xs
xsm
sm
md
lg

“ชายสี่” ใช่มี แค่หมี่เกี๊ยว ขายแฟรนไชส์ 7แบรนด์ ลุยเทคโอเวอร์-ร่วมทุนตปท.

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



การตลาด – เปิดแผน “ชายสี่” เดินเกมรุกสู่ สตรีทฟู้ดมหาชน ตัวจริง เปิดกลยุทธ์ ขายแฟรนไชส์ 7 แบรนด์ในเครือ พร้อม ลุยซื้อกิจการถือหุ้นใหญ่แบรนรด์ดังเข้าพอร์ต นำร่อง ก๋วยเตี๋ยวเรือเสือร้องไห้อยุธยา สยายปีกต่างประเทศร่วมทุนผุดฐานผลิตเส้นพร้อมบุกตลาดต่างประเทศเจาะร้านอาหาร ช่องทางค้าปลีกเต็มตัว


“วันนี้เมื่อธุรกิจเติบโตขึ้นอย่างมาก ประกอบกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถึงเวลาที่เราจะต้องยกระดับธุรกิจและองค์กรให้สอดรับและเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง จึงเปิดโอกาสให้ผู้บริหารมืออาชีพรุ่นใหม่ เข้ามาเติมไฟให้กับธุรกิจ เดินหน้าสู่การทรานส์ฟอร์มภายใต้ชื่อ “ชายสี่ คอร์ปอเรชั่น” ส่งมอบอาหารและบริการที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้า และพร้อมขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตต่ออย่างมั่นคงและยั่งยืน เพื่อการก้าวสู่การเป็น “สตรีทฟู้ดมหาชน” ให้ได้”

นี่เป็นคำกล่าวของ นายพันธ์รบ กำลา ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ชายสี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้ก่อตั้ง ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว
ชายสี่ ในวันนี้ีอายุมากกว่า 30 ปีแล้ว ถือว่ามาได้ไกลมาก จากจุดเริ่มต้นในการเปิดร้านแรกเมื่อปี 2537 เป็นต้นมา และผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างโชกโชน ซึ่ง พันธ์รบ ผู้ก่อตั้งเองก็ยังมีความมั่นใจว่า ปี 2567 นี้ ชายสี่กรุ๊ป จะต้องสร้างรายได้รวมไม่ต่ำกว่า 1,500 ล้านบาท หรือเติบโตมากถึง 25% จากปีที่แล้ว

อีกทั้งด้วยมูลค่าตลาดรวมร้านอาหารสตรีทฟู้ดในไทยที่มี่ไม่ต่ำกว่า 3 แสนล้านบาท เติบโตเฉลี่ยสองหลักทุกปี ทำให้ “ชายสี่” มองว่าตัวเองยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมากมาย

แม้ว่าเป้าหมายระยะยาวเคยประกาศไว้ว่า จะต้องสร้างรายได้รายได้รวมระดับ 10,000 ล้านบาท ให้ได้นั้น จึงยังเป็นสิ่งที่ท้าทายไม่น้อยก็ตาม แต่เขาก็ยืนยันว่า การตั้งเป้าหมายที่สูงเช่นนี้ ก็เพื่อเป็นแรงผลักดันกำลังใจให้เราพยายามก้าวไปให้ แต่ต้องยอมว่า ช่วง 3 ปีเศษที่ผ่านมาที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 ระบาดอย่างรุนแรง ส่งผลกระทบไปทั้งหมด ตอนนี้ก็เพิ่งตั้งหลักกันได้


นายอนุชิต สรรพอาษา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชายสี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ถือเป็นคนรุ่นใหม่และเป็นหนึ่งในเลือดใหม่จากอีกหลายคนที่มาร่วมงานกับ ชายสี่ ได้ปีเศษ กล่าวว่า ชายสี่ คอร์ปอเรชั่น มีพื้นฐานธุรกิจที่แข็งแกร่ง มีศักยภาพสร้างการเติบโต โดยหลังจากผ่านวิกฤต COVID19 ที่ผ่านมา เรากลับมาเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2565 เป็นปีที่เราสร้างยอดขายได้สูงสุดในประวัติการณ์ โดยมีรายได้รวม 1,085 ล้านบาท และยังเติบโตอย่างแข็งแกร่งในปี 2566 เช่นกัน ด้วยรายได้รวมมากถึง 1,200 ล้านบาท และมีกำไรที่โตมากถึง 121% เลยทีเดียว หรือประมาณ 126 ล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ผลประกอบการของ ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว จากที่แจ้งไปยัง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ระบุว่า
ปี 2556 มีรายได้ประมาณ186ล้านบาท มีกำไรประมาณ3.5ล้านบาท
ปี 2557 มีรายได้ประมาณ215ล้านบาท มีกำไรประมาณ5ล้านบาท
ปี 2558มีรายได้ประมาณ235 ล้านบาท มีกำไรประมาณ13ล้านบาท
ปี 2559 มีรายได้ประมาณ241 ล้านบาท มีกำไรประมาณ15ล้านบาท
ปี 2560 มีรายได้ประมาณ290 ล้านบาท มีกำไรประมาณ17ล้านบาท
ปี 2561มีรายได้ประมาณ834 ล้านบาท มีกำไรประมาณ25 ล้านบาท
ปี 2562 มีรายได้ประมาณ 1,044.66 ล้านบาท มีกำไรประมาณ 40.54 ล้านบาท
ปี 2563 มีรายได้ประมาณ 907.15 ล้านบาท มีกำไรประมาณ 49.93 ล้านบาท
ปี 2564มีรายได้ประมาฯ 949.06 ล้านบาท กำไร 46.82 ล้านบาท


ล่าสุดในปี 2565-2566 บริษัทฯ ได้เริ่มสู่การทรานส์ฟอร์มธุรกิจ ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี การบริหารต้นทุนอย่างชาญฉลาด รวมถึงการปรับโครงสร้างการบริหารงาน โดยให้โอกาสคนรุ่นใหม่เข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

เขาย้ำด้วยว่า ปี2567นี้จะเป็นปีที่ชายสี่ จะเดินหน้าเกมรุกชัดเจนและเต็มที่ หลังจากที่ช่วงที่ผ่่านมาได้มีการปรบตัวและเสริมทัพให้มีความแข็งแกร่ง หลังผ่านพ้นโควิด-19ไปแล้ว
ยุทธศาสตร์ของ ชายสี่ ในการเติบโตจากนี้ คือ

1.การขายแฟรนไชส์กิจการในเครือ
2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์และสินค้าใหม่ๆ
3.การพัฒนาพันธมิตร ทั้งการเทคโอเวอร์แบรนด์ดังหรือที่มีศักยภาพและพันธมิตรขยายธุรกิจไปต่างประเทศ


นายอนุชิต ให้รายละเอียดแต่ละประเด็นว่า
1. การขายแฟรนไชส์ ด้วยการพัฒนามาตรฐานแฟรนไชส์ ผ่านการปรับปรุงระบบการบริหารแฟรนไชส์และการบริการทั้งหมดให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและสร้างความภักดีของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์ โดยใช้ประโยชน์จากศูนย์การผลิตและจัดส่งที่มีอยู่ทั่วประเทศไทยในการเข้าถึงคู่ค้าและควบคุมคุณภาพแฟรนไชส์

ชายสี่ เองทุกวันนี้แม้ว่าจะมีร้านชายสี่บะหมี่เกี๊ยวเป็นแบรนด์หลัก แต่ในแนวหลังแล้วก็ยังมีแบรนด์อื่นในเครืออีกมากมายรวม 7 แบรนด์ที่่เพิ่งเร่ิ่มสร้างขี้นมาใหม่ไม่กี่ปีนี้เอง เพื่อเสริมทัพชายสี่บะหมี่เกี๊ยว และเพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้ที่สนใจซื้อแฟรนไชส์ ในต่างประเทศก็เริ่มมีบ้างแล้ว

โดย 7แบรนด์สตรีทฟู้ดในเครือมีรวม 7 แบรนด์ ได้แก่ ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว ชายสี่พลัส ชายใหญ่ข้าวมันไก่ พันปีบะหมี่เป็ดย่าง อาลีหมี่ฮาลาล ไก่หมุนคุณพัน ลูกชิ้นทอดโอ้มายก๊อด รวมทุกแบรนด์กว่า 4,500 สาขา โดยมีแบรนด์หลักคือ ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว ที่ทำรายได้หลักสัดส่วนมากกว่า 90% และแม้ว่าจะเริ่มขายแฟรนไชส์มานานแล้วก็ตาม แต่ว่าก็ยังไม่ได้เป็นระบบชัดเจนเหมือนเช่นครั้งนี้ี่่ที่พร้อมแล้ว


ปัจจุบันแฟรนไชส์ชายสี่บะหมี่เกี๊ยวมีสาขาทั่วประเทศ ราคาเริ่มต้น 100,000 บาท คืนทุนภายใน 1 ปี ทำเลที่ขายดีหลักๆ คือพื้นที่หน้าร้านสะดวกซื้อ

ในมุมมองของ ผู้บริหารชายสี่ เห็นว่า ชายสี่น่าจะมีสาขาในไทยได้มากถึงระดับ 6,000 สาขาเฉพาะแบรนด์ ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว และนอกนั้นจะเป็นการขยายแบรนด์อื่นๆ

แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่าแบรนด์ที่่มีทั้งหมดนี้ ยังอยู่ในช่วงของการตั้งไข่ ยังไม่มีความโดดเด่น ไม่ได้เป็นที่รู้จักของตลาดมากนัก จึงจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ขายแฟรนไชส์เข้ามาช่วยเพื่อขยายสาขาได้มากและเร็วขึ้น
แต่ปัญหาหลักของการทำแฟรนไชส์นั้นไม่ได้อยู่ที่ การหาผู้สนใจ การหาทำเล แต่อยู่ที่ การควบคุมคุณภาพด้านสินค้า การผลิต การบริการ ให้ได้มาตรฐานเหมือนกันทั้งหมดให้ได้ ซึ่งเรื่องนี้ชายสี่ก็พยายามจัดการอยู่เหมือนกัน


2. พัฒนาผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมตามความต้องการของตลาด โดยให้ความสำคัญกับการทำวิจัยและพัฒนา (R&D) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้เหมาะสมและตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงช่องทางการจัดจำหน่ายที่เปิดโอกาสให้ลูกค้าเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้โดยง่าย ทั้งร้านอร่อยริมทาง ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ และช่องทางออนไลน์

ปัจจุบันนอกจากแบรนด์สตรีทฟู้ดทั้ง 7 แบรนด์แล้ว เรายังมีสินค้าพร้อมทานที่จำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำะยังมีอาหารสำเร็จรูปพร้อมปรุงและพร้อมทานภายใต้แบรนด์ชายสี่โกลด์ พร้อมด้วยเครื่องปรุงเพื่อจำหน่ายอีกกว่า 200 รายการ

3. การพัฒนาพันธมิตร ไม่ว่าจะเป็นการเทคโอเวอร์หรือการซื้อกิจการตลอดจนการรวมทุน ประเด็นนี้จะทำให้ธุรกิจขยายตัวได้รวดเร็วกว่าการสร้างแบรนด์ และจะทำให้ฐานธุรกิจมีความหลากหลายด้วย อีกทั้งเป็นการเอาข้อดีจุดแข็งของทั้งสองฝ่ายมาร่วมกัน

เงื่อนไขหลักๆในการเทคโอเวอร์หรือซื้อกิจการนั้น ปัจจัยสำคัญจะต้องเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และเจ้าของผู้ก่อตั้งเดิมจะต้องอยู่ถือหุ้นและร่วมกันบริหารด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าเจ้าของเดิมจะไม่ทิ้ง เพราะเราเองก็ไม่ได้เก่งไปทั้งหมด ขณะนี้ก็ยังมีที่อยู่ระหว่างการเจรจาหลายแบรนด์ในหลายประเภทอาหาร คาดว่าจะม่ีเพ่ิมอีกไม่ต่ำกว่า 5-10 แบรนด์ในระยะใกล้นี้


“ เรามีแผนที่จะขยายพันธมิตรด้วยการหาแบรนด์ใหม่เข้ามาเติมเต็มในพอร์ตเราต่อเนื่อง ร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจที่มีความชำนาญเฉพาะทางเพื่อต่อยอดองค์ความรู้ ในการพัฒนาธุรกิจร่วมกัน รวมถึงการการเข้าซื้อกิจการต่างๆที่มีศักยภาพ ซึ่งเราเองมีความพร้อมด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นระบบการบริการ ระบบการผลิต ระบบการจัดการ การขนส่งโลจิสติกส์ เป็นต้น ขณะที่นี้เจ้าของแบรนด์เดิมก็มีความเชี่ยวชาญในด้านการทำการผิลตอาหาร สูตรในการทำแบรนด์นั้น” นายอนุชิต กล่าว
ล่าสุดแผนนี้บรรลุผลด้วยดีเป็นตัวนำร่องแล้วเมื่อต้นปีนี้ กับการซื้อกิจการเข้าเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่รวม 2 แบรนด์ดังคือ ก๋วยเตี๋ยวเรือเสือร้องไห้อยุธยา กับ ร้านบริกซ์ (BRIX) ซึ่งเป็นร้านด้านขนมหวานกับเครื่องดื่มของคนไทย โดยที่เจ้าของแบรนด์เดิมทั้งสองก็ยังคงถือหุ้นน้อยกว่าและร่วมบริหารด้วย

ทั้งนี้ธุรกิจเดิมของพันธมิตร เมื่อเข้ามาอยู่ในครอบครัวเดียวกันแล้วโอกาสที่จะขยายสาขาและบริการในรูปแบบใหม่ๆก็ยังมี ไม่ว่าจะเป็น ก๋วยเตี๋ยวเรืออยุธยารถเข็น ซึ่งในตลาดแทบจะยังไม่มีเลย เพราะส่วนใหญ่ก๋วยเตี๋ยวเรือจะตั้งเป็นร้าน หรือแม้แต่การนำเอาเมนูยอดนิยมมาขายในร้านในเครือด้วยกัน หรือแม้่แต่ในส่วนของร้าน BRIX ก็อาจจะมีการทำเป็นสินค้าขายช่องทางรีเทล เป็นต้น


นอกจากนี้ยังเดินหน้าหาพันธมิตรร่วมทุนในต่างประเทศอีกด้วย เพื่อขยายแบรนด์และธุรกิจไปต่างประเทศ โดยอยู่ระหว่างการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับ Cabalen Group กลุ่มธุรกิจอาหารยักษ์ใหญ่ของประเทศฟิลิปปินส์ โดยจะร่วมลงทุนก่อสร้างฐานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวที่ฟิลิปปินส์ เพื่อป้อนตลาดในพิลิปปินส์ เริ่มจากการป้อนให้กับร้านอาหารในเครือของพันธมิตรร่วมทุนคาบาเลน ที่มีร้านอาหารในเครือรวมกันมากกว่า 10 แบรนด์ รวมมากกว่า 60 ร้านค้า และในอนาคตเตรียมที่จะขยายตลาดส่งออกและป้อนให้กับรายอื่นด้วย

โครงการนี้ทางฝัั่งชายสี่ ลงทุนประมาณ 30 ล้านบาท ด้วยการเข้าถือหุ้นรวม 40% และคาดว่ากลางปีนี้จะสามารถเดินเครื่องผลิตได้

ตลาดใหม่ต่างประเทศก็มองไปที่ญี่ปุ่นที่จะมีการร่วมมือกับพันธมิตรในการผลิตบะหมี่คัพหรือรูปแบบถ้วยวางขายตามช่องทางร้านค้าปลีกทั่วไป

ขณะที่ พันธ์รบ เองมองด้วยว่า นอกจากจะนำแบรนด์ไทยไปต่างประเทศแล้ว ก็มีโอกาสที่จะนำแบรนด์ดังๆในต่างประเทศเข้ามาในรูปแบบลิขสิทธิ์แฟรนไชส์ก็เป็นได้


ตลาดต่างประเทศในระยะนี้ ทางชายสี่ วางสัดส่วนไว้เพียงเค่ 5% ก่อน แต่เป้าหมายระยะยาวตั้งสัดส่วนรายไดไว้ที่ 20%
สำหรับเรื่องการลงทุน นายพันธ์รบ กล่าวว่า เพื่อรองรับการเติบโตที่แข็งแกร่ง วางแผนที่จะสร้างฮับในการส่งสินค้าและวัตถุดิบรวม 3 แห่่ง คือ หาดใหญ่ ยโสธร และโคราช จากปัจจุบันมีแต่เพียงโรงงานผลิต 7 แห่ง ที่ลำปาง พิษณุโลก อุดรธานี มหาสารคาม ชลบุรี สุราษฎร์ธานี และหาดใหญ่

อย่างไรก็ตาม การเดินเกมทั้งหมดนี้ ผู้ก่อตั้งชายสี่ มองว่า สิ่งที่สำคัยก็คือ ความพร้อมทางด้านการเงินในการาดำเนินธุรกิจ และความยั่งยืน จึงยังคงมุ่งมั่นในการธุรกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้ได้ ซึ่งแม้ว่าจะลาช้ามาหลายปีแล้วก็ตาม เพราะสถานการณ์ยังไม่เอื้ออำนวย แต่จากนี้จะเดินหน้าต่อ ซึ่งล่าสุด ได้ที่ปรึกษาทางการเงินเรียบร้อยแล้ว โดยปีนี้คาดว่าจะใช้วงเงินลงทุนระหว่าง 50-100 ล้านบาท

“ผมตั้งเป้าที่จะให้ ชายสี่ เข้าตลาดหุ้นให้ได้ เพราะนอกจากขยายธุรกิจแล้ว จะเป็นการป้องกันปัญหาที่ลูกๆอาจจะทะเลาะกันก้ได้ และพร้อมที่จะเปลี่ยนภาพลักษณ์จาก เจ้าแห่งเส้น เป็นเจ้าแห่งสตรีทฟู้ด ที่ซื้อง่าย ขายคล่อง ” คือคำกล่าวสรุป ของ นายพันธ์รบ




















กำลังโหลดความคิดเห็น