- • GGC ร่วมกับ RSPO, GIZ และกลุ่มเครือข่ายผู้ปลูก-สกัดปาล์มน้ำมัน ยกระดับการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน
- • มุ่งเน้นความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การปลูกจนถึงการแปรรูป
- • ดึงกลุ่ม ปตท. เข้าร่วม ช่วยเสริมศักยภาพในการจัดหาและแปรรูป
- • เป้าหมาย ช่วยให้เกษตรกรขายปาล์มน้ำมันได้ราคาที่ดีและยั่งยืน
GGC ผนึก RSPOและ GIZ พร้อมกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกปาล์มน้ํามัน และโรงสกัดปาล์มน้ํามัน เร่งยกระดับการผลิตปาล์มน้ํามันอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน พร้อมดึงกลุ่มปตท.ช่วยเสริม เพื่อให้เกษตรกรขายปาล์มน้ํามันได้ราคาที่ดีและยั่งยืน สร้างภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ปาล์มน้ำมันของไทยที่ดีในตลาดโลก
นายกฤษฎา ประเสริฐสุโข กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จํากัด (มหาชน) หรือ GGC เปิดเผยว่า ตามที่บริษัทได้ดําเนินการส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกปาล์มน้ํามันของประเทศไทย มากกว่า 1,000 ราย ให้ดําเนินการตามมาตรฐานและได้รับการรับรอง Roundtable on Sustainable Palm Oil (RSPO) ซึ่งเป็นมาตรฐานการผลิตปาล์มน้ํามันและน้ํามันปาล์มที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ผ่านการดําเนินโครงการการผลิตปาล์มน้ํามันและน้ํามันปาล์มอย่างยั่งยืน (Sustainable Palm oil production and procurement :SPOPP)
จากความสําเร็จโครงการดังกล่าวช่วยสร้างประโยชน์ต่อเกษตรกรในระยะยาว ทำให้เกษตรกรมีผลผลิตปาล์มน้ํามันที่เพิ่มขึ้น มีต้นทุนในการปลูกปาล์มต่ำลง โดยGGC ได้สานต่อความสําเร็จของโครงการดังกล่าว สู่โครงการการผลิตปาล์มน้ํามันและน้ํามันปาล์มอย่างยั่งยืนเพื่อลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Sustainable Palm Oil Production and Procurement Project on Climate Mitigation and Adaptation หรือ SPOPP CLIMA) เพื่อเป็นต้นแบบให้กับเกษตรกรรายย่อย จัดการสวนปาล์มแบบคาร์บอนต่ําของประเทศไทย
ดังนั้นโครงการ SPOPP CLIMA เป็นโครงการต่อยอดความสำเร็จจากการรับรองกลุ่มเกษตรกรรายย่อย ตามมาตรฐานการปลูกปาล์มอย่างยั่งยืน ภายใต้โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน หรือ SPOPP ซึ่งสามารถนำข้อมูลที่มีอยู่มาต่อยอดในการคำนวณคาร์บอนฟุตปริ้นท์สำหรับผลิตภัณฑ์ปาล์มน้ำมันทะลายสด และมีแนวทางการจัดการสวนแบบคาร์บอนต่ำ ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับผลิตภัณฑ์ปาล์มน้ำมันของไทยในตลาดโลกอีกด้วย
ที่ผ่านมา GGC ได้นำมาโครงการ SPOPP เชื่อมโยงกับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจด้านยั่งยืนของบริษัทฯ ในเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดย GGC และ GIZ มีแผนร่วมกันดำเนินโครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน เพื่อลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(SPOPP CLIMA) ในปี พ.ศ. 2567 - 2570
นายกฤษฎา กล่าวว่า GGC มุ่งมั่นสานต่อนโยบายในการสนับสนุนการซื้อ-ขายปาล์มน้ํามันของกลุ่มปตท. เพื่อสนับสนุนนโยบายภาครัฐ ที่ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ํามันสามารถขายผลผลิตได้ไม่ต่ํากว่าราคาประกาศของราชการ
GGCดําเนินการสร้างความร่วมมือกันตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทั้งเกษตรกรโรงสกัดน้ํามันปาล์ม GGC และบริษัท ปตท.น้ํามันและการค้าปลีก จํากัด (มหาชน) หรือ OR เพื่อร่วมกันดําเนินโครงการการจัดซื้อปาล์มน้ํามันอย่างยั่งยืน (Palm Oil Sustainable Procurement) โดยโครงการดังกล่าวจะยึดหลักการซื้อขายที่เป็นธรรมตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน สร้างประโยชน์ไปยังเกษตรกรทุกรายได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ทําให้เกษตรกรมีรายได้ที่ดีขึ้น เพราะสามารถขายผลผลิตได้ราคาที่ดีและเป็นธรรม โดยผลักดันเพื่อให้การรับซื้อผลปาล์มในมูลค่าที่สูงขึ้น ทั้งในส่วนของเกษตรกรที่ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน RSPO ก็ซื้อตามราคาประกาศของกรมการค้าภายใน และส่วนของเกษตรกรที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน RSPO ก็ซื้อในราคาตามประกาศฯแล้ว บวกราคาพรีเมี่ยมจากมาตรฐาน RSPO ด้วย
ซึ่งโครงการจัดซื้อน้ํามันปาล์ม อย่างยั่งยืนนี้จะส่งผลให้ทุกกลุ่มที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานปาล์มน้ํามันของประเทศไทยสามารถดําเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
“ วันนี้เรามีพันธมิตรทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน ไม่ว่าจะเป็น เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน เกษตรกรปลูกปาล์มน้ํามัน โรงสกัดปาล์มน้ํามัน GGC OR กรมวิชาการเกษตร องค์กรเจรจาระหว่างประเทศว่าด้วยปาล์มน้ํามันยั่งยืน(RSPO) และ องค์กรความร่วมมือ ระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ที่พร้อมร่วมกันผลักดัน และสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนในอุตสาหกรรมปาล์มน้ํามันตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน เพื่อส่งผ่านความเข้มแข็ง ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มทุกรายในไทยได้อย่างยั่งยืนสอดรับกับกฎหมายสินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า EU Deforestation-free Regulations: EUDR ที่จะเริ่มบังคับใช้ 1 มกราคม 2568” นายกฤษฎา
บริษัทโกลบอลกรีนเคมิคอลจำกัด (มหาชน)หรือ GGC เป็นบริษัทในกลุ่มบริษัทพีทีทีโกลบอลเคมิคอลจำกัด (มหาชน) (PTTGC)เป็นผู้บุกเบิกผลิตภัณฑ์โอลีโอเคมีในประเทศไทยโดยมีโรงงานผลิตเมทิลเอสเทอร์ (Methyl Ester)หรือ B100ใช้ผสมกับน้ำมันดีเซลพื้นฐานเพื่อผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซลโรงงานผลิตเอทานอลใช้ผสมน้ำมันเบนซินเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์รวมทั้งผลิตแฟตตี้แอลกอฮอล์และกลีเซอรีน