xs
xsm
sm
md
lg

หัวเว่ย เดินหน้าธุรกิจ-องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน ดึงดีเอ็นเอ “Self Disruption”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

  • • เป้าหมาย: ขับเคลื่อนองค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน
  • • กลยุทธ์: "Self Disruption" เพื่อพัฒนานวัตกรรม
  • • ผลลัพธ์: เติมเต็มศักยภาพธุรกิจในยุคดิจิทัล


นางสาวศิริลักษณ์ สุคนธมัต ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่(ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบัน Digital Intelligence ได้มีบทบาทสำคัญในการดำเนินธุรกิจแทบทุกองค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งทางหัวเว่ยให้ความสำคัญและมุ่งมั่นในการคิดค้นโซลูชันเทคโนโลยี รวมถึงพัฒนานวัตกรรมใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าและดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
 
ในปีที่ผ่านมา หัวเว่ยได้ทุ่มทุนในด้านวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) ทั่วโลกมากถึง 23 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ หรือ ประมาณ 1,200 ล้านบาท ถือได้ว่าเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่ลงทุนด้าน R&D มากที่สุดในโลก

ปัจจุบัน หัวเว่ย ได้รับรางวัลพระราชทานความเป็นเลิศด้านสินค้าและบริการ 2023 จากสมาคมจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย ประกอบธุรกิจ 5 กลุ่มหลักในไทย ได้แก่ กลุ่มโทรศัพท์มือถือ รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ อาทิเช่น Health Indicator กลุ่ม Telecommunications อย่าง 5G กลุ่ม Cloud Computing เช่น AI, Blockchain, IoT กลุ่ม Network Client Enterprise อย่าง Wi-Fi 7 และกลุ่ม Digital Power เช่น Solar System, EV Technology เพื่อตอบสนองความต้องการและแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้อย่างตรงจุดและรวดเร็ว  
 
“ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ไม่มีองค์กรหรืออุตสาหกรรมไหนไม่กล่าวถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยี (Innovation & Technology) แต่ในวันนี้ ทุกคนล้วนแล้วแต่พูดถึง AI แต่จริงๆ แล้ว AI เป็นเพียงเบื้องหน้าเท่านั้น ซึ่งก่อนที่จะกลายมาเป็น AI ได้นั้น เกิดจาก Data จำนวนมหาศาลที่ไม่ได้ผ่านการคัดกรองความถูกต้อง และหลายๆ องค์กรก็อยากที่จะให้ Data เหล่านี้เชื่อมถึงกัน จึงเป็นที่มาของเทคโนโลยีที่ 2 คือ Connectivity เพื่อทำให้ข้อมูลทั้งหมดเชื่อมถึงกัน  ซึ่งหลายๆ หน่วยงาน หลายๆ อุตสาหกรรมก็อยากที่จะทำให้ข้อมูลทั้งหมดเชื่อมถึงกัน เทคโนโลยี AI จึงเกิดขึ้น” นางสาวศิริลักษณ์ กล่าว
 
สำหรับวิสัยทัศน์ของหัวเว่ย คือ การนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในภาคธุรกิจได้อย่างสมบูรณ์แบบ บริษัทจึงได้เข้ามาลงทุนในเรื่อง Cloud Computing ในประเทศไทยอย่างจริงจัง เพื่อเปิด Global Cloud Platform Data Center เป็นรายแรก ปัจจุบันหัวเว่ยมี Data Center 3 แห่งในไทย เพื่อตอบสนองความต้องการ Localized Solution ที่มีสูงมาก นอกจากนี้ หัวเว่ยได้เล็งเห็นถึงโอกาสและศักยภาพในการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้งานได้อย่างครอบคลุม เช่น ในเรื่องของ Healthcare ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพด้วยเทคโนโลยี AI ของผู้ป่วยในแต่ละรายแบบเฉพาะเจาะจง และตรวจจับภาวะความผิดปกติแจ้งเตือนผู้ใช้งานได้ทันท่วงที เพื่อลดภาระของระบบสาธารณสุขโดยรวม หรือแม้กระทั่งการรักษาผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกลผ่านเทคโนโลยี 5G ที่มีความเสถียรและมีประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูล
 
“หากย้อนไปดูในแต่ละ Technology เราจะไม่มีทางพัฒนากันได้เร็วขนาดนี้ถ้าไม่มีหัวเว่ย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องTelecommunications ที่เราใช้ 5G กันอยู่ในขณะนี้ และในปีหน้าเราจะมี 5.5G ซึ่งเร็วกว่านี้ถึง 10 เท่า ส่วนตลาดของ Cloud Computing การปรับตัวในไทยจะไม่รวดเร็วขนาดนี้ ถ้าหัวเว่ยไม่เข้ามาลงทุน แล้วเราก็จะทำต่อในด้านการพัฒนา Ecosystem ที่สามารถจะพัฒนาโซลูชั่นต่างๆ ในอุตสาหกรรมได้ทั้งหมด ส่วนในเรื่องของพลังงานโซลาร์ (Solar Energy) ก็จะไม่เร็วขนาดนี้ ถ้าเราไม่มีระบบ Solar Inverter ที่มีความปลอดภัย เป็นต้น ใน DNA ขององค์กรหัวเว่ย เราเชื่อว่า การเดินลุยไปข้างหน้า และ Self Disrupt ตัวเองตลอดเวลา ทำในสิ่งที่ดีขึ้นไปเรื่อยๆ ธุรกิจก็จะเติบโตอย่างยั่งยืนเช่นกัน” นางสาวศิริลักษณ์ กล่าวทิ้งท้าย


กำลังโหลดความคิดเห็น