xs
xsm
sm
md
lg

“ทีเส็บ” กับความท้าทาย ดันเทศกาลไทย สู่ตลาดโลก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



การตลาด – จับตาความท้าทายอีกครั้งของ “ ทีเส็บ” ในการผลักดันงานเทศกาลไทยไปสู่เวทีระดับโลก หวังสร้างแต้มต่อด้านไมซ์ในเชิงธุรกิจระดับโลก จับมือ4 สมาคมพันธมิตรร่วมกันผลักดัน ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติที่มุ่งใช้ต้นทุนวัฒนธรรมยกระดับเศรษฐกิจไทย พร้อมปั้นงานเทศกาลสร้างโอกาสทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง มุ่งดึงกลุ่มผู้เข้าร่วมงานเทศกาลที่มีกำลังซื้อสูงจากทั่วโลก เป็นการต่อยอดผลสำเร็จในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา หลังจากทีเส็บให้การสนับสนุนการจัดงานเทศกาลกว่า 100 งาน สร้างเงินหมุนเวียนทางเศรษฐกิจให้ประเทศกว่า 50,000 ล้านบาท


นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ เปิดเผยว่า ปีนี้ทีเส็บมีนโยบายที่จะยกระดับงานเทศกาลในประเทศไทยให้เป็นกลไกสร้างประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางการจัดงานระดับโลก และเป็นเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ที่มุ่งใช้ต้นทุนทางวัฒนธรรมยกระดับเศรษฐกิจไทย จากเดิมที่ใช้งานเทศกาลเป็นเครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศระยะสั้น ไปสู่แนวทางใหม่คือใช้งานเทศกาลเป็นแพลตฟอร์มต่อยอดโอกาสทางธุรกิจ เน้นความต่อเนื่องของการจัดงาน สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้เข้าร่วมงานที่มีกำลังซื้อสูง มีเป้าหมายการเข้าร่วมงานที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้นและมองหาประสบการณ์สร้างสรรค์ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายที่โดดเด่นในการจัดงานเทศกาล

การบรรลุเป้าหมาย จะดำเนินการโดยใช้ 3 เสาหลักเพื่อสร้าง “ระบบนิเวศสร้างสรรค์” (Constructive Ecosystem) สำหรับการจัดงานเทศกาล ประกอบด้วย


1. การประมูลสิทธิ์การจัดงานระดับโลกและการดึงงานระดับโลกเข้ามาจัดในประเทศไทย อาทิ การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกนครราชสีมา พ.ศ. 2572 ซึ่งประเทศไทยเพิ่งได้รับสิทธิ์การจัดงาน งานแข่งรถ Formula E จังหวัดเชียงใหม่ และการดำเนินการเพื่อเสนอประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการจัดงาน WorldPride ตามนโยบายรัฐบาล เป็นการ ปักหมุดประเทศไทยในเวทีเทศกาลโลก สร้างเครือข่ายของบุคลากรไทยในกลุ่มธุรกิจ Soft Sectors เป็นเวทีให้คนไทยได้มีส่วนร่วม สร้างแรงบันดาลใจ และสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

2. Business Festival สนับสนุนงานเทศกาลเชิงธุรกิจ ให้เป็นมากกว่าการรวมตัวกันของกลุ่มคนที่มีความสนใจเดียวกัน โดยสร้างแพลตฟอร์มและโอกาสทางธุรกิจผ่านเครือข่ายอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง พร้อมเปิดโอกาสให้กับคน รุ่นใหม่ และความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ยกระดับบุคลากรและสร้างระบบนิเวศในอุตสาหกรรมไปพร้อมๆ กัน

3. Festival Academy เป็นการดำเนินการต่อเนื่องมา 3 ปี คือ สนับสนุนสมาคมพันธมิตรในการจัดกิจกรรมยกระดับสมาชิกของสมาคม อาทิ Festival Creative Lab การจัดให้เป็นเวทีรวมตัวกันของผู้จัดงานเทศกาลในประเทศ เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ แรงบันดาลใจ และสร้างหรือแลกเปลี่ยนเครือข่ายระหว่างกัน ทั้งในและต่างประเทศ

“โครงการทั้ง 3 เสาหลัก เป็นรากฐานสำคัญที่ทีเส็บให้ความสำคัญและดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับ ภูมิทัศน์และสร้างระบบนิเวศการจัดงานเทศกาลในประเทศไทยให้สอดรับกับแนวทางการจัดงานเทศกาลของโลก ควบคู่กันไปกับการสร้างชื่อเสียงให้ประเทศผ่านการประมูลสิทธิ์ เพิ่มมิติทางธุรกิจในการจัดงาน สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเนื้อหาที่โดดเด่นของประเทศไทย และพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ให้พร้อมแข่งขันต่อไปในเวทีโลก” นายจิรุตถ์ กล่าว


ด้าน นายบุญเพิ่ม อินทนปสาธน์ นายกสมาคมการค้าส่งเสริมการจัดมหกรรมและเทศกาลนานาชาติไทย (TIEFA) กล่าวว่า การจัดงานเทศกาลเชิงธุรกิจหรือ Business Festival คือทิศทางของโลกปัจจุบัน สามารถสร้างแรงกระเพื่อมให้ก่อเกิดรายได้ สาระของงานประเภทนี้เป็นงานเชิงทรัพย์สินทางปัญญา สามารถสร้างความสำเร็จให้กับเจ้าของงาน เมืองที่จัดงานและผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ เพราะมีกลุ่มลูกค้าชัดเจน สร้างความยั่งยืนได้ โดยมีกลไกสำคัญคือการสร้างเครือข่ายและสายสัมพันธ์ของผู้มีส่วนได้เสียให้เกิดเป้าหมายเดียวกัน ซึ่งจะทำให้เกิด Next Legacy ทั้งของผู้จัดงานและหรือเมืองเทศกาล

นายรัฐ จิโรจน์วณิชชากร นายกสมาคมการค้าผู้จัดงานกีฬามวลชนไทย (TMPSA) กล่าวว่า การวิ่งมาราธอนเป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์ระดับโลกหลังยุคโควิด ด้วยอัตราการเติบโตของนักวิ่งมาราธอนที่กลับมาอยู่ในอัตราเร่งอีกครั้ง รวมถึงการเป็นแกนหลักของการท่องเที่ยวเชิงกีฬา นี่คือโอกาสที่ยิ่งใหญ่ที่จะตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการจัดงานมาราธอนในภูมิภาคนี้ ด้วยการผสมผสานงานวิ่งที่มีมาตรฐานระดับโลกเข้ากับพลังของประเพณีและวัฒนธรรมไทย หากทุกภาคส่วนร่วมมือกันผลักดัน ผมเชื่อมั่นว่างานวิ่งมาราธอนจะกลายเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่แข็งแกร่ง ในการดึงดูดผู้คนที่มีศักยภาพในการใช้จ่ายจากทั่วทุกมุมโลกเข้ามายังประเทศไทย

นายอรรถพล ชัยทัต นายกสมาคมเครือข่ายผู้สร้างสรรค์วิชาชีพสื่อบันเทิงไทย (TECNA) กล่าวว่า งานเทศกาลไม่เพียงแค่เป็นเวทีสร้างสรรค์และเสริมความบันเทิง แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่สนับสนุนและเสริมสร้างอุตสาหกรรมบันเทิงให้เติบโตและยั่งยืน การจัดงานเทศกาลช่วยเปิดโอกาสและสร้างพื้นที่ให้กับผู้สร้างสรรค์เนื้อหาที่จะแสดงความสามารถและเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมและพัฒนาวงการบันเทิงในประเทศ นอกจากนี้ งานเทศกาลยังเป็นโอกาสในการสร้างเครือข่ายและการพัฒนาทักษะของบุคคลในวงการ ทำให้อุตสาหกรรมบันเทิงของเราเติบโตอย่างยั่งยืนและเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก

นางวรินดา เธียรอัจฉริยะ นายกสมาคมการค้าส่งเสริมอุตสาหกรรมและศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (CAPT) กล่าวว่า ศิลปวัฒนธรรมเป็นหนึ่งในสาระสำคัญของ Festival Economy เทศกาลศิลปะสามารถดึงนักเดินทางทั่วโลกให้มาเสพความคิดสร้างสรรค์ของศิลปินได้ต่อเนื่อง เปลี่ยนไปไม่ซ้ำทุกครั้งที่จัดงาน เพราะศิลปินไทยเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ได้รับเชิญไปจัดแสดงผลงานในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เทศกาลศิลปะในประเทศไทยก็ได้รับความสนใจจากวงการศิลปะนานาชาติเกิดเป็นเครือข่ายความร่วมมือกับเทศกาลระดับโลก จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ทีเส็บ หน่วยงานภาครัฐ ให้ความสำคัญเข้ามาส่งเสริมให้ความรู้ อำนวยความสะดวกให้กับการจัดงาน เพราะงานศิลปะเป็นต้นน้ำของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้สร้างสรรค์ในอุตสาหกรรมอื่นๆ

การประกาศนโยบายขับเคลื่อนงานเทศกาลให้มีมิติโอกาสทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างจุดขายให้กับประเทศไทยสำหรับการจัดงานเทศกาลระดับโลกครั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องจากการดำเนินงานก่อนหน้านี้ที่ทีเส็บได้ “ร่วมสร้าง” งานเทศกาลกับเมือง ชุมชน ผู้จัดงาน และ 4 สมาคมพันธมิตร ที่ครอบคลุมกลุ่มธุรกิจมูลค่าสูงทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม ไลฟ์สไตล์และการสร้างสรรค์ ธุรกิจบันเทิง กีฬา รวมถึงนวัตกรรม ได้แก่ สมาคมการค้าส่งเสริมการจัดมหกรรมและเทศกาลนานาชาติไทย (TIEFA), สมาคมการค้าผู้จัดงานกีฬามวลชนไทย (TMPSA), สมาคมเครือข่ายผู้สร้างสรรค์วิชาชีพสื่อบันเทิงไทย (TECNA), และสมาคมการค้าส่งเสริมอุตสาหกรรมและศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (CAPT) รวมทั้งเป็นผลมาจากการที่ ทีเส็บได้สนับสนุนงานเทศกาลกว่า 100 งาน มีส่วนช่วยกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของไทย สร้างเงินหมุนเวียนให้ประเทศกว่า 50,000 ล้านบาท ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาด้าน นายบุญเพิ่ม อินทนปสาธน์ นายกสมาคมการค้าส่งเสริมการจัดมหกรรมและเทศกาลนานาชาติไทย (TIEFA) กล่าวว่า การจัดงานเทศกาลเชิงธุรกิจหรือ Business Festival คือทิศทางของโลกปัจจุบัน สามารถสร้างแรงกระเพื่อมให้ก่อเกิดรายได้ สาระของงานประเภทนี้เป็นงานเชิงทรัพย์สินทางปัญญา สามารถสร้างความสำเร็จให้กับเจ้าของงาน เมืองที่จัดงานและผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ เพราะมีกลุ่มลูกค้าชัดเจน สร้างความยั่งยืนได้ โดยมีกลไกสำคัญคือการสร้างเครือข่ายและสายสัมพันธ์ของผู้มีส่วนได้เสียให้เกิดเป้าหมายเดียวกัน ซึ่งจะทำให้เกิด Next Legacy ทั้งของผู้จัดงานและหรือเมืองเทศกาล

นายรัฐ จิโรจน์วณิชชากร นายกสมาคมการค้าผู้จัดงานกีฬามวลชนไทย (TMPSA) กล่าวว่า การวิ่งมาราธอนเป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์ระดับโลกหลังยุคโควิด ด้วยอัตราการเติบโตของนักวิ่งมาราธอนที่กลับมาอยู่ในอัตราเร่งอีกครั้ง รวมถึงการเป็นแกนหลักของการท่องเที่ยวเชิงกีฬา นี่คือโอกาสที่ยิ่งใหญ่ที่จะตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการจัดงานมาราธอนในภูมิภาคนี้ ด้วยการผสมผสานงานวิ่งที่มีมาตรฐานระดับโลกเข้ากับพลังของประเพณีและวัฒนธรรมไทย หากทุกภาคส่วนร่วมมือกันผลักดัน ผมเชื่อมั่นว่างานวิ่งมาราธอนจะกลายเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่แข็งแกร่ง ในการดึงดูดผู้คนที่มีศักยภาพในการใช้จ่ายจากทั่วทุกมุมโลกเข้ามายังประเทศไทย

นายอรรถพล ชัยทัต นายกสมาคมเครือข่ายผู้สร้างสรรค์วิชาชีพสื่อบันเทิงไทย (TECNA) กล่าวว่า งานเทศกาลไม่เพียงแค่เป็นเวทีสร้างสรรค์และเสริมความบันเทิง แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่สนับสนุนและเสริมสร้างอุตสาหกรรมบันเทิงให้เติบโตและยั่งยืน การจัดงานเทศกาลช่วยเปิดโอกาสและสร้างพื้นที่ให้กับผู้สร้างสรรค์เนื้อหาที่จะแสดงความสามารถและเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมและพัฒนาวงการบันเทิงในประเทศ นอกจากนี้ งานเทศกาลยังเป็นโอกาสในการสร้างเครือข่ายและการพัฒนาทักษะของบุคคลในวงการ ทำให้อุตสาหกรรมบันเทิงของเราเติบโตอย่างยั่งยืนและเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก

นางวรินดา เธียรอัจฉริยะ นายกสมาคมการค้าส่งเสริมอุตสาหกรรมและศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (CAPT) กล่าวว่า ศิลปวัฒนธรรมเป็นหนึ่งในสาระสำคัญของ Festival Economy เทศกาลศิลปะสามารถดึงนักเดินทางทั่วโลกให้มาเสพความคิดสร้างสรรค์ของศิลปินได้ต่อเนื่อง เปลี่ยนไปไม่ซ้ำทุกครั้งที่จัดงาน เพราะศิลปินไทยเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ได้รับเชิญไปจัดแสดงผลงานในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เทศกาลศิลปะในประเทศไทยก็ได้รับความสนใจจากวงการศิลปะนานาชาติเกิดเป็นเครือข่ายความร่วมมือกับเทศกาลระดับโลก จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ทีเส็บ หน่วยงานภาครัฐ ให้ความสำคัญเข้ามาส่งเสริมให้ความรู้ อำนวยความสะดวกให้กับการจัดงาน เพราะงานศิลปะเป็นต้นน้ำของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้สร้างสรรค์ในอุตสาหกรรมอื่นๆ

การประกาศนโยบายขับเคลื่อนงานเทศกาลให้มีมิติโอกาสทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างจุดขายให้กับประเทศไทยสำหรับการจัดงานเทศกาลระดับโลกครั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องจากการดำเนินงานก่อนหน้านี้ที่ทีเส็บได้ “ร่วมสร้าง” งานเทศกาลกับเมือง ชุมชน ผู้จัดงาน และ 4 สมาคมพันธมิตร ที่ครอบคลุมกลุ่มธุรกิจมูลค่าสูงทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม ไลฟ์สไตล์และการสร้างสรรค์ ธุรกิจบันเทิง กีฬา รวมถึงนวัตกรรม ได้แก่ สมาคมการค้าส่งเสริมการจัดมหกรรมและเทศกาลนานาชาติไทย (TIEFA), สมาคมการค้าผู้จัดงานกีฬามวลชนไทย (TMPSA), สมาคมเครือข่ายผู้สร้างสรรค์วิชาชีพสื่อบันเทิงไทย (TECNA), และสมาคมการค้าส่งเสริมอุตสาหกรรมและศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (CAPT) รวมทั้งเป็นผลมาจากการที่ ทีเส็บได้สนับสนุนงานเทศกาลกว่า 100 งาน มีส่วนช่วยกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของไทย สร้างเงินหมุนเวียนให้ประเทศกว่า 50,000 ล้านบาท ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

พร้อมกันนี้ ในปีงบประมาณ 2567 ทีเส็บยังมีแผนสนับสนุนการจัดงานอีกกว่า 30 งาน มุ่งดึงนักเดินทางไมซ์ทั้งชาวไทยและต่างประเทศเข้าร่วมงาน 2.3 ล้านคน สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 3,600 ล้านบาท และส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของไทยขยายตัวเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 5,800 ล้านบาท
ทั้งนี้ การยกระดับงานเทศกาลในประเทศไทยให้เป็นกลไกสร้างประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางการจัดงานระดับโลก และเป็นเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ถือเป็น 1 ใน 3 กลุ่มธุรกิจหลักที่ ทีเสฺ็บ มุ่งหวังก้าวไปข้างหน้าเต็มที่ตามนโยบายที่วางไว้ในปี2567นี้

การดำเนินงานในปี 2567 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของเป้าหมาย Springboard of Asia’s Growth นั้น ทีเส็บจะผลักดันการเติบโตของอุตสาหกรรมไมซ์ไทยผ่าน 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่

1. งานเทศกาลนานาชาติ (Festival) ซึ่งที่ผ่านมา ทีเส็บได้สนับสนุนงานเทศกาลกว่า 100 งาน สร้างเงินหมุนเวียนทางเศรษฐกิจให้ประเทศกว่า 50,000 ล้านบาท โดยทิศทางการดำเนินงานในอนาคต
ทีเส็บจะขับเคลื่อนโดยใช้ “ต้นทุน” ทางสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ หรือ Soft Power เป็นตัวสร้างมูลค่าแบบ 360 องศา ในการสร้างประสบการณ์ที่มีอัตลักษณ์ มีคุณค่า และเป็นจุดขายใหม่ ที่ขับเคลื่อนโดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยมีมาตรการในระยะเร่งด่วน (Quick Win) ที่ต้องทำในปี 2567 คือ เร่งทำตลาดเชิงรุกในต่างประเทศ เน้นสร้างยกระดับงานเทศกาลในประเทศไทยให้เป็นกลไกสร้างประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางการจัดงานระดับโลก และเป็นเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจตามแผนยุทธศาสตร์ชาติเครือข่ายผ่านการทำ Roadshow One-on-One Meeting ควบคู่กับการเปิดเวทีรับฟังความท้าทายต่างๆ เพื่อมุ่งสู่การสร้างเครือข่ายและโอกาสในเวทีโลก

2. การแสดงสินค้านานาชาติ จากรายงานของสมาคมการแสดงสินค้าโลก หรือ UFI พบว่า ในปี 2565 ประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่งของอาเซียน และอันดับ 4 ของเอเชีย ในด้านพื้นที่การจัดงานแสดงสินค้า และในปี 2566 งานแสดงสินค้ายังเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มรายได้และจำนวนนักเดินทางไมซ์ต่างชาติเข้าสู่ไทย ซึ่งเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ถึง 68% หรือเทียบเท่ากับรายได้ในปี 2562 ซึ่งเป็นปีที่มียอดสูงสุดก่อนการระบาดของโควิด-19
นอกจากนี้ยังมีงานแสดงสินค้าใหม่เกิดขึ้นไม่น้อยกว่า 25 งาน และมีแนวโน้มที่จะเติบโตต่อไปในอนาคต ทีเส็บจึงได้เตรียมแนวทางในการสร้างความได้เปรียบด้านแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมงานแสดงสินค้าไทย โดยการสร้างเครื่องมือวิเคราะห์การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในตลาดที่การแข่งขันยังไม่สูงนัก (Blue Ocean) พร้อมสร้างและขยายโอกาสทางธุรกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
3. ตลาดไมซ์ในประเทศ ในปี 2566 มีนักเดินทางไมซ์ในประเทศ จำนวน 16.5 ล้านคน คิดเป็น 95% ของนักเดินทางไมซ์โดยรวมทั้งในและต่างประเทศ สร้างรายได้ประมาณ 50,000 ล้านบาท และยังเป็นพื้นฐานสำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมไมซ์ไทย ช่วยลดความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุม และทำให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจภายในประเทศ
ทีเส็บจึงได้เตรียมความพร้อมการพัฒนาและยกระดับพื้นที่เป้าหมาย (Destination Readiness) และการสร้างประสบการณ์ที่มีคุณค่า (Authentic Experience) เชื่อมโยงเมืองไมซ์ทั้ง 10 แห่ง พร้อมเปิดตัวแคมเปญ ยกทีมประชุม รุมรักเมืองไทย เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนในภาพรวม
โดยทีเส็บ ตั้งเป้าหมายไว้ว่า ภายในสิ้นปีงบประมาณ 2567 ประเทศไทยจะมีนักเดินทางไมซ์ รวมทั้งสิ้น 23.2 ล้านคน ทำรายได้ 1.4 แสนล้านบาท แบ่งเป็น ตลาดต่างประเทศ 9.6 แสนคน รายได้ 6.3 หมื่นล้านบาท และตลาดในประเทศ 22.2 ล้านคน รายได้ 7.3 หมื่นล้านบาท


กำลังโหลดความคิดเห็น