- • กำไรสุทธิไตรมาส 3/2567 ลดลง 47.8% เหลือ 16,324 ล้านบาท
- • สาเหตุหลักคือขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน
- • มีรายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจำ (Non-recurring Items) จากการด้อยค่าของ พีทีที อาซาฮี เคมิคอล และ Vencorex ของ PTTGC
- • ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับงวด 9 เดือน (ข้อมูลนี้อาจอยู่ในข่าวแต่ไม่ได้ระบุ)
ปตท.เผยกำไรสุทธิไตรมาส3/2567ลดฮวบ 47.8%อยู่ที่ 16,324 ล้านบาท เหตุขาดทุนสต๊อกน้ำมัน มีการรับรู้รายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจำ (Non-recuring Items) จากการด้อยค่าของ พีทีที อาซาฮี เคมิคอล และ Vencorex ของPTTGC ส่วนงวด 9เดือนแรกปีนี้ มีกำไรสุทธิ 80,761ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.9%จากช่วงเดียวกันปีก่อน
นางสาวภัทรลดา สง่าแสง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน)(PTT) เปิดเผยว่า ผลประกอบการไตรมาส3/2567 ปตท.และบริษัทย่อย มีกำไรสุทธิ 16,324ล้านบาท ลดลงร้อยละ 47.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 31,297 ล้านบาท ตาม EBITDA ที่ลดลงประกอบกับในไตรมาส3/2567 มีการรับรู้รายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจำ (Non-recuring Itemp)สุทธิภาษีตามสัดส่วนของ ปตท. เป็นขาดทุนประมาณ 9,500 ล้านบาท โดยหลักจากส่วนแบ่งผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์จาก บริษัท พีทีที อาซาฮี เคมิคอล จำกัด (PTTAC) ประมาณ 4,300 ล้านบาท และผลขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์ในกลุ่มบริษัท Vencorex ของ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTGC) ประมาณ 3,800 ล้านบาท
โดยในไตรมาส 3 / 2567 ปตท.มียอดขายรวม 761,858ล้านบาท ลดลง 5.1% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มียอดขาย 802,722ล้านบาท และมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและ
ค่าตัดจำหน่าย ต้นทุนทางการเงิน และภาษีเงินได้ (EBITDA) จำนวน 68,892 ล้านบาท ลดลง 73,400 ล้านบาท หรือร้อยละ 51.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยหลักจากกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นมีผลการดำเนินงานลดลง โดยธุรกิจการกลั่นมีผลขาดทุนสต๊อกน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปตท. และบริษัทย่อยมีผลขาดทุนสต๊อกน้ำมันใน ไตรมาส3/2567ประมาณ 20,000 ล้านบาท ขณะที่ในไตรมาส3/2566 มีกำไรประมาณ 20,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ กำไรขั้นต้นจากการกลั่น (Market GRM) ลดลงจาก 11.3 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรลในไตรมาส3/2566 เป็น 2.9 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรลในไตรมาส 3/2567 โดยหลักจากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันสำมันสำเร็รูปส่วนใหญ่กับน้ำมันดิบที่ปรับลดลง ขณะที่ธุรกิจปิโตรเคมีมีผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้น ตามส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น
กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ มีผลการดำเนินงามลดลง จากการรับรู้ผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้น (Mark-to-maket) ของสินค้าระหว่างการขนส่ง รวมทั้งกลุ่มธุรกิจน้ำมันและการค้าปลีก มีผลการดำเนินงานลดลง ตามกำไรขั้นต้นเฉลี่ยต่อลิตรและปริมาณขายเฉลี่ยที่ลดลง
นอกจากนี้ กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ มีผลการดำเนินงานลดลง จากธุรกิจโรงแยกก๊าซฯ ตามต้นทุนขายที่เพิ่มขึ้นมากเนื่องจากมีการเริ่มใช้นโยบาย Single Pool ในการคำนวณราคาก๊าซฯ ในปีนี้ และปริมาณขายลดลง แม้ว่าราคาขายโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ประกอบกับ ผลการดำเนินงานของบริษัทย่อยในกลุ่มธุรกิจก๊าซฯ ปรับลดลง โดยหลักจาก บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด (PTTLING) เนื่องจากมีการลดสัดส่วนการถือหุ้นในโครงการ LNG Receiving Terminal แห่งที่ 2 (LMPTZ) ขณะที่ธุรกิจจัดหาและจัดจำหน่ายก๊าซฯ และธุรกิจก๊าซธรรมชาติสำหรับ
ยานยนต์ (NGV) มีกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นจากต้นทุนค่าเนื้อก๊าซฯ ที่ปรับลดลงตามราคา Pool Gas นอกจากนี้ ธุรกิจระบบท่อส่งก๊าชฯมีผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้น ตามปริมาณการจองใช้ท่อส่งก๊าซฯ ที่เพิ่มขึ้น
ส่วนงวด 9เดือนแรกของปี2567 ปตท.และบริษัทย่อย มีกำไรสุทธิ 80,761ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันที่มีกำไรสุทธิ 79,259 ล้านบาท มาจากกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น ขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์ลดลง รวมทั้งภาษีเงินได้ลดลง ขณะที่ EBITDA ลดลง
ในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ ปตท. และบริษัทย่อย มียอดขาย 2,366,080 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.2% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนและมี EBITDA จำนวน 302,943 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยหลักจากกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น ซึ่งธุรกิจการกลั่นมีผลการดำเนินงานลดลง ส่วนใหญ่จาก Maket GRM ที่ลดลงจาก 7.9 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในงวด 9เดือนปี2566 เป็น 4.5 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรลในงวด9เดือนปี2567 จากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปกับน้ำมันดิบปรับลดลง และมีผลขาดทุนสต๊อกน้ำมันเพิ่มขึ้น ซึ่ง ปตท. และบริษัทย่อยมีผลขาดทุนสต๊อกน้ำมันในงวด 9เดือนปี2567 ประมาณ 14,000 ล้านบาท ขณะที่ช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นกำไรประมาณ 10,000ล้านบาท
ส่วนธุรกิจปิโตรเคมีมีผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้นตามส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ มีผลการดำเนินงานลดลงจากรับรู้ผลขาดทุนของการ Mark-to-maket ของสินค้าระหว่างการขนส่ง กลุ่มธุรกิจน้ำมันและการค้าปลีกมีผลการดำเนินงานลดลง จากปริมาณขายเฉลี่ยที่ลดลง ประกอบกับกลุ่มธุรกิจก๊าซฯ มีผลการดำเนินงานลดลงจากธุรกิจโรงแยกก๊าซฯ มีกำไรขั้นต้นลดลงจากต้นทุนขายที่เพิ่มขึ้นจากผลกระทบของการเริ่มใช้นโยบาย Single Pool ในปีนี้ แม้ว่าราคาขายเฉลี่ยและปริมาณขายปรับเพิ่มขึ้น
กลุ่มธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมีผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้นจากบริมาณขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าราคาขายเฉลี่ยปรับลดลง
สำหรับฐานะการเงินของ ปตท. และบริษัทย่อย ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้นจำนวน 3,314,274ล้านบาท ลดลง 4.2% จาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 ที่มีสินทรัพย์รวมจำนวน 3,460,462 ล้านบาท