18 ตุลาคม 2565 ศรีสะเกษ อั๊คโซ่ โนเบล ผู้ผลิตและจำหน่ายสีดูลักซ์ ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ( องค์การ มหาชน ) ศิลปิน เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์และประชาชน ร่วมทาสีสร้างผลงานศิลปะบนท้องถนน ในแนวคิดสำเนียง เเห่งเมืองศรีสะเกษ (Sound of Sisaket: :ซาว สีเกด) นำเสนอความหลากหลายของชาติพันธุ์ที่เป็นอัตลักษณ์โดดเด่นของจังหวัด เพื่อพัฒนาย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์วงเวียนแม่ศรีที่เป็นศูนย์กลางเมืองให้มีศักยภาพในการต่อยอดสู่การเป็นย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมและขับเคลื่อนไปสู่เศรษฐกิจที่สมดุลและยั่งยืนในระยะยาว
คุณสิริลักข์ เหมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อั๊คโซ่ โนเบล เพ้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “เรามีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับภาครัฐ องค์กรเครือข่าย และประชาชน ในโครงการสำเนียงเเห่งเมืองศรีสะเกษ (Sound of Sisaket: ซาว สีเกด) ด้วยการใช้สีดูลักซ์ในการสืบสานวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวศรีสะเกษ เป็นส่วนหนึ่ง ในการช่วย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจท้องถิ่น และเชื่อมโยงชุมชนให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของ โครงการสร้างความ เปลี่ยนแปลงสังคม Let’s Colour ที่ใช้พลังของสีสันในการยกระดับและสร้างแรงบันดาลใจให้กับชุมชน”
ผลงานสตรีทอาร์ต นำเสนอความหลากหลายของชาติพันธุ์ อันเป็นที่มาของสำเนียงที่หลายหลาก Sound of Sisaket ผ่านอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของจังหวัด ด้านผ้า เช่น เสื้อแส้ว ผ้าไหมลายลูกแก้ว ผ้าทอเบญจศรี สัญลักษณ์ของจังหวัด เช่น ปราสาทปรางค์กู่ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ดอกลำดวน กูปรี หอมแดง กระเทียม แม่ศรีสระผม ทุเรียนภูเขาไฟ และความหลากหลายทางชาติพันธุ์สี่เผ่าไท ประกอบด้วยเขมร ส่วย (กูย) ลาว เยอ ผลงานศิลปะถูกถ่ายทอดโดย กลุ่มศิลปินกว่า 20 รายในพื้นที่ภายใต้ชื่อ Neighborboy ร่วมกับองค์กรเครือข่ายอาสาสมัคร ทั้งภาครัฐ ประชาชนและตัวแทนจำหน่าย ในพื้นที่เพื่อสร้างผลงานศิลปะ บนพื้นที่ 4 จุดสำคัญ ได้แก่ 1.)ตลาดสดเทศบาล 1 2.)กำแพงโรงแรมสันติสุข ซอยพาณิชย์จังหวัด 3.)ผนังอาคารพาณิชย์เก่า ราชการรถไฟ 1 และ 4.)กำแพงโรงเรียนสตรีสิริเกศ
นายชุตยาเวศ สินธุพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ขอนแก่น กล่าวว่า “ศรีสะเกษเป็นเมือง ที่มีอัตลักษณ์เเละวัฒนธรรมที่โดดเด่นพร้อมด้วยความหลากหลายของชาติพันธุ์ เรื่องราวเเละวิถีชีวิต จึงได้จัดโครงการ Sound of Sisaket: ซาว สี เกด เพื่อเป็นช่องทางเชื่อมโยงและรวมตัวคนจากภาคส่วนต่างๆให้มาร่วมกันพัฒนาย่านและ เมืองให้ดีขึ้น ทั้งในสภาพแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม สร้างอาชีพและรายได้ไปจนถึงเศรษฐกิจท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการวางแผน การพัฒนา ย่านอย่างเป็นรูปธรรม และผลักดันสู่ แผนพัฒนาจังหวัดในระยะยาว สู่เมืองสร้างสรรค์ระดับสากล และเชื่อมโยงความร่วมมือ กับเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์อื่น ๆ”
การสนับสนุนผลงานสตรีทอาร์ต เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเพื่อสังคมของสีดูลักซ์ Let’s Colour ภายใต้ AkzoNobel Cares ของอั๊คโซ่ โนเบล ที่ให้การสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับชุมชน ภายใต้เสาหลักสำคัญ 3 ประการ คือ ผู้คน (People) โลกและสิ่งแวดล้อม (Planet) และสี (Paint) พนักงานอั๊คโซ่ โนเบล ผู้แทนจำหน่ายสี ศิลปิน และประชาชนในพื้นที่รวมกว่า 200 คน ร่วมกันเติมสีสันให้กำแพงสร้างเอกลักษณ์ความสดใส ในย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้วยผลิตภัณฑ์สีดูลักซ์ อินสไปร์ สีน้ำทาภายนอก สีทองดูลักซ์ บริลเลียนซ์ โกลด์ และสีรองพื้นดูลักซ์ โดยการสนับสนุนสีครั้งนี้มูลค่ารวม 300,000 บาท
“ณ ปัจจุบัน โครงการ Let’s Colour ได้สร้างสีสันและเปลี่ยนแปลงพื้นที่ในชุมชนกว่า 2,568 แห่ง ช่วยยกระดับชุมชน เปลี่ยนพฤติกรรม และเพิ่มความสนุกสนาน ให้ชุมชนน่าอยู่อาศัย และสร้างความสุขมากขึ้นแก่ผู้คนกว่า 88 ล้านคน ใน 52 ประเทศทั่วโลก จากอาสาสมัครกว่า 14,000 คน ร่วมพัฒนาและเพิ่มสีสันไปกว่า 1,800,000 ลิตร” คุณสิริลักข์ กล่าวปิดท้าย