xs
xsm
sm
md
lg

ก.พลังงานโชว์แผนงานปี 66 ขับเคลื่อน 4 มิติบรรลุเป้าหมาย Net Zero

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กระทรวงพลังงานสรุปผลงานปี 2565 มีส่วนช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้ประชาชนรวมกว่า 280,000 ล้านบาท และยังกระตุ้นให้เกิดการลงทุนด้านพลังงานอีกราว 260,000 ล้านบาท พร้อมชี้ทิศทางปี 2566 มุ่งเดินหน้าแผนงานด้านพลังงานใน 4 มิติ ทั้งสร้างความมั่นคงสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เสริมสร้างเศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้ำ และพัฒนาองค์กรเพื่อให้บริการ ทั้งนี้เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2050 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี ค.ศ. 2065

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน 
เปิดเผยว่า ปี 2565 ไทยต้องเผชิญภาวะความผันผวนด้านพลังงาน และปี 2566 คาดว่าจะยังคงมีต่อเนื่อง กระทรวงพลังงานจึงดำเนินโครงการสำหรับช่วยเหลือประชาชนสำหรับก๊าซหุงต้ม (LPG) เพื่อลดต้นทุนค่าครองชีพต่อเนื่องจากปี 2565 โดยตรึงราคาขายปลีก LPG อยู่ที่ 408 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2566 และช่วยส่วนลดค่าก๊าซหุงต้ม (LPG) แก่ผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 100 บาทต่อคนต่อ 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566 นอกจากนี้ ปตท.ยังคงให้ส่วนลดแก่ร้านค้าหาบเร่ แผงลอยอาหารที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 100 บาทต่อคนต่อเดือน เพื่อเป็นการลดต้นทุนค่าครองชีพ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566

สำหรับในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ประชาชนต้องมีการเดินทางจำนวนมาก เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย กระทรวงพลังงานโดยความร่วมมือกลุ่ม ปตท.จะตรึงราคาน้ำมันทุกชนิดระหว่างวันที่ 24 ธันวาคม 2565-3 มกราคม ครึ่งราคาที่พักที่เขื่อน กฟผ. การส่งเสริมสินค้าชุมชนผ่านโครงการเอนจี้ มีดี และแจกผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็น Box Set ให้ผู้เดินทางที่กลับจากต่างจังหวัดโดยรถไฟอีกด้วย

ปี 66 เดินหน้าขับเคลื่อนพลังงาน 4 มิติ
นายสุพัฒนพงษ์กล่าวว่า แผนงานสำคัญของกระทรวงพลังงานในปี 2566 จึงมุ่งสู่พลังงานสะอาดเพื่อตอบโจทย์สังคมยุคไร้คาร์บอน และการลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) โดยได้วางแผนงานและโครงการแบ่งเป็น 4 มิติ ประกอบด้วย

มิติที่ 1 พลังงานสร้างความมั่นคงสู่สังคมคาร์บอนต่ำ มิติที่ 2 พลังงานเสริมสร้างเศรษฐกิจ ด้วยการจัดหาก๊าซธรรมชาติจากแหล่งในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าการนำเข้า Spot LNG ฯลฯ มิติที่ 3 พลังงานลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยส่งเสริมการลงทุนโรงไฟฟ้าชีวมวล/ก๊าซชีวภาพจากพืชพลังงานเพื่อชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก โดยเร่งการลงทุน 200 เมกะวัตต์ ฯลฯ มิติที่ 4 การพัฒนาองค์กรเพื่อให้บริการ ฯลฯ

ปี 65 ลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานแก่ประชาชน

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ในปี 2565 กระทรวงพลังงานได้ดำเนินมาตรการหลายด้าน ประกอบด้วย ด้านลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน โดยช่วยลดภาระค่า Ft ให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 500 มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยมูลค่าการช่วยเหลือทางด้านพลังงานในปี 2565 รวมทั้งสิ้นกว่า 232,800 ล้านบาท

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า สนพ.ได้รับมอบหมายจัดทำแผนปฏิบัติการด้านพลังงาน พ.ศ. 2566-2580 หรือแผนพลังงานชาติ เพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และมุ่งเน้นส่งเสริมความมั่นคงภาคพลังงานเพื่อรองรับรูปแบบการผลิตและการใช้พลังงานที่มีความหลากหลายมากขึ้นในอนาคต โดยแผนพลังงานชาติมีแนวนโยบายที่สำคัญคือ เพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจากกำลังผลิตใหม่ให้มากกว่าร้อยละ 50, ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานภาคขนส่งเป็นพลังงานไฟฟ้าสีเขียว ผ่านเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าตามนโยบาย 30@30 เป็นต้น คาดว่าจะเสนอร่างแผนพลังงานชาติภายในปี 2566

นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่า ปี 2566 ได้เปิดให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมเพื่อความมั่นคงเพิ่มเติม ได้แก่ การเปิดให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบใหม่ (รอบที่ 24) จำนวน 3 แปลง ในบริเวณทะเลอ่าวไทย มีพื้นที่ครอบคลุมกว่า 35,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งปัจจุบันกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติอยู่ระหว่างการพิจารณาคำขอการพิจารณาคำขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม และยังดำเนินงานและพัฒนาเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอน (CCUS) ในชั้นหินทางธรณีวิทยาของประเทศไทย

นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กล่าวว่า
ปี 2566 มีกิจกรรมสำคัญ อาทิ การบังคับใช้ข้อบัญญัติเกณฑ์มาตรฐานอาคารด้านพลังงาน (BEC) ซึ่งการบังคับใช้จะช่วยลดต้นทุน เพิ่มโอกาสการแข่งขัน สร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศ และในปี 2566 BEC จะมีผลบังคับใช้ในอาคารพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 2,000 ตร.ม.ทันที คาดจะช่วยลดการใช้ไฟฟ้าได้ 13,700 ล้านหน่วย หรือกว่า 47,000 ล้านบาท รวมถึงลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 1 ล้านตัน/ปี การส่งเสริมให้ส่วนราชการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป และนำร่อง ESCO อนุรักษ์พลังงาน, การพัฒนาแพลตฟอร์มทางการเงิน, สิทธิประโยชน์ทางภาษีในการใช้อุปกรณ์ เครื่องจักรประสิทธิภาพสูง, โครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล/ ก๊าซชีวภาพจากพืชพลังงาน เพื่อชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก โดยเร่งการลงทุน 200 เมกะวัตต์ คาดว่าจะทําให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจรวม 20 ปี มูลค่ารวมกว่า 37,700 ล้านบาท อีกทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 630,737 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กล่าวว่า เพื่อสนับสนุนการพัฒนา EV ได้มีการตั้งคณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติงาน เพื่อการกำกับดูแลการประกอบกิจการสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง กำหนดรูปแบบการส่งเสริมการติดตั้งและกำกับดูแลสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่ติดตั้งภายในบริเวณพื้นที่สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในปี 2566 เกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าภายในสถานีบริการ รูปแบบการดำเนินการ การกำกับดูแลและข้อกฎหมาย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาสถานีอัดประจุไฟฟ้าในพื้นที่สาธารณะในปี พ.ศ. 2573 จำนวน 12,000 หัวจ่าย
กำลังโหลดความคิดเห็น