ผู้จัดการรายวัน 360 - “Singapore Crawfish” เดินหน้าขยายตลาดการเพาะเลี้ยง เครย์ฟิช (Crawfish ) รับเติบโตของตลาดรวมที่มากขึ้น ปักธงบุกตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โฟกัสที่ตลาดไทย รุกหนักขายระบบโซลูชั่น มองหาพาร์ทเนอร์ร่วมลงทุน
นายDatuk Desmond Chow ผู้ก่อตั้ง Singapore Crawfish เปิดเผยว่า Singapore Crawfish เป็นบริษัทเชิงพาณิชย์แห่งเดียวในโลกที่เพาะเลี้ยงเครย์ฟิชด้วยความยั่งยืน ฟาร์มแรกของบริษัทได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2561 ที่ประเทศสิงค์โปร์ โดยฟาร์มแรกแห่งนี้เป็นฟาร์มที่ประสบผลสำเร็จในการเพาะเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชชุดแรก
ในปัจจุบัน Singapore Crawfish ได้เติบโตเป็นบริษัทเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชั้นนำในภูมิภาค โดยมีความยั่งยืนเป็นหลักการในการดำเนินธุรกิจ และขณะนี้มีการดำเนินงานอยู่ในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย กัมพูชา และสหรัฐอเมริกา โดยเน้นการสร้างพันธมิตรกับเกษตรกรในประเทศที่กำลังพัฒนาในการเพาะเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชอย่างยั่งยืน
ก่อนที่จะประสบความสำเร็จถึงปัจจุบันนี้ บริษัทได้เริ่มทำการทดลองและศึกษาตลอดจนพัฒนามาต่อเนื่องจนได้รูปแบบและวิธีการที่ดีและเหมาะสมที่สุด โดยเริ่มจากการที่บริษัทได้ทดลองนำกุ้ง Crawfish พันธุ์ต่าง ๆ มากกว่า 200 สายพันธุ์ นำมาทำการทดลองเพาะเลี้ยงในนาข้าวทั้งในประเทศสิงคโปร์และประเทศมาเลเซีย เพื่อศึกษาความแตกต่าง จนกระทั่งได้คัดเลือกสายพันธุ์ที่มีความเหมาะสมและแข็งแรงที่สุดได้เป็นผลสำเร็จ หลังจากนั้นก็ได้ขยายวิธีการเพาะเลี้ยงไปยังประเทศอินโดนีเซียโดยให้เกษตรกรทำการเลี้ยง
จุดเด่นของ ลูกกุ้ง Crawfish ที่เกิดจากกรรมวิธีการเพาะเลี้ยงของบริษัทนั้น เมื่อลูกกุ้งที่เกษตรกรนำไปเลี้ยงมีอายุครบเพียงแค่4 เดือน ก็สามารถนำไปจำหน่ายได้แล้ว ซึ่งเท่ากับว่าทำให้เกษตรกรสามารถทำรายได้ในเวลาอันสั้น
สำหรับมูลค่าตลาดรวมของอุตสาหกรรมเครย์ฟิชทั่วโลกมีมากกว่า 9.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่มูลค่าตลาดในประเทศจีนของเครย์ฟิชมีประมาณ 7พันล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ทาง Singapore Crawfish มีแผนที่จะขยายตลาดเข้ามาในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น ซึ่งในเบื้องต้นนี้ในไทยมีแล้วที่จังหวัดอุดรธานี แต่เป็นช่วงทดลองยังไม่เต็มรูปแบบ ซึ่งทางบริษัทกำลังมองหาพันธมิตรหรือหาพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ ที่จะร่วมมือร่วมลงทุนกันตั้งโรงงานผลิตลูกกุ้ง และการขายลูกกุ้ง – อาหารกุ้ง และเทคโนโลยีการกรองน้ำที่บริษัทคิดค้นขึ้น โดยจะเป็นการทำตลาดในระบบโซลูชั่น
สาเหตุที่สนใจประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยมีความเหมาะสมในหลายประเด็น ทั้งในแง่ของภูมิศาสตร์ที่เป็นประเทศอากาศร้อนเหมาะแก่การเลี้ยงมากกว่าประเทศหนาว ในแง่เศรษฐกิจที่มีการเติบโตในระยะยาว และการยอมรับของตลาดผู้บริโภคคนไทย ด้วยรูปแบบธุรกิจที่หลากหลาย โดยการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่ตกลงกัน ในรูปแบบดังนี้
1. รัฐบาล: ร่วมจัดหาที่ดิน สนับสนุนเงินทุน หรือเงินกู้ ที่จำเป็นสำหรับเกษตรกรเพื่อให้ Singapore Crawfish สามารถจัดหาเทคโนโลยีให้กับเกษตรกรได้
2. เกษตรกร: นำเทคนิคหรือเทคโนโลยีการปลูกพืชเชิงผสมผสานจาก Singapore Crawfish มาปรับใช้ และนอกจากนี้ทาง Singapore Crawfish ยังจะช่วยสนับสนุนเกษตรกรด้วยการซื้อกุ้งเครย์ฟิชที่เกษตรกรเลี้ยงกลับมาด้วย
3. นักลงทุน: สามารถลงทุนในจำนวนเงิน 3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสร้างโรงเพาะเลี้ยงหรือลงทุนใน Singapore Carwfish ของเรา และรับผลกำไรจากผลกำไรของเราทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เขากล่าวด้วยว่า เหตุผลที่จะทำให้เกษตรกรรวมทั้งนักลงทุนที่สนใจในระบบการเพาะเลี้ยงของบริษัทฯ ก็เนื่องจากว่า สิ่งที่ทำให้ Singapore Carwfish มีความแตกต่างนั้นคือ
1. Singapore Crawfish ผู้บุกเบิกด้านโซลูชั่นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน ด้วยความกระตือรือร้นที่พร้อมรับมือกับความท้าทายที่สำคัญที่เกษตรกรต้องเผชิญ โดยผลงานและแนวทางแก้ไขที่โดดเด่นของเราที่เห็นได้ดังต่อไปนี้:
เทคนิคการปลูกพืชเชิงผสมผสาน: ด้วยการบูรณาการการเพาะเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชและปลา เข้ากับนาข้าวแบบดั้งเดิมได้อย่างราบรื่น ซึ่งแนวทางนี้จะช่วยเพิ่มให้เกิดการใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประโยชน์สูงสุด ลดการพึ่งพายาฆ่าแมลง และกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชข้าว เกษตรกรที่ใช้เทคนิคนี้จะสามารถเพิ่มรายได้ได้ถึง 400% และใช้ปั๊ม อุปกรณ์ น้อยลงสำหรับการชลประทานและการเติมอากาศในบ่อปลา Singapore Carwfish ยินดีที่จะซื้อกุ้งเครย์ฟิชที่เกษตรกรเลี้ยงกลับคืนด้วย ดังนั้นเกษตรกรจึงไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องการหาแหล่งขายกุ้งเครย์ฟิช
2. ระบบการคลอดอัตโนมัติ (Auto Birthing System - ABS): ระบบโมดูลาร์ (Modular System) แบบใหม่นี้จะช่วยกําหนดการผลิตกุ้งเครย์ฟิชใหม่ โดยเป็นวิธีที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ประหยัดพื้นที่ และง่ายต่อการบํารุงรักษา ซึ่งระบบ ABS ถือเป็นเทคโนโลยีที่อยู่ระหว่างการจดสิทธิบัตร สามารถปรับปรุงอัตราการรอดชีวิตของกุ้งเครย์ฟิชได้อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งนับเป็นโอกาสสำคัญในการเปลี่ยนแปลงแนวทางปฏิบัติการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั่วโลก
3. ระบบน้ำหมุนเวียนในตู้คอนเทนเนอร์ (Container Recirculating Aquaculture System - CRAS): เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ซึ่งเป็นนวัตกรรม "plug and play" ที่ออกแบบมาเพื่อแก้ไขข้อจำกัดของระบบเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำหมุนเวียนแบบดั้งเดิม (RAS) ซึ่ง CRAS ไม่เพียงแต่ลดภาระค่าใช้จ่ายที่สูง และก้าวข้ามอุปสรรคทางการเคลื่อนย้าย และแก้ปัญหาในการบำรุงรักษาที่เกี่ยวเนื่องกับ RAS แบบเดิมเท่านั้น แต่ยังใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในร่มและกลางแจ้งอีกด้วย
4. แนวคิด WeWork: แนวคิด WeWork เปิดตัวในปี 2565 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ต้องการเข้าถึงอุตสาหกรรมโดยใช้พื้นที่ทำงานร่วมกัน พวกเขาสามารถใช้ที่ดินที่มีประสิทธิภาพโดยการรวมธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำหลายแห่งไว้ในพื้นที่เดียวกันซึ่งจะช่วยลดการใช้ที่ดินอย่างสิ้นเปลืองและเพิ่มการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดในเวลาเดียวกัน