- • ผลสำรวจ "New Year, New Me" ของเฮอร์บาไลฟ์ชี้ สุขภาพที่ดีเป็นเป้าหมายอันดับ 1 ของผู้บริโภคทุกกลุ่มอายุ
- • สินค้าเพื่อสุขภาพและธุรกิจขายตรงมีโอกาสเติบโตสูง แม้เศรษฐกิจชะลอตัว
- • ตลาดกลุ่มเป้าหมายครอบคลุมทุกกลุ่มอายุ ตั้งแต่ Gen Z จนถึง Baby Boomers
การตลาด - เทรนด์สุขภาพยังท็อปฟอร์ม “เฮอร์บาไลฟ์” เผยผลสำรวจ “New Year, New Me” ปี 68 สุขภาพที่ดีเป็นเป้าหมายเบอร์ 1 โอกาสทองสินค้าเพื่อนสุขภาพ และธุรกิจขายตรง ในสถานการณ์เศรษฐกิจฝืด คนรุ่นใหม่อย่าง Gen Z ไปจนถึง Baby Boomers ตั้งธงเป็นเจ้าของธุรกิจมากขึ้น บนเส้นทางที่ควรมีรายได้มากกว่า 1 ช่องทาง
ปีใหม่2568นี้ตั้งธงเป้าหมายอะไรไว้ในใจกันบ้าง ขอแฟน ขอบ้านใหม่ ขอโบนัส หรือขอน้ำหนักลด ซึ่งหลายๆ ความปรารถนาเหล่านี้ เป็นช้อยส์แรกๆ ที่ทุกคนต้องการ ทั้งนี้ “เฮอร์บาไลฟ์” ผู้นำด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีระดับโลก ได้ออกมาเผยผลสำรวจ “New Year, New Me” ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกว่า 3 อันดับแรกของเป้าหมายปี 2568 คือ 1. ออกกำลังกายมากขึ้น (59%) 2.รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ (58%) และ3.วางแผนการออมเงิน (53%)
ผลสำรวจ “New Year, New Me” ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จัดทำโดย Talker Research ทำการเก็บข้อมูลจากผู้ใหญ่จำนวน 5,500 คนจาก 11 ประเทศ เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้คนต่อการสร้างนิสัยที่ดีต่อสุขภาพ และวิธีการที่ใช้เพื่อพาตัวเองไปสู่การมีสุขภาพที่ดีในระยะยาว
โดยพบว่า 85% ของผู้บริโภคมองว่าอาหารที่ดีต่อสุขภาพมีความสำคัญต่อการส่งเสริมทั้งสุขภาพกายและใจ โดยเกือบ 8 ใน 10 คน (77%) ระบุว่ามีการวางแผนจะเริ่มสร้างนิสัยที่ดีต่อสุขภาพภายในปีหน้านี้ ซึ่งการวัดผลสำเร็จของการมีอาหารที่ดีต่อสุขภาพ คือ มีความเป็นอยู่โดยรวมที่ดีขึ้น รู้สึกมีพลังงานมากขึ้น นอนหลับได้ดีขึ้น และในจำนวนผู้ทำแบบสำรวจกว่า 59% ระบุว่าจะตั้งเป้าหมายใหม่สำหรับปี 2568 โดยมีเป้าหมายที่นิยม 3 อันดับแรก ได้แก่ ออกกำลังกายมากขึ้น (59%) รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ (58%) และวางแผนการออมเงิน (53%)
ดร.ลูอิจิ แกรทตัน รองประธานฝ่ายสุขภาพและโภชนาการของเฮอร์บาไลฟ์ กล่าวว่า เป้าหมายปีใหม่เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสร้างสุขภาพที่ดีขึ้นให้ชีวิต ซึ่งสิ่งสำคัญที่ห้ามละเลยคือการยึดมั่นในเป้าหมายเหล่านี้ตลอดทั้งปี โดยให้เราเริ่มต้นด้วยเป้าหมายเล็กๆ ที่สามารถทำได้ในชีวิตประจำวันและหมั่นทำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทั้งความตั้งใจและความสม่ำเสมอเหล่านี้ จะสามารถเปลี่ยนจากเป้าหมายในความคิดให้กลายเป็นนิสัยที่ดีต่อสุขภาพในระยะยาวได้
อย่างไรก็ตาม ครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสำรวจยังระบุว่า พวกเขารู้สึกสุขภาพไม่ดีเหมือนปกติเมื่อเข้าสู่ช่วงปลายปี และกว่า 50% ยอมรับว่ามักใช้ข้ออ้างของช่วงเทศกาลสิ้นปีเพื่อผลัดวันในการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพออกไป นอกจากนี้ผลสำรวจยังเผยให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างช่วงวัย โดย 55% ของผู้ตอบแบบสำรวจในกลุ่ม Gen Z ยอมรับว่าใช้เวลาช่วงสิ้นปีเป็นข้ออ้าง ในขณะที่กลุ่ม Gen X จะอยู่ที่ 46% รวมทั้งผู้ตอบแบบสำรวจกว่า 60% ยังระบุว่าเคยหลุดแผนการกินอาหารเพื่อสุขภาพในช่วงปลายปี โดยให้เหตุผลว่าเป็นเพราะความเย้ายวนของอาหารในช่วงเทศกาลถึง 37% โดยหลายคนเลือกพักเบรกจากนิสัยที่ดีต่อสุขภาพ เพื่อเพลิดเพลินไปกับช่วงเทศกาลได้อย่างเต็มที่ ซึ่งผู้ตอบแบบสำรวจ 57% ให้ความเห็นว่าช่วงสิ้นปีจะสนุกยิ่งขึ้นหากไม่ต้องกังวลเรื่องสุขภาพและน้ำหนัก โดยกลุ่มคนรุ่นใหม่มีแนวโน้มเห็นด้วยกับความคิดนี้มากกว่า เห็นได้จากตัวเลขของ Gen Z กว่า 62% ที่ระบุว่ารู้สึกเช่นนี้ ในขณะที่ Gen X เห็นด้วยอยู่ที่ 53%
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นว่ากลุ่มคนรุ่นใหม่มีแนวโน้มจะไม่ทำตามแผนในปีนี้มากขึ้น โดยกว่า 53% ของ Gen Z ยอมรับว่ามีโอกาสหลุดแผนสูงกว่าปีก่อนๆ เมื่อเทียบกับ Gen X ที่ 37%
และเมื่อถามถึงเหตุผลที่ทำให้พวกเขามีแนวโน้มที่จะตามใจตัวเองในปีนี้ ผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่า เมื่ออายุมากขึ้น พวกเขารู้สึกเต็มใจที่จะปล่อยวางและสนุกกับช่วงเวลานั้นมากขึ้น (43%) และพวกเขารู้สึกขอบคุณที่ได้ใช้เวลาร่วมกับครอบครัวและเพื่อนฝูง ซึ่งทำให้คาดว่าความมีวินัยในตัวเองจะลดลง (40%)
“การใช้ช่วงเวลาแห่งความสุขในเทศกาลให้คุ้มค่า คือการฉลองร่วมกับคนที่เรารักควบคู่กับการดูแลรักษาสุขภาพให้ดีไปด้วยกัน เช่น เปิดโอกาสให้ตัวเองได้เพลิดเพลินกับอาหารอร่อยๆ ในช่วงเทศกาลได้ แต่ควรเลือกสมดุลด้วยอาหารที่มีประโยชน์และหมั่นคอยเคลื่อนไหวร่างกายไว้อยู่เสมอ โดยสิ่งสำคัญที่สุดคือการวางแผนและเลือกกินอย่างมีสติ ซึ่งจะช่วยให้เรามีความสุขตลอดช่วงเทศกาลและยังคงรักษานิสัยเฮลตี้ที่ดีต่อสุขภาพต่อไปได้จากการกินของที่มีประโยชน์” ดร.ลูอิจิ กล่าว
แม้จะตามใจปาก แต่ใจจริงก็อยากสุขภาพดี ซึ่งสอดคล้องกับเทรนด์สุขภาพที่เคิบโตขึ้นอย่างมาก หลังโควิดที่ผ่านมา ผู้คนตคะหนักรู้และให้ความสำคัญกับเรื่องของสุขภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าเป็นการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่ดี การสร้างภูมิคุ้มกัน และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง
โดยจะเห็นได้ว่าหนึ่งในอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตคือ สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Health and Wellness) เนื่องจากผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้นนี้เอง เห็นได้จากรายงาน Asia-Pacific Front Line of Healthcare 2024 โดย Bain & Company พบว่า กว่าครึ่งของผู้บริโภคในภูมิภาคนี้ยินดีที่จะเพิ่มอัตราการใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพ พร้อมซื้อวิตามิน และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ดีขึ้น ตลอดจนประสบการณ์ที่ดีกว่าและความสะดวกที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มคน Gen Z ที่เกือบ 58% พร้อมจะจ่ายมากขึ้นเพื่อการดูแลสุขภาพ
จากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะเห็นได้ว่า อุตสาหกรรมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีมีศักยภาพในการเติบโต และเป็นโอกาสใหม่ทางธุรกิจในเอเชียแปซิฟิก
โดยโทมัส ฮาร์มส์ รองประธานอาวุโสและกรรมการผู้จัดการ เฮอร์บาไลฟ์ เอเชียแปซิฟิก ได้กล่าวว่า จากการสำรวจ Asia Pacific Business of Wellness Survey ของเฮอร์บาไลฟ์ ที่ได้สอบถามความคิดเห็นจากผู้คนกว่า 8,000 คนใน 11 ประเทศ พบว่า 51% ของผู้ตอบแบบสำรวจมีแผนจะเพิ่มการใช้จ่ายในด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีในปีนี้ โดยส่วนใหญ่ตั้งใจเพิ่มการใช้จ่ายถึง 25% ขึ้นไป ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของ Bain & Company นอกจากนี้ สองหมวดหมู่ที่มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นสูงสุด คือ อาหารเสริม (72%) และคลาสออกกำลังกาย (31%)
“จากไลฟ์สไตล์ที่เร่งรีบและความต้องการในการดูแลสุขภาพที่เพิ่มขึ้น เฮอร์บาไลฟ์พบความต้องการในผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพเชิงป้องกันอย่างอาหารเสริมมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสร้างโอกาสใหม่ให้ผู้ประกอบการสามารถนำเสนอสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองตลาดที่ขยายตัวนี้ ในขณะที่ความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการหน้าใหม่ยังมองว่าอุตสาหกรรมนี้จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้เผชิญกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ โดยข้อมูลระบุว่าอุตสาหกรรมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีเป็นหมวดหมู่ที่น่าสนใจเป็นอันดับสี่ (20%) รองจากอาหารและเครื่องดื่ม (44%) ค้าปลีก (30%) และเทคโนโลยี (25%)”
ดังนั้นอุตสาหกรรมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี จึงเป็นโอกาสสำคัญสำหรับผู้ประกอบการหน้าใหม่ในการสร้างธุรกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืน จากการสำรวจพบว่า 81%ของผู้ประกอบการที่มีธุรกิจอยู่แล้วในเอเชียแปซิฟิกคาดว่าธุรกิจของตน จะแข็งแกร่งขึ้นในปี 2024 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
โทมัส กล่าวต่อว่า สำหรับผู้ที่สนใจเริ่มต้นธุรกิจ จำเป็นต้องพิจารณาทางเลือกและวางแผนอย่างรอบคอบ แทนที่จะเดินตามเส้นทางผู้ประกอบการแบบเดิมๆ ที่มักต้องลงทุนเริ่มต้นจำนวนมากเพื่อตั้งร้านและสต็อกสินค้า ผู้ประกอบการสามารถเลือกแนวทางอื่นแทนได้ เช่น Social Selling และ Direct Selling ซึ่งช่วยลดต้นทุนเริ่มต้นและสร้างช่องทางสื่อสารตรงกับลูกค้า ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น
สำหรับผู้ที่มองหางานเสริมที่ยืดหยุ่น หรือชื่นชอบการแบ่งปันคำแนะนำด้านโภชนาการและผลิตภัณฑ์ เฮอร์บาไลฟ์มีระบบสนับสนุนที่ครอบคลุม ตั้งแต่ค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่ต่ำ การให้คำปรึกษาจากผู้จำหน่ายที่มีประสบการณ์ ไปจนถึงการสนับสนุนจากบริษัท ช่วยปูทางให้ผู้ประกอบการเริ่มต้นและเติบโตในเส้นทางของตัวเองได้
“แม้ว่าในอุตสาหกรรมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีจะมีการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ทำให้อนาคตของผู้ประกอบการในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกดูสดใส แต่การสร้างธุรกิจที่ยั่งยืนต้องเริ่มจากรากฐานที่มั่นคง การเลือกโอกาสในอุตสาหกรรมที่ตัวเองสนใจและมีชุมชนที่คอยสนับสนุนจะช่วยให้เส้นทางการเป็นผู้ประกอบการนั้นเป็นไปตามที่ฝันและยั่งยืนอย่างแท้จริง” โทมัส กล่าว
ด้วยสภาวะเศรษฐกิจไม่แน่นอน ความต้องในการสร้างรายได้เพิ่มและความปรารถนาที่จะมีธุรกิจของตัวเอง ยังคงเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ส่งเสริมให้ผู้คนในภูมิภาคนี้มุ่งสู่การเป็นผู้ประกอบการ หรือมากกว่าครึ่งของผู้คนในภูมิภาคนี้มองว่าปี 2024 เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มต้นธุรกิจ นอกจากนี้ผู้ประกอบการหน้าใหม่กว่า 63% ยังมีแผนที่จะเริ่มต้นธุรกิจขนาดเล็กภายใน 18 เดือนข้างหน้า ด้วยตลาดที่มีความหลากหลายและนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐที่ช่วยสร้างรากฐานที่มั่นคงสำหรับผู้ประกอบการภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จึงเป็นโอกาสสำหรับคนรุ่นใหม่ที่ได้ใช้ประโยชน์จากเทรนด์ใหม่ๆ เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจและการเติบโต
ดังนั้นจากสภาพเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ทำให้เราต้องปรับตัว ต้องทำมากกว่า 1 อาชีพในวันนี้ หรือต้องหารายได้เสริมจึงจะอยู่รอด เทรนด์การเป็นผู้ประกอบการหรือการเป็นเจ้าของธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจึงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่แค่เพียงกลุ่มคนรุ่นใหม่อย่าง Gen Z แต่รวมไปถึง Baby Boomers ต่างก็มีแนวคิดจะมีธุรกิจเป็นของตัวเองมากขึ้น.