xs
xsm
sm
md
lg

การสร้างคนให้ตอบโจทย์อุตสาหกรรมอย่างแท้จริง คือความท้าทายอย่างมีวิสัยทัศน์ (Part 1)

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

กว่า 16 ปีที่สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น สานเจตนารมร์การเป็นสถาบันอุดมศึกษาไทย สไตล์ญี่ปุ่น ด้วยการเรียนแบบ Monodzukuri มุ่งมั่นเพื่อเป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำที่เป็นศูนย์กลางทางวิชาการและวิชาชีพเฉพาะทางชั้นสูง โดยยังคงจุดเด่นของสถาบันตั้งแต่เริ่มก่อตั้งไว้อย่างเหนียวแน่น ทั้งการพัฒนานักศึกษาตามหลัก Monodzukuri เรียนรู้จากการลงมือทำ ทำให้มีความเชี่ยวชาญทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อทำงานแบบญี่ปุ่น รวมถึงการเรียนรู้สังคมวัฒนธรรมของญี่ปุ่น เพื่อให้สามารถเข้าทำงานในบริษัทญี่ปุ่น ทั้งในไทยและในประเทศญี่ปุ่นได้

เน้นเรียนภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษ การเก่งภาษาจะช่วยให้มีทักษะการสื่อสารที่ดี ภาษาญี่ปุ่นจึงเป็นหนึ่งวิชาภาคบังคับที่นักศึกษา TNI ทุกคนต้องเรียน นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ

จบแล้วมีงานทำ 100% สถาบันจัดงาน TNI JOB FAIR มหกรรมนัดพบแรงงาน ที่มีบริษัทชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่นและบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทยกว่า 100 บริษัทเข้าร่วม มีตำแหน่งงานมากกว่า 1,000 ตำแหน่ง ให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้มองหางานที่ตรงตามความต้องการ และทางบริษัทได้คัดสรรทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และมีคุณสมบัติตรงกับตำแหน่งงาน พร้อมโอกาสที่เปิดกว้างในการไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น

โครงการแลกเปลี่ยน เรียนต่อ ฝึกงาน และทำงานในประเทศญี่ปุ่น อาเซียน และประเทศอื่นๆ นักศึกษาโอกาสไปแลกเปลี่ยน เรียนต่อ ฝึกงาน หรือทำงานในประเทศญี่ปุ่น อาเซียน และประเทศอื่นๆ กว่า 80 แห่ง ในรูปแบบการเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนทั้งระยะสั้นและระยะยาวกับมหาวิทยาลัยพันธมิตร (MOU)

พร้อมทุนสนับสนุนจากองค์กรและบริษัทต่างๆ โดยสถาบันได้รับการสนับสนุนทางด้านอุปกรณ์ เงินทุนการศึกษา จากองค์กรและบริษัทต่างๆ ของไทยและญี่ปุ่นมาอย่างต่อเนื่อง

ด้วยจุดเด่นเหล่านี้ ทำให้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สถาบันได้เป็นจุดเริ่มต้น และสามารถส่งบัณฑิตเข้าสู่การทำงานในภาคอุสาหากรรมที่เป็นที่ต้องการของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นทั้งในไทยและในประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งประเทศอื่นๆ หลังจบการศึกษาได้ทันที


นายฐตพล บุญทองขาว บัณฑิตเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง สาขาวิศวกรรมการผลิต หรือสาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติแบบลีน (RE) ในปัจจุบัน กล่าวถึงการทำงานที่ Hirate Technical Co.,Ltd. ประเทศญี่ปุ่น ในตำแหน่ง วิศวกรออกแบบ ว่า

“งานค่อนข้างตรงกับสาขาที่ได้เรียนมาครับ โดยเฉพาะในส่วนของงานเขียนแบบ ซึ่งงานหลักๆ จะเป็นการขึ้นรูปชิ้นส่วนรถยนต์เป็นส่วนใหญ่โดยใช้โปรแกรมเขียนแบบ 3 มิติ แต่ตอนนี้ประสบการณ์ยังมีไม่มากเนื่องจากยังอยู่ในช่วงเรียนรู้งาน ยังมีสิ่งใหม่ๆ ที่จะต้องเรียนรู้และฝึกฝนในทุกๆ วัน ต้องมีการปรับตัวพอสมควร ทั้งด้านการทำงาน การใช้ชีวิตและด้านภาษา

ส่วนใหญ่การทำงานจะเป็นแบบทีม จึงขอยกแนวคิดการสื่อสารของคนญี่ปุ่นที่บอกอยู่เสมอ คือ HO・REN・SO ครับ

HO(報告) Houkoku คือ การรายงาน ซึ่งจะต้องถูกต้อง รวดเร็ว และครบถ้วน

REN (連絡 )Renraku คือ การติดต่อหรือการประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องให้ทราบ

SO ( 相談 ) Soudan คือ การปรึกษาหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง เมื่อมีอุปสรรคในการทำงานนั้น

เมื่อรวม 3 สิ่งนี้ จะทำให้การทำงานเป็นไปได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ”


นายกันต์ปพนธ์ เหลืองอร่าม บัณฑิตเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง สาขาวิศวกรรมยานยนต์ (AE) ปัจจุบันทำงานที่ Honda Automobile (Thailand) Co., Ltd.ในตำแหน่ง Engine Quality Engineer กล่าวถึงการตัดสินใจเข้าเรียนที่ TNI ว่า

“มีความสนใจในเรื่องรถยนต์และเทคโนโลยีเกี่ยวกับยานยนต์มาตั้งแต่ ม. ปลาย นอกจากนี้ยังมองหาโอกาสไปหาประสบการณ์ระยะสั้นในต่างประเทศในช่วงที่เรียนมหาวิทยาลัย ซึ่งที่ TNI มีหลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์ที่ได้เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ รวมทั้งได้พัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น อาจจะมีโอกาสไปฝึกงานหรือเรียนแลกเปลี่ยนที่ประเทศญี่ปุ่น จึงรู้สึกสนใจและตัดสินใจเข้าเรียนที่นี่”

และเมื่อได้เข้าเรียนที่ TNI “ผมได้ไปแลกเปลี่ยนที่มหาวิทยาลัยโทโฮคุ ประเทศญี่ปุ่น ในโครงการ Junior Year Program in English (JYPE) พร้อมทุนสนับสนุน JASSO Scholarship เป็นระยะเวลา 1 เทอมการศึกษา โดยคอร์สหลักของโครงการ คือการทำโปรเจคงานวิจัยส่วนบุคคลในห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัย ผมเลือกทำโปรเจคเกี่ยวกับ Solid-state battery ซึ่งได้บูรณาการความรู้ในด้านวิศวกรรมศาสตร์มาใช้ในการทำการวิจัย ผมได้รับความรู้ความเข้าใจใหม่ในเกี่ยวกับหลักการทางกลศาสตร์ ไฟฟ้าเคมี และเทคโนโลยีสำหรับแบตเตอรี่ในอนาคต

นอกจากนี้การใช้ชีวิตในประเทศญี่ปุ่น ผมได้พัฒนาทักษะทางด้านภาษา ทั้งภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น รวมถึงภาษาจีน เพราะว่าต้องอาศัยอยู่ร่วมกับนักศึกษาที่มาจากหลากหลายประเทศ ได้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของประเทศอื่นๆ ผ่านทางเพื่อนๆ ที่รู้จักกัน”

รศ.รังสรรค์ เลิศในสัตย์ อธิการบดี กล่าวถึงการส่งเสริมและผลักดันบัณฑิตให้ไปทำงานในญี่ปุ่นมากขึ้นว่า “การได้ทำงานในญี่ปุ่น จะทำให้ได้ประสบการณ์การทำงานโดยตรง ได้ฝึกฝนภาษาญี่ปุ่นจนชำนาญเรียนรู้วัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่น และเมื่อกลับมาทำงานในประเทศไทยโดยเฉพาะบริษัทญี่ปุ่นจะมีโอกาสก้าวขึ้นเป็นผู้บริหารในระดับกลางได้อย่างรวดเร็ว พร้อมมีอนาคตที่สดใส”
กำลังโหลดความคิดเห็น