สำหรับคนที่ใช้รถซึ่งต้องเติมน้ำมันอยู่เป็นประจำย่อมมีความสงสัยกันบ้างว่า เพราะอะไรราคาน้ำมันที่หน้าปั๊มหรือสถานีบริการน้ำมันถึงมีการขึ้นๆ ลงๆ บางทีก็ถูก บางครั้งก็แพง ซึ่งหลายคนก็คงจะพอรู้กันบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีอีกจำนวนไม่น้อยที่อาจจะยังไม่รู้ วันนี้เราพามาไขข้อสงสัย ให้รู้ถึงสาเหตุว่าเพราะอะไรราคาน้ำมันถึงขึ้นๆ ลงๆ ดังเช่นที่เป็นอยู่
อันดับแรก ต้องรู้เสียก่อนว่า ประเทศไทยของเรานั้น แม้จะมีแหล่งผลิตน้ำมันดิบได้เอง แต่ปริมาณที่ผลิตได้นั้นรองรับความต้องการใช้งานภายในประเทศไม่ได้ทั้งหมด ยิ่งในช่วงหลังจากสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ส่งผลให้การใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในภาคขนส่ง จึงมีการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศเพื่อมากลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ ทั้งนี้ ข้อมูลจากกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน ระบุว่า ปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลของคนไทยในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 77.28 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ในเวลาช่วงเดียวกันถึง 17.5%
อย่างไรก็ดี นอกจากน้ำมันดิบที่นำเข้ามากลั่นเองแล้ว ประเทศไทยก็นำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ ราคาน้ำมันดิบ อัตราแลกเปลี่ยนเงินระหว่างประเทศ โครงสร้างราคาน้ำมัน
อันดับแรกก็คือเรื่องของ “ราคาน้ำมันดิบ” ซึ่งน้ำมันดิบที่เรานำเข้ามากลั่นเป็นเชื้อเพลิงประเภทต่างๆ
ทีนี้ เมื่อคิดตามหลักเศรษฐศาสตร์ สินค้าทุกชนิด ถ้าผลิตได้น้อย แต่ความต้องการมาก ราคาก็จะแพงขึ้น และถ้าผลิตได้มาก แต่ความต้องการน้อย ราคาก็จะถูกลง ตามหลักอุปสงค์-อุปทาน ซึ่งในส่วนของราคาน้ำมันก็เช่นกัน ดังจะเห็นได้ว่า ในช่วงที่โควิด-19 ระบาด ราคาน้ำมันในตลาดโลกจะถูกลง เพราะมีการใช้น้ำมันน้อย เนื่องจากเดินทางไม่ได้ สายการบินปิดตัว การขนส่งลดปริมาณลง อย่างไรก็ดี พอโควิด-19 คลี่คลาย เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น ก็ส่งผลให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นตามไปด้วย นั่นยังไม่นับรวมถึงสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่ผลักดันให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น
อันดับต่อมา เรื่องของ “อัตราแลกเปลี่ยน” (เงินตรา) ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งซึ่งส่งผลต่อราคาน้ำมัน และเราควบคุมไม่ได้ อธิบายให้เห็นภาพก็เช่นว่า ในวันที่เงินบาทแข็งค่า ต้นทุนในการนำเข้าน้ำมันของเราก็จะมีมูลค่าลดลง แต่วันใดที่เงินบาทของเราอ่อนค่าลง ต้นทุนในการนำเข้าน้ำมันของเราก็จะแพงขึ้น
ดังนี้แล้วจะเห็นว่า ทั้ง “ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก” และ “อัตราแลกเปลี่ยน” เป็นต้นทุนราคาน้ำมันที่เราควบคุมไม่ได้เลย ทั้งนี้ เมื่อเรานำน้ำมันดิบเข้ามาโรงกลั่นก็จะได้น้ำมันสำเร็จรูป ซึ่งราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่น เราก็จะอ้างอิงราคาน้ำมันในตลาดสิงคโปร์ ซึ่งเป็นตลาดกลางในการค้าน้ำมันของเอเชีย
ถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องอ้างอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูปของสิงคโปร์ด้วย เหตุผลก็เพราะว่าการค้าน้ำมันของไทยเป็นตลาดเสรี ถ้าไทยเรากำหนดราคาน้ำมันเองที่สูงกว่าตลาดกลาง จะทำให้มีผู้ค้าสามารถทำกำไรจากส่วนต่างของราคานำเข้าที่ต่ำกับราคาขายในประเทศที่สูง ในทางตรงกันข้าม ถ้ากำหนดราคาต่ำกว่าต่างประเทศก็อาจจะส่งผลให้เกิดการส่งออกน้ำมันมากขึ้น และทำให้น้ำมันภายในประเทศไม่เพียงพอต่อการใช้งาน
จากปัจจัยที่เราควบคุมไม่ได้ดังที่กล่าวมา แล้วอะไรบ้างที่เป็นปัจจัยที่เราควบคุมได้?
ถ้าเราดูจากโครงสร้างราคาน้ำมันสำเร็จรูป ประเทศไทยของเราจะมี “กองทุนน้ำมัน” ซึ่งสามารถช่วยลดความผันผวนของราคาน้ำมันได้ โดยในช่วงที่ราคาน้ำมันต่ำ เราก็เก็บเงินเข้ากองทุน แต่ช่วงไหนที่ราคาน้ำมันสูง ก็จะนำเงินกองทุนมาอุดหนุนราคาน้ำมันไม่ให้สูงจนเกินไป เรียกว่าช่วยแบ่งเบาภาระของประชาชนในช่วงน้ำมันแพงได้เช่นกัน อีกทั้งเงินกองทุนบางส่วนก็มีการนำไปอุดหนุนในด้านต่างๆ เช่น พืชการเกษตรที่นำมาผสมเป็นน้ำมัน
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของ “ภาษี” ที่มีการเก็บเพื่อนำไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของประเทศ ซึ่งสุดท้ายแล้ว ทั้ง “กองทุนน้ำมัน” และ “ภาษี” นับว่ามีประโยชน์ในการเป็นเครื่องมือเพื่อควบคุมและรักษาระดับราคาน้ำมันที่เราพอจะควบคุมได้ในวันที่ความผันผวนสูง
จากทั้งหมดที่กล่าวมา คงช่วยคลี่คลายข้อสงสัยให้กับทุกคนได้แล้วว่า เพราะอะไรราคาน้ำมันถึงขึ้นๆ ลงๆ ซึ่งหากสรุปโดยย่อในตอนท้ายนี้ก็คือ มีปัจจัยทั้งในส่วนของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก และอัตราแลกเปลี่ยน นอกจากนี้ยังมีเรื่องของ “กองทุนน้ำมัน” และ “ภาษีต่างๆ” ที่ช่วยพยุงราคาไม่ให้พุ่งสูงเกินไปในช่วงที่น้ำมันแพง รวมทั้งนำไปใช้ในการรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันของบ้านเราไม่ให้ผันผวนจนเกินไป
อันดับแรก ต้องรู้เสียก่อนว่า ประเทศไทยของเรานั้น แม้จะมีแหล่งผลิตน้ำมันดิบได้เอง แต่ปริมาณที่ผลิตได้นั้นรองรับความต้องการใช้งานภายในประเทศไม่ได้ทั้งหมด ยิ่งในช่วงหลังจากสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ส่งผลให้การใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในภาคขนส่ง จึงมีการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศเพื่อมากลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ ทั้งนี้ ข้อมูลจากกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน ระบุว่า ปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลของคนไทยในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 77.28 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ในเวลาช่วงเดียวกันถึง 17.5%
อย่างไรก็ดี นอกจากน้ำมันดิบที่นำเข้ามากลั่นเองแล้ว ประเทศไทยก็นำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ ราคาน้ำมันดิบ อัตราแลกเปลี่ยนเงินระหว่างประเทศ โครงสร้างราคาน้ำมัน
อันดับแรกก็คือเรื่องของ “ราคาน้ำมันดิบ” ซึ่งน้ำมันดิบที่เรานำเข้ามากลั่นเป็นเชื้อเพลิงประเภทต่างๆ
ทีนี้ เมื่อคิดตามหลักเศรษฐศาสตร์ สินค้าทุกชนิด ถ้าผลิตได้น้อย แต่ความต้องการมาก ราคาก็จะแพงขึ้น และถ้าผลิตได้มาก แต่ความต้องการน้อย ราคาก็จะถูกลง ตามหลักอุปสงค์-อุปทาน ซึ่งในส่วนของราคาน้ำมันก็เช่นกัน ดังจะเห็นได้ว่า ในช่วงที่โควิด-19 ระบาด ราคาน้ำมันในตลาดโลกจะถูกลง เพราะมีการใช้น้ำมันน้อย เนื่องจากเดินทางไม่ได้ สายการบินปิดตัว การขนส่งลดปริมาณลง อย่างไรก็ดี พอโควิด-19 คลี่คลาย เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น ก็ส่งผลให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นตามไปด้วย นั่นยังไม่นับรวมถึงสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่ผลักดันให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น
อันดับต่อมา เรื่องของ “อัตราแลกเปลี่ยน” (เงินตรา) ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งซึ่งส่งผลต่อราคาน้ำมัน และเราควบคุมไม่ได้ อธิบายให้เห็นภาพก็เช่นว่า ในวันที่เงินบาทแข็งค่า ต้นทุนในการนำเข้าน้ำมันของเราก็จะมีมูลค่าลดลง แต่วันใดที่เงินบาทของเราอ่อนค่าลง ต้นทุนในการนำเข้าน้ำมันของเราก็จะแพงขึ้น
ดังนี้แล้วจะเห็นว่า ทั้ง “ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก” และ “อัตราแลกเปลี่ยน” เป็นต้นทุนราคาน้ำมันที่เราควบคุมไม่ได้เลย ทั้งนี้ เมื่อเรานำน้ำมันดิบเข้ามาโรงกลั่นก็จะได้น้ำมันสำเร็จรูป ซึ่งราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่น เราก็จะอ้างอิงราคาน้ำมันในตลาดสิงคโปร์ ซึ่งเป็นตลาดกลางในการค้าน้ำมันของเอเชีย
ถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องอ้างอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูปของสิงคโปร์ด้วย เหตุผลก็เพราะว่าการค้าน้ำมันของไทยเป็นตลาดเสรี ถ้าไทยเรากำหนดราคาน้ำมันเองที่สูงกว่าตลาดกลาง จะทำให้มีผู้ค้าสามารถทำกำไรจากส่วนต่างของราคานำเข้าที่ต่ำกับราคาขายในประเทศที่สูง ในทางตรงกันข้าม ถ้ากำหนดราคาต่ำกว่าต่างประเทศก็อาจจะส่งผลให้เกิดการส่งออกน้ำมันมากขึ้น และทำให้น้ำมันภายในประเทศไม่เพียงพอต่อการใช้งาน
จากปัจจัยที่เราควบคุมไม่ได้ดังที่กล่าวมา แล้วอะไรบ้างที่เป็นปัจจัยที่เราควบคุมได้?
ถ้าเราดูจากโครงสร้างราคาน้ำมันสำเร็จรูป ประเทศไทยของเราจะมี “กองทุนน้ำมัน” ซึ่งสามารถช่วยลดความผันผวนของราคาน้ำมันได้ โดยในช่วงที่ราคาน้ำมันต่ำ เราก็เก็บเงินเข้ากองทุน แต่ช่วงไหนที่ราคาน้ำมันสูง ก็จะนำเงินกองทุนมาอุดหนุนราคาน้ำมันไม่ให้สูงจนเกินไป เรียกว่าช่วยแบ่งเบาภาระของประชาชนในช่วงน้ำมันแพงได้เช่นกัน อีกทั้งเงินกองทุนบางส่วนก็มีการนำไปอุดหนุนในด้านต่างๆ เช่น พืชการเกษตรที่นำมาผสมเป็นน้ำมัน
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของ “ภาษี” ที่มีการเก็บเพื่อนำไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของประเทศ ซึ่งสุดท้ายแล้ว ทั้ง “กองทุนน้ำมัน” และ “ภาษี” นับว่ามีประโยชน์ในการเป็นเครื่องมือเพื่อควบคุมและรักษาระดับราคาน้ำมันที่เราพอจะควบคุมได้ในวันที่ความผันผวนสูง
จากทั้งหมดที่กล่าวมา คงช่วยคลี่คลายข้อสงสัยให้กับทุกคนได้แล้วว่า เพราะอะไรราคาน้ำมันถึงขึ้นๆ ลงๆ ซึ่งหากสรุปโดยย่อในตอนท้ายนี้ก็คือ มีปัจจัยทั้งในส่วนของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก และอัตราแลกเปลี่ยน นอกจากนี้ยังมีเรื่องของ “กองทุนน้ำมัน” และ “ภาษีต่างๆ” ที่ช่วยพยุงราคาไม่ให้พุ่งสูงเกินไปในช่วงที่น้ำมันแพง รวมทั้งนำไปใช้ในการรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันของบ้านเราไม่ให้ผันผวนจนเกินไป