- • ใช้เทคโนโลยีอวกาศ (Satellite) เป็นหลักในการติดตามและตรวจสอบ
- • มุ่งขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนและเป้าหมาย Net-Zero
- • นำเสนอแนวคิด "Satellite – Powered Carbon MRV for Climate Action" (MRV = การวัด การรายงาน และการตรวจสอบ)
งานสัมมนาครั้งนี้เป็นเวทีที่รวมหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และองค์กรไม่แสวงหากำไร เช่น กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม, องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน), กรมป่าไม้, สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, และมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก การประเมินการกักเก็บและปลดปล่อยคาร์บอน และนำเสนอแพลตฟอร์มดิจิทัลการติดตาม รายงาน และตรวจสอบคาร์บอน (Carbon Atlas Platform) ด้วยเทคโนโลยีดาวเทียม
.
ดร.ศิริลักษณ์ พฤกษ์ปิติกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA กล่าวถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศร่วมกับดาวเทียมในการตรวจสอบ ติดตาม และรายงาน (Satellite-based Carbon MRV) การเปลี่ยนแปลงทรัพยากรธรรมชาติ เช่น พื้นที่ป่าไม้ ป่าชายเลน และพื้นที่การเกษตร รวมถึงการประเมินการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าและเกษตรและการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเผาไหม้ เพื่อสนับสนุนการวางแผนและกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมในระดับประเทศ ปัจจุบัน GISTDA กำลังปรับเปลี่ยนรูปแบบการสำรวจคาร์บอนเครดิตในรูปแบบของการวัดและสำรวจคาร์บอนโดยการใช้คน หรือ Monitoring, Reporting, Verification: MRV ไปสู่การสำรวจในรูปแบบใหม่โดยจะนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทีมีชื่อว่า Digital Monitoring, Reporting, Verification : DMRV เข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เครื่อง 3D Scanner, LiBackpack และโดรน LiDAR เป็นต้น
.
ด้านของความร่วมมือกับ หน่วยงานภาครัฐ เช่น องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลแลชายฝั่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สถาบันการศึกษา รวมถึงภาคเอกชน ได้ประยุกต์ใช้ข้อมูลเพื่อเพิ่มพื้นที่ปลูกป่า ป้องกันไฟป่า และเพิ่มศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอน รวมถึงยังมีความร่วมมือกันในการพัฒนาแบบจำลองการประเมินการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ร่วมกันในอนาคตให้มีความถูกต้อง แม่นยำ และครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ได้รวดเร็วอีกด้วย นอกจากนี้ GISTDA ยังร่วมมือกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพัฒนาแนวทางและวิธีการที่เหมาะสมสำหรับป่าชุมชนเพื่อสร้างรายได้จากคาร์บอนเครดิตตามมาตรฐาน T-VER และ Premium T-VER
.
GISTDA ตั้งเป้าที่จะสนับสนุนข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ และตรวจสอบได้ เพื่อการจัดทำรายงานแห่งชาติ (National Communication: NC) และรายงานความก้าวหน้ารายสองปี (Biennial Update Report: BUR) สำหรับการดำเนินการด้านการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งในระดับประเทศและนานาชาติสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน รวมถึงการพัฒนาหลักสูตรร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO
.
ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน งาน Carbon Atlas 2024 ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยยกระดับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นสำหรับประชาชนไทย และร่วมลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกอย่างยั่งยืน