ส.อ.ท. เปิด 12 ความท้าทายเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย เร่งยกระดับอุตสาหกรมเดิมและอุตสาหกรรมแห่งอนาคต สร้างเครื่องยนต์ใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจวาง 3 เป้าหมาย เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ขับเคลื่อนการเติบโตของ GDP ให้มีอัตราการเติบโต 5% ต่อปี 3ดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืน(SDGs) ทั้งเป้าหมาย Net Zero ของประเทศปีค.ศ. 2065 สร้างเศรษฐกิจจาก BCG 4.4 ล้านล้านบาท
นายนิลสุวรรณ ลีลารัศมี รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยในงาน iBusiness Forum 2024 RESHAPING THAILAND FOR A SUSTAINABLE FUTURE พลิกเศรษฐกิจไทย ก้าวต่อไปอ่างยั่งยืน ว่า ไทยกำลังเผชิญ 12 ความท้าทายที่มีผลต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย แบ่งเป็น 6 ความท้าทายเชิงโครงสร้างได้แก่ 1. ภาวะโลกร้อนซึ่งเกี่ยวข้องกับภัยธรรมชาติและมีเป้าหมายไปสู่Net Zero 2.สังคมผู้สูงอายุ 3.กับดักรายได้ ปานกลาง 4. หนี้สาธารณะ หนี้ครัวเรือน หนี้ธุรกิจ NPL 5. ความขัดแย้งทางการเมือง 6. ปัญหาคอรัปชั่น ขณะที่ 6 ความท้าทายอุตสาหกรมไทยได้แก่ 1. กฏหมายล้าสมัยและเป็นอุปสรรค 2.ต้นทุนพลังงานและวัตถุดิบแพง 3.ผลิตภาพแรงงานต่ำและขาดแคลนแรงงาน 4.ขาดเทคโนโลยีและนวัตกรรม และมีปัญหา Cybersecurity 5.ต้นทุนโลจิสติกส์สูง 6.ค่าเงินมีความผันผวนและดอกเบี้ยที่สูง
ด้วยปัจจัยดังกล่าวทำให้ส.อ.ท. จึงต้องเร่งยกระดับอุตสาหกรรมเดิมและอุตสาหกรรมใหม่ โดยFirst Industrys ซึ่งในส่วนของกลุ่มอุตสาหกรรมสมาชิกส.อ.ท.ที่มี 46 กลุ่มอุตสาหกรรม11 คลัสเตอร์จะต้องเปลี่ยน 4 อย่างคือ จากการรับจ้างผลิตเป็นผลิตสินค้าและเป็นเจ้าของแบรนด์เอง เปลี่ยนจากการใช้แรงงาน เป็นใช้เทคโนโลยี ดิจิทัล เครื่องจักร ระบบอัตโนมัติ เปลี่ยนผลิตเพื่อทำกำไร มาเป็นการผลิตที่ควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนจากใช้ฝีมือแรงงานต่ำ(Unskilled labor)ปรับไปสู่การเพิ่มทักษะฝีมือแรงงาน
ขณะที่อุตสาหกรรมในระยะอนาคตหรือ Next Gen Industrise เพื่อสร้างเครื่องยนต์ใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ผ่าน 3 กลไก ได้แก่ 1.มุ่งสู่อุตสาหกรรม BCG ได้แก่เศรษฐกิจชีวภาพ(Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน(Circular Economy) เศรษฐกิจสีเขียว Green Economy) ที่อาศัยความหลายหลายทางชีวภาพของไทย เช่นยกระดับภาคเกษตรครบวงจร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ฯลฯ 2. พัฒนาอุตสาหกรรม 12 เป้าหมายเพื่อปรับไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ และ 3.Climate Change เพื่อเป้าหมาย Net Zeroของไทยที่วางไว้ปีค.ศ. 2065 เช่นส่งเสริมการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ส่งเสริมการซื้อขายพลังงานหมุนเวียน ฯลฯ
ทั้งนี้ส.อ.ท.วางแนวทางการขับเคลื่อน3 เป้าหมายและ 8 แนวทางยกระดับอุตสาหกรรมไทย โดย 3 เป้าหมายได้แก่ 1.การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน โดยมีเป้าหมายให้ไทยถูกจัดอันดับขีดความสามารถทางการแข่งขัน(IMD)ติด Top 20 2.การขับเคลื่อนการเติบโตของ GDP ให้มีอัตราการเติบโต 5% ต่อปี 3.การดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืน(SDGs) ทั้งเป้าหมาย Net Zero ของประเทศปีค.ศ. 2065 สร้างเศรษฐกิจจาก BCG 4.4 ล้านล้านบาท
ขณะที่ 8 แนวทางยกระดับอุตสาหกรรมไทยได้แก่ 1.ปรับปรุงกฏหมาย กฏระเบียบเพื่อส่งเสริม Ease of Doing Businessและเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจ 2. พัฒนาบุคคลากรเพิ่มผลิตภาพแรงงานแก้ไขปัญหาขาดแคลนท้งระบบ 3.การบริหารจัดการด้านพลังงานทั้งระบบรองรับการเปลี่ยนผ่านพลังงาน 4.ส่งเสริมการส่งออกทางการค้าและสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย(S-Curve) 5.ยกระดับอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรม และดิจิทัล 6.พัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน การบริหารจัดการน้ำและการมุ่งสู่เป้า Net Zero
“ ไทยเองเราเผชิญกับผลกระทบเรื่องโลกร้อนค่อนเยอะ อย่างไรก็ต้องมองในเรื่องของ Net Zero ซึ่งส.อ.ท.เองเราขับเคลื่อนเรื่องนี้หลายด้านและยอมรับว่าไทยอาจจะช้าในเป้าหมายนี้เมื่อเทียบกับหลายประเทศ แต่ภาพรวมแล้วสิ่งที่ทึกส่วนต้องมุ่งไปก็คือ การก้าวสู่ดิจิทัลให้มากสุด เพิ่มศักยภาพในการลดต้นทุน ใช้พลังงานน้อยลง สิ่งเหล่านี้มันเป็นเทรนด์”นายนิลสุวรรณกล่าว