xs
xsm
sm
md
lg

กรมรางดันสถานีรถไฟ”วังเย็น,ท่าม่วง”ศูนย์ขนถ่ายตู้สินค้า เพิ่มศักยภาพ CY รองรับ”เมียนมา-มาเลเซีย”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กรมราง ลงพื้นที่”กาญจนบุรี”ตรวจสถานีรถไฟวังเย็น เตรียมพัฒนาเป็นสถานีขนถ่ายตู้สินค้ารองรับปริมาณสินค้า“เมียนมา-มาเลเซีย”เชื่อมการขนส่งผ่านไทย และหาทางเพิ่มศักยภาพ CY สถานีรถไฟท่าม่วงหลังเอกชนต้องการตู้สินค้าเพิ่ม

วันที่ 13 พ.ย. 2567 นางสาวจีรวรรณ หงสกุล ผู้อำนวยการกองกำกับกิจการขนส่งทางราง กรมการขนส่งทางราง (ขร.) และนายเรืองเดช มังกรเดชสกุล ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน พร้อมเจ้าหน้าที่ ขร. ลงพื้นที่สถานีรถไฟวังเย็น จ.กาญจนบุรี เพื่อพิจารณาจุดที่เหมาะสมในการพัฒนาเป็นสถานีขนถ่ายสินค้าระบบทางราง เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศในระบบตู้สินค้า และเชื่อมโยงระบบขนส่งอื่นๆ ซึ่งโครงการสถานีขนถ่ายสินค้าทางรางระหว่างประเทศสถานีรถไฟวังเย็น จะเป็นจุดเชื่อมต่อโครงข่ายทางรถไฟที่กำลังก่อสร้างทั่วประเทศ โดยจะเป็นจุดรวมสินค้าในเขตพื้นที่ภาคกลาง จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม กรุงเทพมหานคร เป็นต้น


โดยสินค้าที่จะเข้าสู่พื้นที่มีทั้งจากประเทศเมียนมาที่จะผ่านเข้ามาทางด่านพุน้ำร้อนเพื่อขนส่งผ่านไทยไปสู่ประเทศมาเลเซีย คาดว่าจะมีปริมาณตู้สินค้าเมียนมา-มาเลเซีย ราว 200 TEU/สัปดาห์ รวมทั้งจะเป็นจุดการนำเข้า-ส่งออกสินค้าในเขตพื้นที่ภาคกลางไปยังประเทศลาวและจีน ผ่านเส้นทางรถไฟทางคู่ด่านหนองคาย นอกจากนี้ยังคาดหวังว่าจุดนี้จะเป็นจุดเชื่อมโยง การนำเข้า-ส่งออกสินค้ารองรับปริมาณสินค้าที่มาจากท่าเรือคลองเตยด้วยระบบรางเพื่อลดความแออัดของปริมาณจราจรที่จะเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้อีกด้วย


หลังจากนั้น ได้ลงพื้นที่สถานีรถไฟท่าม่วง จ.กาญจนบุรี เพื่อดูพื้นที่ลานกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard : CY) และรับฟังข้อคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง โดยปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวเป็นของ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยมีการให้บริษัทเอกชนขนส่งตู้สินค้าคอนเทนเนอร์ โดยจากการรับฟังความคิดเห็น พบว่า ปัจจุบันความต้องการขนส่งสินค้าทางรถไฟมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น แต่พื้นที่สถานีรถไฟท่าม่วง ไม่สามารถรองรับการขนส่งตู้สินค้าได้ในจำนวนมาก และขบวนรถไฟไม่เพียงพอกับจำนวนตู้สินค้าที่ภาคเอกชนต้องการ


ในปัจจุบันสามารถขนส่งได้เพียง 15 แคร่/ขบวน และมีขบวนรถไฟขนส่งสินค้า 2 ขบวน/วัน (ไป-กลับ) ซึ่ง ขร.จะนับความคิดเห็นดังกล่าวและความคิดเห็นอื่นๆ ไปพิจารณาเพื่อดำเนินการพัฒนาพื้นที่นี้ให้มีประโยชน์สูงสุดต่อไป






กำลังโหลดความคิดเห็น