xs
xsm
sm
md
lg

ครม.เห็นชอบฯ แผนปฏิบัติการด้านภูมิสารสนเทศของประเทศ กภช.บูรณาการข้อมูลผ่าน NGIS แพลตฟอร์มสร้างเศรษฐกิจใหม่

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า ท่านอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ ให้ความสำคัญต่อการใช้งานข้อมูลภูมิสารสนเทศมาก ซึ่งข้อมูลต่างๆ มีประโยชน์ต่อการใช้งานเพื่อความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งเมื่อวานนี้ (12 พฤศจิกายน 2567) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านภูมิสารสนเทศของประเทศ ระยะ 5 ปี และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นกรอบทิศทางและแนวทางดำเนินงาน โดยภายใต้แผนดังกล่าวได้กำหนดเป้าหมายให้ประเทศไทยมีความพร้อมด้านระบบภูมิสารสนเทศเพื่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยแผนฯ ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) การพัฒนาชั้นข้อมูลพื้นฐานของประเทศให้มีความพร้อม 2) การพัฒนาระบบให้บริการกลางของประเทศ รวมถึงส่งเสริมการเปิดเผยข้อมูลภูมิสารสนเทศ 3) การพัฒนาบุคลากรและนวัตกรรมภูมิสารสนเทศ และ 4) การส่งเสริมการสร้างเศรษฐกิจด้วยภูมิสารสนเทศ ซึ่งงานในวันนี้ถือเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนความสำเร็จตามเป้าหมายของแผน

ทุกวันนี้ข้อมูลเชิงพื้นฐานมีความสำคัญต่อการกำหนดนโยบายของรัฐ การพัฒนาประเทศทั้งการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการภัยพิบัติ การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

แต่เนื่องจากข้อมูลทั้งหลายกระจัดกระจายกันอยู่ในแต่ละหน่วยงาน รวมถึงยังบูรณาการอยู่ในเฉพาะภาครัฐทำให้ประชาชนทั่วไปหรือหน่วยงานเอกชนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ แต่ในอนาคตคณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติกำลังทบทวนนโยบายในการกำหนดชั้นข้อมูล การจัดทำ ปรับปรุงข้อมูล รวมถึงนโยบายในการให้บริการที่ต้องเกิดการเผยแพร่ให้ภาคเอกชน ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ในทุกมิติ

ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการ GISTDA ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กภช. กล่าวว่า ระบบ NGIS Platform เป็นระบบกลางของประเทศที่ทำหน้าที่บูรณาการข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ ซึ่งการบูรณาการนี้ไม่ได้เป็นการนำข้อมูลมาไว้ที่ GISTDA แต่เป็นการเชื่อมโยงข้อมูลจากต้นทางโดยตรง ซึ่งการเปิดตัวระบบในวันนี้ถือเป็นก้าวแรกในการบูรณาการข้อมูลภูมิสารสนเทศสำหรับประชาชน แต่ความสำคัญของการขับเคลื่อนคือการสร้างความร่วมมือจากหลายภาคส่วนเพื่อดำเนินการเชื่อมโยงข้อมูลเข้ามาและการแบ่งปันทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ซึ่งจะช่วยเสริมศักยภาพการทำงานในทุกมิติไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม เศรษฐกิจ และการศึกษาของประเทศ

โดยที่ผ่านมา กภช.ได้ดำเนินการพัฒนามาตรฐานภูมิสารสนเทศ การพัฒนาระบบสืบค้นและบริการภูมิสารสนเทศกลางของประเทศ การพัฒนาองค์ความรู้ให้กับบุคลากรภาครัฐในระดับท้องถิ่นให้สามารถเข้าถึงการบริการทางภาครัฐ และนำโครงสร้างพื้นฐานภูมิสารสนเทศของประเทศไปพัฒนากระบวนงานบริหารจัดการเชิงพื้นที่และสนับสนุนข้อมูลต่อการตัดสินใจในระดับนโยบาย ซึ่งแผนปฏิบัติการด้านภูมิสารสนเทศของประเทศนี้ มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ของประเทศตามนโยบายรัฐบาลที่จะช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย


กำลังโหลดความคิดเห็น