xs
xsm
sm
md
lg

รฟท.เตรียมประมูลซ่อมรถดีเซลราง "แดวู" 39 คัน วงเงิน 975 ล้านบาท เปิด TOR ฟังความเห็นถึง 26 เม.ย.นี้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



รฟท.เตรียมซ่อมใหญ่รถดีเซลราง DAWOO จำนวน 39 คัน วงเงิน 975 ล้านบาท เปิดร่างทีโออาร์รับฟังคำวิจารณ์ถึง 26 เม.ย. 66 วางแผนหมุนเวียนซ่อมกว่า 3 ปีครึ่ง ไม่ให้กระทบให้บริการรถด่วนพิเศษเส้นทางไกล  

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2566 รฟท.ได้เผยแพร่ร่างขอบเขตของงาน (TOR) ฉบับแรก โครงการจ้างซ่อมปรับปรุงรถ DAWOO จำนวน 39 คัน ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ราคากลาง 975 ล้านบาท โดยประกาศขึ้นเว็บไซต์การรถไฟฯ รับฟังคำวิจารณ์ ระหว่างวันที่ 30 มี.ค. 2566 สิ้นสุดรับฟังคำวิจารณ์วันที่ 26 เม.ย. 2566 โดยตั้งเป้าเปิดประมูลภายในปี 2566

โดยรถ DAWOO จำนวน 39 คัน เป็นรถดีเซลรางปรับอากาศ มีอายุใช้งานเฉลี่ย 25 ปี ปัจจุบัน รฟท.ให้บริการรถด่วนพิเศษ ในเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่, กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี, กรุงเทพฯ-สุราษฎร์ธานี เป็นต้น สามารถทำความเร็วสูงสุดที่ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  

การประกวดราคาครั้งนี้กำหนดผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีผลงานประเภทเดียวกันกับงานที่ประกวดราคาจ้าง เช่น งานซ่อมบูรณะปรับปรุงรถดีเซลราง หรือซ่อมวาระหนักรถโดยสาร หรือซ่อมหนักอุบัติเหตุรถโดยสาร หรือซ่อมดัดแปลงรถโดยสารจะเฉพาะ หรือซ่อมดัดแปลงรถโบกี้ไฟฟ้ากำลังในวงเงินไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท ซึ่งผลงานดังกล่าวของผู้ยื่นข้อเสนอต้องเป็นผลงานในสัญญาเดียวเท่านั้นและเป็นผลงานที่เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานเอกชนที่ รฟท.เชื่อถือ โดยเป็นผลงานที่แล้วเสร็จ ซึ่งได้มีการส่งมอบงานและตรวจรับเรียบร้อยแล้วนำมาใช้แสดงเป็นผลงานในการยื่นประมูลครั้งนี้

โดยให้ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องเสนอกำหนดเวลาดำเนินการแล้วเสร็จไม่เกิน 1,365 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับรถโดยสารจาก รฟท.แจ้งการส่งมอบรถเป็นลายลักษณ์อักษร โดยแบ่งออกเป็นจำนวน 13 งวด รฟท.จะแจ้งส่งมอบรถดีเชลรางให้ผู้รับจ้างในงวดที่ 1 ภายใน 15 วัน นับถัดจากวันลงนามในสัญญา ทั้งนี้ ผู้รับจ้างจะต้องดำเนินการซ่อมปรับปรุงรถดีเซลรางปรับอากาศแดวูจำนวน 39 คันให้เสร็จและส่งคืน รฟท. ดังนี้

งวดที่ 1 ผู้รับจ้างจะต้องทำการส่งมอบรถที่ดำเนินการซ่อมปรับปรุงฯ แล้วเสร็จจำนวน 6 คัน ภายในระยะเวลา 180 วันนับถัดจากวันที่ รฟท.ส่งมอบรถดีเซลรางคันสุดท้ายของแต่ละงวดให้กับผู้รับจ้าง งวดที่ 2 ซ่อมปรับปรุงฯ จำนวน 3 คันภายในระยะเวลา 120 วัน งวดที่ 3 ช่อมปรับปรุงฯ จำนวน 3 คันภายในระยะเวลา 120 วัน งวดที่ 4 ซ่อมปรับปรุงฯ จำนวน 3 คันภายในระยะเวลา 90 วัน งวดที่ 5 ซ่อมปรับปรุงฯ จำนวน 3 คันภายในระยะเวลา 90 วัน งวดที่ 6 ซ่อมปรับปรุงฯ จำนวน 3 คันภายในระยะเวลา 90 วัน งวดที่ 7 ซ่อมปรับปรุงฯ จำนวน 3 คันภายในระยะเวลา 90 วัน 

งวดที่ 8 ช่อมปรับปรุงฯ จำนวน 3 คันภายในระยะเวลา 90 วัน งวดที่ 9 ช่อมปรับปรุงฯ แล้วเสร็จจำนวน 3 คันภายในระยะเวลา 90 วัน งวดที่ 10 ซ่อมปรับปรุงฯ จำนวน 3 คัน ภายในระยะเวลา 90 วัน งวดที่ 11 ซ่อมปรับปรุงฯ จำนวน 3 คัน ภายในระยะเวลา 90 วัน งวดที่ 12 ซ่อมปรับปรุงฯ จำนวน 3 คัน ภายในระยะเวลา 90 วัน งวดที่ 13 (งวดสุดท้าย) ซ่อมปรับปรุงฯ จำนวน 4 คัน ภายในระยะเวลา 120 วัน 

ทั้งนี้ ผู้รับจ้างจะต้องเป็นผู้ดำเนินการจัดหาสถานที่ที่อยู่ในประเทศไทยภายใน 60 วัน นับถัดจากวันลงนามในสัญญาจ้างสำหรับดำเนินการซ่อมรถดีเซลรางปรับอากาศ หากเป็นสถานที่ของ รฟท. จะต้องไม่ใช่พื้นที่ปฏิบัติงานซ่อมของโรงงาน โรงซ่อมบำรุง โรงรถดีเซลราง โรงรถพ่วง รวมทั้งจะต้องเป็นผู้จัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ในการซ่อม พร้อมโรงคลุม มีขนาดเครื่องจักรไม่เกิน 50 แรงม้า และผู้ปฏิบัติงานไม่เกิน 50 คน ตลอดจนกระแสไฟฟ้า น้ำประปา ด้วยค่าใช้จ่ายของผู้รับจ้างเองทั้งสิ้น หากผู้รับจ้างจะใช้สถานที่ของตนเองให้ระบุมาในเอกสารประกวดราคาซึ่ง รฟท.จัดส่งมอบรถให้ผู้รับจ้างที่สถานีรถไฟใกล้เคียงกับสถานที่ดำเนินการผู้รับจ้างโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย 

ในกรณีที่ รฟท.ไม่สามารถส่งมอบรถที่ดำเนินการดัดแปลงให้ผู้รับจ้างไปดำเนินการปรับปรุงได้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ข้างต้นผู้รับจ้างจะเรียกร้องค่าเสียหายใดๆจาก รฟท.มิได้ กรณีนี้ รฟท.จะขยายระยะเวลาการส่งมอบรถที่ดำเนินการปรับปรุงตามจำนวนวันที่ส่งมอบล่าช้านั้นให้กับผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างจะต้องวางหลักประกันค่ารถที่นำออกไปซ่อมเป็นเงินคันละ 150,000 บาท


กำลังโหลดความคิดเห็น