xs
xsm
sm
md
lg

“ชายสี่” ปลุกแบรนด์ลูก แก้ปมแฟรนไชส์ สปีดซื้อกิจการ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



การตลาด – เจาะแผนชายสี่กรุ๊ป เร่งสร้างพอร์ตโฟลิโออาหารให้แข็งแกร่ง ปีหน้าเร่งเครื่องสร้างแบรนดื ปัดฝุ่นปลุกชีพแบรนด์ลูกทั้งหลายที่ยังอ่อนตัวให้ลุกขึ้นสร้างการเติบโตให้ได้ ขณะที่กลุ่มพันธมิตรร้านอาหารเดินหน้าเร่งสปีดขยายสาขา พร้อมขยายแบรนด์ใหม่ต่อเนื่อง ล่าสุดปรับรายได้รวมปีนี้อยู่ที่ 1,200 ล้านบาท


“ชายสี่่กรุ๊ป” ยังคงเดินหน้าลงทุน ขยายธุรกิจ และปรับกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมายตามที่วางไว้ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือการยกระดับให้ชายสี่กรุ๊ปเป็นเจ้าแห่งสตรีทฟู้ดเมืองไทย

แต่ดูเหมือนว่า หนทางของชายสี่กรุ๊ป ยังคงต้องเผชิญกับการท้าทายอย่างมาก ด้วยเรื่องของประเด็่นความพร้อมภายในองค์กรเอง กับ ผลกระทบจากปัญหาภายนอกหลายหระการที่ไม่สามารถควบคุมได้เช่นเดียวกับผู้ประกอบรายอื่น ไม่ว่าจะเป็นภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดี อัตราเงินเฟ้อ กำลังซื้อของผู้บริโภคที่ถดถอย หรือแม้แต่ปัญหาเรื่องต้นทุนวัตถุดิบ ผลกระทบจากปัญหาต่างประเทศ

เมื่อช่วงต้นปีนี้ีนายพันธ์รบ กำลา ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ชายสี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้ก่อตั้ง ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว
กล่าวว่า แบรนด์ชายสี่ ในวันนี้ีอายุมากกว่า 30 ปีแล้ว ถือว่ามาได้ไกลมาก จากจุดเริ่มต้นในการเปิดร้านแรกเมื่อปี 2537 เป็นต้นมา และผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างโชกโชน ยังมีความมั่นใจว่า ปี 2567 ชายสี่กรุ๊ป จะต้องสร้างรายได้รวมไม่ต่ำกว่า 1,500 ล้านบาท หรือเติบโตมากถึง 25% จากปีที่แล้ว

โดยในปี 2565 เป็นปีที่สร้างยอดขายได้สูงสุดในประวัติการณ์ โดยมีรายได้รวม 1,085 ล้านบาท และยังเติบโตอย่างแข็งแกร่งในปี 2566 เช่นกัน ด้วยรายได้รวมมากถึง 1,200 ล้านบาท และมีกำไรที่โตมากถึง 121% เลยทีเดียว หรือประมาณ 126 ล้านบาท


“ เรายังคงมีแผนที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์เหมือนเดิม แต่คงต้องมีการพูดคุยแถลงข่าวกันใหม่อีกครั้งในปีหน้า เพราะว่าตอนนี้สถานการณ์และปัจจัยหลายๆอย่างมันเปลี่ยนไปมากแล้ว ตลาดรวมสตรีทฟู้ดที่มีมูลค่ารวมประมาณ 3 แสนกว่าล้านบาท ตอนนี้ก็ไม่ค่อยดี หลังโควิดมาก็ไม่ค่อยดีขึ้นเท่าไร เศรษฐกิจตอนนี้ไม่ดีเอาเสียเลย ปีหน้ามองว่ายิ่งอันตรายมากกว่านี้อีกในภาพรวม” นี่คือคำกล่าวของ นายอนุชิต สรรพอาษา กรรมการผู้จัดการบริษัท ชายสี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด

อย่างไรก็ตาม อนุชิต ยืนยันว่า ในส่วนของแผนการขยายธุรกิจยังคงเดินหน้าต่ออย่างเข้มข้นไม่เปลี่ยนแปลง ก็เพื่อสร้างความเข้มแข็งของธุรกิจและความพร้อมองค์กรให้กับตัวเองเมื่อสถานการณ์ดีขึ้น เพราะเมื่อถึงวันนั้นเราก็จะมีความแข็งแกร่ง
“ปี2568 เราวางงบประมาณการลทุนไว้ไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท” บอสใหญ่ชายสี่ กล่าว

งบดังกล่าว ก็เพื่อ การขยายสาขาใหม่ทุกแบรนด์ การพัฒนาระบบหลังบ้าน การตลาด และที่สำคัญคือ การยกระดับและพัฒนาแบรนด์ในกลุ่มแฟรนไชส์ในเครือให้มีความเข้มแข็งและเติบโตมากกว่าที่เป็นอยู่เดิม และอีกประการคือ การเข้าซื้อกิจการใหม่ที่มีศักยภาพตามแผนการสร้างพันธมิตรใหม่ๆ


ปัจจุบัน ชายสี่กรุ๊ป มีร้านอาหารในเครือรวมกันทั้งหมด 10 แบรนด์ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ 1. กลุุ่มแฟรนไชส์ ซึ่งเป็นแบรนด์ดั้งเดิมของชายสี่ฯเองทั้งหมดที่่พัฒนาขึ้นมาเอง ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว – บะหมี่เกี๊ยว, ชายสี่พลัส - กลุ่มอาหารพรีเมียมต่อยอด ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว, ชายใหญ่ข้าวมันไก่ , พันปีบะหมี่เป็ดย่าง , อาลีหมี่ฮาลาล , ไก่หมุนคุณพัน และ ลูกชิ้นทอดโอ้มายก๊อด

2. กลุ่มร้านอาหารพันธมิตร ซึ่งเป็นแบนรด์ที่ทาง ชายสี่ จะเข้าไปถือหุ้นใหญ่ แต่สัดส่วนเท่าไรแล้วแต่แบรนด์ ซึ่งทางเจ้าของแบรนด์เดิมจะลดสัดส่วนการถือหุ้นลง แต่ยังคงเป็นผู้บริหารหลักในแบรนด์นั้น กลุ่มนี้เพิ่งเริ่มเมื่อปีนี้ ปัจจุบันมี 3 แบรนด์คือ ก๋วยเตี๋ยวเรือเสือร้องไห้ เป็นก๋วยเตี๋ยวเรือร้านดังจากอยุธยา, BRIX Dessert Bar เป็นร้านขนมหวาน และ ร้านหมูสองชั้น หมูกระทะ เป็นหมูกระทะดังจากเชียงใหม่ ที่เป็นรายล่าสุด

3. กลุ่มเทรดดิ้ง รีเทล คือ การผลิตวัตถุดิบอาหารส่งขายตามช่องทางค้าปลีกต่างๆเท่านัั้น เช่น เส้นบะหมี่ เครื่องปรุง ซอส เป็นต้น วางช่องทางเช่น ซีเจมอร์ ร้านซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป


ทั้งนี้ หากมองดูถึงผลประกอบการยอดขายรวมทั้งหมดแล้วรายได้หลักแบรนด์ที่เป็นพระเอกก็ยังคงเป็นกลุ่มแฟรนไชส์มากถึง 90% และในกลุ่มแฟรนไชส์นี้ แน่นอนว่าพระเอกสร้างรายได้หลักคือ ชายสี่หมี่เกี๊ยวดั้งเดิม เกือบ 90% เช่นกัน (สัดส่วนมากถึง 98% มาจากสาขาแฟรนไชส์ และอีก 2% มาจากสาขาของบริษัทเอง เนื่องจากเน้นขายแฟรนไชส์ )

ส่วนที่เหลืออีก 10 % ของกลุ่มแฟรนไชส์มาจากแบรนด์เล็กแบรนด์น้อยทั้งหลาย คือ ชายสี่พลัส - กลุ่มอาหารพรีเมียมต่อยอด ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว, ชายใหญ่ข้าวมันไก่ , พันปีบะหมี่เป็ดย่าง , อาลีหมี่ฮาลาล , ไก่หมุนคุณพัน และ ลูกชิ้นทอดโอ้มายก๊อด
ขณะที่กลุ่มที่ 2. คือ ร้านพันธมิตร ที่เพิ่งเริ่มปีนี้ ก็มีสัดส่วนรายได้ประมาณ 7%
สุดท้ายคือ กลุ่มเทรดดิ้งที่ยังน้อยมากแค่ 3% เพราะเพิ่งเริ่มธุรกิจไม่นานนี้
ทั้ง 3 กลุ่ม ชายสี่ วางโรดแมพการขยายตัวไว้อย่างชัดเจน

แต่ส่วนที่สำคัญกว่าก็คือ การพุ่งเป้าหมายไปที่แบรนด์แฟรนไชส์กลุ่มชายสี่เอง โดยเฉพาะแบรนด์ลูกๆทั้งหลาย เพราะที่ผ่านมากล่าวได้ว่า แบรนด์ลูกแต่ละแบรนด์แทบจะยังไม่ได้มีบทบาทหรือการเป็นที่รู้จักในตลาดแม้แต่น้อยเลย เพราะร่มใหญ่อย่างชายสี่หมี่เกี๊ยวยังคงเปล่งรัศมีทับไว้หมด
สิ่งเร่งด่วนที่เขามองก็คือ การผลักดันและปรับกลยุทธ์แบรนด์ลูกในเครือทั้งหมด ทั้งการพัฒนาเมนูใหม่ๆ การขยายสาขามากขึ้น การสร้างแบรนด์แต่ละแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักด้วยตัวเอง


“ปีหน้าเราต้องปัดฝุ่นแบรนด์ลูกทั้งหมด ซึ่งประเด็นสำคัญที่ต้องเน้นคือเรื่องของคุณภาพ คุณภาพ และคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ เมนูอาหาร วัตถุดิบ การบริการ” นี่คือ จุดหมายหลักที่ชายสี่ฯวางไว้” กรรมการผู้จัดการ ชายสี่ คอร์ปอเรชั่น กล่าว
ต้องยอมรับว่า แต่ละแบรนด์ลูกนั้น ยังไม่เป็นที่รู้จักของตลาด จำนวนสาขาก็ยังน้อยมาก ยังไม่สามารถเข้าถึงตลาดผู้บริโภคได้ดีเท่าที่ควร และก็ยังไม่ได้เป็นอะไรที่แปลกใหม่สำหรับตลาดสตรีทฟู้ดด้วย

แบรนด์ใหม่ล่าสุดคือ ชายสี่พลัส กลุ่มอาหารพรีเมียมต่อยอด ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว ที่เพ ิ่งเริ่ม ปัจจุบันมีแล้ว 5 สาขา คือที่ พีทีที สเตชั่น แฟลกชิป วิภาวดีรังสิต 52, พีทีทีแยกประชาอุทิศ, คาล์เท็กซ์งามวงศ์วาน, โออาร์ สเปซ รามคำแหง 129 และ เซเว่นอีเลเฟเว่นทาวน์อินทาวน์ ซึ่งปีหน้าจะเริ่มขายแฟรนไชส์

ส่วนชายสี่หมี่เกี๊๋ยวเดิม ก็จะมีการจัดการแก้ปัญหาเรื่องแฟรนไชส์ให้มีระบบ และเข้มงวดมาตรฐานมากขึ้น มีการนำเสนอประโยชน์ให้กับแฟรนไชส์มากขึ้น

ปัจจุบันนี้ร้านชายสี่หมี่เกี๊ยวเปิดแล้วประมาณ 4,000 กว่าสาขาทั่วประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นเชนร้านอาหารของไทยที่มากที่สุดก็ว่าได้


อย่างไรก็ตาม เขามองว่า ชายสี่หมี่เกี๊ยวมีความแข็งแรงสามารถขยายได้อีกถึง 2,000 สาขาจากนี้ หรือรวมเป็น 6,000 สาขา ในช่วง 2-3- ปีจากนี้ ซึ่งเมื่อถึงจุดนั้นก็มองว่าจะเริ่มอิ่มตัวแล้ว การจะขยายสาขามากขึ้นและเร็วเหมือนเดิม มันคงยากขึ้น
นี่คือเหตุผลที่ ชายสี่ ต้องเร่งมือสร้างแบรนด์เดิมให้เติบโตและหายใจได้ด้วยตัวเอง และเพิ่มแบรนด์ใหม่เข้ามาในพอร์ต และอีกเหตุผลสำคัญก็คือ การสร้างความแข็งแกร่งของพอร์ตโฟลิโอเพื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์

ในส่วนของกลุ่มเทรดดิ้ง ก็จะมีการขยายการผลิตสินค้าให้หลากหลายมากขึ้น ขยายช่องทางจำหน่ายมากขึ้น

ส่วนกลุ่มร้านพันธมิตร ก็จะมีการขยายทั้งแบรนด์เดิม เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือเสือร้องไห้ ปีหน้าจะเปิดเพิ่มอีก 4สาขา ขณะที่ปีนี้ที่เข้ามาอยู่กับชายสี่เปิดใหม่ 1 สาขา ที่เซ็นทรัลอีสต์วิลล์ เป็นการเข้าศูนย์การค้าครั้งแรกด้วย จากเดิมมีเพียงสาขาเดียวที่อยุธยา และปีหน้าเสือร้องไห้จะมีแบรนด์ลูกเปิดใหม่เพื่อเน้นขายแฟรนไชส์โดยเฉพาะ,

แบรนด์ BRIX ปีหน้าวางแผนเปิดใหม่อีก 7 สาขา ส่วนปีนี้หลังจากที่เข้ามาอยู่กับชายสี่ เปิดใหม่ได้ 2 สาขา ที่วันแบงคอก และที่เซ็นทรัลลาดพร้าว ส่งผลให้ปัจจุบัน มีสาขารวม 5 แห่ง ที่เหลือคือ สยามพารากอน ไอคอนสยามและสลิลโฮเต็ล

อีกแบรนด์คือ “หมูสองชั้น หมูกระทะ” เปิดที่ไอแอมพาร์คจุฬา และที่เดอะพรอมดินแดง ส่วนปีหน้าวางแผนเปิดใหม่อีก 4 สาขา
ดูแล้วถือเป็นการเคลื่อนตัวในอัตราเร่งไม่น้อยเลยทีเดียว


ขณะที่พันธมิตรแบรนด์ใหม่ก็จะมีการเปิดตัวในปีหน้าอีกหลายแบรนด์ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา ซึ่งกลุ่มอาหารอีกหลายประเภทที่น่าสนใจในตลาดรวม แต่ทางชายสี่ยังไม่มีก็มีอีกมาก เช่น อาหารญี่ปุ่น อาหารไทย อาหารอีสาน เช่นส้มตำ หรือแม้แต่เครื่องดื่มกาแฟเบเกอรี่ เป็นต้น

เขามองว่า การมีแบรนด์พันธมิตรใหม่เพิ่มขึ้นเป็นเรื่องที่ไม่ยากเกินไป เพราะการมารวมอยู่เป็นกลุ่มย่อมส่งผลดีหลายประการทั้ง เรื่องการลงทุนที่จะมีเม็ดเงินมากขึ้น การลดต้นทุนทางด้านวัตถุดิบ การจัดส่ง เมื่อสั่งรวมกัน การได้รับการวางระบบหลังบ้านที่แข็งแกร่งขึ้น การทำตลาดร่วมกัน เพราะหลายแบรนด์ที่มีคุณภาพ อาหารอร่อย ชื่อสียงดี แต่อาจะไม่พร้อมในเรื่องการลงทุนขยายสาขาใหม่เพิ่ม หรืออาจจะไม่ชำนาญที่จะบริหารจัดการหลายสาขาได้พร้อมกัน

“ปีหน้าเรามีเป้าหมายที่่จะลดต้นทุนต่างๆรวมกันได้มากถึง 5%-7% อันเนื่องมาจากการบริหารจัดการ การวางระบบหลังบ้านที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินการมากขึ้นเพราะมีหลายสาขารวมกัน

การขยายตัวอย่างเร่งแรงและเร็วแบบนี้ ย่อมต้องสร้างความพร้อมเรื่องซัพพลายเชนและวัตถุดิบเพื่อให้ต้นทุนลดลงุ
ก่อนหน้านี้ นายพันธ์รบ กำลา ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ชายสี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้ก่อตั้ง ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว
ชายสี่ ได้กล่าวไว้ว่า เพื่อรองรับการเติบโตที่แข็งแกร่ง วางแผนที่จะสร้างฮับในการส่งสินค้าและวัตถุดิบรวม 3 แห่่ง คือ หาดใหญ่ ยโสธร และโคราช จากปัจจุบันมีแต่เพียงโรงงานผลิต 7 แห่ง ที่ลำปาง พิษณุโลก อุดรธานี มหาสารคาม ชลบุรี สุราษฎร์ธานี และหาดใหญ่


“แม้ว่าเป้าหมายระยะยาวเคยประกาศไว้ว่า จะต้องสร้างรายได้รายได้รวมระดับ 10,000 ล้านบาท ให้ได้นั้น จึงยังเป็นสิ่งที่ท้าทายไม่น้อยก็ตาม แต่การตั้งเป้าหมายที่สูงเช่นนี้ ก็เพื่อเป็นแรงผลักดันกำลังใจให้เราพยายามก้าวไปให้ แต่ต้องยอมว่า ช่วง 3 ปีเศษที่ผ่านมาที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 ระบาดอย่างรุนแรง ส่งผลกระทบไปทั้งหมด ตอนนี้ก็เพิ่งตั้งหลักกันได้”

ทั้งนี้ ล่าสุดในปีนี้ ชายสี่ คาดว่ารายได้รวมทั้งกลุ่มจะมีประมาณ 1,200 ล้านบาท เติบโตประมาณ 10% จากปีที่แล้ว
“ตลาดร้านอาหารรวมปีนี้ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายปีนี้ ผู้ประกอบการยิ่งเหนื่อยหนักกันแน่นอน แม้ว่าจะเป็นช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองก็ตาม ที่ผ่านมาร้านอาหารก็มีปิดตัวไปมากมาย แต่ที่เปิดใหม่ก็มีบ้างแต่ก็ลำบาก เพราะเศรษฐกิจรวมตอนนี้ไม่ดี” นายอนุชิต กล่าว

อนุชิต บอสใหญ่ ชายสี่ ย้ำว่า “เราตั้งมั่นในพันธกิจขององค์กรสู่การเป็น “ครัวของทุกบ้าน อาหารของทุกคน หนึ่งในใจทุกเวลา” ซึ่งสะท้อนถึงเป้าหมายในการเป็นแบรนด์อาหารที่เข้าถึงทุกครอบครัว เรามุ่งมั่นปรับปรุงภาพลักษณ์แบรนด์ ยกระดับมาตรฐานของสินค้าและการให้บริการ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเราได้มีการใช้กลยุทธ์แห่ง Digital Transformation และการทำ Data Analysis เพื่อช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า ทำให้เข้าใจความต้องการของผู้บริโภค และทำเสนอสินค้าและบริการได้ตรงใจ ก่อให้เกิดความภักดีใน แบรนด์ของเราอย่างต่อเนื่อง ปักธงเดินหน้าสู่เป้าหมายในการเป็น "สตรีทฟู้ดมหาชนของทุกคน"

ชายสี่กรุ๊ป จะเดินหน้าไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ได้หรือไม่ จะเร็วหรือช้ากว่าแผนที่ตั้งไว้ จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างมาก












กำลังโหลดความคิดเห็น