xs
xsm
sm
md
lg

ปุ้มปุ้ย SAVE THE OCEAN ปักหมุดหมายพื้นที่ตรัง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ปุ้มปุ้ย SAVE THE OCEAN ปักหมุดหมายพื้นที่ตรัง ร่วมกับกลุ่มชาวประมงพื้นบ้าน บ้านน้ำราบและองค์กรชาวประมงพื้นบ้านในเขตทะเลเสบ้าน เร่งสร้างสมดุลระบบนิเวศทางทะเล เพิ่มพื้นที่ดูดซับคาร์บอนช่วยบรรเทาปัญหาโลกรวน
 บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิต “ปุ้มปุ้ย” ร่วมกับกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านบ้านน้ำราบและองค์กรชาวประมงพื้นบ้านในเขตทะเลเสบ้านจัดกิจกรรม "ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ปลูกหญ้าทะเลสร้างสมดุลระบบนิเวศทะเลและชายฝั่ง" โดยผนึกกำลังกับอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม สำนักทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 7 ประมงจังหวัดตรัง อำเภอกันตัง สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด สมาคมชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง และมูลนิธิอันดามัน พร้อมด้วยหน่วยงานราชการ เอกชน และเครือข่ายประมงพื้นบ้าน 40 ชุมชน ได้รับเกรียติจาก นายรัตนะ สวามีชัย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นายสกุล ดำรงเกียรติสกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรังให้การต้อนรับ จากนั้นได้ร่วมกันปลูกหญ้าทะเลกว่า 3,000 ต้น เร่งสร้างสมดุลระบบนิเวศทางทะเลที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และเพิ่มพื้นที่ Blue Carbon เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่มีประสิทธิภาพ มีความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนสูงกว่าป่าไม้ถึงเกือบ 10 เท่า


ทั้งนี้ จังหวัดตรังเริ่มเกิดความเสื่อมโทรมของแหล่งหญ้าทะเลจากหลายปัจจัย ทั้งเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ มรสุม การเปลี่ยนแปลงตะกอนทรายชายฝั่งทำให้เกิดการทับถมของตะกอนทรายในพื้นที่แหล่งหญ้าทะเล เป็นเหตุให้สัตว์น้ำเศรษฐกิจ เช่น ปูม้า หอย กุ้ง ลดจำนวนลงเนื่องจากไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์อนุบาลสัตว์น้ำ รวมถึงไม่มีแหล่งอาหารให้กับพะยูน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดตรัง จึงมีความจำเป็นต้องปลูกหญ้าชะเงาใบยาวเพื่อฟื้นฟูแหล่งอนุบาลและเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ แหล่งอาหารที่สำคัญของพะยูน พร้อมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเพื่อเพิ่มปริมาณ


นางปวิตา โตทับเที่ยง ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร กล่าวว่า ด้วย บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) จัดตั้งโรงงานอยู่ที่จังหวัดตรัง มีความมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึง สิ่งแวดล้อม สังคม และชุมชน จึงปักหมุดหมายในการเร่งสร้างสมดุลระบบนิเวศทางทะเลจังหวัดตรัง ปลูกหญ้าทะเล ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ พร้อมกับปลูกจิตสำนึกคนในชุมชน คนในจังหวัตรัง ให้ตระหนักรู้ถึงประโยชน์และความสำคัญของระบบนิเวศทางทะเล จากนั้นจะเกิดจิตสำนึกในการดูแลรักษา ระบบนิเวศก็จะสมบูรณ์ ในที่สุดก็เป็นผลดีกลับมายังชาวบ้านเอง

นางปวิตา กล่าวต่อว่า ในปี 2567 บริษัทมุ่งปลูกหญ้าทะเลในพื้นที่จังหวัดตรังจำนวน 10,000 ต้น โดยเน้นความร่วมมือในระยะยาวกับพันธมิตรจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และชุมชน เพราะระบบนิเวศทางทะเลเป็นเรื่องใหญ่ของทุกภาคส่วน ปุ้มปุ้ยเองเป็นเพียงกลไกหนึ่งที่พร้อมสร้างสมดุลระบบนิเวศทางทะเลจังหวัดตรังกลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง














กำลังโหลดความคิดเห็น