xs
xsm
sm
md
lg

FAMZ ชี้ธุรกิจครอบครัวไทยได้ “ไปต่อ ไม่ต้องรอใคร” แค่ร่วมกันสร้าง The True Power of Family Business

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



FAMZ ที่ปรึกษาธุรกิจครอบครัวชั้นนำของประเทศไทยชี้โอกาสเติบโตของธุรกิจครอบครัวในประเทศไทยยัง “ไปต่อ” ได้อีกยาวๆ โดยร่วมสร้าง The True Power of Family Business หรือ “พลังธุรกิจครอบครัวที่แท้จริง” จากจุดแข็งที่ธุรกิจครอบครัวต่างก็ส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่นอย่างต่อเนื่อง ด้วยกลยุทธ์ One Family, One Wisdom พร้อมแนะให้ธุรกิจครอบครัวพัฒนาตนเองด้วยหลัก “ไคเซ็น” (Kaizen) ทั้ง Reskill – Upskill โดยเฉพาะความรู้ทางด้านธุรกิจ และศาสตร์เฉพาะของธุรกิจครอบครัว ซึ่งต่างจากธุรกิจทั่วไป เพื่อการสืบทอดกิจการอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ รศ.ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล คณบดี คณะวิทยพัฒน์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ ผู้ก่อตั้งบริษัท แฟมส์ จำกัด (FAMZ) ที่ปรึกษาธุรกิจครอบครัวชั้นนำของประเทศไทยกล่าวถึงโอกาสและเทรนด์การเติบโตของธุรกิจครอบครัวของประเทศไทยก่อนถึงโค้งสุดท้ายของปี 2566 และในอนาคตอันใกล้ว่า

“ธุรกิจครอบครัวของประเทศไทยนับเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยคิดสัดส่วน 80%ของ GDP นั้น สำหรับโค้งสุดท้ายของปี 2566 และในอนาคตอันใกล้นี้ ธุรกิจครอบครัวยังคงมีรากฐานที่แข็งแกร่ง และ “ไปต่อ” ได้อีกยาวนานอย่างแน่นอน ด้วยการร่วมกันสร้าง The True Power of Family Business หรือ “พลังที่แท้จริงของธุรกิจครอบครัว” เนื่องจากธุรกิจครอบครัวจะส่งผ่านองค์ความรู้ และความเชี่ยวชาญเฉพาะกันจากรุ่นสู่รุ่นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น หากภาพรวมของธุรกิจครอบครัวในประเทศไทยสามารถต่อยอดจุดแข็งดังกล่าว ด้วยกลยุทธ์ One Family, One Wisdom หรือ “หนึ่งครอบครัว หนึ่งภูมิปัญญา” โดยการขับเคลื่อนให้แต่ละธุรกิจครอบครัวร่วมแสดงพลังที่แท้จริงของตนเอง เพื่อถ่ายทอด Wisdom ซึ่งเป็นองค์ความรู้ ภูมิปัญญา ทักษะ และความเชี่ยวชาญเฉพาะภายในธุรกิจของครอบครัวก็จะเป็นยุทธศาสตร์ที่จะเอื้อให้เศรษฐกิจระดับมหภาคของประเทศไทยก้าวหน้าและเติบโตได้ด้วยเช่นกัน”

อย่างไรก็ตาม ในการส่งผ่าน “ขุมพลังความแข็งแกร่ง” ที่เรียกว่า Wisdom นั้น รศ.ดร.เอกชัยได้แนะนำแนวทางเพื่อการเติบโตจากรุ่นสู่รุ่นอย่างยั่งยืนของธุรกิจครอบครัวเพิ่มเติมว่า

“ในเบื้องต้น เจ้าของธุรกิจครอบครัวในรุ่นปัจจุบันจะต้องเห็นความสำคัญของการดำเนินกลยุทธ์และยุทธศาสตร์อย่างถูกต้อง และเหมาะสม อีกทั้งต้องจัดเตรียมและพร้อมวางแผนการดำเนินงานธุรกิจครอบครัวของตนเองเองอย่างรอบคอบ พร้อมทั้งมุ่งมั่นพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องด้วยหลักคิดแบบญี่ปุ่นที่เรียกว่า “ไคเซ็น” (Kaizen: Continuous Improvement หรือ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง) ทั้ง Reskill – Upskill โดยเฉพาะทักษะความรู้ทางด้านธุรกิจ และศาสตร์เฉพาะของธุรกิจครอบครัว ซึ่งต่างจากธุรกิจทั่วไป เพื่อการสืบทอดกิจการอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกัน ก็ต้องปรับตัวเพื่อให้ตนเองมีองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับยุคสมัย โดยเฉพาะในโลกเทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้ามามีบทบาทเปลี่ยนแปลงธุรกิจ สังคม ตลอดจนทัศนคติและวิถีชีวิตของผู้คนในสังคม

ดังนั้น ธุรกิจครอบครัวจึงต้องเปิดใจตนเอง เพื่อที่จะ Unlearn – Relearn เพื่อสร้างการเรียนรู้ตลอดเวลาให้กับชุมชนของธุรกิจครอบครัวที่มีทั้งผู้นำ และสมาชิกธุรกิจครอบครัว ตลอดจนพนักงานและคู่ค้าต่างๆ ขณะเดียวกัน ก็เปิดกว้างสำหรับโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ และเปิดพื้นที่ใหม่ๆ ให้สมาชิกครอบครัว หรือแม้แต่ทายาทธุรกิจได้มีโอกาสบริหารจัดการ หรือมีส่วนขับเคลื่อนก็จะเป็นการดี โดยในระยะแรกๆ อาจจำกัดขอบเขตความเสี่ยงเพื่อมิให้กระทบกับธุรกิจในภาพรวมก่อนก็ได้หากมีกรณีความผิดพลาดเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม การเปิดพื้นที่เช่นนี้หากมีความผิดพลาด หรือ “ล้มเหลว” ก็ต้องเรียนรู้ที่จะ “ลุกให้เร็ว” ด้วย”

นอกจากนี้ ในการบ่มเพาะ Wisdom สำหรับทายาท ตลอดจนสมาชิกของทุกรุ่นในธุรกิจครอบครัวหรือผู้ประกอบการที่มุ่งรักษาและบริหารความมั่งคั่งให้กิจการของครอบครัวตัวเองให้เป็นไปอย่างเหมาะสม รวดเร็วและเป็นระบบ รศ.ดร.เอกชัย เปิดเผยว่า

“เพื่อร่วมกันสร้าง The True Power of Family Business คณะวิทยพัฒน์ มหาวิทยาลัยหอการค้าได้พัฒนาหลักสูตรปริญญาโทบริหารธุรกิจ (MBA) กลุ่มวิชาการจัดการธุรกิจครอบครัว (Concentration in Family Business Management) ในรูปแบบออนไลน์ 100% เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจครอบครัวยุคใหม่ ซึ่งต้องปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจให้เข้ากับโลกดิจิทัล โดยผู้เรียนจะได้เรียนกลุ่มวิชาการจัดการธุรกิจครอบครัวที่มีคณาจารย์ออกแบบและใช้สอนมานานกว่า 15 ปี อีกทั้งยังเป็นผู้ให้คำปรึกษามาแล้วกว่า 500 ธุรกิจ อาทิ การบริหารความเสี่ยงสำหรับธุรกิจครอบครัว, การบริหารความขัดแย้ง, การบริหารนวัตกรรมในธุรกิจครอบครัว, กฎหมายและภาษีของธุรกิจครอบครัว, การวางแผนสืบทอดธุรกิจและการเปลี่ยนผ่านในธุรกิจครอบครัว, การบริหารความมั่งคั่ง ฯลฯ ”
กำลังโหลดความคิดเห็น