xs
xsm
sm
md
lg

Foodpanda ดับเครื่อง ส่งตัวเองกลับบ้าน ตลาดสู่ยุค Duopoly

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



การตลาด - โบกมือลาตลาดฟู้ดดีลิเวอรี่ไทยถาวรแล้ว ค่ายฟู้ดแพนด้าน้อยสีชมพู หลังประกาศชัดเจนขอยุติบริการในวันที่ 23 พฤษภาคมนี้ หลังต้องเผชิญภาวะขาดทุนอ่วมหลังแอ่นมาตลอด 13 ปี ไม่เคยเห็นกำไรแม้แต่บาทเดียว สองยักษ์เขียว “แกร็บ-ไลน์แมน” ประเมินสถานการณ์ตลาดจากนี้เป็นอย่างไร ชี้จุดอ่อนยักษ์แพนด้า ที่ไม่สามารถต่อกรสองยักษ์เขียวได้ แม้ว่าจะเป็นผู้มาก่อน


ทนอยู่มาได้ถึง 13ปี กับการรุกธุรกิจฟู้ดดีลิเวอรี่ ด้วยผลประกอบการที่ขาดทุนมาโดยตลอด ก็นับว่าเก่งแล้ว
แต่สุดท้าย “ฟู้ดแพนด้า” ก็ไม่อาจฝืนตัวเองได้อีกต่อไป ด้วยการประกาศหยุดบริการแอปฟู้ดดีลิเวอรี่ในตลาดเมืองไทยอย่างเปฺ็นทางการ ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2568 เป็นต้นไป จากการประกาศผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ ของ foodpanda ประเทศไทย

โดยเนื้อหาระบุว่า
“ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เราภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ขับเคลื่อนธุรกิจร่วมจัดส่งความสุข ผ่านทุกๆ ออเดอร์ให้แก่ลูกค้าทุกท่านในประเทศไทย เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับใช้ลูกค้าที่รักยิ่งของเรา และได้รับการสนับสนุนที่ดีมาโดยตลอดจากร้านค้า พารท์เนอร์ และไรเดอร์ทุกท่าน ที่ร่วมเป็นผู้ขับเคลื่อนความสำเร็จที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสภาพตลาดในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับกลยุทธ์ระยะยาวของฟู้ดแพนด้าอีกต่อไป
เรามีความเสียใจอย่างยิ่งที่การเดินทางของเราต้องสิ้นสุดลง และเราขอขอบพระคุณลูกค้าทุกๆ ท่านที่เชื่อมั่นในฟู้ดแพนด้าเสมอมา
ขอแสดงความนับถือ
ฟู้ดแพนด้า ประเทศไทย”


**** “แกร็บ” สร้างกำไรรายเดียวในตลาด

นางสาวจันต์สุดา ธนานิตยะอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย เผยว่า ตลอดระยะเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมา ตลาดฟู้ดดีลิเวอรีในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านพฤติกรรมของผู้บริโภคและบริบททางการแข่งขันที่เปลี่ยนไป ซึ่งแกร็บมองว่ามีทั้งโอกาสและความท้าทายที่มาควบคู่กันเสมอ แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงของผู้เล่นในตลาดอยู่เป็นระยะ
แต่ในแง่ของโมเดลธุรกิจ ฟู้ดดีลิเวอรีถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ต้องเผชิญกับความท้าทายมาทุกยุคทุกสมัย โดยเฉพาะในแง่ของการสร้าง “สมดุล” ให้เกิดขึ้นในวงจรธุรกิจ เพราะในอีโคซิสเต็มของบริการฟู้ดดีลิเวอรีนี้มีทั้งลูกค้า คนขับ ผู้ประกอบการร้านอาหาร รวมถึงแพลตฟอร์ม การบริหารธุรกิจให้ทุกฝ่ายพึงพอใจและได้รับประโยชน์ร่วมกันมากที่สุดถือเป็นเป้าหมายสำคัญที่แพลตฟอร์มต้องเรียนรู้และปรับกลยุทธ์กันตลอดเวลา

จากความเคลื่อนไหวล่าสุด แกร็บขอเป็นกำลังใจและพร้อมยืนหยัดเคียงข้างร้านค้า คนขับ และผู้ใช้บริการทุกท่านในช่วงเวลานี้ ขณะเดียวกัน ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นตอกย้ำว่ากลยุทธ์ที่แกร็บได้ปรับและดำเนินการมาในช่วง 2-3 ปีหลังนั้นมาถูกทางแล้ว โดยเรามุ่งเน้นสร้างธุรกิจให้เติบโตอย่าง “ยั่งยืน” โดยให้ความสำคัญกับการรักษาสมดุลในวงจรธุรกิจเป็นอันดับแรก ซึ่งสะท้อนผ่านผลประกอบการที่แข็งแกร่ง

“โดยเป็นผู้เล่นเพียงรายเดียวที่สามารถทำกำไรต่อเนื่องมาเป็นปีที่สอง และสามารถครองความนิยมอันดับหนึ่งด้วยส่วนแบ่งตลาดของ GrabFood ที่มีถึง 46 % (อ้างอิงจากรายงานของ Momentum Works ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยชั้นนำที่น่าเชื่อถือในระดับภูมิภาค) จากในยุคแรกที่เริ่มด้วยการเผาเงินผ่านการให้ส่วนลดมากๆ เพื่อสร้างตลาด ซึ่งถือเป็นการสร้างอุปสงค์เทียม (Fake demand) มาเป็นการโฟกัสที่คุณภาพและมาตรฐานของการให้บริการเป็นหัวใจสำคัญ พร้อมพัฒนานวัตกรรมให้ตอบโจทย์ควบคู่ไปกับการสร้าง loyalty กับฐานลูกค้าหลักผ่านแพ็กเกจสมาชิก GrabUnlimited แต่ขณะเดียวกันก็ยังคงมีโปรโมชัน ให้ส่วนลดและทำแคมเปญเพื่อกระตุ้นตลาด”

แน่นอนว่าการเข้าใจความเคลื่อนไหวของตลาดและคู่แข่งถือเป็นพื้นฐานในการทำธุรกิจ แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าคือการไม่หลุดจากวิสัยทัศน์และ “เป้าหมาย” (Purpose) อันเป็นแก่นสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร ซึ่งสำหรับแกร็บ เราไม่เคยหยุดมุ่งมั่นพัฒนาแพลตฟอร์มและเทคโนโลยีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างโอกาสให้กับผู้คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างต่อเนื่อง


*** ไลน์แมนชี้ สู่ยุค duopoly ฟู้ดดีลิเวอรี่ชัดเจน

นายยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE MAN Wongnai ให้ความเห็นเกี่ยวกับสภาพตลาดฟู้ดดีลิเวอรีไทยหลังการถอนตัวของ foodpanda ว่า “การถอนตัวของ foodpanda ทำให้อุตสาหกรรมฟู้ดดีลิเวอรีของไทยเข้าสู่การแข่งขันแบบ Duopoly อย่างชัดเจน โดยจากข้อมูลของ Redseer ในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 ( พ.ศ.2568) LINE MAN ครองส่วนแบ่งตลาดจากจำนวนธุรกรรมที่ 44% ขณะที่ Foodpanda มีส่วนแบ่งประมาณ 5% แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงในจำนวนผู้เล่น แต่โครงสร้างตลาดยังคงมีเสถียรภาพ และการแข่งขันยังอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงเดิม​

สถานการณ์นี้มองว่าอาจเป็นจุดเปลี่ยนจาก ‘สงครามราคา’ สู่ ‘สงครามคุณภาพ’ โดยผู้เล่นที่เหลือสามารถจัดสมดุลระหว่างคุณภาพ บริการ และการบริหารต้นทุนได้ดีขึ้น เปิดโอกาสในการทำกำไรอย่างยั่งยืน และมีทรัพยากรเพียงพอในการลงทุนพัฒนาบริการใหม่

ในด้านของผู้บริโภคนั้นได้รับผลกระทบน้อย เนื่องจากมีตัวเลือกบริการเท่าเดิม โดยเฉพาะ LINE MAN ที่ให้บริการครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศอยู่แล้ว ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนแพลตฟอร์มได้ทันที โดยไม่เสียโอกาสในการเข้าถึงร้านอาหารท้องถิ่น


“หนึ่งในผลกระทบหลัก คือกลุ่มไรเดอร์และร้านค้าบางส่วนที่ต้องเปลี่ยนแพลตฟอร์ม LINE MAN Wongnai จึงเตรียมความพร้อมรองรับกลุ่มนี้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการสร้างรายได้และไม่เกิดภาวะว่างงานหรือธุรกิจสะดุดชั่วคราว”
LINE MAN Wongnai พร้อมเป็นแรงสนับสนุนให้ไรเดอร์-ร้านค้า เพื่อช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในตลาด โดยมีมาตรการดังนี้

1.ไรเดอร์: บริษัทฯ กำลังพิจารณาเปิดรับไรเดอร์เพิ่มเติมในบางพื้นที่ โดยเฉพาะในจังหวัดที่ foodpanda มีให้บริการ เพื่อช่วยลดผลกระทบจากการว่างงาน

2. ร้านค้า: ร้านค้าที่เคยขายผ่าน foodpanda สามารถเข้าร่วมขายบน LINE MAN ได้ทันทีที่ https://e-contract.wongnai.com/landing โดยบริษัทฯ จะนำเสนอเงื่อนไขพิเศษสำหรับร้านค้าใหม่ เพื่อให้สามารถปรับตัวและเริ่มขายต่อได้อย่างราบรื่น

LINE MAN กลายเป็นผู้เล่นหนึ่งเดียวในไทยที่ให้บริการครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ ได้พัฒนาฟีเจอร์เพื่อรองรับฐานผู้ใช้งานที่หลากหลายมากขึ้นในช่วงที่ตลาดเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้านักท่องเที่ยวและชาวต่างชาติที่พำนักในไทย ทำให้สามารถเปลี่ยนมาใช้แพลตฟอร์มใหม่ได้อย่างราบรื่น

LINE MAN ได้เปิดตัวฟีเจอร์แปลภาษาอัตโนมัติเต็มรูปแบบ โดยระบบจะแปลข้อความทั้งหมดในแอปเป็นภาษาอังกฤษ ตั้งแต่การเลือกร้านอาหาร ชื่อเมนูและรายละเอียดอาหาร ไปจนถึงข้อความในแชทที่ให้พูดคุยกับไรเดอร์ง่ายขึ้น โดยลูกค้าสามารถพิมพ์ภาษาอังกฤษ และระบบจะแปลภาษาอัตโนมัติ อีกทั้งยังใช้สติกเกอร์ภาษาอังกฤษจาก LINE MAN ที่ช่วยให้สื่อสารกับไรเดอร์ได้อย่างง่ายดาย ไม่จำเป็นต้องพิมพ์ประโยคยาวๆ ให้ลูกค้าต่างชาติสั่งอาหารร้านท้องถิ่นใกล้ที่พักหรือสตรีทฟู้ดชื่อดังใน 77 จังหวัดทั่วไทย

นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง Creden.co, PaySolutions ผู้คร่ำหวอดในแวดวงอีคอมเมิร์ซไทย ให้ความเห็นว่า ตลาดฟู้ดดีลิเวอรี่ในไทยแข่งขันกันโหด ล่าสุด FoodPanda โบกมือลาตลาดไทยแล้ว "ใจแข็งนะ ไม่ยอมขาย (CEO เคยประกาศไว้) แต่เลือกที่จะปิดธุรกิจ"


*** ฟู้ดแพนด้า ผู้มาก่อนกาล แล้วก็จากไป
ฟู้ดแพนด้า แทบจะเป็นธุรกิจจากต่างประเทศรายแรกในตลาดฟู้ดดีลิเวอรี่็เมืองไทยก็ไม่ผิดนัก เป็นผู้มาก่อนกาลจริงๆ เพราะเริ่มธุรกิจในไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ดำเนินการโดย

บริษัท ฟู้ดแพนด้า (ไทยแลนด์) จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2555หลังจากนั้นได้ปรับเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บริษัท เดลิเวอรี่ ฮีโร่ (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 โดยมีทุนจดทะเบียนปัจจุบัน 204 ล้านบาท
การเข้าสู่ตลาดของฟู้ดแพนด้า สร้างความแปลกใหม่ให้กับตลาดอาหารเมืองไทย เริ่มบริการในกรุงเทพ ปริมณฑล และแตกกระจายไปต่างจังหวัด ก่อนที่จะบริการครบทั่วไทยรายเดียวเมื่อปี 2563 ซึ่งช่วงแรกบริการผ่านเว๊บไซต์และสายด่วนฮอทไลน์ ขยายสู่บริการควิกคอมเมิร์ซ ชื่อแพนด้ามาร์ท โดยมีธุรกิจในระบบนิเวศน์ของตัวเองมากมาย

ขณะที่่ํรายอื่นๆทยอยเกิดตามหลังทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น ไลน์แมน เกิดปี 2559, ส่วนแกร็บเปิดบริการปี 2560 ก่อนที่ทางกลุ่มเซ็นทรัลจะเข้ามาร่วมถือหุ้นในภายหลัง, ปี2560 เริ่มมีค่ายอูเบอร์อีทเข้ามาร่วมวง, ปี2562 ค่ายเซเว่นอีเลฟเว่นก็มาทำดีลิเวอรี่, ปี2563 ซึ่งปีนี้พบว่ามีหลายค่ายที่เข้าตลาดเช่น โรบินฮู้ดของค่ายแบงก์ไทยพาณิชย์ ที่ไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ยังมีค่ายอีทเอเบิ้ลของแบงก์กสิกรไทย ยังมีค่ายทรูฟู้ด และปีนี้ยังเป็นปีที่ไลน์แมนเข้าซื้อกิจการวงในด้วย, ปี2564 สายการบินโลว์คอสต์อย่างแอร์เอเชียเปิดตัว แอร์เอเชียฟูุ้ด และปีเดียวกันนี้ก็ยังมีค่ายช้อปปี้ฟู้ดเข้าร่วมวงการด้วย

ส่งผลให้ปัจจุบันตลาดฟู้ดดีลิเวอรี่ในไทยมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 80,000 – 90,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเติบโตมากในช่วงที่โควิด-19 ระบาดอย่างหนัก


แต่เม็ดเงินส่วนใหญ่ก็ตกอยู่กับรายใหญ่เพียง 2 ราย เท่านั้นคือ ไลน์แมน และ แกร็บ ที่อยู่ในอันดับท็อปทู ปล่อยให้ผู้มาก่อนอย่างฟู้ดแพนด้าเอง มีแชร์ที่ถูกสองรายใหญ่นั้นทิ้งห่างแบบไม่เห็นฝุ่น ขณะเดียวกันก็ต้องมาแข่งขันกันกับรายอื่นที่ต้องการแย่งแชร์ที่เหลือไม่มากนัก ท่ามกลางสงครามราคา โปรโมชั่น ที่สาดใส่เข้ามาไม่หยุด การนำเสนอค่าธรรมเนียม การแย่งร้านค้าเข้าระบบ การทำโปรโมชั่กับร้านอาหารพันธมิตร ซึ่งท้ายที่สุดย่อมต้องกระทบต่อสถานภาพทางการเงินแน่นอน

ก่อนที่ฟู้ดแพนด้าจะปิดบริการรายล่าสุดเร็วๆนี้ ก่อนหน้านั้นก็มีเพื่อนคู่แข่งในวงการที่ต้องอำลาสนามไปก่อนหน้าเช่นกัน เช่น แบรนด์ทรูฟู้ด และซูเปอร์แอปของแอร์เอเชียที่ยกเลิกบริการส่งอาหาร หรืออูเบอร์อีกราย ล่าสุดโรบินฮู้ด แต่รายนี้ได้ยุติการบริการ ก่อนที่จะมีกลุ่มยิบอินซอยเข้ามาซื้อกิจการต่อจากบริษัทเพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ของค่ายแบงก์ไทยพาณิชย์ เมื่อปีที่แล้ว

ส่วนใหญ่แล้วมีต้นทุนที่สูง แต่รายได้อาจจะสูง แต่ตรงกันข้ามกับผลกำไรที่น้อยมากหรือแทบจะไม่มีเหลือเลย จึงยากที่จะทนฝืนอยู่ต่อไป

ฟู้ดแพนด้า เมื่อเริ่มแรกก็อยู่ภายใต้การบริหารงานของคนต่างชาติมาตลอด คือ อเล็กซานเดอร์ เฟลเดอร์ ซึ่งเป็นทั้งผู้ร่วมก่อตั้งและ กรรมการผู้จัดการ คนแรกด้วยการนั่งกุมบังเหียนนานเกือบ 10 ปี ก่อนที่ในปี 2565 ส่งไม้ต่อให้กับคนไทยคนแรกที่มานั่งคุมทัพในไทย คือ ศิริภา จึงสวัสดิ์ แต่เพียง 2 ปี ฟู้ดแพนด้าก็ตั้แต่งงคนต่างชาติกลับมาเป็นกรรมการผู้จัดการเหมือนเดิมคือ โทมัส วอน โมสเนอร์ มีผลวันที่ 1 ธันวาคม 2567แต่ผ่านมาได้ไม่กี่เดือนก็เตรียมยุติบริการแล้ว


การใช้คนต่างชาติ เข้ามาคุม อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาหรือไม่ ที่ทำให้การทำตลาดไม่สามารถเข้าถึงความต้องการหรือพฤติกรรมของคนไทยได้มากเท่าที่ควร การมองและคิดอย่างอินเตอร์เนชั่นแนล อาจจะไม่เหมาะสมหรือสอดคล้องกับลักษณะตลาดท้องถิ่นก็ได้ แม้ว่าบางกลยุทธ์บางวิธีการจะทำได้ดีแต่บางอย่างก็ไม่ลงตัวหรือเหมาะสมกับตลาดไทยเท่าที่ควร เมื่อเทียบกับค่ายอื่นที่คุมทัพโดยผู้บริหารระดับสูงที่เป็นคนไทยเหมือนค่ายอื่น

ยังมีเหตุการณ์หนึ่งที่หากยังจำกันได้ เมื่อปี2564 ในช่วงที่มีการชุมนุมทางการเมืองที่เกิดขึ้นในไทยเมื่อเดือนกรกฎาคมเพื่อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีขณะนั้นลาออกและเปลี่ยนวัคซีนซิโนแวคเป็น mRNA ซึ่งในเหตุการณ์ครั้งนี้ได้มีผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งได้มีการโพสต์คลิปวีดีโออ้างว่าชายคนหนึ่งพยายามจุดไฟเผาพระบรมฉายาลักษณ์และได้ใช้ข้อความว่าระบุว่า...เบาะแสผู้ก่อเหตุ ตั้งใจมาทำเรื่อง ถอดป้ายทะเบียนรถออก ซึ่งชายในคลิปได้มีการใส่เสื้อของไลน์แมนและใช้กระเป๋าใส่อาหารของฟู้ดแพนด้า ต่อมาทางfoodpanda Thailand ได้มีการตอบกลับข้อความคลิปดังกล่าวระบุว่า “...ทางเราจะเร่งดำเนินการตามกฎระเบียบขั้นเด็ดขาดของบริษัท โดยให้พ้นสภาพการเป็นพนักงานทันที ขอเรียน ให้ทราบว่า ทางฟู้ดแพนด้ามีนโยบายต่อต้านความรุนแรงและการก่อการร้ายทุกรูปแบบ และยินดีช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ ในการดำเนินคดีต่อคนร้ายอย่างเต็มที่ค่ะ”

จากข้อความและถ้อยการตอบกลับของฟู้ดแพนด้า กลับยิ่งสร้างความไม่พอใจกับคนหมู่มากในขณะนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้คำว่า "ก่อการร้าย" ซึ่งดูเหมือนจะเป็นการจุดชนวนที่รุนแรงสร้างความไม่พอใจให้กับชาวโซเชียลยิ่งขึ้นไปอีก จนเกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก เป็นกรแสโต้กลับในทางลบต่อฟู้ดแพนด้าอย่างมาก จนถึงขั้นแบนและไม่ใช้บริการฟู้ดแพนด้าเกิดขึ้นเป็นลูกโซ่

ส่งผลให้มีการยกเลิกแอป ร้านค้าอาหารพันธมิตรถอนตัวกันมากมาย ออเดอร์ก็ลดลงไรเดอร์ก็ได้รับผลกระทบอีกต่อเนื่อง เรียกได้ว่าช่วงนั้นฟู้ดแพนด้าซวนเซและระส่ำกระทบธุรกิจมากพอสมควร กว่าที่จะกลับมาตั้งหลักได้ใช้เวลาไม่น้อย เรียกได้ว่าาธุรกิจตอนนั้นได้รับความเสียหายอย่างมาก
ไม่เพียงแต่ในแง่มุมธุรกิจการทำตลาดเท่านั้น แต่ในบริบทของสังคมไทย การเมืองไทย ก็มีผลเช่นกัน


*** ตัวแดง มา ตั้งแต่เริ่มกิจการ แบบนี้ไปต่อไม่ไหว
เมื่อมองในมุมของผลประกอบการ ก็น่าแปลกที่ ผู้มาก่อน ที่สามารถสร้างฐานตลาดได้ดีก่อน สร้างการจดจำแบรนด์ได้ก่อน และยึดครองตลาดพื้นที่ได้มาก กลับกลายเป็นว่า ไม่เคยได้สัมผัสกับกำไรเลยแม้แต่น้อย ทุกปีเผชิญภาวะขาดทุน และสะสมมาตลอดต่อเนื่อง 13 ปี ดังนี้

ปี 2555 รายได้ 1,158,239.99 บาท ขาดทุน 13,811,872.90 บาท
ปี 2556 รายได้ 3,985,308.04 บาท ขาดทุน 22,268,660.73 บาท
ปี 2557 รายได้ 13,278,094.54 บาท ขาดทุน 45,692,769.30 บาท
ปี 2558 รายได้ 121,453,406.77 บาท ขาดทุน 98,672,494.69 บาท
ปี 2559 รายได้ 135,083,182.8 บาท ขาดทุน 93,255,166.65 บาท
ปี 2560 รายได้ 210,210,534.21 บาท ขาดทุน 39,567,154.80 บาท
ปี 2561 รายได้ 240,724,644.64 บาท ขาดทุน 138,795,390.50 บาท
ปี 2562 รายได้ 16,897,647.22 บาท ขาดทุน 1,264,503,583.82 บาท
ปี 2563 รายได้ 4,243,384,415.00 บาท ขาดทุน 3,595,901,657.00 บาท
ปี 2564 รายได้ 6,708,845,873.00 บาท ขาดทุน 4,721,599,978.00 บาท
ปี 2565 รายได้ 3,246,460,655.00 บาท ขาดทุน 3,255,107,979.00 บาท
ปี 2566 รายได้ 2,398,533,706.00 บาท ขาดทุน 522,486,848.00 บาท


มองคู่แข่งรายอื่น ก็พบกับความแตกต่างกันแล้วเช่น
ค่ายไลน์แมน แม้ว่าผลประกอบการยังมีการขาดทุนอยู่ก็ตาม แต่ก็เป็นการขาดทุนที่ลดน้อยลงต่อเนื่องอย่างมีนัยยะสำคัญ คือ
ปี2566 มีรายได้รวม 11,634 ล้านบาท ขาดทุน 253 ล้านบาท
ปี2565 มีรายได้รวม 7,802 ล้านบาท ขาดทุน 2,730 ล้านบาท
ปี2564 มีรายได้รวม 4,140 ล้านบาท ขาดทุน 2,386 ล้านบาท
ส่วนค่ายแกร็บ ที่ดูเหมือนว่าจะเป็นค่ายแรกและค่ายเดียวที่เริ่มมีผลกำไรให้ได้เห็นกันบ้างแล้ว คือ
ปี2566 มีรายได้รวม 15,622 ล้านบาท ทำกำไร 1,308 ล้านบาท
ปี2565 มีรายได้ 15,197 ล้านบาท กำไร 576 ล้านบาท
ปี2564 มีรายได้ 11,375 ล้านบาท ขาดทุน 325 ล้านบาท

สิ่งที่ฟู้ดแพนด้า อาจจะด้อยกว่าคู่แข่งรายอื่น เช่น กลยุทธ์การทำตลาด ที่อาจจะไม่เข้มข้นเท่า เหมือนยักษ์เขียวสองแบรนด์ เช่น แคมเปญโปรโมชั่นการตลาดที่เข้าถึงความต้องการของผู้บริโภคอย่างดี ที่มองความคุ้มค่า ความสะดวก และแปลกใหม่ หรือการสร้างแบรนด์กับร้านเช่นการมอบรางวัลหรือจัดแคมเปญเฉพาะกับร้านอาหาร หรือแม้แต่การมีร้านอาหารที่เป็นแบบเอ็กซ์คลูซีฟที่สองยักษ์เขียวนำหน้าไปไกลกว่า

ก่อนหน้านี้ ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีกระแสข่าวออกมาอย่างหนาหูตลอดว่า บริษัทแม่ของฟู้ดแพนด้าคือ Delivery Hero Foodpanda ( ฟู้ดแพนด้า )มีการเจรจาที่จะขายธุรกิจในหลายภูมิภาค ซึ่งตลาดไทยก็เป็นหนึ่งในเป้าหมายด้วยเช่นกันทั้งในอาเซียน ได้แก่ สิงคโปร์, กัมพูชา, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, ฟิลิปปินส์ และไทย โดยมี Meituan แอปส่งอาหารที่ใหญ่ที่สุดในจีนสนใจ รวมถึง Grab ที่มีข่าวเจรจาซื้อกิจการ Foodpanda ในประเทศสิงคโปร์ กัมพูชา ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ และไทย ด้วยมูลค่าเบื้องต้น 1 พันล้านยูโร หรือประมาณ 3.86 หมื่นล้านบาท แต่ก็ไม่สามารถสรุปดีลการเจรจาซื้อขายกันได้
สุดท้าย ฟู้ดแพนด้า Foodpanda ก็ตัดสินใจ ดับเครื่องไรเดอร์ บอกลาตลาดฟู้ดดีลิเวอรี่ในเมืองไทยเรียบร้อยโรงเรียนแพนด้าแล้ว


ก่อนหน้านี้ ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีกระแสข่าวออกมาอย่างหนาหูตลอดว่า บริษัทแม่ของฟู้ดแพนด้าคือ Delivery Hero Foodpanda ( ฟู้ดแพนด้า )มีการเจรจาที่จะขายธุรกิจในหลายภูมิภาค ซึ่งตลาดไทยก็เป็นหนึ่งในเป้าหมายด้วยเช่นกันทั้งในอาเซียน ได้แก่ สิงคโปร์, กัมพูชา, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, ฟิลิปปินส์ และไทย โดยมี Meituan แอปส่งอาหารที่ใหญ่ที่สุดในจีนสนใจ รวมถึง Grab ที่มีข่าวเจรจาซื้อกิจการ Foodpanda ในประเทศสิงคโปร์ กัมพูชา ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ และไทย ด้วยมูลค่าเบื้องต้น 1 พันล้านยูโร หรือประมาณ 3.86 หมื่นล้านบาท แต่ก็ไม่สามารถสรุปดีลการเจรจาซื้อขายกันได้
สุดท้าย ฟู้ดแพนด้า Foodpanda ก็ตัดสินใจ ดับเครื่องไรเดอร์ บอกลาตลาดฟู้ดดีลิเวอรี่ในเมืองไทยเรียบร้อยโรงเรียนแพนด้าแล้ว






สคส.
จี้ฟู้ดแพนด้าติดตามแผนลบ-ทำลายข้อมูลส่วนบุคคล

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
(สคส.)
เผย
ได้ติดตามสถานการณ์การยุติให้บริการของแพลตฟอร์ม
Foodpanda
ในประเทศไทยอย่างใกล้ชิด
พร้อมประสานงานกับบริษัทเพื่อขอรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการดูแลข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ
ร้านค้า และไรเดอร์
หลังประกาศหยุดดำเนินกิจการในวันที่
23
พฤษภาคม
2568

พ.ต.อ.สุรพงศ์
เปล่งขำ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
กล่าวว่า สคส.
ให้ความสำคัญกับสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
โดยเฉพาะเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจที่ส่งผลต่อการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล
เช่น การปิดกิจการ การควบรวม
หรือการโอนกิจการไปยังประเทศอื่น
“เราได้ขอให้บริษัทแพลตฟอร์ม
Foodpanda
ในประเทศไทยชี้แจงแนวทางการดำเนินการตาม
มาตรา37
และมาตรา
40
ของ
พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
พ.ศ.
2562เกี่ยวกับการเก็บรักษา
การลบ หรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่จำเป็นต้องเก็บต่อไป
รวมถึงมาตรการในการป้องกันไม่ให้ข้อมูลรั่วไหล”
พ.ต.อ.สุรพงศ์
กล่าว

ทั้งนี้
สคส.
จะติดตามผลการดำเนินการอย่างใกล้ชิด
และหากพบว่าบริษัทดำเนินการไม่เป็นไปตามกฎหมาย
จะมีมาตรการตามกฎหมายต่อไป
เพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชนอย่างเต็มที่
กำลังโหลดความคิดเห็น