xs
xsm
sm
md
lg

TOPควักอีก6.3หมื่นล.ใส่โครงการCFP ชงที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติ21 ก.พ.นี้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“บอร์ดไทยออยล์” ไฟเขียวเพิ่มงบลงทุนโครงการพลังงานสะอาด (CFP) อีก 63,028 ล้านบาท และดอกเบี้ยระหว่างการก่อสร้างประมาณ 17,922 ล้านบาท นัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น 21 ก.พ.2568 เพื่อขออนุมัติการเพิ่มงบประมาณลงทุนโครงการCFP ดังกล่าว หวังเดินหน้าก่อสร้างโครงการให้แล้วเสร็จและผลิตเชิงในไตรมาส3 ปี2571 

นายบัณฑิต ธรรมประจำจิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่  บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ นัดพิเศษ ครั้งที่ 6/2567 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2567 ได้มีมติเห็นชอบเพิ่มงบประมาณในโครงการพลังงานสะอาด        (Clean Fuel Project หรือ CFP) ประมาณ 63,028 ล้านบาท และดอกเบี้ยระหว่างการก่อสร้างประมาณ 17,922 ล้านบาท การเพิ่มเงินลงทุนในโครงการ CFP ครั้งนี้ จะนำไปใช้เพื่อการก่อสร้าง การจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ส่วนที่เหลือ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าที่ปรึกษาต่างๆ เป็นต้น เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการ CFP ให้แล้วเสร็จ   และสามารถดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย          ที่เกี่ยวข้อง และประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ และผู้ถือหุ้น


ทั้งนี้ บริษัทฯ เตรียมจัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2568 ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 14.00 น. เพื่อขอมติจากผู้ถือหุ้นในการอนุมัติการเพิ่มงบประมาณในโครงการ CFP ดังกล่าว

“โครงการ CFP จะทำให้ไทยออยล์มีกำลังการกลั่นน้ำมันดิบ 400,000 บาร์เรลต่อวัน และสามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้นและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นโครงการขนาดใหญ่ ปัจจุบันดำเนินการไปแล้วกว่า 90% เมื่อโครงการสำเร็จจะสามารถตอบโจทย์การเติบโตทางกลยุทธ์ในระยะยาว ทำให้บริษัทฯ เติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะเมื่อมีการเปลี่ยนผ่านพลังงาน (Energy Transition) ทำให้ไทยออยล์สามารถแข่งขันได้ และเป็นผู้นำ ในภูมิภาคซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่ง ก่อให้เกิดผลตอบแทนที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นและบริษัทฯ ในระยะยาว หากโครงการเดินหน้าต่อจะทำให้ซัพพลายเชน รวมถึงบริษัทรับเหมาก่อสร้างและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องมีงานทำ มีรายได้มาจับจ่ายใช้สอย ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ระดับหนึ่ง” นายบัณฑิตฯ กล่าว


ทั้งนี้ TOP ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2561เมื่อวันที่ 27สิงหาคม 2561ให้เข้าลงทุนในโครงการ CFPโดยมีมูลค่าการลงทุนประมาณ 4,825ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ160,279ล้านบาทและดอกเบี้ยระหว่างการก่อสร้างประมาณ 151ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ5,016ล้านบาทโดยคาดว่าการก่อสร้างโครงการCFPจะแล้วเสร็จในไตรมาส1ปี2566

ซึ่งบริษัทฯได้เข้าทำสัญญาสำหรับการออกแบบวิศวกรรมการจัดหาและการก่อสร้าง (Engineering, Procurement and Construction) (“สัญญา EPC”)กับผู้รับเหมาซึ่งเป็นกิจการร่วมค้าระหว่าง PSS Netherlands B.V.สำหรับงานออกแบบวิศวกรรมและการจัดหาวัสดุอุปกรณ์และเครื่องจักรในต่างประเทศและ unincorporated joint venture of Samsung E&A (Thailand) Co., Ltd., Petrofac South East Asia Pte. Ltd. and Saipem Singapore Pte. Ltd.สำหรับงานก่อสร้างและการจัดหาวัสดุอุปกรณ์และเครื่องจักรในประเทศไทย (เรียกรวมกันว่า “ผู้รับเหมาหลัก”)แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19ส่งผลกระทบต่อโครงการ CFPตั้งแต่ช่วงเริ่มงานในขั้นตอนการออกแบบวิศวกรรมการจัดหาวัสดุอุปกรณ์และเครื่องจักรรวมถึงการก่อสร้างในพื้นที่ที่ต้องดำเนินการภายใต้มาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อผลักดันให้โครงการ CFPเดินหน้าได้อย่างต่อเนื่องจึงส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการเพิ่มขึ้นและทำให้ระยะเวลาการก่อสร้างโครงการCFPต้องถูกขยายออกไปจากเดิมที่คาดการณ์ไว้

โดยที่ประชุมบอร์ดบริษัทครั้งที่9/2564อนุมัติการขยายกรอบวงเงินประมาณการดอกเบี้ยระหว่างก่อสร้างของโครงการ CFPจาก151ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ5,016ล้านบาทโดยเพิ่มขึ้นอีก 422ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 14,278ล้านบาทและในการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯครั้งที่4/2565ได้พิจารณาอนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมในการดำเนินโครงการ CFPและอนุมัติให้บริษัทฯลงนามในสัญญาแก้ไขสัญญา EPCกับผู้รับเหมาหลักโดยเพิ่มงบประมาณของโครงการอีกประมาณ 550ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 18,165ล้านบาทและขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการไปอีก 24เดือน


แต่เนื่องจากผู้รับเหมาหลักไม่ชำระเงินค่าจ้างค้างจ่ายให้กับผู้รับเหมาช่วงในการก่อสร้างโครงการ CFPจนทำให้ผู้รับเหมาช่วงหนุเงานหรือลดจำนวนคนงานลงส่งผลให้การก่อสร้างโครงการCFPล่าช้ากว่าที่ระบุในสัญญาEPC

ดังนั้น TOPจึงต้องพิจารณาทางเลือกในการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จโดยมีการเตรียมความพร้อมโดยให้ที่ปรึกษาด้านเทคนิค (Technical Advisor)มาตรวจสอบและวิเคราะห์การก่อสร้างที่เหลืออยู่ของโครงการจากรายงานการตรวจสอบและวิเคราะห์ของที่ปรึกษาด้านเทคนิคเห็นว่าการที่จะก่อสร้างโครงการ CFPให้แล้วเสร็จจะต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มเติมอีกประมาณ 63,028ล้านบาทหรือเทียบเท่าประมาณ 1,776ล้านดอลลาร์สหรัฐและได้พิจารณาคำแนะนำและความเห็นของที่ปรึกษาด้านเทคนิค(Technical Advisor)บริษัทลิ้งค์เลเทอร์ส (ประเทศไทย)จำกัดและ Polaris Advisory Asia Private Limitedในฐานะที่ปรึกษาด้านกฎหมาย (Legal Advisors)และบริษัทหลักทรัพย์กรุงไทยเอ็กซ์สปริงจำกัดในฐานะที่ปรึกษาการเงินอิสระ (Independent Financial Advisor)แล้วเห็นว่าเพื่อให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯที่มุ่งเน้นการสร้างประโยชน์ให้แก่บริษัทฯและผู้ถือหุ้น จึงได้มีมติอนุมัติให้เรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2568เพื่อพิจารณาอนุมัติการเพิ่มเงินลงทุนในโครงการCFPเป็นจำนวนเงินประมาณ 63,028 ล้านบาทหรือเทียบเท่าประมาณ 1,776ล้านดอลลาร์สหรัฐและดอกเบี้ยระหว่างการก่อสร้างประมาณ 17,922ล้านบาทหรือเทียบเท่าประมาณ 505ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยมีมูลค่าเงินลงทุนทั้งหมดของโครงการCFPเป็นจำนวนเงินประมาณ 241,472 ล้านบาทหรือเทียบเท่าประมาณ 7,151ล้านดอลลาร์สหรัฐและดอกเบี้ยระหว่างการก่อสร้างประมาณ 37,216ล้านบาทหรือเทียบเท่าประมาณ 1,078ล้านดอลลาร์สหรัฐ

และพิจารณาอนุมัติการมอบอำนาจให้คณะกรรมการบริษัทฯหรือบุคคลที่คณะกรรมการบริษัทฯมีอำนาจดำเนินการที่เกี่ยวข้องรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงการเจรจากำหนดตกลงทำให้เสร็จสมบูรณ์ลงนามในสัญญาและเอกสารที่เกี่ยวข้องและการแก้ไขเปลี่ยนแปลงวิธีการขั้นตอนการดำเนินงานของโครงการCFPหรือการกระทำการอื่นใดตามความเหมาะสม

อย่างไรก็ดีในการพิจารณาแผนการดำเนินการสำหรับโครงการCFPที่จะขออนุมัติในครั้งนี้บริษัทฯได้ศึกษาและประเมินร่วมกับที่ปรึกษาด้านเทคนิคโดยยึดหลักความระมัดระวัง (Conservative basis)แล้วว่าโครงการ CFPจะสามารถเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในช่วงไตรมาส 3ของปี 2571


กำลังโหลดความคิดเห็น