ในวินาทีนี้ถ้าให้พูดถึงประเทศไทย ปัจจุบันได้กลายเป็นประเทศที่กำลังเนื้อหอมจนเป็นที่ยอมรับของตลาดทั่วโลก ทั้งในแง่ของความเป็นประเทศด้าน Medical Hub โดย Medical Tourism Association ได้จัดอันดับให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของไทยติดอันดับ 5 ของโลกในปี 2564 ที่ผ่านมา ประกอบกับทางด้านธุรกิจเสริมความงาม สมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งเสริมสวยนานาชาติจัดอันดับให้ไทยเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงด้านศัลยกรรมติดเป็นอันดับที่ 14 ของโลก เมื่อปี 2563มีจำนวนผู้เข้ารับบริการเป็นชาวต่างชาติมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก เป็นผลมาจากชื่อเสียงด้านศัลยกรรมความงามที่ดีและมีราคาค่าใช้จ่ายถูกกว่าประเทศอื่นที่เป็นคู่แข่ง
สิ่งเหล่านี้กำลังกลายเป็นขุมทรัพย์มหาศาลในการดึงดูดกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ รวมถึงนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศที่สนใจเข้ามาลงทุนธุรกิจเสริมความงามศัลยกรรมในประเทศไทยอย่างมากมาย ควบคู่ไปกับการเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการแข่งขันธุรกิจบริการเสริมความงาม เป็นแหล่งผลิตเครื่องสำอางที่สำคัญในภูมิภาค จึงยิ่งเป็นโอกาสทองที่ช่วยส่งเสริมผลักดันให้ประเทศไทยกลาย Medical Hub ที่มีความหอมหวลมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียนี้ที่จะเข้ามีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนและกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศให้เติบโตมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในศูนย์การแพทย์ชั้นนำด้านความงามที่มีความเชี่ยวชาญการรักษาและมีชื่อเสียงระดับเอเชียแปซิฟิกของไทยมานานกว่า 24 ปี ภายใต้การบริหารงานของ นายแพทย์สุทธิพงษ์ ตรีรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ ได้มองเห็นถึงทิศทางที่เป็นโอกาสทางการลงทุนในตลาดเรื่องนี้ รวมถึงเทรนด์อนาคตข้างหน้าของอุตสาหกรรมธุรกิจเสริมความงามและศัลยกรรม ภายหลังจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ได้สงบลงแล้ว ว่ากำลังเป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มการเติบโตเพิ่มมากขึ้นทุก ๆ ปี จากตลาดภูมิภาคเอเชียที่มีประชากรรวมกัน 177 ล้านคน โดย 60 % เป็นประชากรวัยทำงานซึ่งรายได้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประกอบกับยังได้รับอานิสงฆ์จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรแบบใหม่ไปสู่การมีผู้สูงวัยมากขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้คือ ผู้สูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 60-70 ปี ขึ้นไป ทั้งเพศชาย เพศหญิง หันมาทำศัลยกรรมดึงหน้าของตนเองมากขึ้น
โดยในปี 2565 ธุรกิจของรัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ มีมีอัตราการเติบโตสูงมากถึง 60 % ถ้าเทียบกับทุก ๆ ปี ของการดำเนินธุรกิจมีอัตราเติบโตเฉลี่ยปีละ 15 % ทั้งนี้ เป็นผลมาจากจำนวนประชากรภายในประเทศเยอะขึ้นคือ 70 ล้านคน และการเข้ามาใช้บริการของลูกค้าต่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย เช่น พม่า จีน อินโดนีเซีย เพิ่มมากขึ้น ซึ่งปี 2566 อัตราการเติบโตคาดว่าจะเพิ่มขึ้นที่ 25-30 % โดยจะเป็นสัดส่วนจากผู้รับบริการที่เป็นชาวต่างชาติมากถึง 1 ใน 3 หรือคิดเป็น 33 %
ดังนั้น เพื่อรองรับตลาดศัลยกรรมความงามที่มีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก รวมถึงตลาดเสริมความงามและศัลยกรรมของไทยที่คาดว่าจะมีการเติบโตเฉลี่ยปีละ 16.6% จากปี 2563 นายแพทย์ สุทธิพงษ์ เปิดเผยว่า “รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ มีแผนที่จะทรานส์ฟอร์มธุรกิจตนเองไปสู่การเป็น Wellness Destination โรงพยาบาลนวัตกรรมเพื่อความงามและการรักษาแบบครบวงจร ภายในปี 2567 ที่มีการยกระดับให้เป็นโรงพยาบาลศัลยกรรมเฉพาะทางขนาดไม่เกิน 30 เตียง ปัจจุบันได้ลงทุนก่อสร้างแล้วบนเนื้อที่ 3,300 ตารางเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของโครงการ town hall 49 บนถนนสุขุมวิท 49 ที่รายล้อมไปด้วย community mall, Marriott ‘s executive apartment และ wellness hospital เพื่อรองรับกลุ่มตลาดระดับบนทั้งนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและผู้เข้ามาบริการเสริมความงาม โดยเฉพาะตลาดนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้นไม่ต่ำกว่า 3 แสนคน กล่าวคือ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ ปี 2566 ที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวชาวจีนเดินทางเข้าประเทศไทยจำนวน 2,000 เที่ยวบิน คิดเป็นจำนวน 445,655 ที่นั่ง จากการเปิดเผยของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)
ขณะเดียวกันก็เริ่มเห็นสัญญาณของผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ เข้ามาเปิดเป็นโรงพยาบาลศัลยกรรมเฉพาะทางขนาดไม่เกิน 30 เตียง มากขึ้นไม่ต่ำกว่า 20 แห่ง ซึ่งเป็นเทรนด์ใหม่ที่เกิดขึ้นแล้วในตลาดต่างประเทศ เพราะผู้เข้ามารับบริการรู้สึกปลอดภัยและสะดวกมากกว่าโดยไม่ต้องรอรับบริการร่วมกับคนไข้ที่มารับการรักษาโรคอื่น ๆ ด้วยเหตุผลดังกล่าว รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ จึงต้องทรานส์ฟอร์มไปสู่การเป็น Wellness Destination โรงพยาบาลนวัตกรรมเพื่อความงามและการรักษาแบบครบวงจร ภายในปี 2567 ของการเป็นโรงพยาบาลศัลยกรรมเฉพาะทางเพื่อจะสามารถแข่งขันกับรายอื่น ๆ ได้ ท่ามกลางสมรภูมิรบที่ประเทศไทยเป็น Medical Hub สำคัญของภูมิภาคเอเชีย”
อย่างไรก็ดี นายแพทย์ สุทธิพงษ์ กล่าวว่า ขณะนี้ได้วางแผนกลยุทธ์ที่จะระดมเงินทุนเพื่อจะยกระดับ รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ ไปสู่การเป็น Wellness Destination โรงพยาบาลนวัตกรรมเพื่อความงามและการรักษาแบบครบวงจร ภายในปี 2567 ด้วยการเข้าไปเจรจากับโรงพยาบาลและกองทุนหลาย ๆ แห่งในลักษณะเป็น strategic partner ด้วยกัน ซึ่งคาดว่าจะสรุปผลการเจรจาแล้วเสร็จภายในไตรมาส 3 หรือ ไตรมาส 4 ก่อนจะลงมือก่อสร้างโรงพยาบาลในไตรมาส 1 ของปี 2567 และ ในอนาคตอีก 2-3 ปี โรงพยาบาลใหม่แห่งนี้ ก็วางแผนที่จะ IPO (การเสนอขายหุ้นใหม่ครั้งแรกของบริษัทเอกชนสู่สาธารณชน) เพื่อจะเข้าไปในจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ MAI ด้วย
นอกจากนี้ จะมีการใช้กลยุทธ์ single location ที่เป็น excellent center เหมือนกับกลยุทธ์โรงพยาบาลเอกชนชั้นนำอื่น ๆ เนื่องจากธุรกิจศัลยกรรมจะแตกต่างจากสถานเสริมความงามประเภท ฉีดโบท็อกซ์ ฟิลเลอร์ กำจัดขน ที่ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องการขยายสาขา เพราะเป็นบริการที่ไม่ต้องใช้เครื่องมือผ่าตัด ต้องทำเป็นประจำสม่ำเสมอ จึงต้องมีสาขาจำนวนมาก เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้เข้ามาใช้บริการ ขณะที่ศัลยกรรมเป็นเรื่องที่ผู้รับบริการมองหาฝีมือความเชี่ยวชาญและความน่าเชื่อถือของแพทย์ศัลยกรรมเฉพาะทางนั้น ๆ มากกว่ามองหาทำเลที่ตั้งของสถานที่
โดยเฉพาะการศัลยกรรมในกลุ่มที่เป็น Body ต้องอาศัยความชำนาญและอุปกรณ์เฉพาะทางมากกว่าคลินิกทั่ว ๆ ไป เพราะถ้าไม่มีใบอนุญาตก็ไม่สามารถดมยาเข้าห้องผ่าตัดใหญ่ได้ ทำให้หลาย ๆ เคสของผู้เข้ามารับบริการต้องไปเช่าสถานที่ผ่าตัดกันในโรงพยาบาล ที่ผ่านมาในส่วนของรัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ ให้การดูแลผู้เข้ามารับบริการรักษาทั้งในโรงพยาบาลและภายในศูนย์การแพทย์ของรัตตินันท์
รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ เป็นศูนย์การแพทย์ชั้นนำด้านความงามที่มีความเชี่ยวชาญการรักษาและมีชื่อเสียงระดับเอเชียแปซิฟิกของไทยมานานกว่า 24 ปี ในด้าน body contouring โดยเฉพาะไม่ว่าจะเป็นดูดไขมัน การตัดกระเพาะลดน้ำหนัก ใส่บอลลูนกระเพาะ เย็บกระเพาะ การผ่าตัดเสริมหน้าอกหรือตัดหน้าอก เป็นต้น ดังนั้น การลงทุนด้านนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ใหม่ ๆ เพื่อการทำศัลยกรรมและการรักษา หรือการใช้ Robot ในการผ่าตัดกระเพาะ จึงเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ของการทรานส์ฟอร์มธุรกิจของ รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ ไปสู่การเป็น Wellness Destination โรงพยาบาลนวัตกรรมเพื่อความงามและการรักษาแบบครบวงจร ภายในปี 2567
สำหรับในด้านเทรนด์ของธุรกิจความงามและศัลยกรรมในปี 2566 นายแพทย์สุทธิพงษ์ กล่าวว่า มีอัตราเติบโตทั้งในกลุ่ม Facial surgery เช่น ตา จมูก โครงหน้า กรามและ กลุ่ม Body โดยกลุ่มที่มีการแข่งขันรุนแรงมากที่สุดคือ facial surgery เนื่องจากมีแพทย์ด้านนี้จำนวนมาก ทั้งแพทย์ทั่วไปและแพทย์ศัลยกรรมที่ไปมาเรียนเรื่องการเสริมจมูก การทำตาสองชั้น และเปิดคลินิกเสริมความงามให้บริการแทบทุกพื้นที่ ทุกถนน ทุกจังหวัด และถ้าผู้บริโภคเป็นกลุ่มมีรายได้สูงมีกำลังการซื้อส่วนใหญ่ก็จะบินไปทำที่ประเทศเกาหลีมากกว่า เพราะภาพลักษณ์ของประเทศนี้มีความชำนาญทั้งในตลาดระดับล่าง และตลาดระดับบน ขณะที่ กลุ่ม Body ต้องอาศัยความชำนาญและอุปกรณ์เฉพาะทางมากกว่า ถ้าไม่มีใบอนุญาตก็ไม่สามารถดมยาเข้าห้องผ่าตัดใหญ่ได้เลย จึงเป็นกลุ่มนี้ที่มีการแข่งขันไม่ดุเดือดมากเท่ากับกลุ่ม facial surgery
อย่างไรก็ตาม แม้อุตสาหกรรมศัลยกรรมจะกลายเป็นตลาด Red Ocean เพราะทุกค่าย ทุกแบรนด์ทั้งรายเก่า รายใหม่ ต่างเล็งเห็นโอกาสในการแข่งขันเพื่อจะช่วงชิงกำลังซื้อของผู้บริโภคทั้งจากกระเป๋าของคนไทยและชาวต่างชาติ ขณะเดียวกันก็เป็นความท้าทายสำหรับผู้ประกอบการและเป็นผลดีต่อผู้บริโภคที่จะได้เห็นรูปแบบของการบริการธุรกิจใหม่ ๆ เกิดขึ้น ไม่ว่าเรื่องของการจะโรงพยาบาลเฉพาะด้านขึ้นมากขึ้น การเข้ามาของกลุ่มทุนต่าง ๆ รวมถึงหมัดเด็ดในการปล่อยกลยุทธ์เพื่อเพิ่มดีกรีการแข่งขันในตลาดประเทศไทยที่ขณะนี้ได้กลายเป็น ศูนย์กลางของการเป็น Medical Hub ในภูมิภาคเอเชียนี้เรียบร้อยแล้ว.