ผู้จัดการรายวัน 360- MI GROUP เผยโอกาสทองธุรกิจไทย เจาะลึกข้อมูลแรงงานกว่า 6.8 ล้านคน โอกาสดีของแบรนด์ไทยในการจับตลาด มูลค่าทางเศรษฐกิจสูง 1.2 ล้านล้านบาท/ปี
ว
นายภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด หรือ MI GROUP กล่าวว่า MI GROUP มุ่งมั่นที่จะเคียงข้างแบรนด์ลูกค้าให้ประสบความ มองหากลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ และโอกาสธุรกิจต่างๆ ที่เป็นไปได้อยู่เสมอ เพื่อสนับสนุนให้ภาคธุรกิจเติบโตและบรรลุเป้าหมาย
ล่าสุดMI BRIDGE และ MI Learn Lab ได้นำเสนอข้อมูลของกลุ่มแรงงานชาวเมียนมาที่มีจำนวนมากและมีมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล ซึ่งสร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่สินค้าอุปโภคบริโภคและการบริการด้านการเงิน เพื่อไปปรับใช้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การตลาด หรือ การพัฒนาสินค้า-การให้บริการเพื่อรองรับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว
การเจาะลึกข้อมูลครั้งนี้ MI Learn Lab ได้ทำวิจัยทั้งในเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาข้อมูลของกลุ่มแรงงานเมียนมาในประเทศไทยอาจถูกมองข้ามและยังไม่ได้รับการสำรวจในตลาด ซึ่งผลักดันให้ได้วิจัยน่าสนใจฉบับนี้ขึ้นมา โดยวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างเพื่อทำความเข้าใจวัตถุประสงค์และแรงขับเคลื่อนในการย้ายถิ่นฐานเข้ามาเป็นแรงงานที่ประเทศไทย รวมถึงศึกษาพฤติกรรมการบริโภค และการใช้เวลาว่างของกลุ่มเป้าหมาย
ทั้งนี้คาดการณ์ว่าจำนวนแรงงานเมียนมามีจำนวนสูงถึง6.8ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนที่ใกล้เคียงกับGen Zของประชากรไทย สะท้อนโอกาสของภาคธุรกิจที่จะสามารถนำข้อมูลมาใช้พัฒนาสินค้า-บริการที่สอดรับกับความต้องการและพฤติกรรมการจับจ่ายของกลุ่มแรงงานนี้ ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจได้สูงถึง828,000ล้านบาท –1,242,000ล้านบาทต่อปี
โดยแรงงานชาวเมียนมากว่า 88% ปรารถนาที่จะมีชีวิตที่ดีขึ้น มุ่งหารายได้เป็นสำคัญ และการเข้ามาทำงานในประเทศไทยสร้างรายได้ถึง 10,000 - 15,000 บาทต่อเดือน คิดเป็น 3 - 15 เท่าของเงินเดือนตอนที่อยู่ประเทศเมียนมา กลุ่มแรงงานส่วนมากกำหนดระยะเวลาทำงานในประเทศไทย 3 – 5 ปี เพื่อนำเงินกลับไปตั้งตัวและกลับไปใช้ชีวิตที่ประเทศเมียนมา
ในขณะที่กว่าครึ่งของกลุ่มสำรวจไม่ได้กำหนดระยะเวลา แต่มองที่เป้าหมายจำนวนเงินที่ต้องการเก็บให้ครบเป็นสำคัญ และด้วยแรงผลักดันในการเก็บเงินนี้ แรงงานชาวเมียนมาจึงต้องทำงานล่วงเวลามากกว่ากว่า 10 ชั่วโมงต่อวัน และอย่างน้อย 6 วันต่อสัปดาห์ ส่งผลให้กลุ่มแรงงานดังกล่าวนี้มีเวลาน้อย ทำให้พฤติกรรมการใช้เวลาว่างของกลุ่มแรงงานไปที่กิจกรรม มี 2 ประเภทเมื่อพวกเขามีวันหยุด คือ ‘จับจ่ายซื้อของ’ และ ‘เล่นอินเทอร์เน็ต’
นายวิชิต คุณคงคาพันธ์ Head of International Business Development, MI GROUP กล่าวว่า แรงงานชาวเมียนมาที่อยู่ในประเทศไทย แบ่งช่วงชีวิตออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ภายใต้กรอบการวิจัย ได้แก่ช่วง ‘ช่วงตั้งหลัก’ ที่เพิ่งเริ่มต้นชีวิตในประเทศไทย ‘ช่วงตั้งตัว’ ที่ทำงานและใช้ชีวิตได้ระยะหนึ่งแล้ว และกลุ่มสุดท้าย ‘ช่วงตั้งใจ’ ที่เน้นการติดต่อครอบครัวและเตรียมตัวกลับประเทศเมียนมา แต่ละกลุ่มนี้จะใช้สินค้าและบริการที่แตกต่างกัน สนใจคอนเทนต์ไม่เหมือนกัน รวมถึงมีรายละเอียดของ Media Touchpoint ที่แบรนด์ต้องเลือกใช้อย่างเหมาะสม
จากรายงานครั้งนี้คาดว่าจะสนับสนุนให้นักการตลาด นักกลยุทธ์ รวมถึงแบรนด์ต่างๆ สามารถพัฒนาสินค้าและบริการ รวมถึงสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุดด้วย Business Insights ที่ครอบคลุม จากรายงาน “ผ่าขุมทรัพย์แรงงานชาวเมียนมาในประเทศไทย” พบว่า แรงงานชาวเมียนมาออมเงินได้ถึง 44% หรือ เกือบครึ่งของรายรับ การออมเงินดังกล่าวนั้น ส่งกลับบ้านประมาณ 2 ใน 3 ซึ่งปัจจุบันนิยมให้นายหน้าผู้ดำเนินการโอนเงินให้ และเหลือเงินเก็บที่ตัวเองเพียง 1 ใน 3
นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการเข้าถึง Mobile Banking แรงงานชาวเมียนมาควบคุมรายจ่ายราว 56% จากรายได้ทั้งหมด โดยมีค่าใช้จ่ายสำคัญ คือ ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน (37%) ค่าที่อยู่อาศัย (16%) ค่าโทรศัพท์ (3%) โดยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเน้นติดต่อสื่อสารผ่านการใช้แอพพลิเคชั่นเป็นหลัก จากพฤติกรรมการใช้เงิน เมื่อเชื่อมโยงกับมิติการบริโภคสื่อของแรงงานชาวเมียนมาที่เน้นการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ เพื่อติดตามละคร ภาพยนตร์ และรายการต่างๆ (97%) ดูข่าวและอ่านข่าวสารบ้านเมือง (87%) ฟังวิทยุและฟังเพลง (48%)
ข้อมูลส่วนหนึ่งพบว่า 74% ของกลุ่มตัวอย่างนี้ใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ ในการซื้อของ โดย Lazada เป็นช่องทางอันดับหนึ่ง รองลงมา ตามลำดับ คือ Facebook, Shopee และ TikTok
“ด้วยการวิเคราะห์สัดส่วนพฤติกรรมการเก็บออม การใช้จ่าย ตลอดจนพฤติกรรมการใช้เวลาว่างนอกเหนือจากการทำงาน จะทำให้แบรนด์สามารถเลือกใช้กลยุทธ์การสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ MI BRIDGE และ MI Learn Lab มุ่งหวังให้แบรนด์และองค์กรต่างๆ สามารถบรรลุผลได้ตามเป้าหมาย” นายวิชิต กล่าว