- 1. นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เดินทางไปตรวจสอบเหตุการณ์สารเคมีรั่วไหลที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและระยอง
- 2. นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และนายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ร่วมเดินทางไปตรวจสอบสถานการณ์
- 3. เป้าหมายคือการประสานงานและติดตามความคืบหน้าในการบรรเทาสารเคมีรั่วไหล และให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ
- 4. ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายละเอียดของเหตุการณ์และการดำเนินการช่วยเหลือยังไม่ได้รับการเปิดเผย
นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และ นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบรรเทาสารเคมีรั่วไหลที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และระยอง ผ่านกิจกรรม “อุตสาหกรรมรวมใจ บรรเทาปัญหาสารเคมีรั่วไหล” และมอบใบประกาศเกียรติคุณให้ผู้ประกอบการกว่า 58 ราย เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2567
นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ปัญหาการลักลอบทิ้งกากของเสียอุตสาหกรรมและการจัดการกากพิษที่ไม่ถูกต้อง นำไปสู่การรั่วไหลแพร่กระจายของสารมลพิษปนเปื้อนในหลายพื้นที่ ก่อให้เกิดความเสียหายและส่งผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชน ตนจึงได้สั่งการให้เร่งปฏิรูปอุตสาหกรรม ด้านการจัดการกาก สารพิษ ให้กระทรวงอุตสาหกรรมเดินหน้าแก้ไขกฎหมายเพิ่มโทษ เพื่อให้ผู้ลักลอบทิ้งเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น รวมทั้งให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ในการทำงาน อย่าได้เกรงกลัวต่ออิทธิพลใดๆ
นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการ
ตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยวันนี้ (18 กันยายน 2567) กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้จัดกิจกรรม “อุตสาหกรรมรวมใจ บรรเทาปัญหาสารเคมีรั่วไหล” เพื่อมอบใบประกาศเกียรติคุณให้ผู้ประกอบการที่สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ในการระงับเหตุและบรรเทาปัญหาสารเคมีรั่วไหล เช่น หน้ากากป้องกันสารเคมีและอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล หินและทรายเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของสารเคมี หินปูนและสารเคมีเพื่อระงับการเกิดปฏิกิริยา ฯลฯ
นอกจากนี้ เพื่อให้เกิดการจัดการกากพิษที่อาจแพร่กระจายได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน พร้อมเร่งดำเนินการปรับปรุงกฎหมาย
“ขอเชิญชวนผู้ประกอบการที่มีความปรารถนาดี มีน้ำใจ ผนึกกำลังผ่าน “โครงการอุตสาหกรรมรวมใจ” โดยให้การสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ กำลังคน เครื่องจักร หรือการให้ความช่วยเหลือต่างๆ เพื่อร่วมด้วยช่วยกันเป็นหนึ่งกำลังในการย้ำว่าภาคอุตสาหกรรมสามารถอยู่คู่ประชาชนและสังคมได้อย่างยั่งยืน” นายณัฐพลกล่าว