ในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจชีวภาพ เป็นกระแสที่มีการกล่าวถึงมาก เนื่องจากการเกิดภาวะโลกรวนและภัยพิบัติทางธรรมชาติ เกิดการเรียกร้องให้เปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดเพิ่มมากขึ้นเพื่อลดการก่อมลพิษ ซึ่งประเทศไทยมีความได้เปรียบในการแข่งขันจากความหลากหลายทางชีวภาพ เนื่องจากไทยมีกลุ่มเกษตรกรที่มีความสามารถในการสร้างผลิตผลทางการเกษตรที่มีคุณภาพ โดยมีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจชีวภาพจะเป็นกลไกสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ในอนาคต (New S-Curve) ที่มีผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
ในระยะยาว
ในส่วนของประเทศไทยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพจะเป็นกลยุทธ์หลักในการขับเคลื่อนการลงทุนขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย ระบบขนส่ง การพัฒนาพื้นที่ในเชิงบูรณาการ ซึ่งรัฐบาลให้ความสนับสนุนทั้งในส่วนการร่วมวิจัยพัฒนาและการให้เข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน โดยทางกระทรวงอุตสาหกรรมได้เดินหน้าขยายผลมาตรการผลักดันให้ประเทศไทยเป็น Bio Hub of ASEAN ภายในปี 2570 เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นทั้งในภาคการผลิตและการวิจัยที่เกี่ยวข้อง และที่สำคัญยังเป็นการลดคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการใช้ฟอสซิล โดยรัฐบาลได้ประกาศโมเดลเศรษฐกิจแบบใหม่ที่ต่อยอดจากโมเดลเดิม ซึ่งมุ่งเน้นพัฒนานวัตกรรมการเกษตร อาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพ และคาดหวังว่าจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตแบบก้าวกระโดด กระจายโอกาส กระจายรายได้ นำพาประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศรายได้สูง และมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน
“กลุ่มมิตรผล” ผู้นำในอุตสาหกรรมการเกษตร ที่มีความมุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจ ไปพร้อมกับการยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ได้พัฒนาโครงการ ขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ (KKIC) ศูนย์กลางแห่งการพัฒนานวัตกรรมการเกษตร อาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ที่จะนำไปสู่การต่อยอดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่มีมูลค่าสูง ช่วยสร้างความเข้มแข็งและโดดเด่นให้กับกลุ่มธุรกิจภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดขอนแก่นสู่ Smart City รวมทั้งโอกาสในการพัฒนาอีสานให้เป็นศูนย์กลางด้านนวัตกรรมของลุ่มน้ำโขงได้ในอนาคต
คุณบรรเทิง ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการบริษัทและประธานกรรมการบริหาร กลุ่มมิตรผล กล่าวว่า “กลุ่มมิตรผล ดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทยมากว่า 65 ปี และมีโรงงานน้ำตาลตั้งอยู่ในจังหวัดขอนแก่นมานานกว่า 27 ปี ซึ่งตลอดระยะเวลาของการดำเนินงาน เรามองเห็นว่าจังหวัดขอนแก่นเป็นศูนย์กลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีศักยภาพและความพร้อมในด้านของพื้นที่เกษตรกรรม อีกทั้งยังเป็นจังหวัดในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern Economic Corridor: NeEC – Bioeconomy) ที่เชื่อมต่อเศรษฐกิจกลุ่มแม่น้ำโขงและจีนตอนใต้ผ่านเส้นทาง ASEAN Highway รวมถึงเป็นเมืองแห่งศูนย์รวมองค์ความรู้และเทคโนโลยีอันทันสมัย และมีเป้าหมายในการยกระดับสู่เมืองแห่งนวัตกรรมและ Smart City เราจึงได้ตั้งใจที่จะปรับปรุงและพัฒนาอาคาร ‘ขอนแก่น อินโนเวชั่นเซ็นเตอร์’ ซึ่งตั้งอยู่ในย่านนวัตกรรมใจกลางเมืองขอนแก่น เพื่อให้เป็นศูนย์กลางแห่งการพัฒนานวัตกรรมการเกษตร อาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย นับเป็นการสร้าง Innovation Ecosystem และการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน ที่สมบูรณ์ที่สุดของจังหวัดขอนแก่น ที่จะนำไปสู่การต่อยอดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่มีมูลค่าสูง ช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างยั่งยืน”
ด้าน คุณกวิน ว่องกุศลกิจ กรรมการ ขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ (KKIC) เปิดเผยว่า “เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมขับเคลื่อนระบบนวัตกรรมของประเทศไทย โดยจะนำเอาความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ รวมทั้งทรัพยากรต่าง ๆ ของเครือฯ มาสนับสนุนการพัฒนาย่านนวัตกรรมขอนแก่น เรามุ่งมั่นพัฒนาโครงการ ขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ ให้เป็นศูนย์กลางแห่งการพัฒนานวัตกรรมการเกษตร อาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถเชื่อมโยงความรู้และกิจกรรมในย่านด้วยรูปแบบนวัตกรรมเปิด หรือ Open Innovation เป็นศูนย์รวมของการบ่มเพาะนวัตกรรุ่นใหม่ เกิดบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ งานวิจัย และความคิดสร้างสรรค์ ระหว่างผู้ประกอบการ อาจารย์ นักวิจัย และนวัตกร โดยมีศูนย์นวัตกรรมและวิจัยของกลุ่มมิตรผล ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่ชั้น 9 ของอาคารแห่งนี้ พร้อมด้วยพื้นที่แสดงผลงาน สินค้า การจัดประชุม และโรงแรม แอดลิบ ขอนแก่น (Ad Lib Khon Kaen) ซึ่งนับเป็นการสร้าง Innovation Ecosystem และการทำงานร่วมกันของภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ที่สมบูรณ์ที่สุดของจังหวัดขอนแก่น เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมให้เกิดขึ้นจริงอย่างเป็นรูปธรรม อันจะนำไปสู่การต่อยอดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่มีมูลค่าสูงของประเทศไทยต่อไป
พร้อมกันนี้ KKIC และกลุ่มมิตรผล ยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนกว่า 50 ราย จัดงาน Isan BCG EXPO 2022 งานมหกรรมนวัตกรรมยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอีสานและครั้งแรกในประเทศไทย ภายใต้แนวคิด ‘ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ’ เพื่อขยายพลังความร่วมมือการขับเคลื่อนและพัฒนานวัตกรรมการเกษตร อาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพในภาคอีสาน ซึ่งภาคอีสานมีศักยภาพและความพร้อมที่เหมาะสมในการพัฒนาเทคโนโลยี และสังคมสีเขียว”
งาน Isan BCG Expo 2022 ที่เพิ่งผ่านพ้นไป ณ Khon Kaen Innovation Centre จังหวัดขอนแก่น และบริเวณโดยรอบ อาทิ ย่านศรีจันทร์, เทศบาลเมืองนครขอนแก่น และถนนไก่ย่าง โดยภายในงานยังจัดให้มีเวที ‘Isan BCG Forum 2022’ International Forum รวมถึงเวที Talk ที่เจาะลึกถึง BCG ในรูปแบบที่หลากหลายอย่างน่าสนใจ และเวที Green Stage โดยสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (Thai Organic Consumer Association) หรือ TOCA โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญจากหลายภาคส่วน ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนแนวคิด มุมมอง และประสบการณ์ รวมกว่า 80 ท่าน กว่า 40 Sessions เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ BCG และสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาและเริ่มต้นธุรกิจ ร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยควบคู่กับการสร้างโอกาสและส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตัวเองได้ต่อไป