- - ปลาหมอคางดำเคยเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติ
- - ทุกภาคส่วนร่วมมือกันกำจัดและควบคุมประชากรอย่างเข้มข้น
- - ปริมาณปลาหมอคางดำลดลงในทุกจังหวัดที่พบ
- - หนึ่งในแนวทางที่ช่วยลดจำนวนปลาหมอคางดำได้อย่างมีประสิทธิภาพคือ.... (เนื้อหาในส่วนนี้หายไป ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม)
ปลาหมอคางดำ ที่เคยเป็นวาระแห่งชาติ ที่ทุกภาคส่วนผนึกพลังช่วยกันกำจัดและควบคุมประชากรอย่างเข้มข้น จนส่งผลให้ทุกวันนี้ปริมาณปลาหมอคางดำลดลงในทุกจังหวัดที่ประกาศพบปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำ หนึ่งในแนวทางที่ช่วยลดปริมาณปลาหมอคางดำได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ การนำปลาชนิดนี้มาใช้ประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ ใช้เป็นวัตถุดิบมาปรุงอาหารบริโภคในครัวเรือน แปรรูปเป็นเมนูอาหาร หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ไม่เพียงช่วยหยุดการแพร่กระจายของปลาหมอคางดำ ยังพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส สร้างความมั่นคงทางอาหารและทางเศรษฐกิจให้กับคนไทย
จากการรณรงค์ให้ทุกคนทุกหน่วยงานมีส่วนร่วมในการกำจัดปลาหมอคางดำ นอกจากจะนำไปทำปลาป่นหรือเป็นอาหารให้กับเป็ด ปลาหมอคางดำสามารถบริโภคได้ เป็นแหล่งโปรตีนที่มีรสชาติใกล้เคียงกับปลานิลที่เป็นปลายอดนิยมของคนไทย กระตุ้นให้เกิดความต้องการบริโภคเมนูปลาหมอคางดำกันอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้หลายจังหวัดเกิดการสร้างสรรค์เมนูปลาหมอคางดำที่หลากหลาย ได้ทั้งเมนูคาว หวาน อาทิ น้ำยาขนมจีน ปลาทอดกระเทียมพริกไทย ปลาผัดฉ่า แกงส้ม น้ำพริก สามารถพัฒนาเป็นของทานเล่น อย่าง ข้าวเกรียบปลา หรือทำเป็นอาหารฟิวชั่น เช่น สเต๊กปลา ซูชิปลา เป็นเมนูขึ้นโต๊ะระดับภัตตาคารก็อร่อยไม่แพ้กัน
ที่ผ่านมา หลายจังหวัดยังได้ส่งเสริมให้ชาวบ้านช่วยกันจับขึ้นมาบริโภคในครัวเรือน โดยเฉพาะในจังหวัดนนทบุรีที่ครัวเรือนที่อยู่ริมคลองได้ช่วยกันจับปลาขึ้นมาบริโภคทุกวัน ซึ่งมีส่วนช่วยกำจัดปลาหมอคางดำวันละ 10-20 กิโลกรัมเป็นการช่วยลดจำนวนปลาหมอคางดำได้รวดเร็ว นอกจากการรับประทานกันเองในครัวเรือน หลายชุมชนยังได้ระดมสมองรังสรรค์เมนูอาหารใหม่ๆ จากปลาหมอคางดำ นอกจากจะช่วยส่งเสริมให้มีการบริโภคอย่างกว้างขวาง เมนูพิเศษยังช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนและชิมเมนูอร่อยที่สร้างสรรค์จากปลาหมอคางดำกันมากขึ้น
จากเฟซบุ๊คของโรงแรมชั้นนำ 2 แห่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช อย่างโรงแรมทวินโลตัสร่วมมือกับจังหวัดและกรมประมง จัดกิจกรรมแข่งขัน Food Festival ค้นหาสุดยอดเมนูปลาหมอคางดำ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการลด-กำจัดปลาหมอคางดำให้เกิดประโยชน์ โดยการแปรรูปปลาหมอคางดำและสามารถนำไปสร้างรายได้ในอนาคต และยังได้โชว์ภาพเมนูพิเศษจากปลาหมอคางดำ เช่น เมนูข้าวผัดน้ำพริกปลาหมอคางดำ พิซซ่าหน้าปลาหมอคางดำ สปาเก็ตตี้ผัดพริกกระเทียมกับปลากรอบ ส่วนโรงแรมแกรนด์ ฟอร์จูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้พัฒนาเมนูอาหารจีนจากปลาหมอคางดำให้นักท่องเที่ยวได้เลือกรับประทาน และยังพัฒนาเป็นเมนูเครื่องดื่ม “แตงโมปลาแห้ง” นำแตงโมมาทำเป็นกรานิต้า หวานเย็น เสิร์ฟพร้อมกับแตงโมหั่นเต๋าท็อปหน้าด้วยปลาหมอคางดำป่นอบแห้ง เพื่อสร้างความประทับใจให้กับแขกที่มาพักโรงแรม
ขณะเดียวกัน ยังมีตัวอย่างการแปรรูปปลาหมอคางดำให้เป็นเมนูนิยมประจำท้องถิ่นอีกหลายเมนู อาทิ น้ำพริกหนุ่ม แหนม ปลาแดดเดียว ปลารมควัน ปลาร้า น้ำปลา ซึ่งเมนูเหล่านี้สามารถยกระดับเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ ช่วยสร้างงานสร้างรายได้ให้กับชุมชนจากการจำหน่ายทั้งในชุมชนและส่งออกไปยังตลาดอื่นๆ
“จิตรกร บัวดี” เกษตรกรชาวเพชรบุรีได้นำปลาหมอคางดำมาใช้เป็นวัตถุดิบหมักเป็น “น้ำปลาแท้” ตราชาววังเพื่อจำหน่ายในชุมชน และยังได้ร่วมมือกับกรมประมงและกรมราชทัณฑ์ ถ่ายทอดความรู้การผลิตน้ำปลาให้กับผู้ต้องขังเรือนจำกลางสมุทรสงครามพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ราชทัณฑ์ “น้ำปลา ตราหับเผย แม่กลอง” และให้ผู้ต้องขังได้มีทักษะอาชีพในอนาคตต่อไป
การแปรรูปปลาหมอคางดำเป็นตัวอย่างที่ดีของการนำปัญหาสิ่งแวดล้อมมาสร้างเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นแหล่งโปรตีนที่มีคุณค่า ช่วยให้ผู้คนสามารถเข้าถึงปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ช่วยลดภาระค่าครองชีพของประชาชน ขณะเดียวกันยังเป็นโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่น ทั้งในด้านการผลิต การแปรรูป การจัดจำหน่าย จากวิกฤติปัญหา สู่การสร้างความมั่นคงทางอาหาร และความมั่นคงทางเศรษฐกิจทั้งในระดับครัวเรือนและระดับชุมชนอีกด้วย