xs
xsm
sm
md
lg

สุริยะ” ลงพื้นที่ "อุดรธานี,สกลนคร" สั่งเร่งซ่อมผิวทางชำรุด เปิดแผนทุ่มงบกว่า 3.75 หมื่นล้านพัฒนาทางหลวง 15 โครงการ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“สุริยะ” ลงพื้นที่ "อุดรธานี,สกลนคร"สั่งเร่งซ่อมผิวทางชำรุด และคับแคบเพิ่มความสะดวกปชช. พร้อมวางแผน
พัฒนาโครงข่ายทางหลวงในอนาคต จ.อุดรธานีอีก 5 โครงการ กว่า 229 กม. งบรวม 2.75 หมื่นล้านบาท จ.สกลนคร 10 โครงการ 207 กม. งบ กว่า 1หมื่นล้าน

รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 23 ก.ย. 2566 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ลงพื้นที่จังหวัดอุดรธานีและสกลนคร พร้อมด้วย นายพงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ ที่ปรึกษารมว.คมนาคม นายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ เลขานุการ รมว.คมนาคมโดยเป็นประธานการประชุมติดตามความคืบหน้าโครงการสำคัญของกระทรวงคมนาคมติดตามการก่อสร้างโครงข่ายทางหลวง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีผู้บริหารหน่วยงานทีาเกี่ยวข้อง ร่วมประชุม ณ ห้องประชุมแขวงทางหลวงอุดรธานีที่ 1 จังหวัดอุดรธานี

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคม ได้ดำเนินการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงที่สำคัญในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีและสกลนคร ให้ครอบคลุมทั่วถึงทุกพื้นที่และสามารถเชื่อมโยงการเดินทางได้อย่างไร้รอยต่อ ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยวในภูมิภาค ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สามารถเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม เดินทางได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย มีคุณภาพชีวิตที่ดี สร้างงาน สร้างรายได้ เพื่อความอุดมสุขของประชาชน จึงได้มอบหมายให้กรมทางหลวง (ทล.) ดำเนินการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่สำคัญในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีได้แก่


1. โครงการทางหลวงที่ดำเนินการแล้วเสร็จและเปิดให้บริการแล้ว ได้แก่ ทล.216 ถนนวงแหวนรอบเมืองอุดรธานี (ด้านตะวันออก) ทล.2 ตอน บ้านห้วยหินลาด - อำเภอโนนสะอาด และ ทล.2023 ตอน อำเภอกุมภวาปี - บ้านโนนสวรรค์ ระยะทางรวม 57 กิโลเมตร

2. โครงการทางหลวงที่อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง ได้แก่ ทล.2 ตอน อุดรธานี - อำเภอสระใคร (เป็นตอน ๆ) ดำเนินการบูรณะพร้อมขยายถนนเป็น 6 ช่องจราจร คืบหน้า ณ เดือนสิงหาคม 2566 อยู่ที่ 90.20% คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2567

3. โครงการที่อยู่ระหว่างเตรียมของบประมาณปี 2567 ได้แก่ ทล.2263 ตอน อุดรธานี - บ้านเพีย (กุดจับ) งานซ่อมสะพานข้ามลำน้ำปาว ทล.2023 ตอน น้ำฆ้อง - ศรีธาตุ ทล.2350 ตอน หนองหาน - กุมภวาปี ทล.2096 หนองเม็ก - คำตากล้า และ ทล.2022 ตอน นิคม - บ้านดุง

นอกจากนี้ มีแผนพัฒนาโครงข่ายทางหลวงในอนาคตในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีอีก 5 โครงการ ระยะทางรวม 229.69 กิโลเมตร งบประมาณก่อสร้างรวม 27,596 ล้านบาท


ส่วนการพัฒนาทางหลวงที่สำคัญในพื้นที่จังหวัดสกลนคร

1. โครงการทางหลวงที่ดำเนินการแล้วเสร็จและเปิดให้บริการแล้ว ได้แก่ ทล.2 สกลนคร - นครพนม ตอน 1 และ 2 และ ทล.2 อำเภอหนองหาน - อำเภอพังโคน ตอน 1 และ 2 ระยะทางรวม 83 กิโลเมตร

2. โครงการทางหลวงที่อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง ได้แก่ ทล.223 สกลนคร - อำเภอธาตุพนม ตอน สกลนคร - อำเภอนาแก ขยายเป็น 4 ช่องจราจร ความคืบหน้า ณ เดือนสิงหาคม 2566 อยู่ที่ 95.62% คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2566

3. โครงการที่อยู่ระหว่างเตรียมของบประมาณปี 2567 ได้แก่ ทล.222 ตอน พังโคน - หนองแวงทล.2218 ตอน คำเพิ่ม - ห้วยบาง และ ทล.227 ตอน บ้านผาสุก - พังโคน

นอกจากนี้ มีแผนพัฒนาโครงข่ายทางหลวงในอนาคตในพื้นที่จังหวัดสกลนครอีก 10 โครงการ ระยะทางรวม 207 กิโลเมตร งบประมาณก่อสร้าง 10,140 ล้านบาท


จากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจติดตามโครงการก่อสร้างโครงข่ายทางหลวงในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย ถนนสาย ทล.2263 สายอุดร - กุดจับ ตรวจสอบความชำรุดของสะพานลำน้ำปาว เชื่อมต่อระหว่างอำเภอกุมภวาปีและอำเภอศรีธาตุ โครงการขยายช่องทางจรจรบน ทล.2023 สายน้ำฆ้อง - วังสามหมอ ตั้งแต่เมืองเก่า (บ้านพันดอน) ถึงเมืองใหม่ อำเภอกุมภวาปี ตรวจสอบและศึกษาการออกแบบโครงการขยายช่องจราจรถนน ทล.2350 ตอน หนองหาน - กุมภวาปี และ ทล.2022 สายสุมเส้า - บ้านดุง ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้พบปะพี่น้องประชาชนชาวอุดรธานีที่มารอต้อนรับ พร้อมรับฟังความคิดเห็น และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เพื่อนำมาพัฒนาโครงการต่าง ๆ ของกระทรวงฯ ให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับรูปแบบวิถีชีวิต ครอบคลุมทุกมิติ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป


โดยนายสุริยะ และมีข้อสั่งการให้ดำเนินการ คือ 1. ให้ ทล. ทช. และหน่วยงานอื่น ๆ รับฟังข้อเสนอแนะจากผู้แทนประชาชนให้มากขึ้น เพื่อให้การดำเนินโครงการต่าง ๆ ตรงตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่

2. ให้พัฒนาเส้นทางคมนาคมรองรับการเดินทางของนักท่องเที่ยวที่จะมาร่วมงานมหกรรมพืชสวนโลก 2569 ณ จังหวัดอุดรธานี

3. จากการลงพื้นที่รับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะจากประชาชน พบว่า มีบางเส้นทางผิวทางชำรุด คับแคบ ไม่สะดวกในการเดินทาง ซึ่ง ทล. ได้ดำเนินการซ่อมบำรุงเพื่อบรรเทาปัญหาในเบื้องต้น ตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรรในปี 2566 แล้ว ดังนั้น เพื่อให้โครงข่ายคมนาคมขนส่งมีประสิทธิภาพ มีความสะดวก ปลอดภัย และแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชน ตนจะเร่งรัดการจัดสรรงบประมาณให้ ทล. ทช. นำมาพัฒนาเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อให้ประชาชนเดินทางได้อย่างสะดวก ปลอดภัย รวมถึงส่งเสริมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในจังหวัดอุดรธานี และจังหวัดใกล้เคียงต่อไป




กำลังโหลดความคิดเห็น