xs
xsm
sm
md
lg

การบินไทย พร้อมทุ่มหมื่นล้าน ลงทุน MRO อู่ตะเภา ดึงบางกอกแอร์เวย์สร่วม ลุ้นอีอีซีเปิดเงื่อนไขใหม่

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

  • • การบินไทย เตรียมลงทุน 1 หมื่นล้านบาท ในโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา (MRO)
  • • ดึงบางกอกแอร์เวย์ส ร่วมลงทุน
  • • ร่วมมือกับพันธมิตรหลายราย ในธุรกิจซ่อมบำรุง
  • • รออีอีซี เปิดเงื่อนไขใหม่ หลังชงครม.ยกเลิกมติเดิม


การบินไทย เตรียมแผนทุ่มงบ 1 หมื่นล้านบาท ลงทุน โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา (MRO) พร้อมดึงบางกอกแอร์เวย์สร่วมทุน รวมถึงพันธมิตรหลายในธุรกิจซ่อมบำรุงร่วมลงทุน ลุ้นอีอีซี เปิดเงื่อนไขใหม่ หลังชงครม.ยกเลิกมติเดิม

นายชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI เปิดเผยถึงแผนการลงทุนในโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา (Maintenance Repair and Overhaul : MRO) ว่า บริษัทได้มีการศึกษาออกแบบรายละเอียดแผนการลงทุน MRO ที่สนามบินอู่ตะเภาไว้หมดแล้ววงเงินลงทุนประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งขณะนี้ ทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี เตรียม เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอยกเลิกมติครม.เมื่อปี 2561ที่ให้การบินไทย ดำเนินโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา (MRO) พื้นที่ 210 ไร่ เนื่องจากการบินไทยพ้นความเป็นรัฐวิสาหกิจ หลังจากนั้น จะมีความขัดเจนในการประมูลโครงการอย่างไร

ทั้งนี้ ไม่ว่า อีอีซีจะเปิดประมูลหรือให้เช่าพื้นที่การบินไทย มีความพร้อมในการเข้าไปลงทุนศูนย์ซ่อม MRO อู่ตะเภา แน่นอนซึ่งที่ผ่านมา การบินไทย ได้หารือกับบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA ในการเข้าร่วมลงทุน MRO  โดยการบินไทยจะถือหุ้นใหญ่ ซึ่งทั้งสองสายการบินมีฝูงบินรวมกันกว่า 100 ลำ และยังเป็นบริษัทของคนไทย คาดว่า THAI จะถือสัดส่วนมากกว่า ซึ่งยังอยู่ระหว่างเจรจาร่วมกัน

นอกจากนี้ยังมีธุรกินด้าน Engine Shop, Component Shop พ่นสี ทำความสะอาดเครื่องบินต่างๆ ที่การบินไทยก็ต้องไปหาผู้ร่วมลงรายย่อยเข้ามาด้วย โดยคาดว่าจะดึงผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้อง MRO เข้าร่วมทุนด้วย

นายชายกล่าวว่า ตามแผนการบินไทยจะแบ่งการลงทุน ศูนย์ซ่อม MRO อู่ตะเภา ออกเป็น 2 ระยะ โดยเฟสแรก จะลงทุนประมาณ 6 พันล้านบาท ประกอบด้วยโรงซ่อมบำรุงเครื่องบิน(แฮงการ์) จำนวน 3 แฮงการ์ สำหรับรองรับเครื่องบิน ลำตัวกว้าง 3 ลำ และเครื่องบินลำตัวแคบ 3 ลำ เฟส 2 ลงทุนอีก 4 พันล้านบาท ขยายโรงซ่อมบำรุงเครื่องบิน 3 แฮงการ์

ตามแผน การลงทุน MRO อู่ตะเภา จะก่อสร้างเฟสแรก เสร็จภายในปี 2572 ซึ่งคาดว่าใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 4 ปี ซึ่งหากสร้างเสร็จก่อนที่สนามบินอู่ตะเภา ก่อสร้างรันเวย์ 2 แล้วเสร็จ อาจจะเจรจากับบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด (UTA) ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ที่จะช่วยก่อสร้างทางขับหรือแท็กซี่เวย์ให้ก่อน


กำลังโหลดความคิดเห็น