค์กร บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ อิงค์ นำเสนอความก้าวหน้าล่าสุดด้าน ESG ของบริษัท โดยในปี 2567 เดลต้าบรรลุอัตราการใช้พลังงานหมุนเวียนสูงถึง 84% ซึ่งสูงกว่าเป้าหมาย RE80 ที่ตั้งไว้ล่วงหน้า 1 ปี อีกทั้งยังสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขตที่ 1 และ 2 ได้ถึง 53.6% ระหว่างปี 2564 ถึง 2567 นอกจากนี้ คุณโมน่า หยาง ยังได้นำเสนอแนวทางการดำเนินงานของเดลต้าในการกำหนดราคาคาร์บอนภายใน (Internal Carbon Pricing: ICP) ที่ 300 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO₂e) หนึ่งตัน ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการจัดสรรงบประมาณสำหรับโครงการอนุรักษ์พลังงานและพัฒนาความยั่งยืนภายในองค์กร โดยโครงการเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันเดลต้าให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ตามแนวทางของโครงการ Science Based Targets initiative (SBTi) 

คุณคาร์ธิเกยัน อารุน ที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานที่ปรึกษาด้าน ESG ของเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ อิงค์
นอกจากนี้ คุณคาร์ธิเกยัน อารุน ที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานที่ปรึกษาด้าน ESG ของเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ อิงค์ ยังได้แนะนำกรอบการทำงานด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน 4 ขั้นของเดลต้า หรือ Delta’s 4-step Sustainability Transformation Framework อันประกอบด้วย การวางกลยุทธ์ (Strategize) การมีส่วนร่วม (Engage) การเสริมสร้างศักยภาพ (Enable) และการลดการปล่อยคาร์บอน (Decarbonize) ซึ่งภาคธุรกิจไทยสามารถนำมาใช้เป็นโรดแมปเพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ รวมไปถึงการดำเนินที่สอดคล้องกับมาตรฐาน ESG ระดับโลกได้ คุณคาร์ธิเกยัน อารุน ยังได้นำเสนอเครื่องมือช่วยสนับสนุนการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของเดลต้าอีก 2 แบบ ได้แก่ ESG AI Service Portal และ DelZero Digital Platform โดย ESG AI Service Portal เป็นระบบที่ช่วยวิเคราะห์และรายงานผลข้อมูลเชิงลึกด้านความยั่งยืน ทั้งยังสามารถจัดลำดับความสำคัญของประเด็นด้านความยั่งยืนได้อย่างอัตโนมัติ ส่วน DelZero Digital Platform เป็นแพลตฟอร์มที่มีความสามารถในการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างอัจฉริยะ มีฐานข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ครอบคลุม และมีระบบวิเคราะห์ขั้นสูงที่สามารถติดตามและตรวจสอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับผลิตภัณฑ์ได้ คุณคาร์ธิเกยัน อารุน ได้จบการนำเสนอด้วยการแสดงวิสัยทัศน์สู่การบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศไทย และบทบาทของเดลต้าในฐานะผู้สนับสนุนหลักของธุรกิจไทย

 


หลังจากจบกิจกรรมในช่วงเช้า ผู้เข้าร่วมงานได้ถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยเพื่อหารือเกี่ยวกับวาระด้าน ESG ของประเทศไทยที่จำเป็นอย่างเร่งด่วน โดยครอบคลุมสามเสาหลักของ ESG ดังนี้:
• สิ่งแวดล้อม: หัวข้อ “แนวทางสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนและการนำพลังงานทดแทนมาใช้ในประเทศไทย” ได้รับการอนุเคราะห์ข้อมูลโดยผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การหารือนี้มุ่งเน้นหาแนวทางการลดการปล่อยคาร์บอนและสำรวจความคืบหน้าของโครงการพลังงานทดแทนในประเทศ
• สังคม: หัวข้อ “การสร้างความหลากหลายในสถานที่ทำงานและผลกระทบต่อชุมชน” ได้รับการอนุเคราะห์จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ การหารือนี้มุ่งศึกษาการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม ความเท่าเทียมของแรงงาน และบทบาทของธุรกิจในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
• ธรรมาภิบาล: หัวข้อ “การเปิดเผยข้อมูล ESG การกำกับดูแลความเสี่ยง และความรับผิดชอบทางกฎหมายขององค์กรไทย” ได้รับการสนับสนุนโดยพันธมิตรจาก PwC Thailand Sustainability and Climate Change การหารือนี้มุ่งส่งเสริมการสร้างธรรมาภิบาลในองค์กร การเตรียมความพร้อมต่อกฎระเบียบใหม่ ๆ และความโปร่งใสในการรายงานความคืบหน้าด้าน ESG

 


ในช่วงสุดท้ายของการประชุมได้มีการจัดเสวนาในหัวข้อ “การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยสู่ความยั่งยืน ผ่านการจัดการความท้าทายด้าน ESG” โดยรวบรวมผู้เชี่ยวชาญจากทั้งภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม และภาควิชาการ มาร่วมสำรวจว่าเทคโนโลยี นโยบาย และความร่วมมือจะสามารถขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนได้อย่างไร งานเสวนาดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมเสวนาจากสี่ภาคส่วนหลัก ได้แก่ คุณอรทิพย์ อ้อทอง ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาความยั่งยืน เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) ดร.วิบูลย์ รักสาสน์เจริญผล รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) นายวรเวท ชลสินธุ์ ผู้อำนวยการบริหาร สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และ พ.ท. ดร.ต้องการ แก้วเฉลิมทอง ประธานคณะทำงานด้าน Transportation and Logistics ของสหพันธ์วิศวกรรมสถานแห่งอาเซียน (AFEO) โดยภายในงาน ผู้เสวนาได้ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการผสานนวัตกรรมเข้ากับเป้าหมายด้าน ESG ของประเทศและการขยายผลผ่านการผนึกกำลังกันระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ

งาน Delta ESG Forum 2025 ตอกย้ำความมุ่งมั่นของบริษัทในการยกระดับความเป็นเลิศด้าน ESG ผ่านความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ พร้อมจุดประกายความร่วมมือและกลยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำและการพัฒนาอย่างยั่งยืน


กำลังโหลดความคิดเห็น