- • โลกกำลังเปลี่ยนไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล
- • เทคโนโลยีดิจิทัลขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนโลกออนไลน์
- • คอนเทนต์ครีเอเตอร์เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล
- • อาชีพคอนเทนต์ครีเอเตอร์เติบโตสูง แม้เศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัว
- • คอนเทนต์ครีเอเตอร์ต้องปรับตัวให้ทันกับแพลตฟอร์มใหม่ๆ
การตลาด - โลกกำลังก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลอยู่บนโลกออนไลน์ คอนเทนต์ครีเอเตอร์จึงเป็นอีกหนึ่งกลไกที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่มีการเติบโตสูง สวนกระแสสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ชี้คอนเทนต์ ครีเอเตอร์ ก้าวทัน แพลตฟอร์มใหม่ เน้นสนุก เนื้อหาแน่น ทัชใจ
อย่างไรก็ตาม แม้คอนเทนต์ครีเอเตอร์ ซึ่งหมายถึง บล็อกเกอร์ อินฟลูเอนเซอร์ จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการทำการตลาด ทั้งในมิติของการช่วยสร้างการรับรู้ถึงแบรนด์และสินค้าหรือบริการในเชิงบวก (Brand Awareness) ช่วยสร้างการมีส่วนร่วม (Engagement) กับกลุ่มเป้าหมาย และช่วยกระตุ้นยอดขาย (Sales) แต่ในประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดมาตรฐาน ขอบเขตของการนำเสนอเนื้อหาที่แน่ชัดที่นอกเหนือจากยอดเอนเกจเมนต์
ด้วยเหตุนี้ บริษัท เทลสกอร์ จำกัด ผู้นำด้านอินฟลูเอนเซอร์ มาร์เก็ตติ้งแพลตฟอร์มครบวงจรชั้นนำของไทย ร่วมกับ บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด พร้อมพันธมิตร จัดงาน The Mall Lifestore Presents Thailand Influencer Awards by Tellscore ภายใต้แนวคิด The Future is Yours! งานประกาศรางวัลสุดยอดอินฟลูเอนเซอร์ และสุดยอดอินฟลูเอนเซอร์แคมเปญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี โดยแบ่งรางวัลเป็น Brand & Agency Awards 27 สาขา, Influencer Awards 33 สาขา รวมทั้งสิ้น 60 สาขา
สำหรับเกณฑ์การตัดสิน 5 มิติ ได้แก่ 1. รูปแบบและความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) 2. ลำดับและการเล่าเรื่อง (Storytelling) 3. การเข้าถึงคนส่วนมากได้อย่างมีคุณภาพ (Impact) 4. ศักยภาพในการเติบโตและการดูแลกลุ่มผู้ฟัง (Personal Branding & Community Building) และ 5. สำนึกที่ดีต่อผู้ฟัง, สังคม และสิ่งแวดล้อม (Social Conscience) พร้อมได้รับเกียรติจาก ผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายวงการมาเป็นคณะกรรมตัดสิน ณ เอ็มซีซี ฮอลล์ ศูนย์การค้าเดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ เมื่อวันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 2567
นางสาวสุวิตา จรัญวงศ์ ประธานกรรมการบริหาร และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เทลสกอร์ จำกัด เผยถึงความสำคัญของโซเชียลมีเดียในยุคดิจิทัล ว่า “ปัจจุบันโซเชียลมีเดียได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของผู้คน และเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในระดับประเทศ โดยมีผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียในประเทศไทยถึง 50 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 71.5 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งร้อยละ 55 ของผู้บริโภคชี้ว่า โปรโมชันและส่วนลดจากอินฟลูเอนเซอร์เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พวกเขาติดตามครีเอเตอร์ จึงไม่น่าแปลกใจที่อุตสาหกรรมคอนเทนต์ครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์กลายเป็นหนึ่งในภาคเศรษฐกิจที่สร้างรายได้มหาศาลให้กับคนไทย โดยปัจจุบันมีผู้ทำงานด้านนี้เกือบ 9 ล้านคน แบ่งเป็นครีเอเตอร์แบบ Full-time กว่า 2 ล้านคน และ Part-time เช่น Micro-influencers ที่มีผู้ติดตามในช่วง 1,000-20,000 คน ทั้งหมดนี้มีส่วนสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในประเทศไทยมากกว่า 45,000 ล้านบาทในปี 2024
“นอกจากนี้ เมื่อมองในระดับโลก ขณะนี้มี Content Creators รวมทั้งสิ้น 200 ล้านคนจากจำนวนประชากรโลกกว่า 7,000 ล้านคน ขนาดตลาดคอนเทนต์ครีเอเตอร์ทั่วโลกในปี 2024 ถูกประมาณการไว้ที่ 5.5 ล้านล้านบาท และคาดว่าจะเติบโตถึง 16 ล้านล้านบาท ภายในปี 2030 โดยที่ยังไม่รวมตลาดของประเทศจีน”
นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ได้แก่ ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา (FutureTales Lab by MQDC) และ สถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต (TIMS) ร่วมกันศึกษาแนวโน้มแห่งการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมสื่อคอนเทนต์ ครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์ในอนาคต หรือ foresight study on futures of content creators in 2035,Thailand เพื่อร่วมกันกำหนดทิศทาง นโยบาย และยุทธศาสตร์ต่าง เพื่อให้อุตสาหกรรมนี้เติบโตอย่างเข้มแข็งต่อไป
“งาน Thailand Influencer Awards จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 โดยมุ่งเน้นย้ำศักยภาพของอินฟลูเอนเซอร์และนักการตลาดที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางและสร้างอนาคตเศรษฐกิจไทย งานนี้เป็นการเฟ้นหาอินฟลูเอนเซอร์คุณภาพ เพื่อสร้างตัวอย่างที่ดีให้แก่วงการ พร้อมทั้งส่งเสริมการสร้างมาตรฐานและความเข้มแข็งให้กับคอมมิวนิตีอินฟลูเอนเซอร์ไทย ต่อยอดสู่การยกระดับสู่มาตรฐานสากล
นอกจากนี้เทลสกอร์ยังได้มุ่งสร้าง Ecosystem ผ่านการวิจัยเกี่ยวกับโอกาสและความท้าทายของอุตสาหกรรมนี้ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องเฉลี่ย 20-30% ต่อปี แต่ยังขาดทิศทางที่ชัดเจน นิยามของคอนเทนต์ครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์ในบริบทของสื่อมวลชนยังคงไม่ชัดเจน หากสามารถกำหนดนิยามและสร้างกลไกเชื่อมโยงกับสื่อมวลชนอย่างเหมาะสม จะสามารถช่วยคุ้มครองอินฟลูเอนเซอร์คุณภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมนี้
“ในส่วนของการศึกษาความเป็นไปได้ในอนาคตภายใต้โครงการ “Foresight Study on Futures of Content Creators in 2035, Thailand” เทลสกอร์ได้วิเคราะห์ทิศทางอนาคตใน 6 ด้านหลัก ได้แก่ สังคม (Society), เทคโนโลยี (Technology), เศรษฐกิจ (Economy), สิ่งแวดล้อม (Environment), การเมือง (Politics) และค่านิยม (Values) ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในต้นปี 2025 เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรม คอนเทนต์ครีเอเตอร์ในอนาคต” นางสาวสุวิตา กล่าว
เทลสกอร์ เป็นที่รู้จักในฐานะ มาร์เก็ตติ้งแพลตฟอร์มครบวงจรชั้นนำของไทย เครื่องมือสำคัญที่บริหารจัดการอินฟลูเอนเซอร์และโซเชียลมีเดียครบวงจรในหนึ่งเดียว โดยเทลสกอร์มีการวิเคราะห์แนวโน้มของการทำคอนเทนต์เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดและผู้บริโภค
สุวิตา จรัญวงศ์ ระบุว่า จากปรากฏการณ์น้องหมีเนย หรือ "butter bear" รวมถึง “น้องหมูเด้ง” ที่โด่งดังไปทั่วโลก นำไปสู่การดึงเม็ดเงินมหาศาลให้กับภาคท่องเที่ยว สะท้อนให้เห็นว่า สังคมไทยอยู่ในภาวะเครียดโดยไม่รู้ตัวและต้องการคอนเทนต์ที่มอบความบันเทิง ดังนั้นเทรนด์การทำคอนเทนต์ปี 2025 จะเพิ่มความท้าทายให้กับคอนเทนต์ครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์ ซึ่งปัจจุบันอินฟลูเอนเซอร์หลายคนก็ผันตัวมาเป็นแม่ค้าออนไลน์ด้วย ต้องสร้างสรรค์เนื้อหาที่มีความสนุก แต่ขณะเดียวกันก็ต้องให้ความรู้ และโดนใจผู้ชมนำไปสู่การปิดการขาย
นอกจากปัจจัยด้านการนำเสนอเนื้อหาที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย อีกหนึ่งปัจจัยที่จะสร้างรายได้ให้กับอินฟลูเอนเซอร์มากขึ้น คือ การเกิดแพลตฟอร์มใหม่ๆ ซึ่งอินฟลูฯ ต้องก้าวให้ทัน เพราะแต่ละแพลตฟอร์มจะจับกลุ่มผู้บริโภคต่างกัน รวมถึงการหาความรู้ด้านกลไกเศรษฐศาสตร์ เพื่อเข้าใจระบบเศรษฐกิจ ลดความเสี่ยงในการถูกหลอกให้รีวิวสินค้า หรือ ขายสินค้าที่ให้ค่าตอบสูงผิดปกติ
ด้าน นางสาววรลักษณ์ ตุลาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มการตลาด บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า “ปัจจุบัน ‘อินฟลูเอนเซอร์’ มีบทบาทสำคัญในการสร้างแนวคิดและพฤติกรรมในสังคมดิจิทัล อินฟลูเอนเซอร์ไม่เพียงแต่เป็นผู้ที่มีผู้ติดตามจำนวนมาก แต่ยังเป็นผู้นำทางความคิดที่สามารถส่งต่อคุณค่าและทิศทางใหม่ๆ สู่สังคมได้
การจัดงาน The Mall Lifestore Presents Thailand Influencer Awards by Tellscore เป็นความร่วมมือที่มุ่งยกระดับมาตรฐานของการสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดียของประเทศไทย มุ่งให้ความสำคัญกับคอนเทนต์ที่มีจิตสำนึกต่อสังคม สนับสนุนผู้สร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพและแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์”
ในฐานะผู้นำธุรกิจรีเทล เดอะมอลล์ กรุ๊ป ให้ความสำคัญกับการเลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์ที่สอดคล้องกับ กลยุทธ์การตลาด เพราะผู้สร้างคอนเทนต์กำลังนิยามประสบการณ์การช้อปปิ้งใหม่
• การผสานเล่าเรื่อง (Storytelling Integration) : ผู้สร้างคอนเทนต์ผสานสินค้าเข้ากับเนื้อหาอย่างเป็นธรรมชาติ ทำให้การโปรโมทดูจริงใจ
• การมีส่วนร่วมกับชุมชน (Community Engagement) : พวกเขาสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับผู้ติดตาม โดยตอบสนองต่อความคิดเห็นและเสริมสร้างความภักดีต่อแบรนด์
• การช้อปปิ้งแบบโต้ตอบ (Interactive Shopping) : การถ่ายทอดสดและโพสต์ที่สามารถซื้อได้ทันที ช่วยให้ผู้ติดตามสามารถซื้อสินค้าได้ในเวลาจริงผ่านเนื้อหา
• คำแนะนำเฉพาะบุคคล (Personalized Recommendations) : ผู้สร้างคอนเทนต์เสนอคำแนะนำที่ตรงกับความชอบของกลุ่มผู้ชมและสอดคล้องกับความเชี่ยวชาญของตน
• การกำหนดเทรนด์ใหม่ (Trendsetting Influence) : ด้วยการติดตามความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม พวกเขาแนะนำเทรนด์ใหม่ที่ผู้ติดตามนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว
นางสาววรลักษณ์ กล่าวสรุปว่า “เรามองว่างานนี้ไม่เพียงแต่เฉลิมฉลองความสำเร็จของผู้สร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ แต่ยังเป็นโอกาสในการส่งเสริมการใช้สื่อดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพ สร้างแรงบันดาลใจให้กับแบรนด์และสังคมในการใช้สื่อดิจิทัลที่ยั่งยืนและมีคุณค่า”
ด้าน นางสาววรลักษณ์ ตุลาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มการตลาด บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า “ปัจจุบัน ‘อินฟลูเอนเซอร์’ มีบทบาทสำคัญในการสร้างแนวคิดและพฤติกรรมในสังคมดิจิทัล อินฟลูเอนเซอร์ไม่เพียงแต่เป็นผู้ที่มีผู้ติดตามจำนวนมาก แต่ยังเป็นผู้นำทางความคิดที่สามารถส่งต่อคุณค่าและทิศทางใหม่ๆ สู่สังคมได้
การจัดงาน The Mall Lifestore Presents Thailand Influencer Awards by Tellscore เป็นความร่วมมือที่มุ่งยกระดับมาตรฐานของการสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดียของประเทศไทย มุ่งให้ความสำคัญกับคอนเทนต์ที่มีจิตสำนึกต่อสังคม สนับสนุนผู้สร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพและแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์”
ในฐานะผู้นำธุรกิจรีเทล เดอะมอลล์ กรุ๊ป ให้ความสำคัญกับการเลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์ที่สอดคล้องกับ กลยุทธ์การตลาด เพราะผู้สร้างคอนเทนต์กำลังนิยามประสบการณ์การช้อปปิ้งใหม่
• การผสานเล่าเรื่อง (Storytelling Integration) : ผู้สร้างคอนเทนต์ผสานสินค้าเข้ากับเนื้อหาอย่างเป็นธรรมชาติ ทำให้การโปรโมทดูจริงใจ
• การมีส่วนร่วมกับชุมชน (Community Engagement) : พวกเขาสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับผู้ติดตาม โดยตอบสนองต่อความคิดเห็นและเสริมสร้างความภักดีต่อแบรนด์
• การช้อปปิ้งแบบโต้ตอบ (Interactive Shopping) : การถ่ายทอดสดและโพสต์ที่สามารถซื้อได้ทันที ช่วยให้ผู้ติดตามสามารถซื้อสินค้าได้ในเวลาจริงผ่านเนื้อหา
• คำแนะนำเฉพาะบุคคล (Personalized Recommendations) : ผู้สร้างคอนเทนต์เสนอคำแนะนำที่ตรงกับความชอบของกลุ่มผู้ชมและสอดคล้องกับความเชี่ยวชาญของตน
• การกำหนดเทรนด์ใหม่ (Trendsetting Influence) : ด้วยการติดตามความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม พวกเขาแนะนำเทรนด์ใหม่ที่ผู้ติดตามนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว
นางสาววรลักษณ์ กล่าวสรุปว่า “เรามองว่างานนี้ไม่เพียงแต่เฉลิมฉลองความสำเร็จของผู้สร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ แต่ยังเป็นโอกาสในการส่งเสริมการใช้สื่อดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพ สร้างแรงบันดาลใจให้กับแบรนด์และสังคมในการใช้สื่อดิจิทัลที่ยั่งยืนและมีคุณค่า”