- • คจร. มีมติตัดเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงหัวลำโพง-วงเวียนใหญ่ เพื่อแก้ปัญหาเวนคืนที่ดิน
- • คจร. อนุมัติโครงการก่อสร้างสะพานลอย (Skywalk) เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเหลือง-Airport Rail Link และสายสีชมพู-สายสีแดง
“สุริยะ” นั่งหัวโต๊ะประชุม คจร.เคาะโอนคืนรถไฟฟ้า 3 สาย “สีเงิน,สีเทา,สีฟ้า”จากกทม.ให้คมนาคม และตัดเส้นทาง”สายสีแดง”ช่วงหัวลำโพง-วงเวียนใหญ่”แก้ปัญหาเวนคืน ไฟเขียว สร้างSkywalk เชื่อม”สีเหลือง-ARLและชมพู-แดง
วันที่ 23 ธ.ค. 67 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ครั้งที่ 1/2567 โดยมีนายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกเข้าร่วมประชุม พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นกรรมการและเลขานุการ
ที่ประชุมมีวาระพิจารณา 11 เรื่อง โดยได้มีมติเห็นชอบ เรื่องสำคัญ ได้แก่ 1.การโอนภารกิจโครงการรถไฟฟ้าลงทุนใหม่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร(กทม.) กลับคืนให้แก่กระทรวงคมนาคม จำนวน 3 โครงการ คือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเงิน สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะทาง 19.7 กิโลเมตร มีจานวนสถานี 14 สถานี เป็นรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (Light Rail Transit)
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา ระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ ระยะทางโครงการประมาณ 16.3 กิโลเมตร และมีจานวนสถานี 15 สถานี เป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail)
โครงการรถไฟฟ้าสายสีฟ้า (ช่วงดินแดง-สาทร) มีระยะทางประมาณ 9.5 กิโลเมตร และมีจานวน 9 สถานี รถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail)
โดยทางกทม. ได้มีการสรุปเปรียบเทียบข้อได้เปรียบและข้อจำกัด ระหว่างกรณีการโอนให้ กระทรวงคมนาคม ดำเนินการ และกรณี กทม. ดำเนินการเอง จาก 3 ประเด็น คือ แหล่งเงินทุน / การเชื่อมต่อโครงข่าย / การกำกับดูแลโครงการ พบว่าการโอนให้ กระทรวงคมนาคม ดำเนินการมีความคล่องตัว เหมาะสม และสามารถ กำกับดูแลได้ดีกว่า
2.การปรับเปลี่ยนรถไฟชานเมืองสายสีแดง เดิมจากหัวลำโพง – มหาชัย เป็น วงเวียนใหญ่ – มหาชัย เนื่องจากในปัจจุบัน สภาพแวดล้อมพื้นที่ของโครงการฯเปลี่ยนแปลงไปมากเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ ที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้การใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณพื้นที่ช่วงหัวลาโพง - วงเวียนใหญ่ มี ชุมชนเมืองเพิ่มขึ้น ทำให้ไม่สามารถใช้ผลการศึกษาเดิมได้ (พ.ศ. 2549) และหากดำเนิน โครงการฯ จะส่งผลให้โครงการมีมูลค่าสูง จากการเวนคืนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์
นอกจากนี้ ช่วงสะพานข้ามแม่น้าเจ้าพระยา ยังไม่ผ่านการพิจารณา การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) สำหรับการศึกษาเดิม เส้นทาง จากหัวลำโพง – มหาชัย มีระยะทาง 36.56 กม. วงเงินลงทุนประมาณ 53,064 ล้านบาท ส่วนช่วง วงเวียนใหญ่ – มหาชัย ระยะทาง 33.16 กม. วงเงินลงทุนประมาณ 48,129 ล้านบาท
โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จึงได้เสนอ งบประมาณปี พ.ศ. 2567 เป็นจำนวนเงิน 140 ล้านบาท เพื่อดำเนิน การทบทวนผลการศึกษาความเหมาะสมโครงการฯในด้านต่าง ๆ ศึกษาออกแบบ รายละเอียด จัดทารายงาน EIA และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงวงเวียนใหญ่ – มหาชัย
3.โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศและรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ (R-Map)
4.หลักการการดำเนินงานก่อสร้างทางเชื่อมบริเวณสถานีเชื่อมต่อ (Interchange) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี โดยมอบหมายให้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รับผิดชอบก่อสร้าง Skywalk หรือทางเดินเชื่อม 2 จุด คือ เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเหลือง กับ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ที่สถานีหัวหมาก และ เชื่อมรถไฟฟ้าสายสีชมพู กับ สายสีแดง ที่สถานีหลักสี่
5.ผลการศึกษาเปรียบเทียบทางเลือกการดำเนินงานโครงการที่เหมาะสมสำหรับดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี และโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวัน - สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์
6.การขอทบทวนโครงการภายใต้แผนแม่บทสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
7.โครงการศึกษาการแก้ไขปัญหาการจราจรทั้งระบบบนถนนสายหลักในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลระยะเร่งด่วน ดังนี้ 7.1) การดำเนินงานแก้ไขปัญหาการจราจรในระยะเร่งด่วนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 7.2) แนวทางการแก้ไขปัญหาการจราจรถนนพหลโยธิน บริเวณกองทัพอากาศ
8.แผนปฏิบัติการด้านการแก้ไขปัญหาจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปี พ.ศ. 2567 - 2580
9.ขอทบทวนแผนการแก้ไขปัญหาการจราจรบนโครงข่ายทางพิเศษในภาพรวมทั้งระบบ
10.โครงการนำร่องการพัฒนาระบบการจราจรและขนส่งอัจฉริยะในเขตจังหวัดปริมณฑล “โครงการการประเมินผลการใช้มาตรการตรวจจับผู้กระทำผิดกฎหมายจราจรโดยใช้กล้องตรวจจับ : พื้นที่จังหวัดปทุมธานี”
11.การขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2536 เรื่อง การส่งเสริมการจัดท่าเทียบเรือสาธารณะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางและสามารถนำพื้นที่บางส่วนของท่าเรือสาธารณะมาใช้ในเชิงพาณิชย์
นอกจากนี้ ยัง ได้รับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการที่สำคัญ จำนวน 8 เรื่อง ได้แก่
1. แผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยเปิดให้บริการแล้ว 13 เส้นทาง ระยะทางรวม 276.84 กิโลเมตร ซึ่งที่ประชุมได้รับทราบและมอบหมายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) พิจารณาศึกษาขนส่งมวลชนระบบรอง (รางเบา) ในย่านจตุจักร เพื่อส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน ให้เกิดเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ใหม่ที่ใช้ประโยชน์จากการพัฒนาระบบรางและประชาชนได้รับความสะดวกในการเดินทาง
2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่วนต่อขยาย ช่วงแยกรัชดา - ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน
3.การดำเนินการระบบขนส่งสาธารณะเพื่อการเชื่อมต่อการเดินทาง สถานีรถไฟชานเมือง สายสีแดง (สถานีรังสิต) ตามมติ อจร. จังหวัดปทุมธานี
4.แผนพัฒนาการเดินทางทางน้ำในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และการเชื่อมต่อการเดินทางรูปแบบอื่น
5.ผลการทบทวนการศึกษาความเหมาะสมโครงการขอนแก่น Smart City (ระยะที่ 1) ก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนระบบรางเบา สายเหนือ - ใต้ รวมถึงโครงการระบบขนส่งสาธารณะในเขตจังหวัดขอนแก่น เส้นทางนำร่องสายสีแดง (สำราญ - ท่าพระ)
6. แผนแม่บทการแก้ไขปัญหาจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปี พ.ศ. 2563
7. ผลการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นในการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ถนนในเขตพื้นที่การจราจรหนาแน่นในกรุงเทพมหานคร โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เตรียมการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก United Kingdom Partnering for Accelerated Climate Transition (UKPACT) สามารถเริ่มโครงการศึกษาได้ในเดือนธันวาคมปี พ.ศ. 2567
และ8.สรุปผลการดำเนินงานคณะอนุกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก ปีงบประมาณ 2565 - 2566