กฟผ.เดินหน้าแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน (BESS) ขนาดใหญ่ที่สุดในไทยที่เชื่อมต่อกับระบบส่งไฟฟ้า และโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ เสริมศักยภาพโครงข่ายระบบไฟฟ้าให้ทันสมัย มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน สร้างความมั่นคงด้านพลังงานและตอบโจทย์ Carbon Neutrality
นายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า จากนโยบายพลังงานของประเทศที่มุ่งสู่ Carbon Neutrality ในปี ค.ศ. 2050 โดยส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น ระบบกักเก็บพลังงานจึงถือเป็นปัจจัยสำคัญของการบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียน ช่วยลดความผันผวน ทำให้โครงข่ายระบบไฟฟ้ามีความทันสมัย ยืดหยุ่น (Grid Modernization) สามารถนำพลังงานหมุนเวียนมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมเพื่อสร้างความมั่นคงของระบบผลิตไฟฟ้าในภาพรวม กฟผ.จึงมุ่งพัฒนาระบบกักเก็บพลังงานในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน (BESS) ที่เชื่อมต่อกับระบบส่งไฟฟ้า หรือ Grid Scale นำร่องใช้งานที่สถานีไฟฟ้าแรงสูงชัยบาดาล จ.ลพบุรี กำลังผลิตไฟฟ้า 21 เมกะวัตต์-ชั่วโมง (MWh) และที่สถานีไฟฟ้าแรงสูงบำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ กำลังผลิตไฟฟ้า 16 MWh รวมทั้งสิ้น 37 MWh ซึ่งนับว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
“BESS ดังกล่าวสามารถตอบสนองต่อระบบไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วเพราะจ่ายกำลังไฟฟ้าได้ภายในเวลาไม่เกิน 200 มิลลิวินาที จึงช่วยรักษาเสถียรภาพในระบบไฟฟ้า โดย กฟผ.เลือกนำร่องติดตั้ง BESS ในพื้นที่ทั้งสองแห่งเพื่อแก้ปัญหาคุณภาพไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีแหล่งผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมที่เชื่อมต่อระบบไฟฟ้าจำนวนมากจึงมีความผันผวนค่อนข้างสูง” นายประเสริฐศักดิ์กล่าว
สำหรับ BESS จะทำหน้าที่กักเก็บพลังงานในช่วงที่ระบบมีความต้องการไฟฟ้าต่ำ (Off Peak) และจ่ายไฟฟ้าคืนสู่ระบบเพื่อชดเชยกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่มีความผันผวนในช่วงบ่าย ลดความต้องการไฟฟ้าสูงสุดในช่วงหัวค่ำ และลดความหนาแน่นของสายส่งกำลังไฟฟ้า โดยแบตเตอรี่ที่นำมาใช้ใน BESS เป็นแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน ซึ่งสามารถกักเก็บพลังงานไฟฟ้าได้มากในพื้นที่จำกัด อีกทั้งสามารถจ่ายไฟและชาร์จไฟได้เร็วโดยออกแบบให้มีอายุการใช้งานได้นานถึง 15 ปี
“ขณะนี้แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนยังมีราคาค่อนข้างสูงเฉลี่ยอยู่ที่ราว 400-450 เหรียญสหรัฐ/กิโลวัตต์-ชม.หรือ kWh แต่ราคานี้ก็ถือว่าได้ลดลงมาค่อนข้างมากจากอดีตในช่วงปี ค.ศ. เคยมีราคาสูงถึง 2,000 เหรียญ/kWh โดยมีการประเมินว่าอีก 5 ปีจะลดลงมาอยู่ที่ราวกว่า 200 เหรียญ/kWh ได้ ซึ่งถึงตอนนั้น กฟผ.ก็จะนำมาพิจารณาบริหารจัดการกับพลังงานหมุนเวียนที่จะเข้ามาสู่ระบบเพิ่มขึ้นเพื่อให้ระบบไฟฟ้ามีเสถียรภาพ และที่สำคัญไม่เป็นภาระค่าไฟแก่ประชาชนที่เพิ่มขึ้น” นายประเสริฐศักดิ์กล่าว
นอกจากนี้ กฟผ.ยังได้พัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับลำตะคองชลภาวัฒนา จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นระบบกักเก็บพลังงานด้วยพลังน้ำขนาดใหญ่สำหรับระบบไฟฟ้าที่มีต้นทุนต่ำที่สุดและเป็นพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีศักยภาพในการจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้อย่างรวดเร็ว โดยจะนำพลังงานไฟฟ้าในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าน้อยสูบน้ำจากเขื่อนด้านล่างขึ้นไปกักเก็บไว้ยังอ่างพักน้ำตอนบน เมื่อมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงหรือไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนไม่เสถียรก็สามารถปล่อยน้ำผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากลับลงมาผลิตกระแสไฟฟ้าได้ทันที โดยปัจจุบันประเทศไทยมีโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับทั้งสิ้น 3 แห่ง รวมกำลังผลิต 1,531 เมกะวัตต์ (MW) ได้แก่ โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา จ.นครราชสีมา กำลังผลิต 1,000 เมกะวัตต์ เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี กำลังผลิต 360 เมกะวัตต์ และเขื่อนภูมิพล จ.ตาก กำลังผลิต 171 เมกะวัตต์
ทั้งนี้ กฟผ.มีแผนดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับเขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ กำลังผลิต 801 เมกะวัตต์ ปัจจุบันอยู่ระหว่างจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา คาดว่าจะจ่ายไฟเชิงพาณิชย์ในปี 2578
นายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า จากนโยบายพลังงานของประเทศที่มุ่งสู่ Carbon Neutrality ในปี ค.ศ. 2050 โดยส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น ระบบกักเก็บพลังงานจึงถือเป็นปัจจัยสำคัญของการบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียน ช่วยลดความผันผวน ทำให้โครงข่ายระบบไฟฟ้ามีความทันสมัย ยืดหยุ่น (Grid Modernization) สามารถนำพลังงานหมุนเวียนมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมเพื่อสร้างความมั่นคงของระบบผลิตไฟฟ้าในภาพรวม กฟผ.จึงมุ่งพัฒนาระบบกักเก็บพลังงานในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน (BESS) ที่เชื่อมต่อกับระบบส่งไฟฟ้า หรือ Grid Scale นำร่องใช้งานที่สถานีไฟฟ้าแรงสูงชัยบาดาล จ.ลพบุรี กำลังผลิตไฟฟ้า 21 เมกะวัตต์-ชั่วโมง (MWh) และที่สถานีไฟฟ้าแรงสูงบำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ กำลังผลิตไฟฟ้า 16 MWh รวมทั้งสิ้น 37 MWh ซึ่งนับว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
“BESS ดังกล่าวสามารถตอบสนองต่อระบบไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วเพราะจ่ายกำลังไฟฟ้าได้ภายในเวลาไม่เกิน 200 มิลลิวินาที จึงช่วยรักษาเสถียรภาพในระบบไฟฟ้า โดย กฟผ.เลือกนำร่องติดตั้ง BESS ในพื้นที่ทั้งสองแห่งเพื่อแก้ปัญหาคุณภาพไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีแหล่งผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมที่เชื่อมต่อระบบไฟฟ้าจำนวนมากจึงมีความผันผวนค่อนข้างสูง” นายประเสริฐศักดิ์กล่าว
สำหรับ BESS จะทำหน้าที่กักเก็บพลังงานในช่วงที่ระบบมีความต้องการไฟฟ้าต่ำ (Off Peak) และจ่ายไฟฟ้าคืนสู่ระบบเพื่อชดเชยกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่มีความผันผวนในช่วงบ่าย ลดความต้องการไฟฟ้าสูงสุดในช่วงหัวค่ำ และลดความหนาแน่นของสายส่งกำลังไฟฟ้า โดยแบตเตอรี่ที่นำมาใช้ใน BESS เป็นแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน ซึ่งสามารถกักเก็บพลังงานไฟฟ้าได้มากในพื้นที่จำกัด อีกทั้งสามารถจ่ายไฟและชาร์จไฟได้เร็วโดยออกแบบให้มีอายุการใช้งานได้นานถึง 15 ปี
“ขณะนี้แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนยังมีราคาค่อนข้างสูงเฉลี่ยอยู่ที่ราว 400-450 เหรียญสหรัฐ/กิโลวัตต์-ชม.หรือ kWh แต่ราคานี้ก็ถือว่าได้ลดลงมาค่อนข้างมากจากอดีตในช่วงปี ค.ศ. เคยมีราคาสูงถึง 2,000 เหรียญ/kWh โดยมีการประเมินว่าอีก 5 ปีจะลดลงมาอยู่ที่ราวกว่า 200 เหรียญ/kWh ได้ ซึ่งถึงตอนนั้น กฟผ.ก็จะนำมาพิจารณาบริหารจัดการกับพลังงานหมุนเวียนที่จะเข้ามาสู่ระบบเพิ่มขึ้นเพื่อให้ระบบไฟฟ้ามีเสถียรภาพ และที่สำคัญไม่เป็นภาระค่าไฟแก่ประชาชนที่เพิ่มขึ้น” นายประเสริฐศักดิ์กล่าว
นอกจากนี้ กฟผ.ยังได้พัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับลำตะคองชลภาวัฒนา จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นระบบกักเก็บพลังงานด้วยพลังน้ำขนาดใหญ่สำหรับระบบไฟฟ้าที่มีต้นทุนต่ำที่สุดและเป็นพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีศักยภาพในการจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้อย่างรวดเร็ว โดยจะนำพลังงานไฟฟ้าในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าน้อยสูบน้ำจากเขื่อนด้านล่างขึ้นไปกักเก็บไว้ยังอ่างพักน้ำตอนบน เมื่อมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงหรือไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนไม่เสถียรก็สามารถปล่อยน้ำผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากลับลงมาผลิตกระแสไฟฟ้าได้ทันที โดยปัจจุบันประเทศไทยมีโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับทั้งสิ้น 3 แห่ง รวมกำลังผลิต 1,531 เมกะวัตต์ (MW) ได้แก่ โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา จ.นครราชสีมา กำลังผลิต 1,000 เมกะวัตต์ เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี กำลังผลิต 360 เมกะวัตต์ และเขื่อนภูมิพล จ.ตาก กำลังผลิต 171 เมกะวัตต์
ทั้งนี้ กฟผ.มีแผนดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับเขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ กำลังผลิต 801 เมกะวัตต์ ปัจจุบันอยู่ระหว่างจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา คาดว่าจะจ่ายไฟเชิงพาณิชย์ในปี 2578