'สุริยะ'เรียกผู้รับเหมา4โปรเจ็กต์'พระราม 2' หารือ 4 มี.ค.นี้ เร่งรัดก่อสร้างให้เสร็จตามสัญญา ในมิ.ย. 68 ก่อนลงพื้นที่ตรวจสภาพจราจรพร้อมย้ำมาตรการความปลอดภัยระหว่างก่อสร้าง เปิด 18 สัญญาสร้างถึงไหน ปมล่าช้าจากปัญหาเข้าพื้นที่ไม่ได้
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กรณีโครงการก่อสร้างบนถนนพระราม 2 (ทางหลวงหมายเลข 35) ซึ่งมีทั้งทางด่วนและทางยกระดับ(มอเตอร์เวย์) ที่แม้จะมีการขยายสัญญาเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ไปจนถึงเดือนมิ.ย. 2568 แต่ผลงานการก่อสร้างปัจจุบัน ล่าช้ากว่าสัญญา ดังนั้น ในวันจันทร์ที่ 4 มี.ค.2567 กระทรวงฯจะเชิญผู้รับเหมาที่มีสัญญาก่อสร้างบนถนนพระราม 2 ทั้งหมด มาหารือเพื่อปรับปรุงเร่งรัดการก่อสร้างให้แล้วเสร็จ ตามสัญญา จากนั้นช่วงบ่ายวันเดียวกัน ตนและผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะลงพื้นที่ถนนพระราม 2 เพื่อตรวจสภาพการจราจรและการก่อสร้างต่างๆ ให้เป็นไปตามกรอบเวลา และความปลอดภัยในการก่อสร้างซึ่งขณะนี้ ส่วนใหญ่อยู่ในขั้นตอนการยกคาน ซึ่งมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย โดยจะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาควบคุม ดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยด้วย
ทั้งนี้ นอกจากจะต้องพูดกันอย่างตรงไปตรงมาและขอความร่วมมือแล้ว กระทรวงคมนาคม ก็มีไม้ตาย คือ การจัดทำสมุดพกไว้ติดตามกำกับการก่อสร้างของผู้รับเหมาแต่ละสัญญา เพื่อให้งานเป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งจะประสานกับกรมบัญชีกลาง กรณีที่ต้องลดชั้นผู้รับเหมาที่ทำงานไม่ได้ตามกำหนดซึ่งเรื่องนี้นายกรัฐมนตรี ให้นโยบายแล้วว่า หากผู้รับเหมาใด ทำงานไม่เป็นไปตามแผนงาน จะมีการพิจารณาลดระดับชั้นลง เช่น จากที่เคยเป็นผู้รับเหมาชั้นพิเศษจะลดลงมาเป็นผู้รับเหมาชั้น 1 ซึ่งจะทำให้ผู้รับเหมารายนั้นไม่สามารถรับงานโครงการใหญ่ได้ หรือ จะไม่เข้าร่วมประมูลโครงการใหม่ๆ ของกระทรวงคมนาคมเลย ซึ่งจะเป็นมาตรกาสรที่รุนแรงมากขึ้น
“ถนนพระราม 2 มีการก่อสร้าง เป็นเวลานานจนถูกเรียกว่าเป็นถนนเจ็ดชั่วโครต ซึ่งเป็นเรื่องอดีตที่ผ่านมาและไม่อยากโทษว่าเป็นรัฐบาลไหน แต่เมื่อผมมารับตำแหน่งปัญหาต่างๆ ที่มีการกำหนดกรอบเวลาการก่อสร้างจะต้องเป็นไปตามแผนงานและหลังจากนั้น นายกรัฐมนตรี อาจจะลงไปติดตามงานในพื้นที่ถนนพระราม 2 ด้วยตัวเอง เพื่อดูความพร้อมในการรองรับการเดินทางในช่วงกรานต์ ซึ่งจะมีการคืนผิวจราจร เพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัย”นายสุริยะกล่าว
ทั้งนี้ นอกจากจะต้องพูดกันอย่างตรงไปตรงมาและขอความร่วมมือแล้ว กระทรวงคมนาคม ก็มีไม้ตาย คือ การจัดทำสมุดพกไว้ติดตามกำกับการก่อสร้างของผู้รับเหมาแต่ละสัญญา เพื่อให้งานเป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งจะประสานกับกรมบัญชีกลาง กรณีที่ต้องลดชั้นผู้รับเหมาที่ทำงานไม่ได้ตามกำหนดซึ่งเรื่องนี้นายกรัฐมนตรี ให้นโยบายแล้วว่า หากผู้รับเหมาใด ทำงานไม่เป็นไปตามแผนงาน จะมีการพิจารณาลดระดับชั้นลง เช่น จากที่เคยเป็นผู้รับเหมาชั้นพิเศษจะลดลงมาเป็นผู้รับเหมาชั้น 1 ซึ่งจะทำให้ผู้รับเหมารายนั้นไม่สามารถรับงานโครงการใหญ่ได้ หรือ จะไม่เข้าร่วมประมูลโครงการใหม่ๆ ของกระทรวงคมนาคมเลย ซึ่งจะเป็นมาตรกาสรที่รุนแรงมากขึ้น
“ถนนพระราม 2 มีการก่อสร้าง เป็นเวลานานจนถูกเรียกว่าเป็นถนนเจ็ดชั่วโครต ซึ่งเป็นเรื่องอดีตที่ผ่านมาและไม่อยากโทษว่าเป็นรัฐบาลไหน แต่เมื่อผมมารับตำแหน่งปัญหาต่างๆ ที่มีการกำหนดกรอบเวลาการก่อสร้างจะต้องเป็นไปตามแผนงานและหลังจากนั้น นายกรัฐมนตรี อาจจะลงไปติดตามงานในพื้นที่ถนนพระราม 2 ด้วยตัวเอง เพื่อดูความพร้อมในการรองรับการเดินทางในช่วงกรานต์ ซึ่งจะมีการคืนผิวจราจร เพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัย”นายสุริยะกล่าว
ปัจจุบัน โครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างบนถนนพระราม 2 (ทางหลวงหมายเลข 35) มีจำนวน 4 โครงการ อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง 3 โครงการ ได้แก่1. โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) (M82) สายบางขุนเทียน - บ้านแพ้ว ช่วงที่ 1 (บางขุนเทียน – เอกชัย) ระยะทาง 11.7 กม. วงเงิน 10,500 ล้านบาท ภาพรวมงานก่อสร้างคืบหน้า88.973% ล่าช้า 11.027% (แผนงานกำหนด 100%)
มีจำนวน 3 สัญญา ดังนี้ สัญญาที่ 1 ช่วงกม.ที่ 11+959 - กม.ที่14+535 ระยะทาง 2.575 กม. วงเงิน 3,994 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้า เอ็นทีเอ (กลุ่ม บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ) เป็นผู้รับจ้าง คืบหน้า 92.51% ล่าช้า 7.49% (แผนกำหนด 100% ) วันเริ่มต้นสัญญาวันที่ 28 ส.ค. 2562 สิ้นสุดสัญญา 1 ต.ค. 2566 และขยายเวลาค่าปรับเป็นศูนย์จากมาตรการโควิดถึงวันที่ 15 พ.ย. 2567 อุปสรรคสำคัญที่ทำการก่อสร้างล่าช้าเกิดจากการเข้าพื้นที่ก่อสร้างล่าช้า และติดขัดสายไฟแรงสูงของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) โดยเพิ่งย้ายสายไฟออกจากพื้นที่เมื่อเดือน ม.ค. 2567 ที่ผ่านมา
สัญญาที่ 2 ช่วงกม.ที่ 14+535 - กม.ที่18+642 ระยะทาง 4.1 กม. วงเงิน 3,991 ล้านบาท มีบจ. วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง เป็นผู้รับจ้าง คืบหน้า 85.485% ล่าช้า 14.515% (แผนกำหนด 100%) วันเริ่มต้นสัญญา วันที่ 28 ส.ค. 2562 สิ้นสุดสัญญา 30 ต.ค. 2566 และขยายเวลาค่าปรับเป็นศูนย์จากมาตรการโควิดถึงวันที่ 23 พ.ย. 2567 อุปสรรคสำคัญที่ทำให้การก่อสร้างล่าช้าเกิดจากผู้รับจ้างขาดสภาพคล่องทางการเงิน
สัญญาที่ 3 ช่วงกม.ที่ 18+642 - กม.ที่ 20+295 ระยะทาง 1.65 กม. วงเงิน 2,491 มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เป็นผู้รับจ้าง คืบหน้า 91.653 % ล่าช้า 8.347 % (แผนกำหนด 100%) เริ่มต้นสัญญาวันที่ 28 ส.ค. 2562 สิ้นสุดวันที่ 25 ต.ค. 2566 มีการขยายเวลาค่าปรับเป็นศูนย์จากมาตรการโควิดถึงวันที่ 21 พ.ย. 2567 อุปสรรคที่ทำให้งานก่อสร้างล่าช้าเกิดจากการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินบางช่วงไม่แล้วเสร็จ โดยเฉพาะการก่อสร้างทางเลี้ยวเข้าถนนเอกชัย เพื่อไปยังมหาชัย ไม่สามารถทำได้เป็นระยะทาง 600 เมตร โดยเพิ่งแก้ไขได้เมื่อเดือน ต.ค. 2566 ที่ผ่านมา
2.โครงการมอเตอร์เวย์ M82 (ช่วงที่ 2 เอกชัย – บ้านแพ้ว) ระยะทาง 16.4 กม. วงเงิน 18,759 ล้านบาท มีความคืบหน้ารวม 40.395% ล่าช้า 11.509% (แผนงานกำหนด 51.904%) มีจำนวน 10 สัญญา ได้แก่
สัญญาที่ 1 ช่วงกม.ที่ 20+295 - กม.ที่22+474 ระยะทาง 2.179 กม. วงเงิน 1,757 ล้านบาท มีบจ.อุดมศักดิ์เชียงใหม่เป็นผู้รับจ้าง คืบหน้า 48.42% ล่าช้า 4.872% (แผนงานกำหนด 53.292%) เริ่มต้นสัญญาวันที่ 1 ก.พ. 2565 สิ้นสุดสัญญา 15 ม.ค. 2568 ได้รับการขยายเวลาค่าปรับเป็นศูนย์จากมาตรการโควิดถึงวันที่ 14 มิ.ย. 2568 อุปสรรคที่ทำให้ล่าช้าคือ ติดขัดการขยายสะพานข้ามคลองช่วงกม.ที่20+450 และติดขัดสะพานเอกชัยเดิม ซึ่งจำเป็นจะต้องเพิ่มความยาวสะพาน โดยอยู่ระหว่างแก้ไขแบบและแก้ไขสัญญา
สัญญาที่ 2 ช่วงกม.ที่ 22+474 - กม.ที่ 24+670 ระยะทาง 2.196 กม. วงเงิน 1,861 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้ากรุงธน-ไทย (ประกอบด้วย บจ.กรุงธนเอนยิเนียร์ และบจ.ไทย เอ็นยิเนียร์) เป็นผู้รับจ้าง คืบหน้า 41.032% ล่าช้า 11.465% (แผนกำหนด 52.497%) เริ่มต้นสัญญา 1 ก.พ. 2565 สิ้นสุดสัญญา 15 ม.ค. 2568 ได้รับการขยายเวลาค่าปรับเป็นศูนย์จากมาตรการโควิดถึงวันที่ 14 มิ.ย. 2568 อุปสรรคที่ทำให้งานล่าช้าคือ การดำเนินการไม่เป็นไปตามแผน
สัญญาที่ 3 ช่วงกม.ที่ 24+670 - กม.ที่25+734 ระยะทาง 1.064 กม. ค่างานก่อสร้าง 1,910 ล้านบาท กิจการร่วมค้าวีเอ็น (ประกอบด้วย บจ.จิตรภัณฑ์ และบจ.นภาก่อสร้าง) คืบหน้า 35.57% ล่าช้า 16.4% (แผนงานกำหนด 51.98%) เริ่มต้นสัญญา 1 ก.พ. 2565 สิ้นสุดสัญญา 15 ม.ค. 2568 ได้รับการขยายเวลาค่าปรับเป็นศูนย์จากมาตรการโควิดถึงวันที่ 14 มิ.ย. 2568 สาเหตุของความล่าช้าเกิดจากปรับแก้ตอม่อทางยกระดับที่กีดขวางทางขึ้นลงของสะพานกลับรถที่ กท.26
สัญญาที่ 4 ช่วงกม.ที่25+734 - กม.ที่ 26+998 ระยะทาง 1.264 กม. วงเงิน 1,876 ล้านบาท มี บจ.กรุงธนเอนยิเนียร์ เป็นผู้รับจ้าง คืบหน้า 35.46% ล่าช้า 23.29% (แผนงานกำหนด 58.75% )เริ่มต้นสัญญา 1 ก.พ. 2565 สิ้นสุดสัญญาเดือน ธ.ค. 2568 ได้รับการขยายเวลาค่าปรับเป็นศูนย์จากมาตรการโควิดถึงวันที่ 14 มิ.ย. 2568 สาเหตุของความล่าช้าเกิดจาก การปรับแก้ตอม่อทางยกระดับซึ่งแบบออกแบบไว้ทับทางเท้าของประชาชนทั้งสองข้างทาง บริเวณกม.ที่ 26+100 - กม.ที่26+800 ทั้งขาเข้าและขาออก
สัญญาที่ 5 ช่วงกม.ที่ 26+998 - กม.ที่ 28+664 ระยะทาง 1.666 กม. วงเงิน 1,903 ล้านบาท มี บจ.บางแสนมหานคร เป็นผู้รับจ้าง คืบหน้า 46.47% ล่าช้า 7.99% (แผนงานกำหนด 54.46% ) เริ่มต้นสัญญา 1 ก.พ. 2565 สิ้นสุดสัญญา 15 ม.ค. 2568 และขยายเวลาค่าปรับเป็นศูนย์จากมาตรการโควิดถึงวันที่ 14 มิ.ย. 2568 ทั้งนี้ สัญญานี้ไม่ได้ระบุถึงสาเหตุที่ทำให้งานล่าช้าแต่อย่างใด
สัญญาที่ 6 ช่วงกม.ที่ 28+664 - กม.ที่ 29+772 ระยะทาง 1.108 กม. วงเงิน 1,865 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้ายูเอ็น-เอเอสไอ (ประกอบด้วย บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น และบจ.อสิตากิจ) เป็นผู้รับจ้าง คืบหน้า 20.872% ล่าช้า 37.865% (แผนงานกำหนด 58.737%) เริ่มต้นสัญญา 1 ก.พ. 2565 สิ้นสุดสัญญาเดือน ธ.ค. 2568 และขยายเวลาค่าปรับเป็นศูนย์จากมาตรการโควิดถึงวันที่ 14 มิ.ย. 2568 อุปสรรคที่ทำให้งานล่าช้า ได้แก่ อบจ.สมุทรสาครส่งมอบสะพานกลับรถมอเตอร์ไซต์ล่าช้า ประกอบกับพื้นที่ที่จะต้องทำด่านขึ้น-ลง (ด่านสมุทรสาคร 2) ทับซ้อนกับสะพานกลับรถมอเตอร์ไซต์ของ อบจ.สมุทรสาคร โดยคาดว่าจะแก้ไขแบบก่อสร้างภายในเดือน มี.ค. 2567
สัญญาที่ 7 ช่วงกม.ที่ 29+772 - กม.ที่ 31+207 ระยะทาง 1.435 กม. วงเงิน 1,868 ล้านบาท มี บมจ.อิตาเลียนไทยฯ เป็นผู้รับจ้าง คืบหน้า31.475% ล่าช้า 13.033% (แผนงานกำหนด 44.508%) เริ่มต้นสัญญา 1 ก.พ. 2565 สิ้นสุดสัญญา 15 ม.ค. 2568 และขยายเวลาค่าปรับเป็นศูนย์จากมาตรการโควิดถึงวันที่ 14 มิ.ย. 2568 อุปสรรคที่ทำให้ก่อสร้างล่าช้ามาจากติดปัญหาการก่อสร้างตอม่อในแม่น้ำท่าจีน อยู่ระหว่างขออนุญาตกรมเจ้าท่า (จท.) ในฐานะเจ้าของพื้นที่ โดยขออนุญาตไปเมื่อเดือน ส.ค. 2566
สัญญาที่ 8 ช่วงกม.ที่ 31+207 - กม.ที่ 33+366 ระยะทาง 2.159 กม. วงเงิน 1,910 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้าซีซีเดสพี-เดอะซีอีซี (ประกอบด้วย บมจ. ซีวิลเอนจิเนียริและบจ.เดอะ ซี.อี.ซี. คอนสตรัคชั่น) เป็นผู้รับจ้าง คืบหน้า 45.676% ล่าช้า 3.428% (แผนงานกำหนด 49.104% ) เริ่มต้นสัญญา 1 ก.พ. 2565 สิ้นสุดสัญญา 15 ม.ค. 2568 และขยายเวลาค่าปรับเป็นศูนย์จากมาตรการโควิดถึงวันที่ 14 มิ.ย. 2568 ไม่ได้ระบุอุปสรรคที่ทำให้การก่อสร้างล่าช้า
สัญญาที่ 9 ช่วงกม.ที่ 33+366 - กม.ที่ 35+511 ระยะทาง 2.145 กม. วงเงิน 1,859 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้าซีเอ็มซี-ทีบีทีซี (ประกอบด้วย บจ.เชียงใหม่คอนสตรัคชั่น และ บจ.กิจการร่วมค้า ทีบีทีซี) เป็นผู้รับจ้าง คืบหน้า 65.749% เร็วกว่าแผน 3.787% เริ่มต้นสัญญา 1 ก.พ. 2565 วันสิ้นสุดสัญญา 15 ม.ค. 2568 และขยายเวลาค่าปรับเป็นศูนย์จากมาตรการโควิดถึงวันที่ 14 มิ.ย. 2568
สัญญาที่ 10 ช่วงกม.ที่ 35+511 – กม.ที่ 36+645 ระยะทาง 1.134 กม. วงเงิน 1,946 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้าเอส.เค. (ประกอบด้วย บจ.เสริมสงวนก่อสร้าง และบจ. เค อาร์ ซี ทรานสปอร์ต แอนด์เซอร์วิส) เป็นผู้รับจ้าง คืบหน้า 45.308% ล่าช้า 18.216% (แผนงานกำหนด 63.524 %) เริ่มต้นสัญญา 1 ก.พ. 2565 สิ้นสุดสัญญา 15 ม.ค. 2568 และขยายเวลาค่าปรับเป็นศูนย์จากมาตรการโควิดถึงวันที่ 14 มิ.ย. 2568 สาตุของความล่าช้าเกิดจากปรับแก้ไขตอม่อที่อยู่บนผิวจราจร คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน มี.ค. 2567
3. โครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันตก ระยะทางรวม 18.7 กม. ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) สถานะเดือน ม.ค. 2567 ความคืบหน้าแล้ว 46.21% จากแผนงาน 40.65% เร็วกว่าแผนงาน 5.56% วางแผนเปิดให้บริการกลางปี 2568 มี 4 สัญญาก่อสร้างคือ
สัญญาที่ 1 งานก่อสร้างทางยกระดับ จากแยกต่างระดับบางขุนเทียน-เซ็นทรัลพระราม 2 (กม.13+000-กม.6+630) ระยะทางรวม 6.369 กม. มีกิจการร่วมค้า ยูเอ็น-ซีซี (ประกอบด้วย บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น ร่วมกับ บมจ.ซีวิล เอนจีเนียริง) เป็นผู้รับจ้าง วงเงินโครงการ 7,350 ล้านบาท เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ผลงานสะสม 18.85% จากแผนงาน 17.75% เร็วกว่าแผนงาน 1.10%
สัญญาที่ 2 งานก่อสร้างทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร ช่วงเซ็นทรัลพระราม 2-โรงพยาบาลบางปะกอก 9 ระยะทาง 5.3 กม. มีกลุ่มไชน่าฮาร์เบอร์ฯ-ทิพากร-บุรีรัมย์ธงชัยก่อสร้าง เป็นผู้ก่อสร้าง วงเงินโครงการ 6,440 ล้านบาท ผลงานสะสม 63.16% จากแผนงาน 62.24% เร็วกว่าแผนงาน 0.92%
สัญญาที่ 3 งานก่อสร้างทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร จากโรงพยาบาลบางปะกอก 9-ด่านดาวคะนอง ระยะทาง 5 กม. มีกิจการร่วมค้า ไอทีดี-วีซีบี (ประกอบด้วย บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวลล๊อปเมนต์ ร่วมกับ บจ. วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง) เป็นผู้ก่อสร้าง วงเงินโครงการ 7,359.3 ล้านบาท ผลงานสะสม 16.98% จากแผนงาน 17.75% ช้ากว่าแผนงาน 0.77%
สัญญาที่ 4 งานก่อสร้างช่วงสะพานขึงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาขนานกับสะพานพระราม 9 ขนาด 8 ช่องจราจร และงานทางด่วน ขนาด 6 ช่องจราจร 2 กม. มี บมจ. ช.การช่าง เป็นผู้ดำเนินการ วงเงินโครงการ 6,636 ล้านบาท ผลงานสะสม 98.23% จากแผนงาน 75.50% เร็วกว่าแผนงาน 22.73%
สัญญาที่ 5 งานระบบจัดเก็บค่าผ่านทาง ระบบควบคุมจราจร และระบบสื่อสาร กทพ. อยู่ระหว่างการจัดทำร่างขอบเขตของงานจ้างก่อสร้าง โดยมีแผนจะออกประกาศประกวดราคาช่วงเดือนมีนาคม 2567 นี้
4. โครงการะทางแยกต่างระดับบ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร ช่วงกม.38+ 400 วงเงินค่าก่อสร้าง 600 ล้านบาท ของกรมทางหลวง มี บ.ครีสเตียนี และนีลเส็น (ไทย) เป็นผู้รับจ้าง มีความคืบหน้า 51.872% เริ่มต้นสัญญา 19 ส.ค. 2564 สิ้นสุด 2 ส.ค. 2567