xs
xsm
sm
md
lg

ศูนย์วิจัยข้าวอยุธยาถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตข้าวพื้นที่ข้าวขึ้นน้ำ-ข้าวน้ำลึก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นายนพดล ประยูรสุข ผู้อํานวยการศูนย์วิจัยข้าวพระนครศรี อยุธยา เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยข้าว พระนครศรีอยุธยา ได้กําหนดจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวในพื้นที่ข้าวขึ้นน้ําและข้าวน้ําลึก ภาย ใต้ชื่องาน“"ดินแดนอู่ข้าวอู่น้ํา เมืองอโยธยาศรีรามเทพนคร" ขึ้นในวันพุธที่ 20 ธันวาคม 2566 ณ ศูนย์วิจัยข้าวพระนครศรีอยุธยา ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอด ความรู้ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวขึ้นน้ําและข้าวน้ําลึกให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย เกษตรกรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอ่างทอง และเจ้าหน้าที่กรมการข้าว รวมจํานวน 150 คน

ทั้งนี้การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าว ภายใต้ชื่อ งาน “ดินแดนอู่ข้าวอู่น้ํา เมืองอโยธยาศรีรามเทพนคร" ทางศูนย์ต้องการแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ํา ความหลากหลายของพันธุ์ข้าว ที่หล่อเลี้ยงคนไทยมาแต่อดีต จนกระทั่งเป็นมหานครที่เจริญรุ่งเรืองและยิ่งใหญ่แห่ง หนึ่งในดินแดนอุษาคเนย์ การจัดงานดังกล่าว ถือเป็นส่วนสําคัญในการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ตั้งแต่ระดับ เศรษฐกิจฐานรากจนไปถึงอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อการส่งออก


โดยใช้แนวทางเศรษฐกิจ BCG Model ซึ่งเป็น แนวทางในการขับเคลื่อนการผลิตและการตลาดของข้าวไทย ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่นาย ณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว เน้นย้ำให้หน่วยงานภายใต้กรมการข้าว ช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่ม ขึ้น ลดต้นทุน และที่สําคัญต้องเป็นการผลิตข้าวแบบรักษ์โลก งดการเผาฟางและตอซัง รวมถึงลดการปลดปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ซึ่งนอกจากเทคโนโลยีการผลิตข้าวขึ้นน้ํา และข้าวน้ําลึกแล้ว ยังมีการจัดแสดงการแปรรูป ผลิตภัณฑ์ข้าวขึ้นน้ํา และข้าวน้ําลึกที่เป็นอาหารคาว อาหารหวาน อาหารเพื่อสุขภาพจากภูมิภาคต่างๆ ของ ประเทศ โดยมีผลิตภัณฑ์จากพันธุ์ข้าวอื่นที่กรมการข้าวรับรองอีกด้วย

“การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวขึ้นน้ําและข้าวน้ําลึก เป็นองค์ความรู้สําคัญที่ศูนย์วิจัยข้าว พระนครศรีอยุธยา ได้ถ่ายทอดไปสู่เกษตรกร โดยเฉพาะในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง ที่มีน้ําท่วมประจําทุกปี ใน บางพื้นที่ที่ผลิตข้าวยังมีความจําเป็นต้องใช้พันธุ์ข้าวขึ้นน้ํา และข้าวน้ําลึก ที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพ แวดล้อมเมื่อมีน้ําหลากลงมาจากภาคเหนือ แต่ในปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ที่เป็นการ เกษตรแบบแม่นยํา (Precision farming) ซึ่งนอกจากใช้พันธุ์ข้าวขึ้นน้ําและข้าวน้ําลึกแล้ว เกษตรกรยังเลือก ช่วงเวลาการปลูกให้สอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนของสภาพภูมิอากาศหลีกเลี่ยงช่วงเวลาน้ําท่วม หรือประสบ ภัยแล้ง และใช้เครื่องจักรกลการเกษตรเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น การอัดฟาง ก้อนนําไปเลี้ยงสัตว์ งดเผาฟางและตอซัง ทําการไถกลบเศษวัสดุเพื่อเพิ่มปริมาณธาตุอาหาร หรือการใช้โดรน ทางการเกษตรในการฉีดพ่นสาร หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว หว่านปุ๋ย ทําให้ผู้ฉีดพ่นสารสัมผัสสารเคมีลดลงและ ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถทํางานได้รวดเร็ว และใช้แรงงานคนเพียง 1- 2 เท่านั้น” นายนพดล กล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น