กฟภ.ร่อนหนังสือถึงสำนักงาน”กกพ.”ขอขยายระยะเวลาการลงนามสัญญาซื้อขายโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก(โครงการนำน่อง) ระรอก 3 จากที่จะสิ้นสุดในวันที่ 21 เม.ย.นี้โดย ขอเลื่อนออกไปจนถึง 2 ก.ค.เพื่อรอให้ผลการสอบสวนข้อร้องเรียนฮั้วประมูลจากป.ป.ช. วงในหวั่นผู้ที่ได้รับคัดเลือก 43 รายในที่สุดอาจมีการยกเลิกการคัดเลือก ด้านกกพ.ยอมรับต้องรอป.ป.ช.
แหล่งข่าวจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)หรือ PEA เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 5 เม.ย.ที่ผ่านมากฟภ. ได้ทำหนังสือถึงเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(สำนักงานกกพ.) เพื่อขอขยายระยะเวลาการลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก(โครงการนำร่อง) ออกไปเป็นวันที่ 2 กรกฏาคม 2565 ทั้งนี้เนื่องจากก่อนหน้านี้มีการร้องเรียนผลการคัดเลือกโครงการดังกล่าวว่าเข้าข่ายการกระทำผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานภาครัฐพ.ศ.2542 ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(สำนักงานป.ป.ช.)
“ ทางสำนักงานป.ป.ช.ได้รับเรื่องข้อกล่าวหาดังกล่าวเมื่อประมาณ 5 ต.ค. 64 ทำให้กกพ.ได้มีการเลื่อนการลงนามครั้งแรกออกไป 30 วันหรือภายในวันที่ 20 ก.พ. 65 และต่อมาได้มีการเลื่อนการพิจารณาลงนามครั้งที่ 2 อีก 60 วันจากวันที่ 20 ก.พ. 65 เป็นภายในวันที่ 21 เม.ย.นี้ และล่าสุดทางสำนักงานป.ป.ช.เองได้ขอขยายเวลาการพิจารณาออกไปอีก 90 วันทำให้กฟภ.จึงขอให้ทางสำนักงานกกพ.เลื่อนการลงนามครั้งที่ 3 ออกไปจนถึง วันที่ 2 กค 65 รวมเป็นการเลื่อนลงนาม 162 วัน” แหล่งข่าวกล่าว
นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(สำนักงาน กกพ.) กล่าวว่า โครงการ โรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (โครงการนำร่อง)ที่มีผู้ได้รับการคัดเลือก 43 ราย ปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายรวม 149.50 เมกะวัตต์ ตั้งแต่ปี 2564 นั้น ในขณะนี้ยังไม่ได้มีการลงนามซื้อขายไฟฟ้ากับกฟภ.แต่อย่างใด โดย กฟภ.แจ้งว่าเนื่องจากในมีผู้ไปยื่นฟ้องร้องต่อสำนักงานป.ป.ช. ว่ามีการฮั้วประมูล และการพิจารณาของ ป.ป.ช.ยังไม่เสร็จสิ้น ดังนั้น จึงยังไม่ลงนาม ซึ่ง ก็คาดหวังว่า การพิจารณา ของ ป.ป.ช.จะเสร็จสิ้นโดยเร็ว
นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(สำนักงาน กกพ.) กล่าวว่า โครงการ
โรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (โครงการนำร่อง)ที่มีผู้ได้รับการคัดเลือก 43
ราย ปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายรวม 149.50 เมกะวัตต์ ตั้งแต่ปี 2564 นั้น ในขณะนี้ยังไม่ได้มีการลงนามซื้อขายไฟฟ้ากับกฟภ.แต่อย่างใด
โดย กฟภ.แจ้งว่าเนื่องจากในมีผู้ไปยื่นฟ้องร้องต่อสำนักงานป.ป.ช.
ว่ามีการฮั้วประมูล และการพิจารณาของ
ป.ป.ช.ยังไม่เสร็จสิ้น ดังนั้น จึงยังไม่ลงนาม ซึ่ง ก็คาดหวังว่า การพิจารณา ของ
ป.ป.ช.จะเสร็จสิ้นโดยเร็ว
สำหรับการพิจารณาคัดเลือกโรงไฟฟ้าชุมเพื่อเศรษฐกิจฐานราก(โครงการนำร่อง)ทางกกพ.ได้ประกาศเมื่อ 23 ก.ย. 64 มีผู้ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 43 ราย คิดเป็นปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายรวม 149.50 เมกะวัตต์ (ค่าไฟฟ้าเสนอขายเฉลี่ย 3.1831 บาทต่อหน่วย) แบ่งเป็นโรงไฟฟ้าชุมชนประเภทชีวมวลจำนวน 16 ราย ปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายรวม 75.00 เมกะวัตต์ (ค่าไฟฟ้าเสนอขายเฉลี่ย 2.7972 บาทต่อหน่วย) และโรงไฟฟ้าชุมชนประเภทก๊าซชีวภาพรวม 27 ราย ปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายรวม 74.50 เมกะวัตต์ (ค่าไฟฟ้าเสนอขายเฉลี่ย 3.5717 บาทต่อหน่วย) ตามกรอบเป้าหมายการรับซื้อไฟฟ้าที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) กำหนดเป้าหมายจากเชื้อเพลิงชีวมวล 75 เมกะวัตต์ และเชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพ 75 เมกะวัตต์
แหล่งข่าวจากวงการพลังงาน กล่าวว่า การยื่นข้อเสนอโรงไฟฟ้าชุมชนฯ ที่ผ่านมาระเบียบไม่ได้เขียนชัดเจนว่าห้ามแต่ละโครงการที่เสนอต้องไม่มีผู้ถือหุ้นเป็นรายเดียวกัน ทำให้บางรายเสนอเข้าไปหลาย 10 โครงการและมีเจ้าของเป็นคนคนเดียวกันและเมื่อคนที่ยื่นจำนวนมากและเสนอค่าไฟฟ้าต่ำสุดก็ย่อมถูกคัดเลือกจึงทำให้มีการยื่นเรื่องว่าเป็นการเข้าข่ายฮั้วประมูล ซึ่งทำให้ที่ผ่านมากฟภ.เองกลัวมีปัญหาหากลงนามไปก่อนซึ่งทำให้บางฝ่ายมองว่าเป็นไปได้หรือไม่ว่าที่สุดจะนำไปสู่การยกเลิกการคัดเลือก
สำหรับรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (โครงการนำร่อง) เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2564 นั้นพบว่า บริษัทที่ครองแชมป์ได้สูงสุดเป็น บริษัทย่อยของบริษัท แอ๊บโซลูท คลีน เอ็นเนอร์จี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ACE ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 18 บริษัท รวม 18 โครงการ (1 บริษัทย่อยต่อ 1 โครงการ) คิดเป็นกำลังการผลิตติดตั้งรวม 59 เมกะวัตต์ และกำลังการผลิตเสนอขายรวม 50 เมกะวัตต์ โดยโครงการที่ได้รับการคัดเลือกดังกล่าวเป็นโครงการโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ (พืชพลังงาน) ทั้ง 18 โครงการ