xs
xsm
sm
md
lg

"สีแดง" ผู้โดยสารพุ่ง 50% เกินเป้าหมาย เตรียมชง ครม.ต่อมาตรการ 20 บาทตลอดสาย รฟฟท.จ่อผุดฟีดเดอร์ 3 เส้นทาง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



รฟฟท.ชงข้อมูลมาตรการ 20 บาทตลอดสาย ผลตอบรับดีเกินคาด ดันผู้โดยสารเพิ่ม 50% สูงเกินเป้า อัปรายได้กลับมาเท่าจัดเก็บราคาปกติ ด้าน รฟท.เตรียมชงบอร์ด 30 ก.ย.นี้ก่อนเสนอ ครม.ต่อมาตรการปีที่ 2 พร้อมเตรียมผุดฟีดเดอร์ 3 เส้นทางรเข้าสถานีสายสีแดง ตั้งเป้าปี 68 ผู้โดยสารเพิ่ม 10% 

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินมาตรการค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดง 20 บาทตลอดสาย ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตั้งแต่เดือน ต.ค. 2566 ซึ่งจะครบระยะเวลา 1 ปีแล้ว ล่าสุดพบว่ามีตัวเลขผู้โดยสารเพิ่มขึ้นประมาณ 50% ซึ่งสูงกว่าประมาณการที่นำเสนอ ครม.เห็นชอบที่คาดว่าจะมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นจากมาตรการ 20 บาทตลอดสาย 10-15% หรือสูงสุดประมาณ 20% ถือว่า เกินความคาดหมายและประสบความสำเร็จอย่างมาก 

เพื่อดำเนินนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 รฟฟท.ได้สรุปข้อมูลผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมาเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในวันที่ 30 ก.ย.นี้ เพื่อเสนอต่อกระทรวงคมนาคม เสนอ ครม.ต่อขยายระยะเวลาออกไป ซึ่งประเมินว่าปี 2568 ผู้โดยสารจะเติบโตประมาณ 10% 

ปัจจุบันรถไฟชานเมืองสายสีแดงมีขบวนรถ 25 ขบวน ใช้วิ่งให้บริการหมุนเวียน 10 ขบวนต่อวัน สายเหนือ (บางซื่อ-รังสิต) 178 เที่ยว/วัน สายตะวันออก บางซื่อ-ตลิ่งชัน 116 เที่ยว/วัน ความถี่ ในเวลาเร่งด่วน 10 นาที นอกเวลาเร่งด่วน 15 นาที รองรับผู้โดยสารได้ราว 2 แสนคนต่อวัน ซึ่งปัจจุบันผู้โดยสารเฉลี่ย 30,000 คน/วันซึ่ง ล่าสุดทำนิวไฮไปเมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาราว 4.2 หมื่นคน ทั้งปีคาดมีผู้โดยสาร 8-9 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ที่มีเฉลี่ย 19,000คน/วัน และคาดว่าปี 2568 จะมีผู้โดยสารเฉลี่ย 40,000 คน/วัน  

ทั้งนี้ แม้มาตรการ 20 บาทตลอดสายรายได้ต่อคนจะหายไปราว 10 บาท เนื่องจากค่าเฉลี่ย ก่อนมาตรการจะใช้อัตราค่าโดยสารที่ 30 บาท/คน หลังใช้มาตรการ 20 บาทตลอดสายผู้โดยสารเพิ่มขึ้นประมาณ 50% ทำให้รายได้กลับเข้ามาเท่ากับ ค่าเฉลี่ยค่าโดยสาร 30 บาท/คย

“ตามปกติรถไฟฟ้าแต่ละเส้นทางจะรีเทิร์นได้ราว 9-10 ปี ล่าสุดสายสีแดงพบว่าราว 3 ปีสามารถทำได้สำเร็จ ดังนั้นก็จะเทียบเท่าต้นทุนพื้นฐานการเดินรถไฟสายสีแดงราว 8.4 หมื่นคนต่อวัน โดยสถานีดอนเมืองจะเห็นภาพปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้นชัดเจน”

นอกจากนี้ รฟฟท.ประเมินว่ากันยายนปี 2568 จะเชื่อมได้หลายสายมากขึ้น เช่นการ เชื่อมสายสีแดงกับสายสีม่วงที่บางซ่อน ยังคาดว่าปริมาณผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นราว 10-20% มั่นใจว่าปี 2568 จะเพิ่มอีกไม่น้อยกว่า 15%


@จ่อผุดฟีดเดอร์ 3 เส้นทาง นำร่องก่อน 3 เดือน

นายสุเทพกล่าวว่า ขณะนี้เตรียมทดลองทำฟีดเดอร์เชื่อม 3 พื้นที่กัยรถไฟสายสีแดง ได้แก่ 1.สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-ตลาดนัดจตุจักร โดยใช้รถของรฟฟท.ให้บริการจำนวน 4 คัน เส้นทางวิ่งจะใช้พื้นที่ถนนด้านรอบสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์เป็นหลัก กำหนดระยะเวลาวิ่งตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น. เริ่ม 5 ตุลาคม 2567 เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ ทดลองวิ่งให้บริการระยะเวลา 3 เดือน

เส้นทางที่ 2 เชื่อมจากตลิ่งชัน-สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสบางหว้า โดยรถชัตเติ้ลบัสของมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ให้บริการโดยจะขอให้ผ่านจุดรับ-ส่งที่สถานีรถไฟชานเมืองสายสีแดงตลิ่งชัน

เส้นทางที่ 3 เชื่อมศูนย์ราชการ ผ่านรถไฟฟ้าสายสีแดง หลักสี่และผ่านศูนย์การแพทย์จุฬาภรณ์ (เส้นทางหมายเลข 8) ด้านหลังศูนย์ราชการคาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะชัดเจน


กำลังโหลดความคิดเห็น