xs
xsm
sm
md
lg

"ชัชชาติ"เลื่อนเก็บค่าโดยสารสีเขียวต่อขยาย 15 บาทไปต้นปี 67 พร้อมยื่น "อนุทิน" หารือทางออกชำระหนี้ค่าโยธา-ระบบ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



"ชัชชาติ"เลื่อนเก็บค่าโดยสารสีเขียวต่อขยาย 15 บาท ไปต้นปี 67 รอคมนาคม ตอบหนังสือทางการ และ BTS ปรับระบบพร้อมยื่นมท.1 เร่งหารือแนวทางชำระหนี้ ค่าก่อสร้าง-งาน E&M 2.3 หมื่นล้านบาท

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยถึงการเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และแบริ่ง-สมุทรปราการ (ชั่วคราว) อัตรา 15 บาท รวมเส้นทางหลักไม่เกิน 62 บาท ว่า อาจจะขยับจากเดิมที่จะเก็บในเดือนธ.ค.2566 ออกไป ประมาณ 1 เดือน โดยคาดว่าจะเริ่มได้ในต้นปี 2567 ขณะนี้อยู่ในกระบวนการด้านเอกสาร ซึ่งกทม.ได้ทำหนังสือถึงกระทรวงคมนาคม ในการขอทราบการพิจารณาแนวทางการเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายอย่างเป็นทางการ ซึ่งกระทรวงคมนาคมไม่ได้ขัดข้องจากที่มี การหารือกันมาก่อนหน้าแล้ว

นอกจากนี้ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ะต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 30 วันในการปรับระบบซอฟต์แวร์ ก่อนจัดเก็บค่าโดยสาร ซึ่งตามขั้นตอน ผู้ว่าฯกทม.ต้องลงนามออกประกาศจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยภายหลังการลงนามแล้วเสร็จภายใน 30 วัน จึงจะเริ่มเก็บค่าโดยสารได้ คาดว่าจะภายในเดือนมกราคม 2567

"ส่วนต่อขยายสีเขียว ไม่ได้เก็บค่าโดยสารมานานตั้งแต่ช่วงก่อนโควิด – 19 ปี 2562 ให้ใช้ฟรีมาตลอด หารือทุกฝ่าย ไม่ขัดข้อง และราคา 15 บาที่เก็บยังต่ำกว่าต้นทุนที่กทม.ต้องจ่ายด้วยโดยปัจจุบัน ผู้โดยสารของรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งเส้นประมาณ 1 ล้านเที่ยวคนต่อวัน"นายชัชชาติกล่าว

ส่วนสายสีเขียวจะใช้นโยบายค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายนั้น นายชัชชาติกล่าวยอมรับว่า เป็นเรื่องยาก เนื่องจากระหว่างกทม.และ BTS มีสัญญาสัมปทานระหว่างกัน หากจัดเก็บค่าโดยสารที่ 20 บาท รัฐบาลต้องเป็นผู้อุดหนุนให้เอกชนตามรายได้ที่ลดลง
นายชัชชาติกล่าวถึงความคืบหน้าแนวทางการชำระหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียวต่อขยาย ทั้งหมดรวมทั้งค่าโครงสร้างค่างานติดตั้งระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (E&M) ของรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่-คูคต ประมาณ23,000 ล้านบาทกับ BTSC ว่า ขณะนี้ทางกทม. ได้ส่งเรื่องให้กับนายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พิจารณา ตามที่กระทรวงมหาดไทยถามมาแล้ว ซึ่งคงจะต้องเสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาสรุปแนวทางก่อน จากนั้นจึงนำกลับมาเสนอสภากรุงเทพมหานคร พิจารณา

สำหรับแนวทางการชำระหนี้นั้นมี แนวทางที่ 1 คือใช้เงินสะสมจ่ายขาดของกทม.ที่มีอยู่กว่า 50,000 ล้านบาทมาชำระ แนวทางที่ 2 คือ การใช้เงินงบประมาณจ่าย ซึ่งจะพยายามดำเนินการให้เร็วที่สุด  ส่วนหนี้ค่าโครงสร้าง อยากให้รัฐรับภาระอดหนุน เพราะเริ่มต้นมารัฐบาลรับภาระมา และจะเป็นสมบัติของรัฐต่อไป


กำลังโหลดความคิดเห็น