xs
xsm
sm
md
lg

ที่มาเป็นงานวิจัย มก.กำแพงแสน คนถือสิทธิเป็นบริษัทเอกชน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ผลงานวิจัยที่นำมาใช้กำจัดผักตบชวา มีชื่อว่า KPS : Selective bioherbicide to control water hyacin in Thailand (เคพีเอส ชีวภัณฑ์กำจัดวัชพืชแบบเลือกทำลาย เพื่อควบคุมผักตบชวา) เป็นผลงานของ รศ.ดร.จินตนา อันอาตม์งาม หัวหน้าภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และ อ.ดร.อาร์ม อันอาตม์งาม หัวหน้าศูนย์ส่งเสริมการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

รศ.ดร.จินตนากล่าวว่า เนื่องจากผักตบชวาเป็นวัชพืชน้ำที่แพร่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว เป็นปัญหาต่อแหล่งน้ำธรรมชาติและชุมชน การเกษตรและการคมนาคม ยังไม่มีเทคโนโลยีหรือแนวทางใดกำจัดผักตบชวาจากแหล่งน้ำได้อย่างยั่งยืน และลดงบประมาณการกำจัดผักตบชวาได้ จึงได้คิดค้นและพัฒนาสารชีวภัณฑ์จากเชื้อราที่มีศักยภาพควบคุมการระบาดของผักตบชวาในแหล่งน้ำ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยในด้านต่างๆ แล้ว การศึกษากลไกการก่อให้เกิดโรคโดยเอนไซม์หรือสารที่เชื้อราสร้างขึ้นมา และมีผลต่อผักตบชวาทำให้แห้งตาย (ข่าวประชาสัมพันธ์ มก. วันที่ 11 ก.ค. 65)

อย่างไรก็ตาม งานวิจัยเชื้อรากำจัดผักตบชวานี้ได้มีการขายโอนสิทธิให้บริษัทเอกชนอย่างเด็ดขาด คือ บริษัท เอสบี มายโค ไบโอเทค ตั้งแต่ปี 2562 โดยระบุว่าใช้เงินลงทุน 60 ล้านบาท โดยโรงงานกำลังก่อสร้าง 60% เหตุผลในการเข้าซื้อ บริษัทอ้างว่าจะเพิ่มรายได้จากหน่วยงานรัฐ นอกเหนือจากรายได้จากภาคเอกชนอย่างเดียว

ต่อมาได้ขายหุ้นทั้งหมดให้กับบุคคลอื่น เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 80 ล้านบาท เมื่อปี 2564 โดยให้เหตุผลว่า รัฐบาลประสบปัญหางบประมาณ อันเนื่องจากโรคโควิด ต้องใช้งบเพื่อการอื่นแทน

สถานภาพของเชื้อราในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไม่ชัดเจนว่าเป็นสิทธิของผู้ใด แต่เวลาออกข่าวต่อสาธารณะยังคงเป็นเจ้าของผลงานวิจัยเดิม คือ รศ.ดร.จินตนา-ดร.อาร์ม อันอาตม์งาม โดยตลอด ทั้งที่ บริษัท เอสบี มายโค ไบโอเทค จำกัด อธิบายในรายงานประจำปีล่าสุดว่า “สารชีวภัณฑ์ดังกล่าว เป็นสารสกัดจากเชื้อราที่ก่อโรคใบไหม้ในผักตบชวาแบบเฉพาะเจาะจง อันเป็นผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โดยบริษัทได้รับสัญญาโอนสิทธิอย่างเด็ดขาดในผลการวิจัยนี้”

เห็นไหมว่า ใครเป็นเจ้าของสิทธิงานวิจัยชิ้นนี้ และถึงวันนี้ได้เปลี่ยนเจ้าของเป็นบุคคลอื่น แต่ทุกอย่างที่ปรากฏในการลงนามกับ 7 อบจ. ยังคงเป็นผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัย โดยไร้เงาผู้ทรงสิทธิตัวจริง แปลว่าอะไร?

อธิการบดีอย่าง ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ ควรมีคำตอบที่กระจ่างชัดต่อสาธารณชน โดยไม่ปล่อยคลุมเครือแบบนี้ ไม่น่าจะเป็นผลดีต่อมหาวิทยาลัยแต่ประการใด


กำลังโหลดความคิดเห็น