xs
xsm
sm
md
lg

“พิมพ์ภัทรา”สานสัมพันธ์ภาครัฐ-นักลงทุนจีน ต่อยอดความร่วมมือด้านศก.อุตฯ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“พิมพ์ภัทรา” เยือนจีนหารือหน่วยงานภาครัฐและนักลงทุนต่อยอดพัฒนาความร่วมมือด้านเศรษฐกิจอุตฯกับไทยทั้งในด้านการลงทุน การถ่ายทอดเทคโนโลยี การจ้างงาน ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรเพื่อประโยชน์ร่วมกัน

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยภายหลังนำทีมคณะผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสถาบันยานยนต์ เยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนในระหว่างวันที่ 30 – 31 พฤษภาคม 2567 ว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้หารือกับนักลงทุนสาขาอุตสาหกรรมเพื่อสนับสนุนความร่วมมือด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ณ นครเซี่ยงไฮ้ มณฑลเจียงซู และมณฑลหูหนาน ในการเสริมสร้างความเข้าใจความเชื่อมั่นและแสดงความพร้อมของไทยให้กับนักลงทุนจีนที่จะเข้ามาลงทุนอุตสาหกรรมการผลิตในไทยเพื่อให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ รวมถึงกลไกการดำเนินงานระหว่างไทยและจีนได้อย่างมั่นคงต่อไป

โดยหารือนักลงทุนสาขาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การดำเนินโครงการ “การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้กับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์สู่อุตสาหกรรมที่มุ่งสู่ระบบการขนส่งและเคลื่อนที่อัจฉริยะ : ระบบขับขี่อัตโนมัติ (ADAS)ยานยนต์สมัยใหม่ ระบบราง ชิ้นส่วนอากาศยาน ชิ้นส่วนอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์สําหรับผู้สูงวัย” สนับสนุนโดยกองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง โดยได้หารือและเยี่ยมชม 3 หน่วยงาน ได้แก่ 1. SAIC Motor Co., Ltd (สำนักงานใหญ่) เซี่ยงไฮ้ บริษัทรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในตลาดหุ้นของจีน และเป็นบริษัทรถไฟฟ้ารายแรก ๆ ที่เข้ามาลงทุนในไทยตั้งแต่ปี 2556 ผ่านการร่วมทุนกับเครือ CP จำหน่ายรถยนต์ MG โดยเสนอนโยบาย EV 3.5 ในการสนับสนุนการผลิตและจำหน่ายยานยนต์ไฟฟ้า และได้ขอให้บริษัทฯ เห็นความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรร่วมกันเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่


2. United Auto Battery Co., Ltd บริษัทผลิตแบตเตอรี่เทคโนโลยีใหม่เพื่อเป็นฐานการผลิตและบริหารจัดการแบตเตอรี่อย่างยั่งยืน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมห่วงโซ่อุทานของอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์พลังงานใหม่ในจีน โดยใช้การผลิตด้วยเครื่องจักรกลอัจฉริยะเป็นหลัก 3. SVOLT Energy Technology บริษัทพัฒนาจากหน่วยผลิตแบตเตอรี่และวัสดุสำหรับเก็บพลังงานของบริษัท Great Wall Motors (GWM) ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง ปัจจุบันได้มีการร่วมทุนกับบริษัทของไทย และอยู่ระหว่างการขอรับการส่งเสริมการลงทุน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการจ้างงาน ฝึกอบรมบุคลากร ถ่ายทอดเทคโนโลยี ตลอดจนสร้างห่วงโซ่อุปทานครบวงจรไปจนถึงการจัดการหลังสิ้นสุดอายุการใช้งาน รวมถึงได้มีการลงนาม MOU ร่วมกับมหาวิทยาลัยในประเทศไทยแล้ว

นอกจากนี้ เดินทางไปเยือนนครฉางซา มณฑลหูหนาน ซึ่งนายเหมา เว่ย หมิง ผู้ว่าการมณฑลหูหนานได้นำเสนอศักยภาพของมณฑลหูหนานที่เป็นแหล่งอุตสาหกรรมหลักของประเทศจีน อาทิ ยานยนต์สมัยใหม่ รถไฟ อากาศยาน ดิจิทัล เทคโนโลยีสารสนเทศ หุ่นยนต์ เครื่องจักรกลอัตโนมัติ และอุตสาหกรรมการเกษตร รวมถึงมีความพร้อมด้านสถานศึกษาเพื่อรองรับภาคอุตสาหกรรม โดยเห็นว่าไทยและหูหนานมีศักยภาพในการเกื้อกูลได้ในหลายสาขาอุตสาหกรรม


ทั้งนี้รมว.อุตสาหกรรม ขอบคุณรัฐบาลจีนที่สนับสนุนการเข้ามาลงทุนภาคอุตสาหกรรมในไทยเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนนโยบายการสนับสนุนและพัฒนาในสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทยผ่านมาตรการเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าและพลังงานสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมของภาครัฐโดยเห็นพ้องในการพัฒนาความร่วมมือด้านการศึกษา วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว รวมทั้งความร่วมมือกับกระทรวงอุตสาหกรรมในช่วงปลายปี 2567 ในงานแสดงสินค้า Hunan Equipment and Manufacturing ครั้งที่ 3 เพื่อแสดงศักยภาพของภาคอุตสาหกรรมของมณฑลหูหนานให้กับผู้ประกอบการไทย และสร้างเครือข่ายการผลิตระหว่างกัน

จากนั้นได้เข้าหารือกับนักลงทุนจีน เพื่อกระชับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและการลงทุน อาทิ SANY Group ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องจักรกลหนักสำหรับอุตสาหกรรมการก่อสร้าง เหมืองแร่ และการเกษตร , ZOOMLION ผู้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีด้านเครื่องจักรกลหนักระดับโลก โดยบริษัทฯ มีความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนตั้งฐานการผลิตในไทยเพื่อส่งออกไปในภูมิภาคเอเชียด้วย และ Wasion บริษัทชั้นนำด้านการผลิตมาตรวัด และระบบการบริหารจัดการประสิทธิภาพเกี่ยวกับพลังงาน ได้แก่ น้ำ ไฟฟ้า แก๊ส และความร้อน โดยมีการพัฒนาทั้งสินค้าและบริการด้วยระบบดิจิทัลและ Internet of things เพื่อให้การส่งพลังงานมีเสถียรภาพ สามารถป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรได้ และมีแผนการขยายการทุนในไทยอีกด้วย


“การเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนในครั้งนี้ เป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ในระดับนโยบายเพื่อการพัฒนาความร่วมมือด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระหว่างไทยและจีน โดยเป็นการผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระดับมณฑลซึ่งมีศักยภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งได้รับการตอบรับและการสนับสนุนเป็นอย่างดีทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการของจีน สำหรับนครเซี่ยงไฮ้และมณฑลเจียงซูที่อยู่ติดกันมีศักยภาพในด้านยานยนต์สมัยใหม่ แบตเตอรี่ รวมถึงระบบการขนส่งและการเคลื่อนที่อัจฉริยะ ในขณะที่มณฑลหูหนานที่อยู่ตอนกลางของประเทศมีศักยภาพในด้านการผลิตเครื่องจักรกลหนัก และการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ซึ่งสามารถต่อยอดการพัฒนาความร่วมมือด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมกับไทยได้อีกมาก”


กำลังโหลดความคิดเห็น