xs
xsm
sm
md
lg

PTTGCสู่องค์กรความยั่งยืน สร้างสมดุลภายใต้กรอบESG

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



PTTGC เดินหน้าองค์กรความยั่งยืนตามกรอบESG แบบสมดุลครอบคลุมทุกมิติ ชี้ธุรกิจยั่งยืนได้ต้องมีสินค้าที่ตลาดต้องการและโลว์คาร์บอน สอดคล้องเมกะเทรนด์

นายคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTGC) กล่าวในเวที iBusiness Forum 2024 Reshapeing Thailand for a Sustainable Future :พลิกเศรษฐกิจไทยก้าวต่อไปอย่างยั่งยืนว่า ภาคธุรกิจกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น ESG(Environment, Social,และ Governance :ESG )เป็นกลไกขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืน เบื้องต้นต้องเชื่อมโยง 3 เรื่องทั้งเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความสมดุล ซึ่งหลายคนมักพูดเรื่องESC เน้นสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก แต่ความจริงต้องทำไปด้วยกัน ให้เกิดความสมดุลและครอบคลุมทุกมิติ

การดำเนินงานตามกรอบความยั่งยืน ธุรกิจต้องมีกำไร เพื่อใช้ดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมไปด้วยกัน ทำให้บุคลากรและคนรุ่นใหม่อยากร่วมทำงานด้วย เช่นเดียวกับนักลงทุน และพันธมิตรร่วมทุนก็ให้ความสำคัญเรื่องความยั่งยืน และการใช้พลังงานสะอาด

อดีตบริษัทจะคำนึงเพียง Licensed to Operation ทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ปัจจุบันไม่ใช่แล้ว บริษัทต้องมี ESG ซึ่งถือเป็น Social Licensed to Operate ต้องเป็นgood citizen ของโลก ซึ่งPTTGC มุ่งสู่องค์กรยั่งยืน ที่คงความสามารถในการทำกำไรโดยมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของเมกะเทรนด์ กล่าวได้ว่าต้องมีสินค้าผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนก่อน

นายคงกระพัน กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทจดทะเบียนของไทยมีความโดดเด่นด้านความยั่งยืนระดับโลก และเป็นสมาชิกดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์(Dow Jones Sustainability Indices: DJSI) มากที่สุดในอาเซียนถึง 37 บริษัท และมีระดับคะแนนท็อป 1%ถึง 12บริษัท ซึ่งPTTGCก็เป็นบริษัทหนึ่งเดียวในโลกที่ได้รับการจัดอันดับจากDJSI ในกลุ่ม World Index ให้เป็นที่ 1 ในกลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์ ด้วยคะแนนสูงสุด 5 ปีต่อเนื่อง นับเป็นองค์กรต้นแบบความยั่งยืนระดับสากล

สำหรับประเด็นสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องที่สำคัญและหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยประชาคมโลกยึดมั่นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์(Net Zero) ซึ่งประเทศไทยประกาศเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในปีค.ศ. 2065 โดยNet Zero คือ การทำธุรกิจจะไม่ปล่อยคาร์บอนเพิ่มให้โลก แต่ถ่ามีการปล่อยคาร์บอนจะต้องนำกลับมาจัดเก็บไว้ อาจปลูกต้นไม้ หรือ CCS ซึ่งปัจจุบันบริษัทชั้นนำของไทยได้มีการกำหนดเป้าหมาย Net Zero ไว้ชัดเจน ขณะเดียวกันพร้อมสนับสนุนให้บริษัทเล็กดำเนินการลดการปล่อยคาร์บอนลงด้วย เพื่อช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายตามที่ประกาศไว้

อีกเรื่องที่มีความสำคัญ คือขยะ ก็เป็นเรื่องที่ต้องมีการบริหารจัดการขยะโดยเฉพาะขยะพลาสติกซึ่งปัจจุบันพลาสติกถูกนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน พลาสติกเป็นวัสดุที่ช่วยลดการใช้ทรัพยากรและคาร์บอนถึง 3เท่าเมื่อเทียบกับวัสดุอื่น แต่ประเทศไทยมีการบริหารจัดการไม่ค่อยดีเท่าที่ควรเมื่อเทียบบางประเทศ โดยไทยมีการจัดเก็บพลาสติกที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้งานใหม่เพียง1/4 ขณะที่ญี่ปุ่นมีสัดส่วนการนำกลับมามากกว่า 70%


PTTGC เป็นบริษัทในเครือปตท.ที่ดำเนินธุรกิจเคมีภัณฑ์ทั้งในและต่างประเทศ มีโรงงานในไทยเกือบ 50แห่ง โดยช่วง 10ปีที่ผ่านมา มีการขยายการลงทุนต่างประเทศจำนวนมาก และให้ความสำคัญในเรื่องความยั่งยืนอย่างจริงจัง เพื่อเป็นต้นแบบการดำเนินธุรกิจยั่งยืนสร้างการเติบโตในเวทีโลก

โดย PTTGCได้ตั้งเป้า Net Zero ในปีค.ศ.2050 และมีเป้าหมายในการปรับลดคาร์บอนที่ชัดเจน โดยผลิตผลิตภัณฑ์ที่มูลค่าเพิ่มและคาร์บอนต่ำ เช่น การผลิตสารเคลือบผิวของ allnex และการตั้งโรงงานผลิตไบโอพลาสติกชนิดPLAในไทย ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร รวมทั้งการตั้งโรงงานรีไซเคิลพลาสติกในไทยขึ้น เกิดEcosystem สร้างประโยชน์ต่อประเทศ ช่วยลดปัญหาขยะ โดยเริ่มตั้งแต่การส่งเสริมชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดเก็บขยะพลาสติกเพื่อจัดเก็บส่งมารีไซเคิลที่โรงงาน และมีการร่วมกับพันธมิตรในการนำพลาสติกรีไซเคิลมาผลิตเป็นสินค้าเช่น เสื้อ รองเท้าและกระเป๋ารีไซเคิล เป็นต้น


กำลังโหลดความคิดเห็น